วันอังคารที่จะถึงนี้ (๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐) พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคเข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่ทำเนียบรัฐบาล ถือเป็นครั้งที่ ๒ ที่มีการเชิญประชุมในลักษณะนี้
ไม่ว่าการประชุมครั้งนี้ จะเกิดขึ้นเพราะ นายกรัฐมนตรี เคยปรารภเมื่อพบปะกันครั้งก่อนว่าอยากจะประชุมเช่นนี้อีก
หรือเป็นเพราะ นพ.ประเวศ วะสี ได้เสนอให้มีการประชุมเช่นนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาการเผชิญหน้าที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงก็ตาม
ผมก็อยากให้บ้านเมืองได้ประโยชน์จากการพบปะครั้งนี้อย่างแท้จริง
หากจะกล่าวไปแล้ว การประชุมที่ประกอบไปด้วยคน ๓๐ — ๔๐ คน จากแต่ละพรรคการเมืองในเวลา ๒-๓ ชั่วโมง ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้ข้อยุติใดๆ โดยเฉพาะหากจะถกกันเป็นเรื่องเป็นราวเกี่ยวกับเรื่องใหญ่ อย่างเช่น รัฐธรรมนูญที่มีถึง ๒๙๙ มาตราแล้ว
คงจะหาข้อสรุปใดๆได้ยาก
แต่ก็ถือเป็นความใจกว้าง และ ความตั้งใจที่ดี ที่นายกรัฐมนตรี จัดให้มีเวทีดังกล่าว
เพราะพรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลเดียวที่ถูกกีดกันออกจากกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้ว่า ลักษณะต้องห้ามข้อเดียวที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวสำหรับการเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ การเป็น หรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ในระยะเวลา ๒ ปี นอกจากนี้ การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น จะต้องรับฟังจาก ๑๒ องค์กร แต่ไม่รวมพรรคการเมือง
ผมจึงมีข้อคิดและข้อเสนอที่เกี่ยวกับการจัดการประชุมครั้งนี้ ดังต่อไปนี้
๑. ปัญหาการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของนายกรัฐมนตรี ผู้ที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญจากนี้ไป คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ การรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้จะมีผลไปสู่การพิจารณาปรับปรุง แก้ไขจริงๆ ก็ต่อเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับรู้รับทราบ ดังนั้น หากการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะเชิญ ผู้แทนจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นประโยชน์ มิฉะนั้นแล้ว บรรดาความเห็นทั้งหลายก็จะถูกรวบรวมอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ขณะที่คณะรัฐมนตรี เป็นเพียงหนึ่งในสิบสององค์กร ที่จะต้องทำความเห็นไปยังสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคงจะเป็นความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีเองด้วย
๒. ปัญหาการเสนอความคิดเห็นของพรรคการเมือง พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่มีความหลากหลาย แต่ละพรรคการเมืองย่อมต้องมีจุดยืน แนวคิด ของตนเอง การแข่งขันทางการเมืองจึงจะมีความหมาย ยิ่งเป็นเรื่องทรรศนะต่อระบบการเมืองแล้ว ความคิดและประสบการณ์ที่หลากหลาย ไม่นับการมีส่วนได้เสีย หรือ ความได้เปรียบ เสียเปรียบในหลายประเด็น ทำให้เป็นเรื่องง่ายที่จะสรุปว่า พรรคการเมืองตกลงกันไม่ได้ หรือ พรรคการเมืองมีจุดยืนที่ไม่ตรงกัน
ผมอยากจะเชิญชวนพรรคการเมืองทุกพรรค เสนอความคิดเห็นในลักษณะของการมีจุดยืนร่วมกัน นั่นคือ
เราเป็นกลไกสำคัญในการสร้างและรักษาศรัทธาในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เราต้องการเห็นรัฐธรรมนูญเป็นกติกาที่จะเอื้ออำนวยต่อการปกครองในระบอบนี้
เราเชื่อว่าปัญหาของบ้านเมืองที่เผชิญอยู่ในขณะนี้ และปัญหาในอนาคตจะคลี่คลายได้อย่างยั่งยืน ก็โดยอาศัยการปกครองในระบอบนี้เท่านั้น
ดังนั้น แทนที่จะถกเถียงกันในประเด็นปลีกย่อย หรือ รายละเอียด ทุกพรรคการเมืองควรผนึกกำลังกันแก้ปัญหาเฉพาะประเด็นความไม่เป็นประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เช่น ปัญหามาตรา ๖๘ วรรค ๒ ที่จะมีคณะบุคคลมาประชุมกันในภาวะวิกฤติ
