วันนี้ 18 มี.ค.50 นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรไปพะวงมากเกินไปกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มสถานีโทรทัศน์พีทีวี เพราะสังคมทั่วไปรับรู้จากพฤติกรรมที่ดำเนินอยู่แล้วว่าเป็นเพียงกลุ่มตัวแทนการเมืองที่หวังจะมใช้เทคโนโลยีสื่อสารรูปแบบใหม่ๆ เป็นกระบอกเสียงในการเผยแพร่ความคิดเห็นของตนเองเท่านั้น ไม่ได้มีสถานะเป็นสถาบันสื่อมวลชนอย่างที่เข้าใจกันแต่อย่างใด และเท่าที่ติดตามเนื้อหา ที่เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ ก็ไม่ได้น่ากลัวอะไร ดังนั้นหากคนกลุ่มนี้ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ก็ไม่ควรไปปิดกั้น การปล่อยให้คนที่มีความเห็นแตกต่าง ได้มีกระบอกสียงออกมาบ้างจะช่วยลดกระแสความกดดัน ในสังคมได้เป็นอย่างดี
นายอภิชาต กล่าวว่า ทุกวันนี้ฝ่ายรัฐบาลเองมีความชอบธรรมในการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน ผ่านทางสื่อต่างๆได้มากมายอยู่แล้ว ควรใส่ใจกับกับภารกิจของตนเองอย่างต่อเนื่องจะดีกว่า เพราะแม้จะตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกขึ้นมา ร่วม 1 เดือนครึ่งแล้ว แต่ยังไม่เห็นงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่เป็นรูปธรรม สื่อของรัฐก็ยังทำงานไปวันๆ ขณะที่เวลาของรัฐบาลก็เหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ ความศรัทธา ความเชื่อมั่น ในรัฐบาลก็ลดน้อยถอยลง ถ้ายังปล่อยให้มีสภาพอย่างนี้ วันหนึ่งก็คงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นคระกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงรับ หรือเชิงอุดไปในที่สุด
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า ในช่วงนี้กระแสความสนใจในเรื่องการร่างรัฐธรรนูญสูงขึ้น คณะกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงรุก น่าจะให้ความสนใจกับการใช้สื่อมวลชน เป็นเวทีให้ข้อมูล ความรู้ และการถกเถียงที่กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม โดยสื่อมวลชนต้องระวังการให้น้ำหนักของข้อมูล ข่าวสารจากฝ่ายต่างๆ อย่างเป็นกลาง และเที่ยงธรรม ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้ความเห็นของคนบางกลุ่ม บางฝ่าย มีอิทธิพลเหนือกลุ่ม ฝ่ายอื่นๆที่สื่อไม่ได้ให้ความสำคัญ สุดท้ายรัฐธรรมนูญก็จะไม่สามารถสะท้อนความหลากหลายของสัมคมได้อย่างแท้จริงและจะมีปัญหามากมายตามมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 มี.ค. 2550--จบ--
นายอภิชาต กล่าวว่า ทุกวันนี้ฝ่ายรัฐบาลเองมีความชอบธรรมในการให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชน ผ่านทางสื่อต่างๆได้มากมายอยู่แล้ว ควรใส่ใจกับกับภารกิจของตนเองอย่างต่อเนื่องจะดีกว่า เพราะแม้จะตั้งคณะกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงรุกขึ้นมา ร่วม 1 เดือนครึ่งแล้ว แต่ยังไม่เห็นงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกที่เป็นรูปธรรม สื่อของรัฐก็ยังทำงานไปวันๆ ขณะที่เวลาของรัฐบาลก็เหลือน้อยลงไปเรื่อยๆ ความศรัทธา ความเชื่อมั่น ในรัฐบาลก็ลดน้อยถอยลง ถ้ายังปล่อยให้มีสภาพอย่างนี้ วันหนึ่งก็คงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นคระกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงรับ หรือเชิงอุดไปในที่สุด
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า ในช่วงนี้กระแสความสนใจในเรื่องการร่างรัฐธรรนูญสูงขึ้น คณะกรรมการประชาสัมพันธ์เชิงรุก น่าจะให้ความสนใจกับการใช้สื่อมวลชน เป็นเวทีให้ข้อมูล ความรู้ และการถกเถียงที่กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม โดยสื่อมวลชนต้องระวังการให้น้ำหนักของข้อมูล ข่าวสารจากฝ่ายต่างๆ อย่างเป็นกลาง และเที่ยงธรรม ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้ความเห็นของคนบางกลุ่ม บางฝ่าย มีอิทธิพลเหนือกลุ่ม ฝ่ายอื่นๆที่สื่อไม่ได้ให้ความสำคัญ สุดท้ายรัฐธรรมนูญก็จะไม่สามารถสะท้อนความหลากหลายของสัมคมได้อย่างแท้จริงและจะมีปัญหามากมายตามมา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 มี.ค. 2550--จบ--