ถ้าเรียกคืนความเชื่อมั่นได้ - ม็อบจะกลายเป็นเรื่องเล็ก
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
29 มีนาคม 2550
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์วิจารณ์ถึงผลงานและคะแนนนิยมของคมช.และรัฐบาลในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาและได้กล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้คะแนนของรัฐบาลตกต่ำลงว่าประกอบด้วยเหตุสำคัญ ๆ อย่างน้อย 5 ประการด้วยกันคือ
1. ความไม่ค่อยตระหนักว่าเป็นรัฐบาลในภาวะวิกฤตและความไม่เข้าใจในภารกิจ ที่จะต้องสนองตอบต่อปัญหาและสถานการณ์
2. ความไม่แน่วแน่ ในการร่วมมือกันชำระล้างการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความไม่ค่อยจะให้ความร่วมมือต่อ คตส. เท่าที่ควร
3. ความไม่สามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
4. ความล่าช้าในการแก้ปมปัญหาทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งจะกลายเป็นเงื่อนไขทางการเมืองต่อรัฐบาล
5. ความไม่สามารถในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจซึ่งนับวันแต่จะเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น
สัปดาห์นี้จึงคิดว่า ควรจะได้วิเคราะห์วิจารณ์กันต่อเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาม็อบ คือการชุมนุมของกลุ่มต่าง ๆ ที่จะชุมนุมกันที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 30 มีนาคมนี้ หรือแม้แต่จะมีการชุมนุมกันต่อ ๆ ไปอีก ซึ่งดูจะสร้างความหนักใจให้เกิดขึ้น แก่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ฯ และคมช. พอสมควรทีเดียว
ที่ผมเห็นว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันก็เพราะว่า ในทางการเมืองเราจะพบความจริงกันอยู่บ่อย จนพอที่จะถือเป็นกฎเกณฑ์ได้เลยว่า เมื่อใดก็ตามที่ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลลดลง การชุมนุมเรียกร้องก็จะเกิดมีขึ้นเป็นเงาตามตัว คือยิ่งความเชื่อมั่นลดลงมากเพียงใด การชุมนุมเรียกร้องก็จะมีมากขึ้นเพียงนั้น
จริงอยู่แม้ในทางการเมืองจะมีม็อบการเมืองแท้ ๆ คือม็อบที่เกิดขึ้นโดยเกมทางการเมืองที่มุ่งจะทำลายความเชื่อถือชุมนุมยืนพื้นอยู่แล้วก็ตาม แต่ถ้าตราบใดรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจรัฐยังได้รับความเชื่อมั่นยังได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอยู่ ตราบนั้นการชุมนุมที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นเพียงการชุมนุมขนาดเล็กธรรมดา ๆ ซึ่งต้องถือเป็นเรื่องปรกติ สำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
แต่เมื่อใดก็ตามที่ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปต่างมีความผิดหวัง ขาดความเชื่อมั่น ขาดความไว้วางใจในรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจรัฐ เพราะมิได้บริหารประเทศไปในทางที่ควรจะเป็นและก่อให้เกิดปัญหารุมเร้า มากยิ่งขึ้นทุกที การชุมนุมเรียกร้องก็จะเกิดพลังร่วมเป็นการชุมนุมขนาดใหญ่ ที่อาจยืดเยื้อยาวนานจนก่อให้เกิดวิกฤตได้ ดังที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว หลายต่อหลายครั้งในอดีต รวมทั้งที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณก่อนหน้านี้ และสำหรับรัฐบาลนี้ รวมทั้งคมช.ด้วย ก็คงจะต้องยอมรับความเป็นจริง เช่นเดียวกันว่า ความเชื่อมั่นของประชาชนที่เคยมีมากในตอนต้น ๆ นั้นมีอันต้องลดลงเรื่อยมา ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ คะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จากการทำโพลของบางสำนัก ที่จัดทำมาเป็นระยะ ๆ และบ่งบอกว่าคะแนนนิยมลดลงจากกว่า 70% ลงมาเป็นกว่า 40% และกว่า 30% ในที่สุดซึ่งก็เท่ากับลดลงครึ่งหนึ่งทีเดียว การที่จะดำเนินการในเรื่องที่ค่อนข้างล่อแหลมจึงควรจะเป็นไปด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
การนำเอาเรื่องนี้มาวิเคราะห์วิจารณ์กันต่อ นอกเหนือจากเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกันแล้ว ก็เพราะเห็นว่าทั้งรัฐบาลและคมช. ต่างก็ร้อนใจกันมากถึงขนาดจะมองหากฎหมายใหม่มาควบคุมการชุมนุม หรืออาจจะถึงขึ้นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ ตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่แก้ไขเพิ่มเติมในสมัยรัฐบาลทักษิณ ซึ่งผมเห็นว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศในทางลบมากกว่า จึงอยากให้พิจารณาเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ
