ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.
กล่าวว่า ธปท. ได้อนุญาตให้ต่างชาติที่ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหน่วยลงทุน
ของกองทุนรวมทุกประเภท สามารถเลือกซื้อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับจำนวนเงินและระยะเวลาการลงทุนแทนการหักสำรอง
ร้อยละ 30 ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.นี้ นอกจากนี้ ยังยกเลิกมารตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานต่างประเทศที่ออกไป
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.49 ซึ่งห้ามต่างชาติถือครองพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. ที่มีการขายก่อน 3 เดือน อย่างไรก็ตาม
แม้จะผ่อนคลายมาตรการแล้ว แต่ ธปท. จะยังไม่ยกเลิกประกาศที่ออกมา เพื่อความมั่นใจว่าระบบตรวจสอบการเก็งกำไรค่าเงินสามารถ
ป้องกันได้จริง (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ก.คลังเตรียมหาแนวทางแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นางพรรณี สถาวโรดม
ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 9 มี.ค.นี้ นายสมหมาย ภาษี รักษาการ รมว.คลัง จะนัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่
กำหนดการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินไว้ที่ร้อยละ 8.5 ซึ่งขณะนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบางแห่งได้กันสำรอง
ตามเกณฑ์แล้วเกินกว่าร้อยละ 8.5 บางแห่งต้องปรับปรุง จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดระดับของเงินกองทุนที่เหมาะสม โดยระดับเงินกองทุนจะ
ต้องเกินร้อยละ 8.5 แต่อาจจะไม่ถึงร้อยละ 12 เพราะสถาบันการเงินเฉพาะกิจถูกจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่มีรัฐบาลค้ำประกัน ทั้งนี้ สถาบันการเงิน
เฉพาะกิจทุกแห่งได้เสนอขอเพิ่มทุนจาก ก.คลังทุกแห่ง เพื่อให้มีเม็ดเงินเพียงพอรองรับการขยายธุรกิจตามมาตรฐานบัญชีใหม่ของไอเอเอส 39
โดยระดับของการเพิ่มทุนที่ ก.คลังจะใส่เข้าไปในสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยรวมไม่น่าจะถึง 5 หมื่นล้านบาท (ไทยรัฐ)
3. เกณฑ์ไอเอเอส 39 อาจทำให้การจัดเก็บภาษีกลุ่มสถาบันการเงินลดลง 2 หมื่นล้านบาท นายศานิต ร่างน้อย
อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้มีการประเมินสถานการณ์การจัดเก็บภาษีในปี งปม.50 โดยคาดว่าอาจจะเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้
1.14 ล้านล้านบาท ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท สาเหตุหลักมาจากภาษีเงินได้นิติบุคคลในกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงินที่เคยเป็นรายได้หลักตัวหนึ่ง
จะต้องได้รับผลกระทบจากตั้งสำรองจำนวนมากตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ ไอเอเอส 39 ในช่วงสิ้นปีบัญชี 49 ซึ่งทำให้กำไรสุทธิของปีบัญชี 49
ที่จะต้องยื่นเสียภาษีในเดือน พ.ค.50 ลดลงประมาณ 1.6 — 2 หมื่นล้านบาท ดังนั้น แม้ว่ากรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บภาษีตัวอื่นได้เกิน
เป้าหมายบ้างก็ไม่สามารถรองรับผลกระทบจากภาษีที่ลดลงในรายการนี้ได้ ประกอบกับการบริโภคและการลงทุนในปีนี้ชะลอตัว โดยเห็นได้จาก
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมที่เคยขยายตัวทุกปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 แต่ในช่วง 4 เดือนแรกของปี งปม.50 ขยายตัวในระดับร้อยละ 8 เท่านั้น (มติชน)
4. อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ.50 อยู่ที่ระดับ 114.5 ต่ำสุดในรอบ 36 เดือน นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด ก.พาณิชย์
เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ในเดือน ก.พ.50 อยู่ที่ระดับ 114.5 ลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือน ม.ค.50 ซึ่งเป็นระดับ
ต่ำสุดในรอบ 36 เดือน แต่สูงขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.49 และมีแนวโน้มที่เงินเฟ้อจะทรงตัวหรือลดลงอีกตลอดปี 50
ก.พาณิชย์จึงไม่มีการปรับคาดการณ์ยังยืนยันอัตราเงินเฟ้อทั้งปีที่ระดับร้อยละ 1.5 — 2.5 ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เงินเฟ้อเพิ่มสูง
