ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ชี้แจงแนวทางในการเร่งรัดการจัดการหนี้เอ็นพีแอลและเอ็นพีเอของ ธพ.ให้ลดลง นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท.ได้มีแนวทางในการเร่งรัดการจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด
รายได้ (เอ็นพีแอล) และสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) ของระบบ ธพ. โดยเฉพาะปริมาณของหนี้เอ็นพีแอลในระบบให้ลดลง โดย
ธพ.หลายแห่งได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อการซื้อขายสินทรัพย์รอการขายให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ซึ่ง บสก.
ได้ตกลงซื้อสินทรัพย์ในราคาลดจากมูลค่าเต็มทางบัญชี และจ่ายเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่มี ธพ.หลายแห่งยังมีข้อสงสัยในการดำเนินการตั๋วสัญญา
ใช้เงินของ บสก. ธปท.จึงได้ออกประกาศเพื่อให้ ธพ.มีความเข้าใจและมีวิธีปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ หาก ธพ.สามารถตัดเอ็นพีเอออกไป
จากระบบได้จะทำให้หนี้เอ็นพีแอลลดลง และอาจจะสามารถลดลงได้ตามเป้าหมายของ ธปท.ที่ต้องการให้หนี้เอ็นพีแอลของระบบลดลงเหลือร้อยละ
2 ในปีนี้ โดยล่าสุดสิ้นเดือน พ.ย.49 เอ็นพีเอของระบบ ธพ.อยู่ที่ 175,157 ล้านบาท เป็นสินทรัพย์รอการขายของ ธพ.ไทย 174,993 ล้านบาท
และเป็นของ ธพ.ต่างประเทศ 164 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
2. ธปท.เผยนักธุรกิจกังวลความไม่แน่นอนทางการเมืองและมาตรการของรัฐบาลจะส่งผลต่อความเชื่อการลงทุนปีนี้ รายงานจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อประจำเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ผลจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้
ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงเห็นว่า เหตุการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง และมาตรการของรัฐบาลในช่วงปลายปี 2549
จะเป็นปัจจัยที่บั่นทอนความเชื่อมั่นและการตัดสินใจของนักลงทุนในปี 50 ได้ แม้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่ง
ปีหลังก็ตาม รายงานดังกล่าว ยังระบุด้วยว่า โดยปัจจัยเสี่ยงในระยะต่อไปที่เป็นข้อจำกัดของการทำธุรกิจ คือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง
โดยเฉพาะในเรื่องของการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล มาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น และการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคน
ต่างด้าว รวมไปถึงการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก (กรุงเทพธุรกิจ)
3. เจโทรเผยผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจไทยในมุมมองของนักลงทุนญี่ปุ่นอยู่ในอันดับต่ำสุดในอาเซียน ผอ.ฝ่ายเศรษฐกิจ
หอการค้าญี่ปุ่น ประจำกรุงเทพฯ และประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เผยผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของ
นักลงทุนญี่ปุ่น ที่เจโทรได้สำรวจเปรียบเทียบ 5 ประเทศในอาเซียน พบว่า ผลสำรวจในเดือน ม.ค.50 แนวโน้มเศรษฐกิจของไทยอยู่ในอันดับต่ำสุด
โดยมีค่าดัชนีแนวโน้มทางเศรษฐกิจ (DI) อยู่ที่ -12.9 ขณะที่สิงคโปร์มีค่า DI สูงสุดที่ +13.1 รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย +4.6 ฟิลิปปินส์
-4.3 และมาเลเซีย -4.6 ทั้งนี้ ค่า DI ของไทยถือว่าลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 และเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนก่อนพบว่า ค่า DI ของไทย
ยังอยู่ในระดับเดียวกับฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ขณะที่อินโดนีเซียมีค่า DI ต่ำสุด อย่างไรก็ตาม ค่า DI ดังกล่าวยังไม่มีผลกระทบต่อการย้ายการ
ลงทุนในทันที แต่จะมีผลต่อความมั่นใจการลงทุนในไทยในอนาคต ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นจะพิจารณาว่าการลงทุนในประเทศใดจะเป็นฐานการส่งออกที่ดีที่สุด
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, แนวหน้า, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า)
4. ก.คลังเตรียมเป้าหมายอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 50 ผอ.กองเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยว่า สศค.จะใช้เวลา 1 เดือนนับจากนี้ เพื่อรวบรวมปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ก่อนที่จะนำไปประเมินอัตราการ
ขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่ ทั้งนี้ เดิม สศค.ได้ประเมินอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 4-5 ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน
เนื่องจากมีทั้งปัจจัยที่เข้ามาสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยที่เข้ามากระทบภาวะเศรษฐกิจไทยเช่นกัน
(กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
5. สศค.เตรียมศึกษาผลกระทบจากเกณฑ์กันสำรองตามมาตรฐานไอเอเอส 39 ต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ผอ.สำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจไปพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ จากมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเรื่องมาตรการกันสำรองหนี้เสียตามเกณฑ์ไอเอเอส 39 และ
ประเมินถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ดังกล่าวด้วย เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจถูกจัดตั้งโดยรัฐ มีบทบาทและหน้าที่เฉพาะของตัวเอง
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ, แนวหน้า)
6. ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกพระราชกำหนดจัดสรรเงินทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2498
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวภายหลังการประชุม ครม.เมื่อ 30 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่าง
พ.ร.บ.ยกเลิกพระราชกำหนดจัดสรรเงินทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ.2498 ตามที่ ก.คลังเสนอ เนื่องจากเห็นว่าหน้าที่
เดิมที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและทองคำ การลงทุน แสวงหาผลประโยชน์จากตั๋วเงินคลัง หรือหลักทรัพย์ระยะสั้นอย่างอื่นของรัฐบาล
และหลักทรัพย์ระยะสั้นที่มั่นคงในต่างประเทศ รวมทั้งการกู้ยืมเงินเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวที่ผิด
ปกติของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด และมีเสถียรภาพเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศ ตามพระราชกำหนดดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลง
ไปตั้งปี 40 ที่ไทยหันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว ตามภาวะตลาดเงินต่างประเทศ ทำให้บทบาทการบริหารจัดการเพื่อรักษา
เสถียรภาพค่าเงินบาทของทุนรักษาระดับฯ ลดลงมาก ทั้งนี้ ภายหลังวันที่ชำระบัญชีเรียบร้อยแล้ว มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
รับผิดชอบภาระด้านคดีของทุนรักษาระดับฯ ที่ยังค้างอยู่ในศาลทั้งหมด (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นที่ระดับ 110.3 ในเดือน ม.ค.50 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 30 ม.ค.50
The Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่น (Consumer sentiment index) ของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นที่
ระดับ 110.3 จากระดับ 109.0 ในเดือนก่อนหน้า สูงกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะอยู่ที่ระดับ 110.0
และเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.45 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 110.7 โดยมีสาเหตุหลักจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีที่เป็นส่วนประกอบหลักคือ
ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน (Present situation index) ซึ่งเพิ่มขึ้นที่ระดับ 133.9 จากระดับ 130.5
ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองที่ดีต่อตลาดแรงงาน ขณะที่ส่วนประกอบอื่น ได้แก่ ดัชนีความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
(Expectations index) ลดลงที่ระดับ 94.5 จากระดับ 96.3 ในเดือนก่อนหน้า อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นดัชนีที่บ่งชี้การ
ใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่อปีต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
30 ม.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติรายงานตัวเลขเบื้องต้นดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี
จากร้อยละ 1.4 ต่อปีในเดือน ธ.ค.49 ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อปี โดยหากคำนวนตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปแล้ว
อัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี จากร้อยละ 1.4 ต่อปีในเดือน ธ.ค.49 ทั้งนี้หากเทียบต่อเดือนแล้ว อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 ไม่ว่าจะคำนวณด้วยวิธีใดก็ตาม สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดไว้
ทั้งที่การขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว เป็นผลมาจากการแข่งขันกันลดราคาของ
ร้านค้าปลีกจากสภาพการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดค้าปลีก แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
2.0 ต่อปีภายในเดือน มี.ค.50 และคาดว่าการเจรจาขอขึ้นค่าจ้างของสหภาพแรงงานซึ่งจะเริ่มในกลางเดือน มี.ค.50 นี้ จะทำให้มีแรง
