กรุงเทพ--12 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เริ่มการเยือน สปป. ลาวอย่างเป็นทางการ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-ลาว ที่หลวงพระบาง โดยได้เข้าหารือข้อราชการกับ ดร. ทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาวในช่วงเย็นวันดังกล่าว
การพบปะหารือในครั้งนี้ได้ดำเนินไปในบรรยากาศแห่งความเข้าใจอันดีและด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันความร่วมมือให้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว หลังการหารือ หัวหน้าคณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ซึ่งไม่เคยมีการลงนามระหว่างกันในลักษณะนี้มาประมาณ 20 ปีแล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและลาวเห็นชอบให้ยึดถือและปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมระหว่างพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และ นายไกสอน พมวิหาน นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2522 เป็นหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว และให้ใช้กลไกความร่วมมือต่าง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือไทย-ลาว ให้ขยายตัวเพิ่มยิ่งขึ้นไป สรุปสาระสำคัญของแถลงการณ์ร่วมได้ดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีที่ความร่วมมือไทย-ลาวด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน รวมทั้งในกรอบอนุภูมิภาค ACMECS ในระยะที่ผ่านมา มีพัฒนาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนของทั้งสองประเทศอย่างแท้จริง โดยในการพบปะครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งเป้าหมายให้การค้าระหว่างสองประเทศขยายตัวเป็น 2 เท่าภายในปี 2553 ทั้งนี้ ทางการลาวเห็นด้วยกับการที่ภาคเอกชนได้ริเริ่มจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-ลาวเพื่อเป็นกลไกเสริมการดำเนินการของภาครัฐบาล
ในการส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชนไทย-ลาว ด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งการเกษตรแปรรูป การผลิตพืชพลังงานทดแทน
2. รัฐบาล สปป. ลาวแสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือในหลายด้านโดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การก่อสร้างเส้นทางคมนาคม สะพาน สนามบิน เส้นทางรถไฟ ซึ่งบางโครงการได้สำเร็จแล้ว บางโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ และบางโครงการอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งฝ่ายไทยยินดีให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยการพบปะครั้งนี้ มีความคืบหน้าดังต่อไปนี้
2.1 การขยายเวลาทำการด่าน ช่องเม็ก-วังเต่า ตามที่ที่ประชุม JC ไทย-ลาว ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 25-27 มกราคม 2549 ที่จังหวัดตราด เห็นชอบในหลักการให้ขยายเวลาทำการด่าน ช่องเม็ก-วังเต่า จากเดิมเวลา 06.00-18.00 น. เป็นเวลา 06.00-20.00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการสัญจรของประชาชนทั้งสองประเทศ ในการประชุมครั้งนี้ ทางการลาวแจ้งว่าพร้อมที่จะเปิดด่านวังเต่าถึงเวลา 20.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
2.2 การพัฒนาโครงข่ายคมนาคม ได้แก่โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างนครพนม-คำม่วน และการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างไทย-ลาว-เวียดนามตามเส้นทาง R12 และสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างจังหวัดเชียงราย-แขวงบ่อแก้ว เชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน ตามเส้นทาง R3 ซึ่งไทย จีน และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ลาว นอกจากนี้ ทางการลาวยังได้ขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงินในการก่อสร้างทางรถไฟเส้นทางท่านาแล้ง-เวียงจันทน์เพิ่มเติมอีก 9 กม.