เป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่องจนกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตและต้นทุนสินค้า แต่ในปีนี้เมื่อราคาน้ำมันทรงตัวและเริ่มลดลง
จึงไม่มีผลต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากนัก แม้ปีนี้จะมีความกังวลในเรื่องภัยแล้งแต่ก็เป็นช่วงสั้น ๆ และอาจกระทบต่อราคาสินค้าไม่มากนัก
(มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในเดือน ก.พ. อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนจะอยู่ที่ร้อยละ 1.8 รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 50
สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปคาดว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. จะอยู่ที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นไปตามเป้าหมาย
เงินเฟ้อของยุโรปที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 รวมทั้งน้อยกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่คาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ทั้งนี้คาดการณ์เงินเฟ้อของยูโรโซนในครั้งนี้มิได้มีตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นรายเดือนและการแสดงรายละเอียดอื่นๆ
อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขที่ประมาณการจะต่ำกว่าร้อยละ 2.0 แต่ก็ยังมีแนวโน้มว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25
อยู่ที่ระดับ 3.75 เนื่องจากในเดือน ม.ค. สินเชื่อขยายตัวอย่างรวดเร็วทำสถิติสูงสุดในรอบ 17 ปี ประกอบกับเศรษฐกิจของ 13 ประเทศที่
ใช้เงินสกุลยูโรมีระดับค่าจ้างที่สูงขึ้น นอกจากนี้จากผลการสำรวจของ RBS/NTC ชี้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตของยูโรโซนในเดือน ก.พ.
ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในขณะที่ราคาสินค้าก็พุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบอย่างน้อย 4 ปีซึ่งตัวเลขนี้สนับสนุนว่าเศรษฐกิจยุโรปขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
เพียงพอที่ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 8 มี.ค. นี้ได้ และคาดว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายอีกครั้งเป็นร้อยละ 4.0 ในเดือน มิ.ย. หากเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. ยอดการขายปลีกของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 กลับลดลงอยู่ที่ระดับ +19 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 1 มี.ค.50
The Confederation of British Industry เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 กลับลดลงอยู่ที่ระดับ +19
หลังจากที่อยู่ที่ระดับ +30 ในเดือน ม.ค.50 ใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ +20 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของ
ผู้ค้าปลีกด้านราคา (ซึ่งวัดเป็นรายไตรมาส) กลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +19 จากระดับ -3 ในเดือน พ.ย.49 อันเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่เดือน
พ.ค.42 อนึ่ง ล่าสุด ธ.กลางอังกฤษได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 เช่นเดิม หลังจากที่ปรับเพิ่มไปเมื่อเดือน
ม.ค.50 พ.ย. และ ส.ค.49 (รอยเตอร์)
3. ภาคการผลิตของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 1 มี.ค.50
ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อหรือ PMI เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.4 ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ
53.2 ในเดือน ม.ค.50 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 53.0 ชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตของอังกฤษขยายตัวในอัตราสูงสุดใน
รอบ 2 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 แม้ว่าค่าเงินปอนด์จะยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ก็ตาม ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศ
ก็ไม่ได้ลดลงแต่กลับขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 3 ปี ส่งผลให้คำสั่งซื้อสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 ใน