กดดันต่อภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีใน
เดือน มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ โดยสนง.สถิติแห่งชาติมีกำหนดรายงานตัวเลขจริงอัตราเงินเฟ้อสำหรับเดือน ม.ค.50 ในกลางเดือน ก.พ.50 นี้
(รอยเตอร์)
3. ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 53.4 จากระดับ 53.1 ในเดือน ธ.ค. รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่
31 ม.ค. 50 ผลการสำรวจ Purchasing Managerd Index (PMI) ของ NTC REsearch Nomura และ JMMA ซึ่งเป็นสัญญานบ่งชี้ล่วงหน้า
ของภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 53.4 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 53.1 ในเดือน
ธ.ค.ที่อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 48 และอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 44 เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศโดย
เฉพาะจีนเพิ่มขึ้นในสินค้าประเภทสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มที่มียอดส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ผลผลิตและปริมาณความต้องการในประเทศยัง
คงอ่อนตัว ทั้งนี้ PMI ประกอบด้วยดัชนีทางเศรษฐกิจหลายตัว รวมทั้งการตอบแบบสอบถามจากผู้ประกอบการผลิตมากกว่า 350 แห่ง โดย PMI
ที่อยู่ในระดับสูงกว่า 50 แสดงว่าภาวะอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัว แต่หากต่ำกว่าระดับ 50 แสดงถึงภาวะหดตัว (รอยเตอร์)
4. คาดอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้เดือน ม.ค.50 จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.0 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 30 ม.ค.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์คาดว่า อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีของเกาหลีใต้ในเดือน
ม.ค.50 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ชะลอลงเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 2.1 ในเดือน ธ.ค.49 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติปรับตัว
ลดลงและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าอาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภคลดต่ำลงกว่าระดับร้อยละ 2.0 ในอนาคตอันใกล้นี้
ถ้าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงในระยะหลังส่งผลสะท้อนกลับอย่างเต็มที่ต่อดัชนีราคาผู้บริโภค ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบต่อเดือนที่ปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วในเดือน ม.ค.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ธ.ค.49 ด้าน ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 4.5 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในการประชุมเดือน ม.ค.50 หลังจากที่ได้มีการปรับขึ้นมาแล้ว 5 ครั้ง
นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ยืนยืนความรับผิดชอบของ ธ.กลางเกาหลีใต้ที่จะรักษาสภาพคล่อง
ในระบบอย่างเข้มงวดเพื่อควบคุมราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังเติบโตอย่างมากในขณะนี้ อนึ่ง สัดส่วนในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้
มาจากสินค้าภาคอุตสาหกรรมรวมผลิตภัณฑ์น้ำมัน ร้อยละ 34 ขณะที่ค่าธรรมเนียมบริการรวมทั้งค่าเช่าที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 55
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ม.ค. 50 31 ม.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.814 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5978/35.9336 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.875 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 653.49/11.61 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.97 50.63 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 19 ม.ค. 50 25.19*/22.54** 25.19*/22.54** 26.49/23.34 ปตท.
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 ม.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ชี้แจงแนวทางในการเร่งรัดการจัดการหนี้เอ็นพีแอลและเอ็นพีเอของ ธพ.ให้ลดลง นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท.ได้มีแนวทางในการเร่งรัดการจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด
รายได้ (เอ็นพีแอล) และสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) ของระบบ ธพ. โดยเฉพาะปริมาณของหนี้เอ็นพีแอลในระบบให้ลดลง โดย
ธพ.หลายแห่งได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อการซื้อขายสินทรัพย์รอการขายให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ซึ่ง บสก.
