"เวียดนาม" ยึดเวทีดับบลิวทีโอชิงตลาดสิ่งทอ-เครื่องหนังไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 4, 2007 12:24 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          เวียดนามกำลังกลายเป็นคู่แข่งทางการค้าที่น่ากลัวสำหรับประเทศไทย รวมถึงการดึงดูดต่างชาติเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ขณะที่ไทยมีปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและหันไปมองเวียดนามเป็นเป้าหมายแทน ขณะที่เวียดนามเองปรับปรุงกฎหมาย และหลักเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์จูงใจต่างชาติมากกว่าไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวียดนามสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทำให้เวียดนามดูโดดเด่นในสายตานักลงทุนต่างชาติมากขึ้นไปอีก 
ทั้งนี้เวียดนาม เป็นประเทศมีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเหมือนกับผู้ประกอบการไทย แต่มีความได้เปรียบกว่าไทยในด้านแรงงานต่ำ มีวัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทำให้อุตสาหกรรมขยายตัวแบบก้าวกระโดด ด้วยเหตุนี้เอกชนไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ก่อนจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดส่งออกให้แก่เวียดนาม
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้วิเคราะห์ผลกระทบของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต หลังเวียดนามเป็นสมาชิกดับบลิวทีโอว่า เมื่อเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกดับบลิวทีโอแล้ว ประเทศอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกเดิม ก็จะต้องลดอัตราภาษีนำเข้าให้แก่เวียดนามด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ราคาสินค้าเวียดนามจะยิ่งถูกลงเมื่อเทียบกับสินค้าไทยในสายตาผู้นำเข้าสินค้า โดยเฉพาะผู้นำเข้าในตลาดสำคัญๆ เช่น สหรัฐที่เป็นตลาดส่งออกหลักของเวียดนาม และไทย คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยไปสหรัฐ จะลดลงเป็นมูลค่าประมาณ 113,157,517 ดอลลาร์ คิดเป็น 1.96% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมจากเวียดนามไปสหรัฐ
ทั้งนี้จากการประเมินผลกระทบอุตสาหกรรม 13 สาขาสำคัญนั้น พบว่าอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากสุดได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยมูลค่าส่งออกจะลดลง 86,121,375 ดอลลาร์คิดเป็น 76.11% ของมูลค่าการส่งออกที่ลดลงจาก 13 รายการ รองลงมาเป็นเครื่องหนังและรองเท้ามูลค่าลดลง 15,149,133 ดอลลาร์คิดเป็น 13.39% การผลิตผลิตภัณฑ์ถ่านโค้ก ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงมูลค่า 9,434,063 ดอลลาร์ คิดเป็น 8.34% เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ผลกระทบดังกล่าวจะเน้นตลาดสหรัฐเป็นหลัก เพราะเป็นตลาดขนาดใหญ่และเป็นตลาดหลักสำคัญของทั้งสองประเทศ ซึ่งผลวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยเริ่มถดถอย หากไม่เร่งปรับตัวเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปรับปรุงคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อาจเสียเปรียบด้านการตลาดให้แก่เวียดนามได้ สินค้าที่น่าห่วงที่สุดคือสินค้าเกษตรซึ่งเวียดนาม มีความได้เปรียบและจะแซงหน้าสินค้าเกษตรของไทย เช่น ยางพารา ผลไม้ และภายใน 10 ปี อุตสาหกรรมของเวียดนามมีแนวโน้มจะนำหน้าไทย ดังนั้นผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัวอย่างด่วน
อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่ตลาดเวียดนามเปิดกว้างมากขึ้น และยกเลิกมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี จะเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ส่งออกไทย เพราะการยกเลิกข้อกีดกันทำให้สามารถส่งสินค้าไปเวียดนามได้มากขึ้น
นายเธียรชัย มหาศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเหรียญไทยแอพพาเรล ยอมรับว่า การที่เวียดนามเป็นสมาชิกดับบลิวทีโอ จะกระทบต่อการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ หลังจากถูกจำกัดโควตาส่งออก แต่นับจากนี้ไปการแข่งขันจะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน โดยเฉพาะภาษีนำเข้า โดยตลาดระดับล่างจะได้รับผลกระทบมากสุด เพราะเวียดนามได้เปรียบที่ต้นทุนต่ำกว่า ส่วนตลาดระดับกลางและระดับบนไทยยังมีศักยภาพการผลิตมากกว่าและลูกค้ายอมรับคุณภาพสินค้าไทยมานาน
"ผู้ประกอบการไทยควรหันไปเป็นพันธมิตรการค้าและการลงทุนกับเวียดนามมากกว่าเป็นคู่แข่ง เพื่อใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์ โดยขณะนี้ผู้ประกอบการไทยเริ่มเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ผลิตสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มส่งออกบ้างแล้ว"
อย่างไรก็ตาม ยังมีโอกาสที่ตลาดเวียดนามเปิดกว้างมากมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี จะเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ส่งออกไทย เพราะการยกเลิกข้อกีดกันทำให้ส่งสินค้าไปเวียดนามได้มากขึ้น จากที่ผ่านมาเวียดนามมีมาตรการกีดกันการนำเข้ามาก
นายเธียรชัย มหาศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเหรียญไทยแอพพาเรล ยอมรับว่า การที่เวียดนามเป็นสมาชิกดับบลิวทีโอ จะกระทบต่อการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ หลังจากถูกจำกัดโควตาส่งออก แต่นับจากนี้ไปการแข่งขันจะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน โดยเฉพาะภาษีนำเข้า โดยตลาดระดับล่างจะได้รับผลกระทบมากสุด เพราะเวียดนามได้เปรียบที่ต้นทุนต่ำกว่า ส่วนตลาดระดับกลางและระดับบนไทยยังมีศักยภาพการผลิตมากกว่าและลูกค้ายอมรับคุณภาพสินค้าไทยมานาน
"ผู้ประกอบการไทยควรหันไปเป็นพันธมิตรการค้าและการลงทุนกับเวียดนามมากกว่าเป็นคู่แข่ง เพื่อใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์ โดยขณะนี้ผู้ประกอบการไทยเริ่มเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ผลิตสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มส่งออกบ้างแล้ว"
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