ผมไม่ได้ประสงค์ให้รัฐบาลและคมช.มองการชุมนุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม และต่อ ๆ ไปเป็นเรื่องเล็ก เพราะมีส่วนขับเคลื่อนอยู่หลายส่วนที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มอำนาจเก่า โดยเฉพาะกลุ่ม พีทีวี นั้นแน่นอนอยู่แล้ว และก็ย่อมจะเป็นการแน่นอนเช่นเดียวกันว่า กลุ่มที่เป็นเครือข่ายเหล่านี้ไม่มีวันหยุดการเคลื่อนไหว เพราะทั้งหมดคือเกมทางการเมือง เพื่อป่วนสถานการณ์และเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง
แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็ไม่ได้ประสงค์ที่จะให้รัฐบาลและคมช. มองว่าเมื่อเป็นเกมการเมืองก็ต้องแก้โดยเกมแห่งอำนาจ อย่างที่คิดกันว่าจะต้องหากฎหมายใหม่มาควบคุมหรือโดยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ ตามอำนาจในตัวบทกฎหมายที่รัฐบาลทักษิณแก้ไขไว้ให้ทำได้เพราะนั่นคือการเดินเข้าสู่กับดักของกลุ่มขับเคลื่อนที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มอำนาจเก่าโดยแท้ แต่อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่าจะกระทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นที่ไม่ใช่เครือข่ายของกลุ่มอำนาจเก่า หากแต่เขาชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิ เสรีภาพที่พวกเขาพึงมีตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 3 ได้บัญญัติคุ้มครองไว้ การที่รัฐบาลและคมช. จะใช้เกมแก่งอำนาจเข้าแก้ไข จึงมีแต่จะก่อให้เกิดผลกระทบที่จะขยายวงกว้างออกไปอีก ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีสำหรับประเทศแต่อย่างใด
ผมจึงมีความเห็นว่า เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองเดินมาถึงขณะนี้ ทั้งรัฐบาลและคมช.จะต้องเข้าใจว่า
1. การชุมนุมเรียกร้องจะมีมากขึ้นเป็นลำดับทั้งโดยสถานการณ์แห่งปัญหาที่มีอยู่จริง ทั้งด้วยความไม่ค่อยจะเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและคมช. และทั้งโดยการขับเคลื่อนของเครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่าเพื่อสร้างแรงกดดัน และสร้างอำนาจการต่อรองทางการเมือง
2. วิธีการจัดการกับปัญหาการชุมนุมที่ดี ก็คือการกำกับดูแลให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยปราศจากการใช้ความรุนแรงใด ๆ
3. ข้อเรียกร้องใด ที่เกิดจากสถานการณ์แห่งปัญหาที่มีอยู่จริงผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องก็ควรจะได้รีบชี้แจงทำความเข้าใจและแก้ไขให้ ข้อวิพากษ์วิจารณ์ใดที่เกินจริง และก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ก็ควรจะได้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด
4. การขับเคลื่อนใด ๆ เพื่อสร้างแรงกดดัน และสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองของเครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่า รัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้อง ก็ควรจะได้เปิดโปงให้สาธารณชนได้รับรู้ความเป็นจริง เพื่อจะได้รู้เท่าทันและไม่หลงเป็นเครื่องมือ ซึ่งจะเป็นการลดจำนวนผู้ชุมนุมได้ทางหนึ่ง
5. ภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่จะช่วยลดการชุมนุมเรียกร้องให้น้อยลงได้ก็คือการดำเนินการเพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นที่ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปเคยมีต่อรัฐบาลและคมช. ให้กลับคืนมาใหม่ ด้วยการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำงานเพื่อดำรงความมุ่งหมายกันเสียใหม่โดยพิจารณาทบทวนบทเรียนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อวิพากษ์วิจารณ์การประเมินผลงานของรัฐบาลและคมช. ในรอบ 6 เดือนโดยสื่อมวลชนและผู้สนใจ ซึ่งเพิ่งจะผ่านมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ถ้ารัฐบาลและคมช.สามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นจากประชาชนได้ เรื่องของม็อบก็จะกลายเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้ายังเรียกคืนความเชื่อมั่นไม่ได้และทั้งยังดำเนินการแก้ปัญหา โดยใช้เกมแห่งอำนาจตามกับดักของม็อบ ถ้าอย่างนั้นก็อาจจะมีใครบางคนต้องเตรียมเก็บเสื้อผ้ากลับบ้านได้เลย.
