กรุงเทพ--3 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการเยือนไทยของเลขาธิการ OIC
นาย Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference : OIC) เยือนไทยเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน — 2 พฤษภาคม 2550 โดยระหว่างการเยือนนาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้พบกับบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนการพบหารือกับผู้นำชุมชนไทยมุสลิม อาทิ ประธานกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา กรรมการมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนชมรม นักกฎหมายมุสลิม ผู้แทนสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย ผู้แทนองค์กรเอกชนมุสลิม และ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เป็นต้น
นาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้สนับสนุนและให้กำลังใจรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงโดยสันติวิธี โดยเห็นว่า แนวทางที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินมานั้นมีความเหมาะสมแล้ว และ OIC พร้อมจะให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
นอกจากนั้น ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ นาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้มีสารภาษาอารบิคถึงพี่น้องมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกร้องให้ประชาชนมุสลิมร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและยุติความรุนแรง
ภายหลังการแถลงข่าวร่วม นาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ Al Jazeera ว่า การเยือนครั้งนี้ทำให้ตนมีความเชื่อมั่นในนโยบายและการดำเนินงานของรัฐบาลไทย เนื่องจากมีโอกาสได้พบปะกับผู้กำหนดนโยบายของภาครัฐ ตัวแทนองค์กรมุสลิม รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ทำให้ได้ทราบและเข้าใจสถานการณ์รวมไปถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2. การแก้ปัญหาหญิงไทยค้าประเวณีในบาห์เรน
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามาว่า ในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่ถูกทางการบาห์เรนจับกุมในข้อหาลักลอบค้าประเวณีเป็นจำนวนหลายราย โดยหญิงไทยเหล่านี้บ้างก็เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ บ้างก็ลักลอบไปประกอบอาชีพค้าประเวณีโดยตั้งใจได้อาศัยประโยชน์จากการที่รัฐบาลบาห์เรนยกเว้นการตรวจลงตราให้กับคนไทย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว รัฐบาลบาห์เรนจำเป็นต้องออกมาตรการห้ามชาวต่างชาติเดินทางไปประเทศที่สามและกลับเข้าบาห์เรนโดยไม่มีการตรวจลงตรา อย่างไรก็ดี ปรากฎว่าได้ผลเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น รวมทั้งกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือส่งกลับแล้วก็พยายามกลับเข้าไปบาห์เรนอีก
ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา สถานเอกอัครราชทูตฯ ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 20 ล้านบาทเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือส่งหญิงไทยที่ทำผิดกฎหมายกลับประเทศไทย โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2549-กุมภาพันธ์ 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ ส่งหญิงไทยที่ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบค้าประเวณีในบาห์เรนกลับประเทศไทยจำนวนถึง 211 คน อย่างไรก็ดี ก็ยังมีหญิงไทยอีกจำนวนมากที่ยังลักลอบทำงานในบาห์เรนอย่างผิดกฏหมาย และมีรายงานจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทยว่า ยังคงมีหญิงไทยเดินทางไปบาห์เรนอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีที่มีข่าวปรากฏตามสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ในทำนองว่าสถานเอกอัครราชทูตไม่ให้การดูแลหญิงไทยที่เข้าไปขอความช่วยเหลือ กระทรวงฯ ขอชี้แจงว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักปฏิบัติอย่างครบก้วน ทั้งการดูแลให้ได้รับสิทธิอย่างครบถ้วนเมื่อถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย การให้ที่พักระหว่างรอเดินทางกลับ การอำนวยความสะดวกเพื่อเดินทางกลับ โดยให้ญาติผู้ตกทุกข์ได้ยากส่งค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาให้ หากมีฐานะยากจนหรือไม่สามารถติดต่อญาติได้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะทดรองเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ โดยให้ผู้ประสบทุกข์ได้ยากทำสัญญากู้ยืมเงินไว้เป็นหลักฐาน
3. ไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรรมการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติและคณะกรรมการบริหารโครงการอาหารโลก
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550 ที่ประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council — ECOSOC) ได้จัดการเลือกตั้งการดำรงตำแหน่งสมาชิกในองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ ECOSOCโดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประเทศไทยได้ลงสมัครแข่งขันใน 2 องค์กร ได้แก่ (1) สมาชิกคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (Commission on the Narcotic Drugs — CND) เพื่อดำรงตำแหน่งในวาระปี ค.ศ. 2008-2011 และ (2) สมาชิกคณะกรรมการบริหาร (executive board) ของโครงการอาหารโลก (World Food Programme — WFP) และจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของทั้งสององค์กรดังกล่าว
การดำรงตำแหน่งสมาชิก CND ในวาระนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยสามารถรักษาการดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลาติดต่อกันถึง 34 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ประชาคมโลกตระหนักถึงความพยายามและบทบาทสำคัญของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างประเทศ
การดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการบริหารของ WFP จะช่วยส่งเสริมบทบาทของไทยในการกำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของ WFP ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร (food aid) กับผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากมนุษย์ (natural and man-made disasters) ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่าง ๆ แก่ประเทศกำลังพัฒนา
4. บัวแก้วจัดประกวดเรียงความภาษาอังกฤษ เรื่อง สถานภาพและบทบาทของชาวไทยมุสลิมในสังคมไทย
กระทรวงการต่างประเทศ โดยกลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดการประกวดเรียงความภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ในหัวข้อ สถานภาพและบทบาทของชาวไทยมุสลิมในสังคมไทย เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนไทยตระหนักถึงบาบาทของชาวไทยมุสลิมและส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะจัดพิมพ์เรียงความที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 5,000 เล่ม เพื่อเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศ
หลักเกณฑ์สำหรับการเข้าประกวด
1. ผู้มีสิทธิ์เข้าประกวดต้องมีสัญชาติไทยและเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา (อายุไม่เกิน 20 ปี) หรือนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (อายุไม่เกิน 25 ปี)
2. ผู้เข้าประกวดสามารถตั้งชื่อเรียงความของตนเองโดยให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรียงความ
3. ความยาวของเนื้อหา
- ระดับมัธยมศึกษา: ความยาวไม่ต่ำกว่า 3,000 คำ (ประมาณ 5 — 6 หน้ากระดาษ ขนาด A 4)
- ระดับอุดมศึกษา: ความยาวไม่ต่ำกว่า 5,000 คำ (ประมาณ 8 — 10 หน้ากระดาษขนาด A 4)
รางวัล
ระดับมัธยมศึกษา รางวัลที่หนึ่ง 30,000 บาท รางวัลที่สอง 20,000 บาทและรางวัลที่สาม 10,000 บาท และรางวัลชมเชย 10 รางวัล ๆ ละ 5,000 บาท
ระดับมหาวิทยาลัย รางวัลที่หนึ่ง 50,000 บาท รางวัลที่สอง 30,000 บาท รางวัลที่สาม 15,000 บาท และรางวัลชมเชย 10 รางวัล ๆ ละ 10,000 บาท
หลักเกณฑ์การส่งและวันปิดรับเรียงความ
ส่งเรียงความได้ที่: กลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา กทม. 10400 (ต้องประทับตราไปรษณีย์ไม่ช้ากว่าวันที่ 2 กรกฎาคม 2550) โปรดเขียนที่มุมซ้ายล่างของซองจดหมายว่า “The English Essay Contest” และเขียนชื่อสกุล อายุ สถาบันการศึกษา ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ส่งที่มุมบนขวาของหน้าแรกของเรียงความ
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 0 2640 4024 โทรสาร 0 2640 4023
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่างๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการเยือนไทยของเลขาธิการ OIC
นาย Ekmeleddin Ihsanoglu เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (Organization of Islamic Conference : OIC) เยือนไทยเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน — 2 พฤษภาคม 2550 โดยระหว่างการเยือนนาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้พบกับบุคคลสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนการพบหารือกับผู้นำชุมชนไทยมุสลิม อาทิ ประธานกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา กรรมการมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนชมรม นักกฎหมายมุสลิม ผู้แทนสภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย ผู้แทนองค์กรเอกชนมุสลิม และ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เป็นต้น
นาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้สนับสนุนและให้กำลังใจรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงโดยสันติวิธี โดยเห็นว่า แนวทางที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินมานั้นมีความเหมาะสมแล้ว และ OIC พร้อมจะให้ความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
นอกจากนั้น ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกับนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 ณ กระทรวงการต่างประเทศ นาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้มีสารภาษาอารบิคถึงพี่น้องมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกร้องให้ประชาชนมุสลิมร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและยุติความรุนแรง
ภายหลังการแถลงข่าวร่วม นาย Ekmeleddin Ihsanoglu ได้ให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ Al Jazeera ว่า การเยือนครั้งนี้ทำให้ตนมีความเชื่อมั่นในนโยบายและการดำเนินงานของรัฐบาลไทย เนื่องจากมีโอกาสได้พบปะกับผู้กำหนดนโยบายของภาครัฐ ตัวแทนองค์กรมุสลิม รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ ทำให้ได้ทราบและเข้าใจสถานการณ์รวมไปถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
2. การแก้ปัญหาหญิงไทยค้าประเวณีในบาห์เรน
กระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมานามาว่า ในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือหญิงไทยที่ถูกทางการบาห์เรนจับกุมในข้อหาลักลอบค้าประเวณีเป็นจำนวนหลายราย โดยหญิงไทยเหล่านี้บ้างก็เป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ข้ามชาติ บ้างก็ลักลอบไปประกอบอาชีพค้าประเวณีโดยตั้งใจได้อาศัยประโยชน์จากการที่รัฐบาลบาห์เรนยกเว้นการตรวจลงตราให้กับคนไทย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว รัฐบาลบาห์เรนจำเป็นต้องออกมาตรการห้ามชาวต่างชาติเดินทางไปประเทศที่สามและกลับเข้าบาห์เรนโดยไม่มีการตรวจลงตรา อย่างไรก็ดี ปรากฎว่าได้ผลเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น รวมทั้งกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือส่งกลับแล้วก็พยายามกลับเข้าไปบาห์เรนอีก
ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา สถานเอกอัครราชทูตฯ ใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 20 ล้านบาทเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือส่งหญิงไทยที่ทำผิดกฎหมายกลับประเทศไทย โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2549-กุมภาพันธ์ 2550 สถานเอกอัครราชทูตฯ ส่งหญิงไทยที่ถูกจับกุมในข้อหาลักลอบค้าประเวณีในบาห์เรนกลับประเทศไทยจำนวนถึง 211 คน อย่างไรก็ดี ก็ยังมีหญิงไทยอีกจำนวนมากที่ยังลักลอบทำงานในบาห์เรนอย่างผิดกฏหมาย และมีรายงานจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทยว่า ยังคงมีหญิงไทยเดินทางไปบาห์เรนอย่างต่อเนื่อง
ในกรณีที่มีข่าวปรากฏตามสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ในทำนองว่าสถานเอกอัครราชทูตไม่ให้การดูแลหญิงไทยที่เข้าไปขอความช่วยเหลือ กระทรวงฯ ขอชี้แจงว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักปฏิบัติอย่างครบก้วน ทั้งการดูแลให้ได้รับสิทธิอย่างครบถ้วนเมื่อถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย การให้ที่พักระหว่างรอเดินทางกลับ การอำนวยความสะดวกเพื่อเดินทางกลับ โดยให้ญาติผู้ตกทุกข์ได้ยากส่งค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาให้ หากมีฐานะยากจนหรือไม่สามารถติดต่อญาติได้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะทดรองเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางให้ โดยให้ผู้ประสบทุกข์ได้ยากทำสัญญากู้ยืมเงินไว้เป็นหลักฐาน
3. ไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรรมการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติและคณะกรรมการบริหารโครงการอาหารโลก
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2550 ที่ประชุมคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (Economic and Social Council — ECOSOC) ได้จัดการเลือกตั้งการดำรงตำแหน่งสมาชิกในองค์กรต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ ECOSOCโดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประเทศไทยได้ลงสมัครแข่งขันใน 2 องค์กร ได้แก่ (1) สมาชิกคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (Commission on the Narcotic Drugs — CND) เพื่อดำรงตำแหน่งในวาระปี ค.ศ. 2008-2011 และ (2) สมาชิกคณะกรรมการบริหาร (executive board) ของโครงการอาหารโลก (World Food Programme — WFP) และจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของทั้งสององค์กรดังกล่าว
การดำรงตำแหน่งสมาชิก CND ในวาระนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยสามารถรักษาการดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลาติดต่อกันถึง 34 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ประชาคมโลกตระหนักถึงความพยายามและบทบาทสำคัญของประเทศไทยในการแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างประเทศ
การดำรงตำแหน่งสมาชิกคณะกรรมการบริหารของ WFP จะช่วยส่งเสริมบทบาทของไทยในการกำหนดแผนการดำเนินงานและงบประมาณของ WFP ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร (food aid) กับผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยที่เกิดจากมนุษย์ (natural and man-made disasters) ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการต่าง ๆ แก่ประเทศกำลังพัฒนา
4. บัวแก้วจัดประกวดเรียงความภาษาอังกฤษ เรื่อง สถานภาพและบทบาทของชาวไทยมุสลิมในสังคมไทย
กระทรวงการต่างประเทศ โดยกลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการและศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดการประกวดเรียงความภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ในหัวข้อ สถานภาพและบทบาทของชาวไทยมุสลิมในสังคมไทย เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนไทยตระหนักถึงบาบาทของชาวไทยมุสลิมและส่งเสริมให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะจัดพิมพ์เรียงความที่ได้รับการคัดเลือก จำนวน 5,000 เล่ม เพื่อเผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศ
หลักเกณฑ์สำหรับการเข้าประกวด
1. ผู้มีสิทธิ์เข้าประกวดต้องมีสัญชาติไทยและเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา (อายุไม่เกิน 20 ปี) หรือนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา (อายุไม่เกิน 25 ปี)
2. ผู้เข้าประกวดสามารถตั้งชื่อเรียงความของตนเองโดยให้สอดคล้องกับเนื้อหาของเรียงความ
3. ความยาวของเนื้อหา
- ระดับมัธยมศึกษา: ความยาวไม่ต่ำกว่า 3,000 คำ (ประมาณ 5 — 6 หน้ากระดาษ ขนาด A 4)
- ระดับอุดมศึกษา: ความยาวไม่ต่ำกว่า 5,000 คำ (ประมาณ 8 — 10 หน้ากระดาษขนาด A 4)
รางวัล
ระดับมัธยมศึกษา รางวัลที่หนึ่ง 30,000 บาท รางวัลที่สอง 20,000 บาทและรางวัลที่สาม 10,000 บาท และรางวัลชมเชย 10 รางวัล ๆ ละ 5,000 บาท
ระดับมหาวิทยาลัย รางวัลที่หนึ่ง 50,000 บาท รางวัลที่สอง 30,000 บาท รางวัลที่สาม 15,000 บาท และรางวัลชมเชย 10 รางวัล ๆ ละ 10,000 บาท
หลักเกณฑ์การส่งและวันปิดรับเรียงความ
ส่งเรียงความได้ที่: กลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา กทม. 10400 (ต้องประทับตราไปรษณีย์ไม่ช้ากว่าวันที่ 2 กรกฎาคม 2550) โปรดเขียนที่มุมซ้ายล่างของซองจดหมายว่า “The English Essay Contest” และเขียนชื่อสกุล อายุ สถาบันการศึกษา ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ส่งที่มุมบนขวาของหน้าแรกของเรียงความ
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานความมั่นคงระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 0 2640 4024 โทรสาร 0 2640 4023
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-