หรือ ปัญหาวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากปวงชน แต่มีอำนาจถอดถอนบุคคลต่างๆ เป็นต้น
ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่แต่ละพรรคการเมืองอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์ของตน หรือ แสดงจุดยืนอาจจะอาศัยเวทีอื่นๆ ในการแสดงความคิดเห็น
การทำเช่นนี้ จะทำให้ การประชุมของพรรคการเมืองครั้งนี้ เป็นการสะท้อนพลังประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
๓. ปัญหาจุดยืนของรัฐบาลต่อรัฐธรรมนูญ หากนายกรัฐมนตรีต้องการรับทราบจุดยืนของพรรคการเมืองต่อรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองก็ต้องการทราบจุดยืนของรัฐบาล เช่นเดียวกัน
เพราะหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ การทำประชามติ รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะต้องเป็นผู้เลือกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาแก้ไขและประกาศใช้ ผมถือว่าเป็นสิทธิของประชาชนที่จะได้รับรู้จุดยืนของรัฐบาล
หากนายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้ เริ่มต้นกระบวนการทำความกระจ่างให้ประชาชนผ่านพรรคการเมือง ก็จะทำให้การพบปะครั้งนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่ง
๔. ปัญหาบทบาทของพรรคการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน การประชุมครั้งนี้มี
ขึ้นในขณะที่ คำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ ห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจการใดๆทางการเมืองมีผลบังคับใช้ โดยคำสั่งดังกล่าวให้อำนาจคณะรัฐมนตรีสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือ ยกเลิกได้
ผมเคยแสดงความคิดเห็นว่า ควรจะมีการยกเลิกคำสั่งนี้มาแล้วในหลายโอกาส (ดูบทความใน www.abhisit.org เรื่อง คงประกาศ คปค. ถึงเดือนกันยายนเพื่ออะไร เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๐ หรือเรื่อง จะกอบกู้ศรัทธาอย่าปรับแค่ครม. เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๐)
ที่สำคัญเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เมื่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เชิญทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุม ผมได้เสนอให้ กกต. เสนอเรื่องนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยที่ประชุมเห็นชอบด้วยมติเอกฉันท์
ปรากฏว่า เรื่องนี้ เมื่อ กกต. ส่งหนังสือไปยังรัฐบาล กลับไม่มีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
มีเพียงหนังสือตอบจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีว่า เมื่อสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง จึงเห็นควรคงคำสั่งดังกล่าวไว้
ผมอยากให้นายกรัฐมนตรีเปิดใจกับพรรคการเมืองต่างๆในวันอังคารนี้
ว่าสิ่งที่เกรงกลัวว่าพรรคการเมืองจะไปดำเนินการคืออะไร จึงทำให้แม้แต่การปรับปรุงคำสั่ง (เช่น ห้ามเฉพาะบางกิจกรรมของพรรคการเมือง) กระทำไม่ได้
เพราะผมเชื่อว่าพรรคการเมืองเกือบทั้งหมด ต้องการทำกิจกรรม ขณะเดียวกันก็ต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข
เราพร้อมจะช่วยเจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง โดยการให้ความร่วมมือ ทำกิจกรรมในขอบเขต และร่วมประณาม ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาด กับพรรคการเมืองที่มีแนวทางเป็นอย่างอื่น
บ้านเมืองในขณะนี้ ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่จะประคับประคอง ให้ผ่านภาวะวิกฤติต่างๆไปได้
การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายจึงเป็นสิ่งมีค่า
แต่การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริงได้ ขึ้นอยู่กับ รูปแบบ การจัดการ และความจริงใจของผู้เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วม
ผมพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการพบปะอย่างสร้างสรรค์ จริงใจ และมีประสิทธิภาพ
หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านที่จะพบปะกันวันอังคารนี้ด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 พ.ค. 2550--จบ--
ไม่ว่าการประชุมครั้งนี้ จะเกิดขึ้นเพราะ นายกรัฐมนตรี เคยปรารภเมื่อพบปะกันครั้งก่อนว่าอยากจะประชุมเช่นนี้อีก
หรือเป็นเพราะ นพ.ประเวศ วะสี ได้เสนอให้มีการประชุมเช่นนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาการเผชิญหน้าที่อาจจะนำไปสู่ความรุนแรงก็ตาม
ผมก็อยากให้บ้านเมืองได้ประโยชน์จากการพบปะครั้งนี้อย่างแท้จริง
หากจะกล่าวไปแล้ว การประชุมที่ประกอบไปด้วยคน ๓๐ — ๔๐ คน จากแต่ละพรรคการเมืองในเวลา ๒-๓ ชั่วโมง ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้ข้อยุติใดๆ โดยเฉพาะหากจะถกกันเป็นเรื่องเป็นราวเกี่ยวกับเรื่องใหญ่ อย่างเช่น รัฐธรรมนูญที่มีถึง ๒๙๙ มาตราแล้ว
คงจะหาข้อสรุปใดๆได้ยาก
แต่ก็ถือเป็นความใจกว้าง และ ความตั้งใจที่ดี ที่นายกรัฐมนตรี จัดให้มีเวทีดังกล่าว
เพราะพรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลเดียวที่ถูกกีดกันออกจากกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้ว่า ลักษณะต้องห้ามข้อเดียวที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวสำหรับการเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ คือ การเป็น หรือเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ในระยะเวลา ๒ ปี นอกจากนี้ การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น จะต้องรับฟังจาก ๑๒ องค์กร แต่ไม่รวมพรรคการเมือง
ผมจึงมีข้อคิดและข้อเสนอที่เกี่ยวกับการจัดการประชุมครั้งนี้ ดังต่อไปนี้
๑. ปัญหาการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของนายกรัฐมนตรี ผู้ที่มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญจากนี้ไป คือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ การรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้จะมีผลไปสู่การพิจารณาปรับปรุง แก้ไขจริงๆ ก็ต่อเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รับรู้รับทราบ ดังนั้น หากการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะเชิญ ผู้แทนจากกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สภาร่างรัฐธรรมนูญ ก็จะเป็นประโยชน์ มิฉะนั้นแล้ว บรรดาความเห็นทั้งหลายก็จะถูกรวบรวมอยู่ที่นายกรัฐมนตรี ขณะที่คณะรัฐมนตรี เป็นเพียงหนึ่งในสิบสององค์กร ที่จะต้องทำความเห็นไปยังสภาร่างรัฐธรรมนูญ และคงจะเป็นความคิดเห็นของคณะรัฐมนตรีเองด้วย
๒. ปัญหาการเสนอความคิดเห็นของพรรคการเมือง พรรคการเมืองเป็นสถาบันที่มีความหลากหลาย แต่ละพรรคการเมืองย่อมต้องมีจุดยืน แนวคิด ของตนเอง การแข่งขันทางการเมืองจึงจะมีความหมาย ยิ่งเป็นเรื่องทรรศนะต่อระบบการเมืองแล้ว ความคิดและประสบการณ์ที่หลากหลาย ไม่นับการมีส่วนได้เสีย หรือ ความได้เปรียบ เสียเปรียบในหลายประเด็น ทำให้เป็นเรื่องง่ายที่จะสรุปว่า พรรคการเมืองตกลงกันไม่ได้ หรือ พรรคการเมืองมีจุดยืนที่ไม่ตรงกัน
ผมอยากจะเชิญชวนพรรคการเมืองทุกพรรค เสนอความคิดเห็นในลักษณะของการมีจุดยืนร่วมกัน นั่นคือ
เราเป็นกลไกสำคัญในการสร้างและรักษาศรัทธาในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เราต้องการเห็นรัฐธรรมนูญเป็นกติกาที่จะเอื้ออำนวยต่อการปกครองในระบอบนี้
เราเชื่อว่าปัญหาของบ้านเมืองที่เผชิญอยู่ในขณะนี้ และปัญหาในอนาคตจะคลี่คลายได้อย่างยั่งยืน ก็โดยอาศัยการปกครองในระบอบนี้เท่านั้น
ดังนั้น แทนที่จะถกเถียงกันในประเด็นปลีกย่อย หรือ รายละเอียด ทุกพรรคการเมืองควรผนึกกำลังกันแก้ปัญหาเฉพาะประเด็นความไม่เป็นประชาธิปไตยในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เช่น ปัญหามาตรา ๖๘ วรรค ๒ ที่จะมีคณะบุคคลมาประชุมกันในภาวะวิกฤติ
