กรุงเทพ--14 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. ฯพณฯ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2550 นับเป็นการเยือนประเทศไทยครั้งที่ 3 ของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังจากที่ได้เยือนไทยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 และวันที่ 13-14 ตุลาคม 2547
2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเข้าเฝ้าฯ ในโอกาสเยือนประเทศไทย หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศได้หารือข้อราชการในบรรยากาศฉันมิตร
3. นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศแสดงความพอใจต่อพัฒนาการในความสัมพันธ์ฉันมิตรของทั้งสองประเทศที่เป็นมาอย่างสม่ำเสมอและยืนยันความตั้งใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือทุกด้านเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศยังได้แสดงความยินดีต่อการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและมาเลเซียที่จะครบรอบ 50 ปีในปีนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า กิจกรรมที่จะจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสดังกล่าวจะมีทั้งกิจกรรมที่เป็นการดำเนินการร่วมกันของทั้งสองประเทศ และกิจกรรมที่แต่ละฝ่ายจะเป็นผู้ดำเนินการเอง
4. นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีและได้แสดงความพอใจกับผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของพัฒนาการในความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Joint Development Strategy) ทั้งนี้ การเริ่มโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่สองเพื่อเชื่อม Buketa ฝั่งไทยกับ Bukit Bunga ฝั่งมาเลเซีย และการเริ่มโครงการฝึกอบรมแก่ฝ่ายไทยที่เสนอโดย GIATMARA ของมาเลเซีย แสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นและความพยายามของทั้งสองฝ่ายในการดำเนินการโครงการร่วมพัฒนา โครงการ JDS มีส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในบริเวณพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ของไทยและรัฐทางเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย
5. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศแสดงความพอใจกับความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมของแผน พัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปี ในกรอบความร่วมมือการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ซึ่งได้รับการรับรองโดยที่ประชุมสุดยอด IMT-GT ครั้งที่ 2 ที่เมืองเซบู เมื่อเดือนมกราคม 2550 แผนพัฒนาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในกำหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของความร่วมมือของทั้งสองประเทศในเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายดังกล่าว
6. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศยังได้แสดงความพอใจกับความคืบหน้าของการดำเนินการแก้ไขปัญหาบุคคลสองสัญชาติของทั้งสองประเทศ และได้รับทราบถึงการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายที่ได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องนี้
7. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้แสดงความห่วงกังวลในปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และเห็นว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องยุติการโจมตีด้วยความรุนแรงต่อพลเรือนและประชาชนผู้บริสุทธิ์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแสดงความยินดีต่อการที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางสันติและสมานฉันท์ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันที่จะต้องส่งเสริมความร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านสังคมและการศึกษาด้วยการติดต่อในระดับประชาชนต่อประชาชน รวมทั้งการเยือนมาเลเซียของนักศึกษาไทย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้
8. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้แสดงความพอใจต่อความคืบหน้าอย่างดียิ่งในความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับมาเลเซีย อันประกอบด้วย การผลิตก๊าซจากเขตพัฒนาร่วม (JDA) โครงการวางท่อส่งก๊าซระหว่างไทยกับมาเลเซียและโรงแยกก๊าซ (TTM) และโครงการแลกเปลี่ยนไฟฟ้าระหว่างสองประเทศ ทั้งสองฝ่ายยังได้แสดงความชื่นชมต่อหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้านพลังงาน อันได้แก่ Malaysia-Thailand Joint Authority (MTJA), PETRONAS และ บริบัท ปตท. จำกัด (PTT), Tenega Nasional และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT).
9. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศยังได้แสดงความพอใจกับจำนวนนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศที่เพิ่มมากขึ้นและตกลงที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านท่องเที่ยวระหว่างกันด้วย
10. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้แสดงความพอใจต่อความคืบหน้าของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล ทั้งสองฝ่ายรับทราบว่า จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลแห่งประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Malaysia’s Halal Industry Development Corporation and World Halal Forum เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศในการดำเนินการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์และการบริการฮาลาล
11. นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้แสดงความชื่นชมต่อนายกรัฐมนตรีไทยที่ได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งการอำนวยความสะดวกอย่างดียิ่งในระหว่างการเยือนประเทศไทยของตน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. ฯพณฯ ดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ในระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2550 นับเป็นการเยือนประเทศไทยครั้งที่ 3 ของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังจากที่ได้เยือนไทยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2547 และวันที่ 13-14 ตุลาคม 2547
2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเข้าเฝ้าฯ ในโอกาสเยือนประเทศไทย หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศได้หารือข้อราชการในบรรยากาศฉันมิตร
3. นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศแสดงความพอใจต่อพัฒนาการในความสัมพันธ์ฉันมิตรของทั้งสองประเทศที่เป็นมาอย่างสม่ำเสมอและยืนยันความตั้งใจที่จะส่งเสริมความร่วมมือทุกด้านเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศยังได้แสดงความยินดีต่อการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและมาเลเซียที่จะครบรอบ 50 ปีในปีนี้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า กิจกรรมที่จะจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสดังกล่าวจะมีทั้งกิจกรรมที่เป็นการดำเนินการร่วมกันของทั้งสองประเทศ และกิจกรรมที่แต่ละฝ่ายจะเป็นผู้ดำเนินการเอง
4. นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีและได้แสดงความพอใจกับผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมของพัฒนาการในความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Joint Development Strategy) ทั้งนี้ การเริ่มโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งที่สองเพื่อเชื่อม Buketa ฝั่งไทยกับ Bukit Bunga ฝั่งมาเลเซีย และการเริ่มโครงการฝึกอบรมแก่ฝ่ายไทยที่เสนอโดย GIATMARA ของมาเลเซีย แสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นและความพยายามของทั้งสองฝ่ายในการดำเนินการโครงการร่วมพัฒนา โครงการ JDS มีส่วนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในบริเวณพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ของไทยและรัฐทางเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย
5. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศแสดงความพอใจกับความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมของแผน พัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปี ในกรอบความร่วมมือการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ซึ่งได้รับการรับรองโดยที่ประชุมสุดยอด IMT-GT ครั้งที่ 2 ที่เมืองเซบู เมื่อเดือนมกราคม 2550 แผนพัฒนาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในกำหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของความร่วมมือของทั้งสองประเทศในเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายดังกล่าว
6. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศยังได้แสดงความพอใจกับความคืบหน้าของการดำเนินการแก้ไขปัญหาบุคคลสองสัญชาติของทั้งสองประเทศ และได้รับทราบถึงการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายที่ได้หารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องนี้
7. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้แสดงความห่วงกังวลในปัญหาเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย และเห็นว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องยุติการโจมตีด้วยความรุนแรงต่อพลเรือนและประชาชนผู้บริสุทธิ์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแสดงความยินดีต่อการที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางสันติและสมานฉันท์ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องกันที่จะต้องส่งเสริมความร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านสังคมและการศึกษาด้วยการติดต่อในระดับประชาชนต่อประชาชน รวมทั้งการเยือนมาเลเซียของนักศึกษาไทย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้
8. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้แสดงความพอใจต่อความคืบหน้าอย่างดียิ่งในความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างไทยกับมาเลเซีย อันประกอบด้วย การผลิตก๊าซจากเขตพัฒนาร่วม (JDA) โครงการวางท่อส่งก๊าซระหว่างไทยกับมาเลเซียและโรงแยกก๊าซ (TTM) และโครงการแลกเปลี่ยนไฟฟ้าระหว่างสองประเทศ ทั้งสองฝ่ายยังได้แสดงความชื่นชมต่อหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้านพลังงาน อันได้แก่ Malaysia-Thailand Joint Authority (MTJA), PETRONAS และ บริบัท ปตท. จำกัด (PTT), Tenega Nasional และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT).
9. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศยังได้แสดงความพอใจกับจำนวนนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศที่เพิ่มมากขึ้นและตกลงที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านท่องเที่ยวระหว่างกันด้วย
10. นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศได้แสดงความพอใจต่อความคืบหน้าของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล ทั้งสองฝ่ายรับทราบว่า จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลแห่งประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Malaysia’s Halal Industry Development Corporation and World Halal Forum เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศในการดำเนินการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์และการบริการฮาลาล
11. นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้แสดงความชื่นชมต่อนายกรัฐมนตรีไทยที่ได้ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและอัธยาศัยไมตรี รวมทั้งการอำนวยความสะดวกอย่างดียิ่งในระหว่างการเยือนประเทศไทยของตน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-