ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จะดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวภายหลังสมาคมเอกชน 4 แห่ง
เข้าพบว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ขอให้ ธปท. เข้าดูแลอัตราแลกเปลี่ยนใน 1 — 2 สัปดาห์นี้ ส่วนจะออกมาตรการอะไรใหม่มา
ช่วยดูแลหรือไม่นั้น ธปท. กำลังพิจารณาอยู่ โดยจะดูว่าค่าเงินบาทแข็งขึ้นเร็วไปหรือผันผวนไปหรือไม่ ไม่ได้ดูว่าอัตราแลกเปลี่ยนต้องอยู่ที่ระดับ
เท่าไร เพราะอัตราแลกเปลี่ยนต้องเป็นไปตามกลไกตลาด ด้าน นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ได้อธิบาย
ให้ ธปท. ฟังว่ากระทบกับผู้ส่งออกอย่างไร โดยเฉพาะช่วงนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วมาก จึงต้องให้ ธปท. ดูแลให้แข่งขันได้ในระดับเดียวกับ
ประเทศคู่แข่ง ขณะที่ น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า เงินบาทไม่น่าจะแข็งค่าได้นาน
เพราะหลังการเลือกตั้งจะเริ่มเห็นการบริโภคและการลงทุนฟื้นตัว รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐทำให้จำเป็นต้องมีการนำเข้า และคาดว่า
ค่าเงินบาทจะอ่อนค่ากลับไปที่ระดับ 36 — 37 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, แนวหน้า)
2. เศรษฐกิจไทยเริ่มมีทิศทางดีขึ้นและจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 ปีนี้ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงทิศทางธุรกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปีนี้ว่า เศรษฐกิจไทยมีทิศทางดีขึ้นและจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 ปีนี้ เนื่องจากมีเงินไหล
เข้าประเทศมากขึ้นทั้งจากการลงทุนในตลาดหุ้น การท่องเที่ยว และการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความชัดเจนด้านการเลือกตั้ง
ศูนย์ฯ จึงได้ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้เป็นร้อยละ 4.0 — 4.5 จากเดิมร้อยละ 3.5 — 4.0 ส่วนในปี 51 คาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 5 — 6 ภายใต้เงื่อนไขว่ามีการดำเนินการโครงการลงทุนขนาดใหญ่ การส่งออกขยายตัวเกินร้อยละ 10 และการเมือง
มีเสถียรภาพ สำหรับปัจจัยบวกสำคัญที่ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ได้แก่ แรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้อำนาจซื้อ
ของประชาชนลดลงไม่มาก การจ้างงานยังคงอยู่ในระดับสูง และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำประมาณร้อยละ 1.6 — 1.7 ของจีดีพี
รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงครึ่งปีหลังมีโอกาสทรงตัวในระดับเดิมหรือลดลงร้อยละ 0.25 นอกจากนี้ จากการ
สำรวจผลประกอบการภาคธุรกิจช่วงครึ่งปีหลังจากผู้ประกอบการ 600 รายทั่วประเทศ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดหวังว่ายอดขายและ
ผลประกอบการในไตรมาส 4 ปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายและการ
บริโภคของประชาชนที่พบว่าจะชะลอตัวลงต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 3 และจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
ไทยรัฐ)
3. ตลาดตราสารหนี้ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 114 นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กก. และ ผจก. สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า
ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงครึ่งแรกปีนี้ขยายตัวมากกว่าที่ผ่านมา โดยมีปริมาณตราสารหนี้ 2.89 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 114 จาก
ปีก่อน ซึ่งตราสารหนี้ส่วนใหญ่ออกมาจาก ธปท. ที่ออกพันธบัตรจำนวน 1.82 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาประมาณ
ร้อยละ 300 เนื่องจากต้องระดมเงินจำนวนมากเพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีจำนวน 178,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 90 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดทำ งปม.แบบขาดดุล ขณะที่รัฐวิสาหกิจมีการออกพันธบัตร 61,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 120
ด้านสถานการณ์ในตลาดรองมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างคึกคัก มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยประมาณ 4 หมื่นล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 200 สำหรับ
ในครึ่งปีหลังจะมีการออกหุ้นกู้ของบริษัทขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้นและการปิดตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ของ ธปท. จะทำให้ธุรกรรมในตลาด
ซื้อคืนพันธบัตรเอกชนคึกคักขึ้น ซึ่งนักลงทุนยังเน้นการซื้อขายตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ไม่แน่นอน ด้าน