*************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 มี.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
29 มีนาคม 2550
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้วิเคราะห์วิจารณ์ถึงผลงานและคะแนนนิยมของคมช.และรัฐบาลในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาและได้กล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้คะแนนของรัฐบาลตกต่ำลงว่าประกอบด้วยเหตุสำคัญ ๆ อย่างน้อย 5 ประการด้วยกันคือ
1. ความไม่ค่อยตระหนักว่าเป็นรัฐบาลในภาวะวิกฤตและความไม่เข้าใจในภารกิจ ที่จะต้องสนองตอบต่อปัญหาและสถานการณ์
2. ความไม่แน่วแน่ ในการร่วมมือกันชำระล้างการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความไม่ค่อยจะให้ความร่วมมือต่อ คตส. เท่าที่ควร
3. ความไม่สามารถในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
4. ความล่าช้าในการแก้ปมปัญหาทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งจะกลายเป็นเงื่อนไขทางการเมืองต่อรัฐบาล
5. ความไม่สามารถในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจซึ่งนับวันแต่จะเป็นปัญหามากยิ่งขึ้น
สัปดาห์นี้จึงคิดว่า ควรจะได้วิเคราะห์วิจารณ์กันต่อเพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาม็อบ คือการชุมนุมของกลุ่มต่าง ๆ ที่จะชุมนุมกันที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 30 มีนาคมนี้ หรือแม้แต่จะมีการชุมนุมกันต่อ ๆ ไปอีก ซึ่งดูจะสร้างความหนักใจให้เกิดขึ้น แก่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ฯ และคมช. พอสมควรทีเดียว
ที่ผมเห็นว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันก็เพราะว่า ในทางการเมืองเราจะพบความจริงกันอยู่บ่อย จนพอที่จะถือเป็นกฎเกณฑ์ได้เลยว่า เมื่อใดก็ตามที่ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลลดลง การชุมนุมเรียกร้องก็จะเกิดมีขึ้นเป็นเงาตามตัว คือยิ่งความเชื่อมั่นลดลงมากเพียงใด การชุมนุมเรียกร้องก็จะมีมากขึ้นเพียงนั้น
จริงอยู่แม้ในทางการเมืองจะมีม็อบการเมืองแท้ ๆ คือม็อบที่เกิดขึ้นโดยเกมทางการเมืองที่มุ่งจะทำลายความเชื่อถือชุมนุมยืนพื้นอยู่แล้วก็ตาม แต่ถ้าตราบใดรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจรัฐยังได้รับความเชื่อมั่นยังได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอยู่ ตราบนั้นการชุมนุมที่เกิดขึ้น ก็จะเป็นเพียงการชุมนุมขนาดเล็กธรรมดา ๆ ซึ่งต้องถือเป็นเรื่องปรกติ สำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
แต่เมื่อใดก็ตามที่ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปต่างมีความผิดหวัง ขาดความเชื่อมั่น ขาดความไว้วางใจในรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจรัฐ เพราะมิได้บริหารประเทศไปในทางที่ควรจะเป็นและก่อให้เกิดปัญหารุมเร้า มากยิ่งขึ้นทุกที การชุมนุมเรียกร้องก็จะเกิดพลังร่วมเป็นการชุมนุมขนาดใหญ่ ที่อาจยืดเยื้อยาวนานจนก่อให้เกิดวิกฤตได้ ดังที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว หลายต่อหลายครั้งในอดีต รวมทั้งที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลทักษิณก่อนหน้านี้ และสำหรับรัฐบาลนี้ รวมทั้งคมช.ด้วย ก็คงจะต้องยอมรับความเป็นจริง เช่นเดียวกันว่า ความเชื่อมั่นของประชาชนที่เคยมีมากในตอนต้น ๆ นั้นมีอันต้องลดลงเรื่อยมา ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ คะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จากการทำโพลของบางสำนัก ที่จัดทำมาเป็นระยะ ๆ และบ่งบอกว่าคะแนนนิยมลดลงจากกว่า 70% ลงมาเป็นกว่า 40% และกว่า 30% ในที่สุดซึ่งก็เท่ากับลดลงครึ่งหนึ่งทีเดียว การที่จะดำเนินการในเรื่องที่ค่อนข้างล่อแหลมจึงควรจะเป็นไปด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
การนำเอาเรื่องนี้มาวิเคราะห์วิจารณ์กันต่อ นอกเหนือจากเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกันแล้ว ก็เพราะเห็นว่าทั้งรัฐบาลและคมช. ต่างก็ร้อนใจกันมากถึงขนาดจะมองหากฎหมายใหม่มาควบคุมการชุมนุม หรืออาจจะถึงขึ้นประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ ตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่แก้ไขเพิ่มเติมในสมัยรัฐบาลทักษิณ ซึ่งผมเห็นว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศในทางลบมากกว่า จึงอยากให้พิจารณาเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ
