สรุปภาวะการค้าไทย-ญี่ปุ่นปี 2550 (ม.ค-เม.ย)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 18, 2007 17:15 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 5 ของโลกในปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้า 578,783.095 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.12
2. แหล่งผลิตสำคัญที่ญี่ปุ่นนำเข้า ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ได้แก่
- จีน ร้อยละ 21.13 มูลค่า 40,748.694 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52
- สหรัฐฯ ร้อยละ 11.86 มูลค่า 22,864.782 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.99
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 5.46 มูลค่า 10,518.520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.62
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 10 สัดส่วนร้อยละ 3.02 มูลค่า 5,825.370 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.64
3. สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้แถลงเศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาสแรกปี 2550 ว่าเติบโตร้อยละ 3.3 ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงเกินคาด ซึ่งเป็นผลมาจากภาคธุรกิจมีการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นหลายรายให้ความเห็นว่า อาจเป็นเรื่องยากที่จะรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจให้คงอยู่ในระดับไตรมาสแรกของปี 2550 เนื่องจากรัฐบาลยังไม่มีนโยบายขึ้นเงินเดือนค่าจ้าง จึงส่งผลให้อุปสงค์ของภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก
4. ญี่ปุ่นได้ดุลการค้ากับทั่วโลก ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มูลค่า 29,702.992 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 23,744.220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.50 ฮ่องกงเป็นอันดับ 2 มูลค่า 11,547.109 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.26 และได้เปรียบดุลการค้าให้กับเกาหลีใต้เป็นอันดับ 3 มูลค่า 9,140.657 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.24
5. ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยโดยมีสัดส่วนส่งออกไปตลาดนี้ ร้อยละ 12.66 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมของไทย หรือมูลค่า 5,783.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.66
6. สินค้าไทยส่งออกไปญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีโครงสร้าง ดังนี้
- สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง) ร้อยละ 12.07
- สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ร้อยละ 7.60
- สินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 75.77
- สินค้าแร่ เชื้อเพลิง และอื่นๆ ร้อยละ 4.56
จากสถิติโครงสร้างการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่น จะเห็นว่าทั้งสินค้าแต่ละกลุ่ม มีสถิติเพิ่มขึ้นและลดลงในระดับที่แตกต่างกัน โดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.21 เกษตรกรรมลดลงร้อยละ 3.45 และอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55
7.1 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมไปญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีมูลค่า 697.98 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 3.45 เมื่อเทียบกับ 722.93 ของปี 2549 ในช่วงระยะเดียวกัน
สินค้าเกษตรกรรมสำคัญส่งออกไปญี่ปุ่น ได้แก่
- ยางพารา สัดส่วนร้อยละ 38.32
- ปลาหมึก สัดส่วนร้อยละ 10.26
- กุ้ง สัดส่วนร้อยละ 8.72
- ปลา สัดส่วนร้อยละ 8.50
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็ง สัดส่วนร้อยละ 4.18
ยางพารา : เป็นสินค้าเกษตร (กสิกรรม) สำคัญอันดับหนึ่งที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่น มูลค่า 267.46 ล้านเหรียญสหรัฐปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ลดลงร้อยละ 18.69 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้ายางพารา (HS.4001 Rubber Natural) ในประเทศญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ซึ่งมีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 55.21 มูลค่า 308.611 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.02 รองลงไปเป็นการนำเข้าจาก อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม สัดส่วนร้อยละ 41.01 1.52 และ 1.48 ตามลำดับ
ปลาหมึก : เป็นสินค้าเกษตร (ประมง) สำคัญอันดับ 2 ซึ่งไทยส่งออกไปญี่ปุ่น โดยมีมูลค่า 71.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.01 เมื่อเทียบกับ 51.51 ล้านเหรียญสหรัฐ ของปี 2549 ในช่วงระยะเดียวกัน และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าปลาหมึก HS 030749 SQUID,ET,NLIV/FRSH ของญี่ปุ่น พบว่าปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีการนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 80.962 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.21 นำเข้าจากไทยอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 30.23 มูลค่า 24.472 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมานำเข้าจากจีน เวียดนาม และโมรอคโค ในสัดส่วนร้อยละ 23.86 16.08 และ 11.36 ตามลำดับ