ขณะเดียวกันราคาผลผลิตก็สูงขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่มีการสำรวจข้อมูลในเดือน พ.ย.42 โดยดัชนีชี้วัดราคาผลผลิตพุ่งสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.9
ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ 54.2 ในเดือน ม.ค.50 สร้างความกังวลให้ ธ.กลางอังกฤษว่าอัตราเงินเฟ้ออาจพุ่งสูงขึ้นอีกหากมีการเรียกร้อง
ค่าแรงที่สูงขึ้นเมื่อตลาดแรงงานเริ่มขาดแคลนจากการขยายตัวของภาคการผลิต (รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 1 มี.ค.50
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า The Purchasing Managers’ Index (PMI)
ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของภาคการผลิตสิงคโปร์ ขยายตัวชะลอลงต่ำสุดในรอบ 7 เดือนที่ระดับ 51.5 ในเดือน ก.พ.50 หลังจาก
การขยายตัวที่ระดับ 52.6 ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ การที่ PMI ขยายตัวชะลอลงมีสาเหตุหลักจากการชะลอตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งลดลงที่ระดับ 50.1 จากระดับ 52.1
ในเดือนก่อนหน้า โดยนักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะยังคงทิศทางเช่นเดิมในช่วงครึ่งแรกของปี หลังจากนั้นจึงจะ
ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี สำหรับประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 50คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5-6.5
ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ในปี 49 สาเหตุจากการส่งออกไปยัง สรอ.ลดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 มี.ค. 50 1 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร(Bht/1US$) 35.449 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.2664/35.5857 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 680.60/13.99 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,250/11,350 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.01 59.06 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50 26.39*/23.34* 26.39*/23.34* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท.
กล่าวว่า ธปท. ได้อนุญาตให้ต่างชาติที่ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทพันธบัตร ตั๋วเงินคลัง หุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และหน่วยลงทุน
ของกองทุนรวมทุกประเภท สามารถเลือกซื้อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับจำนวนเงินและระยะเวลาการลงทุนแทนการหักสำรอง
ร้อยละ 30 ได้ตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.นี้ นอกจากนี้ ยังยกเลิกมารตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานต่างประเทศที่ออกไป
เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.49 ซึ่งห้ามต่างชาติถือครองพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร ธปท. ที่มีการขายก่อน 3 เดือน อย่างไรก็ตาม
แม้จะผ่อนคลายมาตรการแล้ว แต่ ธปท. จะยังไม่ยกเลิกประกาศที่ออกมา เพื่อความมั่นใจว่าระบบตรวจสอบการเก็งกำไรค่าเงินสามารถ
ป้องกันได้จริง (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
2. ก.คลังเตรียมหาแนวทางแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ นางพรรณี สถาวโรดม
ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ในวันที่ 9 มี.ค.นี้ นายสมหมาย ภาษี รักษาการ รมว.คลัง จะนัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่
กำหนดการดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของสถาบันการเงินไว้ที่ร้อยละ 8.5 ซึ่งขณะนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบางแห่งได้กันสำรอง
ตามเกณฑ์แล้วเกินกว่าร้อยละ 8.5 บางแห่งต้องปรับปรุง จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดระดับของเงินกองทุนที่เหมาะสม โดยระดับเงินกองทุนจะ
ต้องเกินร้อยละ 8.5 แต่อาจจะไม่ถึงร้อยละ 12 เพราะสถาบันการเงินเฉพาะกิจถูกจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายที่มีรัฐบาลค้ำประกัน ทั้งนี้ สถาบันการเงิน