3. ลาวได้ประกาศเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2550 ว่ากำลังประสบปัญหาเรื่องไข้หวัดนก และมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 2 ราย เพื่อขอระดมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ ในเรื่องนี้ ฝ่าย สปป ลาว ได้แสดงความขอบคุณฝ่ายไทย ที่มุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือให้ข้อมูล ความรู้ ในการป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการที่ฝ่ายไทยจะมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่ทางการลาวเพื่อแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกต่อไปด้วย
4. ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีต่อผลสำเร็จของการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (JBC) ครั้งที่ 8 ที่หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคม 2550 ซึ่งตรงกับการครบรอบ 10 ปี ของการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว โดยนับตั้งแต่การประชุม JBC ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 9-11 ธันวาคม 2545 เป็นต้นมา ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำหลักเขตแดนทางบกได้อีก 19 หลัก และสำรวจสันปันน้ำ ที่เป็นเส้นเขตแดนเพิ่มเติมอีก 8.51 กิโลเมตร รวมเป็น 190 หลัก คิดเป็นระยะทาง 676 กิโลเมตร สำหรับปัญหาหลักเขตแดนคงค้าง ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะให้คณะทำงานด้านกฎหมายปรึกษาหารือแก้ไขปัญหาเขตแดนบริเวณต้นน้ำเหือง ทั้งสองฝ่ายจะสืบต่อแก้ไขจุดคงค้างอื่น ๆ รวมทั้งมอบหมาย ให้คณะวิชาการทางด้านเทคนิคไปสำรวจเก็บข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกัน สำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางน้ำ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบให้จัดทำแผนที่แม่น้ำโขง ฉบับใหม่เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการถ่ายทอดเส้นเขตแดนในแผนที่เส้นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสในแม่น้ำโขง มาตราส่วน 1:25,000 ฉบับปี ค.ศ.1931 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2550 ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและลาวพยายามเร่งรัดดำเนินการสำรวจและ จัดทำหลักเขตแดนให้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยทางบกภายในปี 2551 และทางน้ำภายในปี 2553
5. กรณีม้ง
5.1 เด็กที่ได้รับแจ้งว่าหายไป 26 คน บัดนี้ จากความร่วมมือและการประสานงานด้านข้อมูลระหว่างสองฝ่าย ฝ่าย สปป ลาว แจ้งว่า พบแล้ว 21 คน ล้วนเป็นหญิง สุขภาพแข็งแรง ในการนี้ พร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ส่งกลับคืนพ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กโดยเร็ว ส่วนที่เหลืออยู่จะพยายามตามหาต่อไป ฝ่ายไทยแสดงความขอบคุณและชื่นชมความพยายามของลาวในเรื่องนี้
5.2 เรื่องชาวม้งที่ยังเป็นปัญหา ฝ่ายลาวแสดงความเข้าใจถึงปัญหาและความกดดันต่างๆ ที่ไทยได้รับและเห็นพ้องให้ GBC หารือกันแก้ปัญหาโดยเร็วต่อไป (ข้อ 13 ของแถลงการณ์ร่วม)
ในโอกาสนี้ นายนิตย์ฯ ได้เชิญ ดร. ทองลุน สีสุลิด เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ คาดว่าการเยือนดังกล่าวจะเป็นช่วงเดือนเมษายน ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนการเยือน
ในระดับสูงจะส่งผลให้ความร่วมมือของทั้งสองประเทศมีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ภายหลังการหารือ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เริ่มการเยือน สปป. ลาวอย่างเป็นทางการ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-ลาว ที่หลวงพระบาง โดยได้เข้าหารือข้อราชการกับ ดร. ทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาวในช่วงเย็นวันดังกล่าว
การพบปะหารือในครั้งนี้ได้ดำเนินไปในบรรยากาศแห่งความเข้าใจอันดีและด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันความร่วมมือให้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว หลังการหารือ หัวหน้าคณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ซึ่งไม่เคยมีการลงนามระหว่างกันในลักษณะนี้มาประมาณ 20 ปีแล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและลาวเห็นชอบให้ยึดถือและปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมระหว่างพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และ นายไกสอน พมวิหาน นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป. ลาว เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2522 เป็นหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว และให้ใช้กลไกความร่วมมือต่าง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือไทย-ลาว ให้ขยายตัวเพิ่มยิ่งขึ้นไป สรุปสาระสำคัญของแถลงการณ์ร่วมได้ดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีที่ความร่วมมือไทย-ลาวด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน รวมทั้งในกรอบอนุภูมิภาค ACMECS ในระยะที่ผ่านมา มีพัฒนาการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนของทั้งสองประเทศอย่างแท้จริง โดยในการพบปะครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตั้งเป้าหมายให้การค้าระหว่างสองประเทศขยายตัวเป็น 2 เท่าภายในปี 2553 ทั้งนี้ ทางการลาวเห็นด้วยกับการที่ภาคเอกชนได้ริเริ่มจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-ลาวเพื่อเป็นกลไกเสริมการดำเนินการของภาครัฐบาล
ในการส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชนไทย-ลาว ด้านการค้าและการลงทุน รวมทั้งการเกษตรแปรรูป การผลิตพืชพลังงานทดแทน
2. รัฐบาล สปป. ลาวแสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือในหลายด้านโดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การก่อสร้างเส้นทางคมนาคม สะพาน สนามบิน เส้นทางรถไฟ ซึ่งบางโครงการได้สำเร็จแล้ว บางโครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ และบางโครงการอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งฝ่ายไทยยินดีให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยการพบปะครั้งนี้ มีความคืบหน้าดังต่อไปนี้
2.1 การขยายเวลาทำการด่าน ช่องเม็ก-วังเต่า ตามที่ที่ประชุม JC ไทย-ลาว ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 25-27 มกราคม 2549 ที่จังหวัดตราด เห็นชอบในหลักการให้ขยายเวลาทำการด่าน ช่องเม็ก-วังเต่า จากเดิมเวลา 06.00-18.00 น. เป็นเวลา 06.00-20.00 น. เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการสัญจรของประชาชนทั้งสองประเทศ ในการประชุมครั้งนี้ ทางการลาวแจ้งว่าพร้อมที่จะเปิดด่านวังเต่าถึงเวลา 20.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
2.2 การพัฒนาโครงข่ายคมนาคม ได้แก่โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างนครพนม-คำม่วน และการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างไทย-ลาว-เวียดนามตามเส้นทาง R12 และสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่างจังหวัดเชียงราย-แขวงบ่อแก้ว เชื่อมโยงไทย-ลาว-จีน ตามเส้นทาง R3 ซึ่งไทย จีน และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) จะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ลาว นอกจากนี้ ทางการลาวยังได้ขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้ความช่วยเหลือทางการเงินในการก่อสร้างทางรถไฟเส้นทางท่านาแล้ง-เวียงจันทน์เพิ่มเติมอีก 9 กม.