กุ้ง : เป็นสินค้าเกษตร (ประมง) สำคัญอันดับที่ 3 ซึ่งไทยส่งออกไปญี่ปุ่น โดยมีมูลค่า 60.84 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.13 ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีการนำเข้ากุ้ง จากตลาดโลก (Hs.030613 SHRIMP, PRAWN FROZEN) มูลค่ารวม 461.753 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ3.65 โดยการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 3 สัดส่วนร้อยละ 10.86 มูลค่า 50.158 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.89 ในขณะที่นำเข้าจากอินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นอันดับที่ 1 และ 2 สัดส่วนร้อยละ 24.31 และ 15.80 ตามลำดับ
ปลา : เป็นสินค้าเกษตร (ประมง) สำคัญอันดับที่ 4 ซึ่งไทยส่งออกไปญี่ปุ่นโดยมีมูลค่า 59.31 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 0.90 ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มีการนำเข้าปลาจากตลาดโลก (Hs.0304 FILLET, OTHER FISH MEAT) มูลค่ารวม 791.324 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.03 มีการนำเข้าจากจีน ชิลี สหรัฐฯ และตุรกี เป็นหลักโดยการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 6.68 มูลค่า 52.880 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04
ผักสดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง : เป็นสินค้าเกษตรสำคัญอันดับที่ 5 ซึ่งไทยส่งออกไปญี่ปุ่น โดยมีมูลค่า 6.75 ล้านเหรียญสหรัฐปี 2550 (ม.ค-เม.ย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.50 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าของญี่ปุ่นปี 2550 (ม.ค-เม.ย) พบว่าญี่ปุ่นนำเข้าผักสดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง(Hs.07 vegetables) จากตลาดโลกเป็นมูลค่า 611.731 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงร้อยละ 8.83 มีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 มูลค่า32.910 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.73 ส่วนอันดับหนึ่ง อันดับสอง และอันดับสาม นำเข้าจากจีน นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 57.47 10.11 และ 9.90 ตามลำดับ
สินค้าเกษตรที่มีความสำคัญรองลงไปคือ ข้าว น้ำยางข้น กล้วยไม้ และผลไม้สด แช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น
7.2 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรไปญี่ปุ่นที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สัดส่วนร้อยละ 31.68
- อาหารสัตว์เลี้ยง สัดส่วนร้อยละ 14.55
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ สัดส่วนร้อยละ 14.52
- น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล สัดส่วนร้อยละ 13.35
- ผักกระป๋องและแปรรูป สัดส่วนร้อยละ 5.52
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่น เป็นมูลค่า 139.30 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.28 ในด้านสถิติการนำเข้าของญี่ปุ่น มีการนำเข้า
-(HS 1604 FISH AND CAVIAR) ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปจากตลาดโลกมูลค่า 468.546 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.22 นำเข้าจากจีน ไทย และอินโดนีเซีย เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 10.98 มูลค่า 51.422 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75
-(HS 1605 CRUSTACEAN, MOLLUSCS) ปู กุ้ง ปลาหมึก บรรจุภาชนะอัดลม (อาหารทะเลแปรรูป) ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 340.083 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.80 มีการนำเข้าจากจีน ไทย เวียดนาม เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 22.84 มูลค่า 268.309 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.98
อาหารสัตว์เลี้ยง : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่นมูลค่า 63.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.88 และในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ในรหัส HS 23 FOODWAST : ANIMAL FEED มีมูลค่า 662.900 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ5.43 มีการนำเข้าจากสหรัฐฯ จีน และอินเดีย เป็นหลักในสัดส่วนร้อยละ 26.88 17.09 และ 12.51 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 11.04 มูลค่า 73.167 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.71
เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่น เป็นมูลค่า 63.87 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) เทียบกับ 47.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดียวกันของปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.27 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าในรหัส HS 16 PREPARED MEAT, FISH,ETC ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) พบว่าญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,395.965 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.88 มีการนำเข้าจากจีน ไทย และสหรัฐฯ เป็นหลักในสัดส่วนร้อยละ 58.95 21.10 และ 5.21 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 21.10 มูลค่า 294.588 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.50