น.ส.อาริยา ติรณะประกิจ ผช.ผจก. ฝ่ายงานกำกับดูแลตราสารหนี้ เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งแรกของปีนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาด
ตราสารหนี้ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ขณะนี้มียอดคงค้างเหลืออยู่ประมาณ 48,400 ล้านบาท และยังไม่เห็นเม็ดเงินใหม่จากนักลงทุนผู้
มีถิ่นฐานนอกประเทศไหลเข้ามาแม้ว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 แล้วก็ตาม เนื่องจากยังมีต้นทุนสูงกว่าการลงทุนในตลาดอื่น
(มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ภาคอุตสาหกรรมเตรียมรวบรวมผลกระทบจากค่าเงินบาทเสนอรัฐบาลหาทางแก้ไข นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สมาชิก สอท. 35 กลุ่มอุตสาหกรรม รวบรวมผลกระทบจากภาวะเงินบาท
ที่แข็งค่าขึ้นให้เสร็จภายในสัปดาห์หน้า เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้ภาครัฐบาลดำเนินการต่อไป โดยทิศทางค่าเงินบาทคงจะต้องติดตามอย่าง
ใกล้ชิด หากมีทิศทางที่จะแข็งค่าในระยะยาวจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องเร่งเตรียมแผนรับมือเพราะจะมีผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออก ซึ่งในระยะนี้
คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะมีการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากผิดปกติซึ่งจะมีผลต่อค่าเงินบาทว่าจะแข็งค่าระยะยาวหรือไม่ อย่างไรก็ตาม
ภาวะเงินบาทที่แข็งค่าในปัจจุบันจำเป็นที่ภาครัฐควรจะพิจารณาเทียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้าอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเวียดนามที่ค่าเงินบาท
ของไทยแข็งค่ามากกว่า ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจย้ายฐานการลงทุน ประกอบกับที่ผ่านมาครึ่งหลังปี 49 ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งไป
มากทำให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยลดลงตั้งแต่นั้นมา จึงจำเป็นที่รัฐจะต้องหามาตรการป้องกันปัญหาหากแนวโน้มค่าเงินบาทจะ
แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 50
ผลการสำรวจรายสัปดาห์ของบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac ชี้ว่า ในสัปดาห์นี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของ สรอ. ซึ่งเป็น
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับสินเชื่อจำนอง ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 6.63 จากร้อยละ 6.67 อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีจะลดลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยก็ยังคงสูงกว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้
ทั้งนี้รองประธานบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac กล่าวว่าส่วนหนึ่งสะท้อนถึงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ในระดับปานกลางโดยดัชนีราคาผู้บริโภค
พื้นฐานในเดือน พ.ค. ที่เปิดเผยโดยก.พาณิชย์ สรอ.ในวันที่ 29 มิ.ย. เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.9 เทียบต่อปีน้อยที่สุดในรอบ 12 เดือนนับ
ตั้งแต่เดือน มี.ค. 48 สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีที่ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 6.30 จากร้อยละ 6.34 เมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าโดยระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีอยู่ที่ร้อยละ 6.79 และร้อยละ 6.44
ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ (one-year adjustable rate mortgage - ARM) เพิ่มขึ้นอยู่ที่
ร้อยละ 5.71 จากร้อยละ 5.65 เมื่อสัปดาห์ก่อนแต่ยังคงต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ ARM อยู่ที่ร้อยละ 5.82 (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งและคาดว่าปลายปีนี้อาจจะถึงระดับร้อยละ 6.0 รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 50 ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5 ในรอบน้อยกว่า 1 ปีทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปีที่ร้อยละ 5.75
เนื่องจาก ธ.กลางยังคงมีความวิตกเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ปัจจุบันต้นทุนการกู้ยืมของธุรกิจและครัวเรือนได้ปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.25 นับ
ตั้งแต่เดือน ส.ค. ปีที่แล้ว และตลาดเงินคาดว่าในไม่ช้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เป็นครั้งที่ 6 ทั้งนี้นาย
David Brown นักเศรษฐศาสตร์จาก Bear Stearns กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ว่าการใช้จ่ายผู้บริโภคอาจลดลงหาก ธ. กลางอังกฤษปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 6.0 ก่อนปลายปีนี้ เพื่อให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