ได้ตกลงซื้อสินทรัพย์ในราคาลดจากมูลค่าเต็มทางบัญชี และจ่ายเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่มี ธพ.หลายแห่งยังมีข้อสงสัยในการดำเนินการตั๋วสัญญา
ใช้เงินของ บสก. ธปท.จึงได้ออกประกาศเพื่อให้ ธพ.มีความเข้าใจและมีวิธีปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้ หาก ธพ.สามารถตัดเอ็นพีเอออกไป
จากระบบได้จะทำให้หนี้เอ็นพีแอลลดลง และอาจจะสามารถลดลงได้ตามเป้าหมายของ ธปท.ที่ต้องการให้หนี้เอ็นพีแอลของระบบลดลงเหลือร้อยละ
2 ในปีนี้ โดยล่าสุดสิ้นเดือน พ.ย.49 เอ็นพีเอของระบบ ธพ.อยู่ที่ 175,157 ล้านบาท เป็นสินทรัพย์รอการขายของ ธพ.ไทย 174,993 ล้านบาท
และเป็นของ ธพ.ต่างประเทศ 164 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
2. ธปท.เผยนักธุรกิจกังวลความไม่แน่นอนทางการเมืองและมาตรการของรัฐบาลจะส่งผลต่อความเชื่อการลงทุนปีนี้ รายงานจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อประจำเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ผลจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้
ประกอบการ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงเห็นว่า เหตุการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง และมาตรการของรัฐบาลในช่วงปลายปี 2549
จะเป็นปัจจัยที่บั่นทอนความเชื่อมั่นและการตัดสินใจของนักลงทุนในปี 50 ได้ แม้ว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่ง
ปีหลังก็ตาม รายงานดังกล่าว ยังระบุด้วยว่า โดยปัจจัยเสี่ยงในระยะต่อไปที่เป็นข้อจำกัดของการทำธุรกิจ คือ ความไม่แน่นอนทางการเมือง
โดยเฉพาะในเรื่องของการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล มาตรการดูแลเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น และการแก้ไข พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคน
ต่างด้าว รวมไปถึงการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก (กรุงเทพธุรกิจ)
3. เจโทรเผยผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจไทยในมุมมองของนักลงทุนญี่ปุ่นอยู่ในอันดับต่ำสุดในอาเซียน ผอ.ฝ่ายเศรษฐกิจ
หอการค้าญี่ปุ่น ประจำกรุงเทพฯ และประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เผยผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของ
นักลงทุนญี่ปุ่น ที่เจโทรได้สำรวจเปรียบเทียบ 5 ประเทศในอาเซียน พบว่า ผลสำรวจในเดือน ม.ค.50 แนวโน้มเศรษฐกิจของไทยอยู่ในอันดับต่ำสุด
โดยมีค่าดัชนีแนวโน้มทางเศรษฐกิจ (DI) อยู่ที่ -12.9 ขณะที่สิงคโปร์มีค่า DI สูงสุดที่ +13.1 รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย +4.6 ฟิลิปปินส์
-4.3 และมาเลเซีย -4.6 ทั้งนี้ ค่า DI ของไทยถือว่าลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 และเมื่อเทียบกับช่วง 6 เดือนก่อนพบว่า ค่า DI ของไทย
ยังอยู่ในระดับเดียวกับฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ขณะที่อินโดนีเซียมีค่า DI ต่ำสุด อย่างไรก็ตาม ค่า DI ดังกล่าวยังไม่มีผลกระทบต่อการย้ายการ
ลงทุนในทันที แต่จะมีผลต่อความมั่นใจการลงทุนในไทยในอนาคต ซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นจะพิจารณาว่าการลงทุนในประเทศใดจะเป็นฐานการส่งออกที่ดีที่สุด
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, แนวหน้า, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า)
4. ก.คลังเตรียมเป้าหมายอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปี 50 ผอ.กองเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
เปิดเผยว่า สศค.จะใช้เวลา 1 เดือนนับจากนี้ เพื่อรวบรวมปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทย ก่อนที่จะนำไปประเมินอัตราการ
ขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปีนี้ใหม่ ทั้งนี้ เดิม สศค.ได้ประเมินอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 4-5 ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน
เนื่องจากมีทั้งปัจจัยที่เข้ามาสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยที่เข้ามากระทบภาวะเศรษฐกิจไทยเช่นกัน
(กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, แนวหน้า)
5. สศค.เตรียมศึกษาผลกระทบจากเกณฑ์กันสำรองตามมาตรฐานไอเอเอส 39 ต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ผอ.สำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจไปพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อ