หรือ ปัญหาวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากปวงชน แต่มีอำนาจถอดถอนบุคคลต่างๆ เป็นต้น
ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่แต่ละพรรคการเมืองอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์ของตน หรือ แสดงจุดยืนอาจจะอาศัยเวทีอื่นๆ ในการแสดงความคิดเห็น
การทำเช่นนี้ จะทำให้ การประชุมของพรรคการเมืองครั้งนี้ เป็นการสะท้อนพลังประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
๓. ปัญหาจุดยืนของรัฐบาลต่อรัฐธรรมนูญ หากนายกรัฐมนตรีต้องการรับทราบจุดยืนของพรรคการเมืองต่อรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองก็ต้องการทราบจุดยืนของรัฐบาล เช่นเดียวกัน
เพราะหากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ การทำประชามติ รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะต้องเป็นผู้เลือกรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาแก้ไขและประกาศใช้ ผมถือว่าเป็นสิทธิของประชาชนที่จะได้รับรู้จุดยืนของรัฐบาล
หากนายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้ เริ่มต้นกระบวนการทำความกระจ่างให้ประชาชนผ่านพรรคการเมือง ก็จะทำให้การพบปะครั้งนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่ง
๔. ปัญหาบทบาทของพรรคการเมืองในสถานการณ์ปัจจุบัน การประชุมครั้งนี้มี
ขึ้นในขณะที่ คำสั่งคณะปฏิรูปฯ ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ ห้ามพรรคการเมืองดำเนินกิจการใดๆทางการเมืองมีผลบังคับใช้ โดยคำสั่งดังกล่าวให้อำนาจคณะรัฐมนตรีสามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือ ยกเลิกได้
ผมเคยแสดงความคิดเห็นว่า ควรจะมีการยกเลิกคำสั่งนี้มาแล้วในหลายโอกาส (ดูบทความใน www.abhisit.org เรื่อง คงประกาศ คปค. ถึงเดือนกันยายนเพื่ออะไร เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๐ หรือเรื่อง จะกอบกู้ศรัทธาอย่าปรับแค่ครม. เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๐)
ที่สำคัญเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เมื่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เชิญทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุม ผมได้เสนอให้ กกต. เสนอเรื่องนี้ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยที่ประชุมเห็นชอบด้วยมติเอกฉันท์
ปรากฏว่า เรื่องนี้ เมื่อ กกต. ส่งหนังสือไปยังรัฐบาล กลับไม่มีการนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
มีเพียงหนังสือตอบจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีว่า เมื่อสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง จึงเห็นควรคงคำสั่งดังกล่าวไว้
ผมอยากให้นายกรัฐมนตรีเปิดใจกับพรรคการเมืองต่างๆในวันอังคารนี้
ว่าสิ่งที่เกรงกลัวว่าพรรคการเมืองจะไปดำเนินการคืออะไร จึงทำให้แม้แต่การปรับปรุงคำสั่ง (เช่น ห้ามเฉพาะบางกิจกรรมของพรรคการเมือง) กระทำไม่ได้
เพราะผมเชื่อว่าพรรคการเมืองเกือบทั้งหมด ต้องการทำกิจกรรม ขณะเดียวกันก็ต้องการให้บ้านเมืองสงบสุข
เราพร้อมจะช่วยเจ้าหน้าที่ของบ้านเมือง โดยการให้ความร่วมมือ ทำกิจกรรมในขอบเขต และร่วมประณาม ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาด กับพรรคการเมืองที่มีแนวทางเป็นอย่างอื่น
บ้านเมืองในขณะนี้ ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่จะประคับประคอง ให้ผ่านภาวะวิกฤติต่างๆไปได้
การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายจึงเป็นสิ่งมีค่า
แต่การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริงได้ ขึ้นอยู่กับ รูปแบบ การจัดการ และความจริงใจของผู้เกี่ยวข้องในการมีส่วนร่วม
ผมพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการพบปะอย่างสร้างสรรค์ จริงใจ และมีประสิทธิภาพ
หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านที่จะพบปะกันวันอังคารนี้ด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 6 พ.ค. 2550--จบ--