3. จีนเกินดุลการค้าในครึ่งแรกปี 50 จำนวน 110 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากเซี่ยงไฮ้ เมื่อ 6 ก.ค.50 The China
Securities Journal เปิดเผยว่า ในครึ่งแรกปี 50 จีนเกินดุลการค้าจำนวน 110 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากภาคธุรกิจในจีนเร่ง
การส่งออกก่อนที่ทางการจีนจะดำเนินนโยบายชะลอการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างมากในปัจจุบัน โดยในเฉพาะเดือน มิ.ย.50 จีนเกิน
ดุลการค้าประมาณ 24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สอดคล้องกับผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ประเทศจีน
กำลังพยายามลดการขยายตัวของตัวเลขเกินดุลการค้าด้วยการลดการคืนภาษีการส่งออก รวมถึงการเพิ่มอากรสำหรับสินค้าส่งออกบางรายการ
เพื่อลดความกดดันที่ได้รับจากประเทศคู่ค้า อนึ่ง ในครึ่งแรกปี 50 จีนมียอดการส่งออกและการนำเข้าเป็นจำนวนมากกว่า 970 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยยอดส่งออกและนำเข้าเฉพาะเดือน มิ.ย.50 เพียงเดือนเดียวมีจำนวนเกินกว่า 165.65 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งเป็นยอดการค้า
ของเดือน พ.ค.50 ในขณะที่ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 22.45 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่ระดับ 101.2 รายงานจากโซล
เมื่อ 5 ก.ค.50 สำนักงานสถิติเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 เดือน
ที่ระดับ 101.2 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) จากระดับ 100.2 และ 97.6 ในเดือน พ.ค. และ เม.ย.50 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวเคยอยู่
ในระดับสูงสุดที่ 102.8 ในเดือน ม.ค.49 อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับความคาดหวังใน
ระบบเศรษฐกิจและการใช้จ่ายส่วนบุคคลใน 6 เดือนข้างหน้า โดยหากอยู่เหนือระดับ 100 หมายถึงผู้บริโภคมีความคาดหวังว่าจะดีขึ้น ทั้งนี้
สำนักงานสถิติเฝ้าติดตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นเครื่องชี้วัดความต้องการในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่ง
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เกาหลีใต้ (รอยเตอร์)
5. ญี่ปุ่นปรับเพิ่มการประเมินดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจในเดือน พ.ค.50 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 5 ก.ค.50 The Cabinet
Office เปิดเผยว่า ทางการญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มการประเมินดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจในเดือน พ.ค.50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยปรับเพิ่ม
The leading index ซึ่งเป็นดัชนีชี้เศรษฐกิจที่วัดจากข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อาทิเช่น การจ้างงาน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และราคาหุ้น
อยู่ที่ระดับ 30.0 จากระดับ 18.2 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ The coincident index ซึ่งเป็นดัชนีชี้ชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ปรับ
ลดลงที่ระดับ 66.7 จากระดับ 70.0 ในเดือนก่อนหน้า โดยแม้จะลดลงแต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจ
ปัจจุบันยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ The leading index แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 7
สะท้อนว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงต้องการการเฝ้าระวัง โดยมีสาเหตุจากการชะลอตัวของส่วนประกอบหลักของดัชนีฯ คือ ผลผลิตอุตสาหกรรม
ที่ประสบภาวะชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 50 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ทางการญี่ปุ่นยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจมากกว่า ธ.กลางญี่ปุ่น ซึ่งมี
การคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.1 ในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.ค. 50 5 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.054 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.8912/34.2093 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67750 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 823.93/35.10 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,550/10,650 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.43 68.32 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. จะดูแลไม่ให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวภายหลังสมาคมเอกชน 4 แห่ง
เข้าพบว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ขอให้ ธปท. เข้าดูแลอัตราแลกเปลี่ยนใน 1 — 2 สัปดาห์นี้ ส่วนจะออกมาตรการอะไรใหม่มา