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ จากมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในเรื่องมาตรการกันสำรองหนี้เสียตามเกณฑ์ไอเอเอส 39 และ
ประเมินถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ดังกล่าวด้วย เนื่องจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจถูกจัดตั้งโดยรัฐ มีบทบาทและหน้าที่เฉพาะของตัวเอง
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ, แนวหน้า)
6. ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกพระราชกำหนดจัดสรรเงินทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ. 2498
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวภายหลังการประชุม ครม.เมื่อ 30 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่าง
พ.ร.บ.ยกเลิกพระราชกำหนดจัดสรรเงินทุนสำรองเงินตราเกินจำนวนธนบัตรออกใช้ พ.ศ.2498 ตามที่ ก.คลังเสนอ เนื่องจากเห็นว่าหน้าที่
เดิมที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและทองคำ การลงทุน แสวงหาผลประโยชน์จากตั๋วเงินคลัง หรือหลักทรัพย์ระยะสั้นอย่างอื่นของรัฐบาล
และหลักทรัพย์ระยะสั้นที่มั่นคงในต่างประเทศ รวมทั้งการกู้ยืมเงินเท่าที่จำเป็นแก่การรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวที่ผิด
ปกติของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด และมีเสถียรภาพเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศ ตามพระราชกำหนดดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลง
ไปตั้งปี 40 ที่ไทยหันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว ตามภาวะตลาดเงินต่างประเทศ ทำให้บทบาทการบริหารจัดการเพื่อรักษา
เสถียรภาพค่าเงินบาทของทุนรักษาระดับฯ ลดลงมาก ทั้งนี้ ภายหลังวันที่ชำระบัญชีเรียบร้อยแล้ว มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
รับผิดชอบภาระด้านคดีของทุนรักษาระดับฯ ที่ยังค้างอยู่ในศาลทั้งหมด (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.เพิ่มขึ้นที่ระดับ 110.3 ในเดือน ม.ค.50 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 30 ม.ค.50
The Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่น (Consumer sentiment index) ของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นที่
ระดับ 110.3 จากระดับ 109.0 ในเดือนก่อนหน้า สูงกว่าเล็กน้อยจากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดัชนีฯ จะอยู่ที่ระดับ 110.0
และเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.45 ที่ดัชนีอยู่ที่ระดับ 110.7 โดยมีสาเหตุหลักจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีที่เป็นส่วนประกอบหลักคือ
ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน (Present situation index) ซึ่งเพิ่มขึ้นที่ระดับ 133.9 จากระดับ 130.5
ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคมีมุมมองที่ดีต่อตลาดแรงงาน ขณะที่ส่วนประกอบอื่น ได้แก่ ดัชนีความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ
(Expectations index) ลดลงที่ระดับ 94.5 จากระดับ 96.3 ในเดือนก่อนหน้า อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นดัชนีที่บ่งชี้การ
ใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่อปีต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
30 ม.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติรายงานตัวเลขเบื้องต้นดัชนีราคาผู้บริโภคของเยอรมนีในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี
จากร้อยละ 1.4 ต่อปีในเดือน ธ.ค.49 ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อปี โดยหากคำนวนตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปแล้ว
อัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี จากร้อยละ 1.4 ต่อปีในเดือน ธ.ค.49 ทั้งนี้หากเทียบต่อเดือนแล้ว อัตราเงินเฟ้อ
ในเดือน ม.ค.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49 ไม่ว่าจะคำนวณด้วยวิธีใดก็ตาม สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดไว้
ทั้งที่การขึ้นอัตราภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคอีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0 เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว เป็นผลมาจากการแข่งขันกันลดราคาของ