เฉพาะกิจทุกแห่งได้เสนอขอเพิ่มทุนจาก ก.คลังทุกแห่ง เพื่อให้มีเม็ดเงินเพียงพอรองรับการขยายธุรกิจตามมาตรฐานบัญชีใหม่ของไอเอเอส 39
โดยระดับของการเพิ่มทุนที่ ก.คลังจะใส่เข้าไปในสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยรวมไม่น่าจะถึง 5 หมื่นล้านบาท (ไทยรัฐ)
3. เกณฑ์ไอเอเอส 39 อาจทำให้การจัดเก็บภาษีกลุ่มสถาบันการเงินลดลง 2 หมื่นล้านบาท นายศานิต ร่างน้อย
อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้มีการประเมินสถานการณ์การจัดเก็บภาษีในปี งปม.50 โดยคาดว่าอาจจะเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้
1.14 ล้านล้านบาท ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท สาเหตุหลักมาจากภาษีเงินได้นิติบุคคลในกลุ่มธุรกิจสถาบันการเงินที่เคยเป็นรายได้หลักตัวหนึ่ง
จะต้องได้รับผลกระทบจากตั้งสำรองจำนวนมากตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ ไอเอเอส 39 ในช่วงสิ้นปีบัญชี 49 ซึ่งทำให้กำไรสุทธิของปีบัญชี 49
ที่จะต้องยื่นเสียภาษีในเดือน พ.ค.50 ลดลงประมาณ 1.6 — 2 หมื่นล้านบาท ดังนั้น แม้ว่ากรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บภาษีตัวอื่นได้เกิน
เป้าหมายบ้างก็ไม่สามารถรองรับผลกระทบจากภาษีที่ลดลงในรายการนี้ได้ ประกอบกับการบริโภคและการลงทุนในปีนี้ชะลอตัว โดยเห็นได้จาก
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมที่เคยขยายตัวทุกปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 แต่ในช่วง 4 เดือนแรกของปี งปม.50 ขยายตัวในระดับร้อยละ 8 เท่านั้น (มติชน)
4. อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ.50 อยู่ที่ระดับ 114.5 ต่ำสุดในรอบ 36 เดือน นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด ก.พาณิชย์
เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ในเดือน ก.พ.50 อยู่ที่ระดับ 114.5 ลดลงร้อยละ 0.4 จากเดือน ม.ค.50 ซึ่งเป็นระดับ
ต่ำสุดในรอบ 36 เดือน แต่สูงขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.49 และมีแนวโน้มที่เงินเฟ้อจะทรงตัวหรือลดลงอีกตลอดปี 50
ก.พาณิชย์จึงไม่มีการปรับคาดการณ์ยังยืนยันอัตราเงินเฟ้อทั้งปีที่ระดับร้อยละ 1.5 — 2.5 ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เงินเฟ้อเพิ่มสูง
เป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่องจนกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตและต้นทุนสินค้า แต่ในปีนี้เมื่อราคาน้ำมันทรงตัวและเริ่มลดลง
จึงไม่มีผลต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากนัก แม้ปีนี้จะมีความกังวลในเรื่องภัยแล้งแต่ก็เป็นช่วงสั้น ๆ และอาจกระทบต่อราคาสินค้าไม่มากนัก
(มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าในเดือน ก.พ. อัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนจะอยู่ที่ร้อยละ 1.8 รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 50
สำนักงานสถิติสหภาพยุโรปคาดว่า อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.พ. จะอยู่ที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นไปตามเป้าหมาย
เงินเฟ้อของยุโรปที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2.0 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 รวมทั้งน้อยกว่าผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ที่คาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ทั้งนี้คาดการณ์เงินเฟ้อของยูโรโซนในครั้งนี้มิได้มีตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นรายเดือนและการแสดงรายละเอียดอื่นๆ
อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขที่ประมาณการจะต่ำกว่าร้อยละ 2.0 แต่ก็ยังมีแนวโน้มว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25
อยู่ที่ระดับ 3.75 เนื่องจากในเดือน ม.ค. สินเชื่อขยายตัวอย่างรวดเร็วทำสถิติสูงสุดในรอบ 17 ปี ประกอบกับเศรษฐกิจของ 13 ประเทศที่
ใช้เงินสกุลยูโรมีระดับค่าจ้างที่สูงขึ้น นอกจากนี้จากผลการสำรวจของ RBS/NTC ชี้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตของยูโรโซนในเดือน ก.พ.
ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในขณะที่ราคาสินค้าก็พุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบอย่างน้อย 4 ปีซึ่งตัวเลขนี้สนับสนุนว่าเศรษฐกิจยุโรปขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
เพียงพอที่ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 8 มี.ค. นี้ได้ และคาดว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
นโยบายอีกครั้งเป็นร้อยละ 4.0 ในเดือน มิ.ย. หากเศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
2. ยอดการขายปลีกของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 กลับลดลงอยู่ที่ระดับ +19 รายงานจากลอนดอน เมื่อ 1 มี.ค.50
The Confederation of British Industry เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 กลับลดลงอยู่ที่ระดับ +19
หลังจากที่อยู่ที่ระดับ +30 ในเดือน ม.ค.50 ใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ +20 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของ
ผู้ค้าปลีกด้านราคา (ซึ่งวัดเป็นรายไตรมาส) กลับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ +19 จากระดับ -3 ในเดือน พ.ย.49 อันเป็นระดับสูงที่สุดตั้งแต่เดือน
พ.ค.42 อนึ่ง ล่าสุด ธ.กลางอังกฤษได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 เช่นเดิม หลังจากที่ปรับเพิ่มไปเมื่อเดือน
ม.ค.50 พ.ย. และ ส.ค.49 (รอยเตอร์)
3. ภาคการผลิตของอังกฤษในเดือน ก.พ.50 ขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง รายงานจากลอนดอน เมื่อ 1 มี.ค.50
ดัชนีชี้วัดผลผลิตอุตสาหกรรมจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อหรือ PMI เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.4 ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ
53.2 ในเดือน ม.ค.50 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 53.0 ชี้ให้เห็นว่าภาคการผลิตของอังกฤษขยายตัวในอัตราสูงสุดใน
รอบ 2 ปีครึ่งนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 แม้ว่าค่าเงินปอนด์จะยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.ก็ตาม ความต้องการสินค้าจากต่างประเทศ
ก็ไม่ได้ลดลงแต่กลับขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 3 ปี ส่งผลให้คำสั่งซื้อสินค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.47 ใน
ขณะเดียวกันราคาผลผลิตก็สูงขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่มีการสำรวจข้อมูลในเดือน พ.ย.42 โดยดัชนีชี้วัดราคาผลผลิตพุ่งสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.9
ในเดือน ก.พ.50 จากระดับ 54.2 ในเดือน ม.ค.50 สร้างความกังวลให้ ธ.กลางอังกฤษว่าอัตราเงินเฟ้ออาจพุ่งสูงขึ้นอีกหากมีการเรียกร้อง
ค่าแรงที่สูงขึ้นเมื่อตลาดแรงงานเริ่มขาดแคลนจากการขยายตัวของภาคการผลิต (รอยเตอร์)
4. PMI ของสิงคโปร์ในเดือน ก.พ.50 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 1 มี.ค.50
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า The Purchasing Managers’ Index (PMI)
ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของภาคการผลิตสิงคโปร์ ขยายตัวชะลอลงต่ำสุดในรอบ 7 เดือนที่ระดับ 51.5 ในเดือน ก.พ.50 หลังจาก
การขยายตัวที่ระดับ 52.6 ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ การที่ PMI ขยายตัวชะลอลงมีสาเหตุหลักจากการชะลอตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งลดลงที่ระดับ 50.1 จากระดับ 52.1
ในเดือนก่อนหน้า โดยนักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะยังคงทิศทางเช่นเดิมในช่วงครึ่งแรกของปี หลังจากนั้นจึงจะ
ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี สำหรับประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 50คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5-6.5
ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ในปี 49 สาเหตุจากการส่งออกไปยัง สรอ.ลดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2 มี.ค. 50 1 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร(Bht/1US$) 35.449 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.2664/35.5857 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 680.60/13.99 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,250/11,350 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.01 59.06 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 1 มี.ค. 50 26.39*/23.34* 26.39*/23.34* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--