น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 58.70 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.17 ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ส่วนในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่นในรหัส HS 1701 CANE/ BEET, SOLID FORM จากตลาดโลกมีมูลค่า 117.296 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.32 ในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) นำเข้าจากฝรั่งเศส สหรัฐฯ และไทย เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 51.37 22.26 และ 12.89 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจาก ออสเตรเลียไทย และ แอฟริกาใต้ เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 46.62 42.83 6.73 ตามลำดับ ซึ่งการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 42.83 มูลค่า 50.239 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.09
ผักกระป๋องและแปรรูป : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 24.28 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.75 ในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) และในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ในรหัส HS 2005 OT PREP VEG,NOT FRZEN จากตลาดโลกมีมูลค่า 184.975 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.11 มีการนำเข้าจาก จีน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 70.52 11.49 และ 9.37 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 3.84 มูลค่า 7.100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.17
สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมที่สำคัญรองลงไปซึ่งไทยส่งไปญี่ปุ่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ สิ่งปรุงรสอาหาร ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
7.3 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปญี่ปุ่น 5 อันดับ ได้แก่
- เครื่องใช้ไฟฟ้า สัดส่วนร้อยละ 20.71
- แผงวงจรไฟฟ้า สัดส่วนร้อยละ 9.38
- ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สัดส่วนร้อยละ 8.97
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สัดส่วนร้อยละ 8.30
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สัดส่วนร้อยละ 3.34
เครื่องใช้ไฟฟ้า : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่นในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) เป็นมูลค่า 907.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.36 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าสินค้าในรหัส HS.85 ELECTRICAL MACHINERY ของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2550 (ม.ค-เม.ย) พบว่ามีการนำเข้าจากตลาดโลกรวม 23,240.372 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.87 นำเข้าจากจีน ไต้หวัน และสหรัฐฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 สัดส่วนร้อยละ 5.51 มูลค่า 1,281.034 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.47
แผงวงจรไฟฟ้า : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มูลค่า 410.98 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.64 ส่วนในด้านการนำเข้าแผงวงจรไฟฟ้าของญี่ปุ่น (HS 8542 INTEGRATED CIRCUITS) ปี 2550 (ม.ค-เม.ย)มีการนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า6,862.678 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.31 โดยการนำเข้าจากไต้หวัน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ที่อันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 1.84 มูลค่า 126.536 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.47
ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มูลค่า 393.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 280.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ของปี 2549 ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.01 ในด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ในรหัสสินค้า HS 87 VEHICLES, NOT RAILWAY มีมูลค่า 4,628.346 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81 โดยนำเข้าจากเยอรมนี จีน และสหรัฐฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 7 สัดส่วนร้อยละ 3.49 มูลค่า 161.595 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.26
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ไทยส่งสินค้านี้ออกไปญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) เป็นมูลค่า 363.85 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.30 ส่วนในด้านการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบในตลาดญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) HS 8471 COMPUTERS AND COMPONENTS นำเข้าจากตลาดโลกมีมูลค่า 4,624.910 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 30.79 โดยนำเข้าจากไทยอันดับที่ 3 สัดส่วนร้อยละ 6.07 มูลค่า 280.744 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 27.52
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ : ไทยส่งสินค้านี้ไปญี่ปุ่น ปี 2550 (ม.ค-เม.ย) มูลค่า 146.31 ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับ 113.08 ของปี 2549 ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.39 ในด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของญี่ปุ่นปี 2550 (ม.ค-เม.ย) ในรหัสสินค้า HS 84 MACHINERY มีมูลค่า 18,275.261 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.60 มีการนำเข้าจากจีน สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 5.46 มูลค่า 996.991 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.94
สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปอินเดียที่สำคัญรองลงไป ได้แก่ เลนซ์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