ช่วยดูแลหรือไม่นั้น ธปท. กำลังพิจารณาอยู่ โดยจะดูว่าค่าเงินบาทแข็งขึ้นเร็วไปหรือผันผวนไปหรือไม่ ไม่ได้ดูว่าอัตราแลกเปลี่ยนต้องอยู่ที่ระดับ
เท่าไร เพราะอัตราแลกเปลี่ยนต้องเป็นไปตามกลไกตลาด ด้าน นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ได้อธิบาย
ให้ ธปท. ฟังว่ากระทบกับผู้ส่งออกอย่างไร โดยเฉพาะช่วงนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วมาก จึงต้องให้ ธปท. ดูแลให้แข่งขันได้ในระดับเดียวกับ
ประเทศคู่แข่ง ขณะที่ น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า เงินบาทไม่น่าจะแข็งค่าได้นาน
เพราะหลังการเลือกตั้งจะเริ่มเห็นการบริโภคและการลงทุนฟื้นตัว รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐทำให้จำเป็นต้องมีการนำเข้า และคาดว่า
ค่าเงินบาทจะอ่อนค่ากลับไปที่ระดับ 36 — 37 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. (โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้, แนวหน้า)
2. เศรษฐกิจไทยเริ่มมีทิศทางดีขึ้นและจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 ปีนี้ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ
ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงทิศทางธุรกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปีนี้ว่า เศรษฐกิจไทยมีทิศทางดีขึ้นและจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 ปีนี้ เนื่องจากมีเงินไหล
เข้าประเทศมากขึ้นทั้งจากการลงทุนในตลาดหุ้น การท่องเที่ยว และการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความชัดเจนด้านการเลือกตั้ง
ศูนย์ฯ จึงได้ปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้เป็นร้อยละ 4.0 — 4.5 จากเดิมร้อยละ 3.5 — 4.0 ส่วนในปี 51 คาดว่า
จะขยายตัวร้อยละ 5 — 6 ภายใต้เงื่อนไขว่ามีการดำเนินการโครงการลงทุนขนาดใหญ่ การส่งออกขยายตัวเกินร้อยละ 10 และการเมือง
มีเสถียรภาพ สำหรับปัจจัยบวกสำคัญที่ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ได้แก่ แรงกดดันเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่องทำให้อำนาจซื้อ
ของประชาชนลดลงไม่มาก การจ้างงานยังคงอยู่ในระดับสูง และอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำประมาณร้อยละ 1.6 — 1.7 ของจีดีพี
รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงครึ่งปีหลังมีโอกาสทรงตัวในระดับเดิมหรือลดลงร้อยละ 0.25 นอกจากนี้ จากการ
สำรวจผลประกอบการภาคธุรกิจช่วงครึ่งปีหลังจากผู้ประกอบการ 600 รายทั่วประเทศ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดหวังว่ายอดขายและ
ผลประกอบการในไตรมาส 4 ปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายและการ
บริโภคของประชาชนที่พบว่าจะชะลอตัวลงต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 3 และจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
ไทยรัฐ)
3. ตลาดตราสารหนี้ครึ่งปีแรกขยายตัวร้อยละ 114 นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กก. และ ผจก. สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า
ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงครึ่งแรกปีนี้ขยายตัวมากกว่าที่ผ่านมา โดยมีปริมาณตราสารหนี้ 2.89 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 114 จาก
ปีก่อน ซึ่งตราสารหนี้ส่วนใหญ่ออกมาจาก ธปท. ที่ออกพันธบัตรจำนวน 1.82 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาประมาณ
ร้อยละ 300 เนื่องจากต้องระดมเงินจำนวนมากเพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท ส่วนพันธบัตรรัฐบาลมีจำนวน 178,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 90 เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดทำ งปม.แบบขาดดุล ขณะที่รัฐวิสาหกิจมีการออกพันธบัตร 61,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 120
ด้านสถานการณ์ในตลาดรองมีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างคึกคัก มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยประมาณ 4 หมื่นล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 200 สำหรับ
ในครึ่งปีหลังจะมีการออกหุ้นกู้ของบริษัทขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้นและการปิดตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ของ ธปท. จะทำให้ธุรกรรมในตลาด
ซื้อคืนพันธบัตรเอกชนคึกคักขึ้น ซึ่งนักลงทุนยังเน้นการซื้อขายตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ไม่แน่นอน ด้าน
น.ส.อาริยา ติรณะประกิจ ผช.ผจก. ฝ่ายงานกำกับดูแลตราสารหนี้ เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งแรกของปีนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาด
ตราสารหนี้ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท ทำให้ขณะนี้มียอดคงค้างเหลืออยู่ประมาณ 48,400 ล้านบาท และยังไม่เห็นเม็ดเงินใหม่จากนักลงทุนผู้
มีถิ่นฐานนอกประเทศไหลเข้ามาแม้ว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 แล้วก็ตาม เนื่องจากยังมีต้นทุนสูงกว่าการลงทุนในตลาดอื่น
(มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ภาคอุตสาหกรรมเตรียมรวบรวมผลกระทบจากค่าเงินบาทเสนอรัฐบาลหาทางแก้ไข นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภา
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สมาชิก สอท. 35 กลุ่มอุตสาหกรรม รวบรวมผลกระทบจากภาวะเงินบาท
ที่แข็งค่าขึ้นให้เสร็จภายในสัปดาห์หน้า เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาให้ภาครัฐบาลดำเนินการต่อไป โดยทิศทางค่าเงินบาทคงจะต้องติดตามอย่าง
ใกล้ชิด หากมีทิศทางที่จะแข็งค่าในระยะยาวจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องเร่งเตรียมแผนรับมือเพราะจะมีผลกระทบต่อรายได้จากการส่งออก ซึ่งในระยะนี้
คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะมีการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากผิดปกติซึ่งจะมีผลต่อค่าเงินบาทว่าจะแข็งค่าระยะยาวหรือไม่ อย่างไรก็ตาม
ภาวะเงินบาทที่แข็งค่าในปัจจุบันจำเป็นที่ภาครัฐควรจะพิจารณาเทียบกับประเทศคู่แข่งทางการค้าอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเวียดนามที่ค่าเงินบาท
ของไทยแข็งค่ามากกว่า ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจย้ายฐานการลงทุน ประกอบกับที่ผ่านมาครึ่งหลังปี 49 ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งไป
มากทำให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยลดลงตั้งแต่นั้นมา จึงจำเป็นที่รัฐจะต้องหามาตรการป้องกันปัญหาหากแนวโน้มค่าเงินบาทจะ
แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 50
ผลการสำรวจรายสัปดาห์ของบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac ชี้ว่า ในสัปดาห์นี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีของ สรอ. ซึ่งเป็น
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับสินเชื่อจำนอง ลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 6.63 จากร้อยละ 6.67 อย่างไรก็ตาม
แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปีจะลดลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยก็ยังคงสูงกว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้
ทั้งนี้รองประธานบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac กล่าวว่าส่วนหนึ่งสะท้อนถึงอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่อยู่ในระดับปานกลางโดยดัชนีราคาผู้บริโภค
พื้นฐานในเดือน พ.ค. ที่เปิดเผยโดยก.พาณิชย์ สรอ.ในวันที่ 29 มิ.ย. เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.9 เทียบต่อปีน้อยที่สุดในรอบ 12 เดือนนับ
ตั้งแต่เดือน มี.ค. 48 สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 15 ปีที่ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 6.30 จากร้อยละ 6.34 เมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะที่เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าโดยระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีอยู่ที่ร้อยละ 6.79 และร้อยละ 6.44
ตามลำดับ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ (one-year adjustable rate mortgage - ARM) เพิ่มขึ้นอยู่ที่
ร้อยละ 5.71 จากร้อยละ 5.65 เมื่อสัปดาห์ก่อนแต่ยังคงต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ ARM อยู่ที่ร้อยละ 5.82 (รอยเตอร์)
2. ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งและคาดว่าปลายปีนี้อาจจะถึงระดับร้อยละ 6.0 รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 50 ธ.กลางอังกฤษปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 5 ในรอบน้อยกว่า 1 ปีทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 ปีที่ร้อยละ 5.75
เนื่องจาก ธ.กลางยังคงมีความวิตกเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ปัจจุบันต้นทุนการกู้ยืมของธุรกิจและครัวเรือนได้ปรับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.25 นับ
ตั้งแต่เดือน ส.ค. ปีที่แล้ว และตลาดเงินคาดว่าในไม่ช้าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีการปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เป็นครั้งที่ 6 ทั้งนี้นาย
David Brown นักเศรษฐศาสตร์จาก Bear Stearns กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ว่าการใช้จ่ายผู้บริโภคอาจลดลงหาก ธ. กลางอังกฤษปรับ
เพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 6.0 ก่อนปลายปีนี้ เพื่อให้เงินเฟ้ออยู่ในระดับเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 (รอยเตอร์)
3. จีนเกินดุลการค้าในครึ่งแรกปี 50 จำนวน 110 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รายงานจากเซี่ยงไฮ้ เมื่อ 6 ก.ค.50 The China
Securities Journal เปิดเผยว่า ในครึ่งแรกปี 50 จีนเกินดุลการค้าจำนวน 110 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากภาคธุรกิจในจีนเร่ง
การส่งออกก่อนที่ทางการจีนจะดำเนินนโยบายชะลอการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างมากในปัจจุบัน โดยในเฉพาะเดือน มิ.ย.50 จีนเกิน
ดุลการค้าประมาณ 24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สอดคล้องกับผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ประเทศจีน
กำลังพยายามลดการขยายตัวของตัวเลขเกินดุลการค้าด้วยการลดการคืนภาษีการส่งออก รวมถึงการเพิ่มอากรสำหรับสินค้าส่งออกบางรายการ
เพื่อลดความกดดันที่ได้รับจากประเทศคู่ค้า อนึ่ง ในครึ่งแรกปี 50 จีนมียอดการส่งออกและการนำเข้าเป็นจำนวนมากกว่า 970 พันล้านดอลลาร์
สรอ. โดยยอดส่งออกและนำเข้าเฉพาะเดือน มิ.ย.50 เพียงเดือนเดียวมีจำนวนเกินกว่า 165.65 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งเป็นยอดการค้า
ของเดือน พ.ค.50 ในขณะที่ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 22.45 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
4. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 เดือนที่ระดับ 101.2 รายงานจากโซล
เมื่อ 5 ก.ค.50 สำนักงานสถิติเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 เดือน
ที่ระดับ 101.2 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) จากระดับ 100.2 และ 97.6 ในเดือน พ.ค. และ เม.ย.50 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวเคยอยู่
ในระดับสูงสุดที่ 102.8 ในเดือน ม.ค.49 อนึ่ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับความคาดหวังใน
ระบบเศรษฐกิจและการใช้จ่ายส่วนบุคคลใน 6 เดือนข้างหน้า โดยหากอยู่เหนือระดับ 100 หมายถึงผู้บริโภคมีความคาดหวังว่าจะดีขึ้น ทั้งนี้
สำนักงานสถิติเฝ้าติดตามดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นเครื่องชี้วัดความต้องการในประเทศ ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่ง
ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) เกาหลีใต้ (รอยเตอร์)
5. ญี่ปุ่นปรับเพิ่มการประเมินดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจในเดือน พ.ค.50 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 5 ก.ค.50 The Cabinet
Office เปิดเผยว่า ทางการญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มการประเมินดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจในเดือน พ.ค.50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยปรับเพิ่ม
The leading index ซึ่งเป็นดัชนีชี้เศรษฐกิจที่วัดจากข้อมูลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อาทิเช่น การจ้างงาน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และราคาหุ้น
อยู่ที่ระดับ 30.0 จากระดับ 18.2 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ The coincident index ซึ่งเป็นดัชนีชี้ชี้วัดสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน ปรับ
ลดลงที่ระดับ 66.7 จากระดับ 70.0 ในเดือนก่อนหน้า โดยแม้จะลดลงแต่ยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจ
ปัจจุบันยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ The leading index แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 7
สะท้อนว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงต้องการการเฝ้าระวัง โดยมีสาเหตุจากการชะลอตัวของส่วนประกอบหลักของดัชนีฯ คือ ผลผลิตอุตสาหกรรม
ที่ประสบภาวะชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 50 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ทางการญี่ปุ่นยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจมากกว่า ธ.กลางญี่ปุ่น ซึ่งมี
การคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.1 ในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 6 ก.ค. 50 5 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.054 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.8912/34.2093 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67750 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 823.93/35.10 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,450/10,550 10,550/10,650 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.43 68.32 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--