ร้านค้าปลีกจากสภาพการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดค้าปลีก แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
2.0 ต่อปีภายในเดือน มี.ค.50 และคาดว่าการเจรจาขอขึ้นค่าจ้างของสหภาพแรงงานซึ่งจะเริ่มในกลางเดือน มี.ค.50 นี้ จะทำให้มีแรง
กดดันต่อภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่า ธ.กลางยุโรปหรือ ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปีใน
เดือน มี.ค.50 ที่จะถึงนี้ โดยสนง.สถิติแห่งชาติมีกำหนดรายงานตัวเลขจริงอัตราเงินเฟ้อสำหรับเดือน ม.ค.50 ในกลางเดือน ก.พ.50 นี้
(รอยเตอร์)
3. ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 53.4 จากระดับ 53.1 ในเดือน ธ.ค. รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่
31 ม.ค. 50 ผลการสำรวจ Purchasing Managerd Index (PMI) ของ NTC REsearch Nomura และ JMMA ซึ่งเป็นสัญญานบ่งชี้ล่วงหน้า
ของภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 53.4 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 53.1 ในเดือน
ธ.ค.ที่อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 48 และอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 44 เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศโดย
เฉพาะจีนเพิ่มขึ้นในสินค้าประเภทสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มที่มียอดส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ผลผลิตและปริมาณความต้องการในประเทศยัง
คงอ่อนตัว ทั้งนี้ PMI ประกอบด้วยดัชนีทางเศรษฐกิจหลายตัว รวมทั้งการตอบแบบสอบถามจากผู้ประกอบการผลิตมากกว่า 350 แห่ง โดย PMI
ที่อยู่ในระดับสูงกว่า 50 แสดงว่าภาวะอุตสาหกรรมการผลิตขยายตัว แต่หากต่ำกว่าระดับ 50 แสดงถึงภาวะหดตัว (รอยเตอร์)
4. คาดอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้เดือน ม.ค.50 จะชะลอตัวลงเหลือร้อยละ 2.0 รายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 30 ม.ค.50 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์คาดว่า อัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปีของเกาหลีใต้ในเดือน
ม.ค.50 อยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ชะลอลงเล็กน้อยจากระดับร้อยละ 2.1 ในเดือน ธ.ค.49 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติปรับตัว
ลดลงและมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าอาจจะทำให้อัตราเงินเฟ้อดัชนีราคาผู้บริโภคลดต่ำลงกว่าระดับร้อยละ 2.0 ในอนาคตอันใกล้นี้
ถ้าราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงในระยะหลังส่งผลสะท้อนกลับอย่างเต็มที่ต่อดัชนีราคาผู้บริโภค ทั้งนี้ คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบต่อเดือนที่ปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วในเดือน ม.ค.50 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สูงกว่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ธ.ค.49 ด้าน ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 4.5 เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในการประชุมเดือน ม.ค.50 หลังจากที่ได้มีการปรับขึ้นมาแล้ว 5 ครั้ง
นับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งผู้ว่าการ ธ.กลางเกาหลีใต้ยืนยืนความรับผิดชอบของ ธ.กลางเกาหลีใต้ที่จะรักษาสภาพคล่อง
ในระบบอย่างเข้มงวดเพื่อควบคุมราคาอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังเติบโตอย่างมากในขณะนี้ อนึ่ง สัดส่วนในการคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้
มาจากสินค้าภาคอุตสาหกรรมรวมผลิตภัณฑ์น้ำมัน ร้อยละ 34 ขณะที่ค่าธรรมเนียมบริการรวมทั้งค่าเช่าที่อยู่อาศัยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 55
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ม.ค. 50 31 ม.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.814 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5978/35.9336 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.875 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 653.49/11.61 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 52.97 50.63 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 19 ม.ค. 50 25.19*/22.54** 25.19*/22.54** 26.49/23.34 ปตท.
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 ม.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--