1. ผลการวิเคราะห์การลงทุนของฝ่ายวิจัยธนาคารกรุงไทยระบุว่า แนวโน้มการลงทุนของประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทยยังไม่สดใส ซึ่งในระยะกลางไทยมีโอกาสหลุดตำแหน่งประเทศที่น่าลงทุนอันดับ 3 มาสู่อันดับ 4 ภายหลังจากที่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก WTO และมีข้อได้เปรียบ ทั้งนี้จะเห็นได้จากมูลค่าโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนและโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ของนักลงทุนญี่ปุ่นปี 2549 ลดลงจากปี 2548 ร้อยละ 13.4 และร้อยละ 32.9 ตามลำดับ และจากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการลงทุนโดยตรงสุทธิของญี่ปุ่นในไทยมีโอกาสจะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากจำนวนเงินในแผนการลงทุนเพิ่มด้านโรงงานและเครื่องจักรในปี 2550 ยังคงลดลงร้อยละ 26.5 ประกอบกับยังมีปัจจัยเสี่ยงภายนอก อาทิ การแข่งขันการดึงดูดการลงทุนโดยตรงในประเทศแถบเอเซีย การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจ และปัจจัยเสี่ยงภายใน เช่น ความได้เปรียบด้านต้นทุนค่าแรง และราคาวัตถุดิบ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
2. ปัจจัยดึงดูดที่ทำให้นักลงทุนญี่ปุ่นสนใจไปลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น ได้แก่ การมีต้นทุนแรงงานต่ำ และการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนมากขึ้นภายหลังจากที่เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การค้าโลกประกอบกับเวียดนามได้พยายามแก้ปัญหาความล่าช้าที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตลงทุน โดยการปรับปรุงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขออนุมัติโครงการลงทุนจากต่างชาติ พร้อมกับปรับปรุงระบบการบริการให้เป็นแบบ One-Stop-Service เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการขออนุญาตการลงทุน
3. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ทำการศึกษาถึงผลของการเจรจาข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA : Japan - Thailand Economic Partnership Agreement) และพบว่าในภาพรวมของการลงนามในข้อตกลงดังกล่าว ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 นั้นยังไม่พบบทบัญญัติที่จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ไทยมีโอกาสดีขึ้นในการกระตุ้นการลงทุนระหว่างไทยและญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านการลงทุนกับประเทศคู่แข่งได้ อย่างไรก็ตามภาครัฐก็จะต้องเร่งฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้กลับมาโดยเร็ว รวมทั้งจะต้องปรับปรุงนโยบายการลงทุนอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในระยะยาว เช่น การปรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงดูดการลงทุนการเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อการรองรับการขยายการลงทุน เป็นต้น
4. การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 ที่ผ่านมาจะมีผลบังคับใช้ในช่วงปลายปี 2550 โดยการลงนามในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดโอกาสที่ดีต่อความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุนระหว่างกัน ซึ่งจะนำไปสู่การขยายธุรกิจใหม่ๆ ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายว่า ผลการเจรจาใดใดก็ตาม ย่อมมีทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยเสี่ยง ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่ายได้ให้ความเห็นในเรื่องดังกล่าวโดยสรุปดังนี้
4.1 การบรรลุข้อตกลง JTEPA ส่งผลดีต่อสินค้าบางประเภทของไทย ได้แก่สินค้าเกษตรกรรม สินค้าอุตสาหกรรมเบา เช่น รองเท้า สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และเรื่องการค้าบริการ
4.2 เมื่อกล่าวถึงในด้านของผลกระทบ ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงในด้านความไม่พร้อมของภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องผลิตให้ได้และผลิตให้ทันต่อความต้องการ ด้วยเหตุนี้ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐบาลและเอกชนจะต้องรวมตัวกันเพื่อที่จะสร้างความพร้อมและเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง
4.3 อุตสาหกรรมเหล็ก และชิ้นส่วน เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากข้อตกลง JTEPA เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่อุตสาหกรรมเหล็กของญี่ปุ่นซึ่งอุตสาหกรรมใหญ่และมีศักยภาพจะเข้ามาแทรกแซงอุตสาหกรรมเหล็กของไทย โดยเฉพาะหากในอนาคตกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นมีการผลิตเหล็กประเภทพิเศษที่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง พร้อมกับมีการจดสิทธิบัตร ด้วยเหตุนี่เมื่อนักลงทุนไทยต้องการที่จะเป็นผู้ผลิตเหล็กดังกล่าว ก็จะต้องดำเนินการขอลิขสิทธิ์ก่อนการผลิต ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่าอนาคต อุตสาหกรรมเหล็กไทยจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มนักลงทุนอย่างเบ็ดเสร็จ อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สิ่งสำคัญที่ประเทศไทยควรดำเนินการคือการเสริมสร้าง พัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้น เพื่อศักยภาพด้านการผลิต และการแข่งขันในเรื่องการค้า อุตสาหกรรม และการศึกษาที่โดยภาครัฐบาลและเอกชนจะต้องผนึกกำลังกันเพื่อสร้างวิกฤตให้เป็นโอกาส
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