3. ลาวได้ประกาศเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2550 ว่ากำลังประสบปัญหาเรื่องไข้หวัดนก และมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 2 ราย เพื่อขอระดมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ ในเรื่องนี้ ฝ่าย สปป ลาว ได้แสดงความขอบคุณฝ่ายไทย ที่มุ่งมั่นให้ความช่วยเหลือให้ข้อมูล ความรู้ ในการป้องกันและระงับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการที่ฝ่ายไทยจะมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่ทางการลาวเพื่อแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกต่อไปด้วย
4. ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีต่อผลสำเร็จของการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (JBC) ครั้งที่ 8 ที่หลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 7-8 มีนาคม 2550 ซึ่งตรงกับการครบรอบ 10 ปี ของการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-ลาว โดยนับตั้งแต่การประชุม JBC ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 9-11 ธันวาคม 2545 เป็นต้นมา ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำหลักเขตแดนทางบกได้อีก 19 หลัก และสำรวจสันปันน้ำ ที่เป็นเส้นเขตแดนเพิ่มเติมอีก 8.51 กิโลเมตร รวมเป็น 190 หลัก คิดเป็นระยะทาง 676 กิโลเมตร สำหรับปัญหาหลักเขตแดนคงค้าง ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะให้คณะทำงานด้านกฎหมายปรึกษาหารือแก้ไขปัญหาเขตแดนบริเวณต้นน้ำเหือง ทั้งสองฝ่ายจะสืบต่อแก้ไขจุดคงค้างอื่น ๆ รวมทั้งมอบหมาย ให้คณะวิชาการทางด้านเทคนิคไปสำรวจเก็บข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกัน สำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางน้ำ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบให้จัดทำแผนที่แม่น้ำโขง ฉบับใหม่เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการถ่ายทอดเส้นเขตแดนในแผนที่เส้นเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสในแม่น้ำโขง มาตราส่วน 1:25,000 ฉบับปี ค.ศ.1931 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2550 ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและลาวพยายามเร่งรัดดำเนินการสำรวจและ จัดทำหลักเขตแดนให้สำเร็จตามเป้าหมาย โดยทางบกภายในปี 2551 และทางน้ำภายในปี 2553
5. กรณีม้ง
5.1 เด็กที่ได้รับแจ้งว่าหายไป 26 คน บัดนี้ จากความร่วมมือและการประสานงานด้านข้อมูลระหว่างสองฝ่าย ฝ่าย สปป ลาว แจ้งว่า พบแล้ว 21 คน ล้วนเป็นหญิง สุขภาพแข็งแรง ในการนี้ พร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ส่งกลับคืนพ่อแม่ ผู้ปกครองของเด็กโดยเร็ว ส่วนที่เหลืออยู่จะพยายามตามหาต่อไป ฝ่ายไทยแสดงความขอบคุณและชื่นชมความพยายามของลาวในเรื่องนี้
5.2 เรื่องชาวม้งที่ยังเป็นปัญหา ฝ่ายลาวแสดงความเข้าใจถึงปัญหาและความกดดันต่างๆ ที่ไทยได้รับและเห็นพ้องให้ GBC หารือกันแก้ปัญหาโดยเร็วต่อไป (ข้อ 13 ของแถลงการณ์ร่วม)
ในโอกาสนี้ นายนิตย์ฯ ได้เชิญ ดร. ทองลุน สีสุลิด เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ คาดว่าการเยือนดังกล่าวจะเป็นช่วงเดือนเมษายน ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนการเยือน
ในระดับสูงจะส่งผลให้ความร่วมมือของทั้งสองประเทศมีผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ภายหลังการหารือ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-