ผมไม่ได้ประสงค์ให้รัฐบาลและคมช.มองการชุมนุมที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 มีนาคม และต่อ ๆ ไปเป็นเรื่องเล็ก เพราะมีส่วนขับเคลื่อนอยู่หลายส่วนที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มอำนาจเก่า โดยเฉพาะกลุ่ม พีทีวี นั้นแน่นอนอยู่แล้ว และก็ย่อมจะเป็นการแน่นอนเช่นเดียวกันว่า กลุ่มที่เป็นเครือข่ายเหล่านี้ไม่มีวันหยุดการเคลื่อนไหว เพราะทั้งหมดคือเกมทางการเมือง เพื่อป่วนสถานการณ์และเพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง
แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็ไม่ได้ประสงค์ที่จะให้รัฐบาลและคมช. มองว่าเมื่อเป็นเกมการเมืองก็ต้องแก้โดยเกมแห่งอำนาจ อย่างที่คิดกันว่าจะต้องหากฎหมายใหม่มาควบคุมหรือโดยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบางพื้นที่ ตามอำนาจในตัวบทกฎหมายที่รัฐบาลทักษิณแก้ไขไว้ให้ทำได้เพราะนั่นคือการเดินเข้าสู่กับดักของกลุ่มขับเคลื่อนที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มอำนาจเก่าโดยแท้ แต่อะไรไม่สำคัญเท่ากับว่าจะกระทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมอื่นที่ไม่ใช่เครือข่ายของกลุ่มอำนาจเก่า หากแต่เขาชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิ เสรีภาพที่พวกเขาพึงมีตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว มาตรา 3 ได้บัญญัติคุ้มครองไว้ การที่รัฐบาลและคมช. จะใช้เกมแก่งอำนาจเข้าแก้ไข จึงมีแต่จะก่อให้เกิดผลกระทบที่จะขยายวงกว้างออกไปอีก ซึ่งไม่น่าจะเป็นผลดีสำหรับประเทศแต่อย่างใด
ผมจึงมีความเห็นว่า เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองเดินมาถึงขณะนี้ ทั้งรัฐบาลและคมช.จะต้องเข้าใจว่า
1. การชุมนุมเรียกร้องจะมีมากขึ้นเป็นลำดับทั้งโดยสถานการณ์แห่งปัญหาที่มีอยู่จริง ทั้งด้วยความไม่ค่อยจะเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและคมช. และทั้งโดยการขับเคลื่อนของเครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่าเพื่อสร้างแรงกดดัน และสร้างอำนาจการต่อรองทางการเมือง
2. วิธีการจัดการกับปัญหาการชุมนุมที่ดี ก็คือการกำกับดูแลให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยปราศจากการใช้ความรุนแรงใด ๆ
3. ข้อเรียกร้องใด ที่เกิดจากสถานการณ์แห่งปัญหาที่มีอยู่จริงผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องก็ควรจะได้รีบชี้แจงทำความเข้าใจและแก้ไขให้ ข้อวิพากษ์วิจารณ์ใดที่เกินจริง และก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ก็ควรจะได้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด
4. การขับเคลื่อนใด ๆ เพื่อสร้างแรงกดดัน และสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองของเครือข่ายกลุ่มอำนาจเก่า รัฐบาล คมช. และผู้เกี่ยวข้อง ก็ควรจะได้เปิดโปงให้สาธารณชนได้รับรู้ความเป็นจริง เพื่อจะได้รู้เท่าทันและไม่หลงเป็นเครื่องมือ ซึ่งจะเป็นการลดจำนวนผู้ชุมนุมได้ทางหนึ่ง
5. ภูมิคุ้มกันที่สำคัญที่จะช่วยลดการชุมนุมเรียกร้องให้น้อยลงได้ก็คือการดำเนินการเพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นที่ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปเคยมีต่อรัฐบาลและคมช. ให้กลับคืนมาใหม่ ด้วยการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำงานเพื่อดำรงความมุ่งหมายกันเสียใหม่โดยพิจารณาทบทวนบทเรียนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อวิพากษ์วิจารณ์การประเมินผลงานของรัฐบาลและคมช. ในรอบ 6 เดือนโดยสื่อมวลชนและผู้สนใจ ซึ่งเพิ่งจะผ่านมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ถ้ารัฐบาลและคมช.สามารถเรียกคืนความเชื่อมั่นจากประชาชนได้ เรื่องของม็อบก็จะกลายเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้ายังเรียกคืนความเชื่อมั่นไม่ได้และทั้งยังดำเนินการแก้ปัญหา โดยใช้เกมแห่งอำนาจตามกับดักของม็อบ ถ้าอย่างนั้นก็อาจจะมีใครบางคนต้องเตรียมเก็บเสื้อผ้ากลับบ้านได้เลย.
*************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 มี.ค. 2550--จบ--