วันที่ 19 มกราคม 2550 เมื่อเวลา 15.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 10 คน ที่คมช.เป็นผู้เสนอ ว่า คมช.คงจะชี้แจงด้วยว่า 10 คนที่เลือกมานั้นเป้นสาขาไหน อย่างไร เพราะก่อนหน้านี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมต้องมีส่วนนี้ด้วย ซึ่งคมช.ระบุว่าจะดูภาพรรวมว่าตรงไหนขาด และจำเป็นต้องเพิ่มเข้าไป ซึ่งเราคาดหวังว่าจะมีการแจกแจงให้เห้นถึงที่มาที่ไป ทั้งนี้ ตนคาดหวังว่ากมธ.ยกร่างฯทั้ง 10 คน จะได้ทำงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเร่งสร้างประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้เต็มที่ เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นที่เชื่อมั่นของสังคมไทย และมั่นใจว่าระยะยเวลาหลังจากนี้ตามกรอบเวลาที่รัฐบาลกำหนดไว้ กมธ.นี้จะสามารถยกร่างได้แล้วเสร็จ เพราะวันนี้ ไม่ใช่การเริ่มต้น แต่เรามองเห็นปัญหาและรูปแบบของการใช้รัฐธรรมนูญมาแล้ว จึงรู้ว่าต้องแก้ไขในประเด็นใดบ้าง และถือเป็นปกติที่เมื่อรัฐธรรมนูญถูกบังคับใช้ผ่านไปแล้วระยะหนึ่งก็ต้องหยิบยกมามาเปลี่ยนแปลงแก้ไข มิฉะนั้น ก็จะแข็งตัวจนทำอะไรไม่ได้ แต่หลักของการแก้ไม่ควรอยู่กับความกังวลหรือมุ่งแต่จะแก้เฉพาะปัญหาที่จากอดีตผู้นำ
ผู้สื่อข่าวถามว่านักวิชาการมองว่าเป็นไปไม่ได้ที่ระบบเผด็จการจะรื้อฟื้นระบอบประชาธิปไตย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่ประชาชนและสังคมโดยรวมจะแสดงออกอย่างชัดเจนว่ามีความต้องการอย่างไร ซึ่งตนมองว่าในขณะนี้ บรรยากาศของสังคมค่อนข้างชัดว่าต้องการรัฐธรรมนูญที่มีความก้าวหน้าในความเป็นประชาธิปไตยไม่น้อยกว่าเดิม และโดยกลไกที่ว่าต้องมีการลงประชามติ ก็จะเป็นตัวกดดัน เพราะรัฐธรรมนูญถูกจัดทำขึ้นในช่วงที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ถ้าประชาชนสามารถมีส่วนร่วม แสดงออก สะท้อนความรู้สึกได้ ก็จะเป็นตัวกำกับที่สำคัญ
เมื่อถามว่ามองอย่างไรต่อการออก พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ จะต้องมีการวางกรอบหรืบทลงโทษอย่างไร หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การมีกรอบ และการดำเนินการที่ชัดในเรื่องของประชามติน่าจะมีความจำเป็น เพราะการลงประชามติมีความสำคัญ เสมือนกับการเลือกตั้ง เพียงแต่ไปลงคะแนนโดยประชาชนในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น กติกาที่ว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้นั้น ต้องชัด และต้องมุ่งทำให้การลงคะแนนของประชาชนเป็นการลงคะแนนบนพื้นฐานของการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและเป็นธรรม อย่าไปมองที่มุมเดียว ซึ่งที่ผ่านมา ตนรู้สึกว่าเป็นการมองแค่มุมมเดียวว่าจะมีใครไปก่อกวน ขัดขวาง ซึ่งที่จริง เรื่องประชามติคือ ผู้ไปลงคะแนนต้องมีสิทธิ์รับรู้ อย่างน้อยที่สุด ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่าน คมช.และรัฐบาลก็ต้องไปหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ ซึ่งก็ต้องบอกล่วงหน้า มิฉะนั้น คนไปลงคะแนนก็ไม่ทราบว่าถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะได้อะไรไปแทน ซึ่งรัฐบาลและคมช.ควรทำจุดนี้ และน่าจะประกาศเป็นจุดยืนออกมา ซึ่งตนได้ฟัง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.พูดว่าจะนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเป็นตัวตั้ง ซึ่งถ้าขยายความต่อไปว่าตรงไหนที่ต้องปรับปรุง ก็เป็นเรื่องที่ดี
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ม.ค. 2550--จบ--
ผู้สื่อข่าวถามว่านักวิชาการมองว่าเป็นไปไม่ได้ที่ระบบเผด็จการจะรื้อฟื้นระบอบประชาธิปไตย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่ประชาชนและสังคมโดยรวมจะแสดงออกอย่างชัดเจนว่ามีความต้องการอย่างไร ซึ่งตนมองว่าในขณะนี้ บรรยากาศของสังคมค่อนข้างชัดว่าต้องการรัฐธรรมนูญที่มีความก้าวหน้าในความเป็นประชาธิปไตยไม่น้อยกว่าเดิม และโดยกลไกที่ว่าต้องมีการลงประชามติ ก็จะเป็นตัวกดดัน เพราะรัฐธรรมนูญถูกจัดทำขึ้นในช่วงที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ถ้าประชาชนสามารถมีส่วนร่วม แสดงออก สะท้อนความรู้สึกได้ ก็จะเป็นตัวกำกับที่สำคัญ
เมื่อถามว่ามองอย่างไรต่อการออก พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ จะต้องมีการวางกรอบหรืบทลงโทษอย่างไร หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การมีกรอบ และการดำเนินการที่ชัดในเรื่องของประชามติน่าจะมีความจำเป็น เพราะการลงประชามติมีความสำคัญ เสมือนกับการเลือกตั้ง เพียงแต่ไปลงคะแนนโดยประชาชนในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ฉะนั้น กติกาที่ว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้นั้น ต้องชัด และต้องมุ่งทำให้การลงคะแนนของประชาชนเป็นการลงคะแนนบนพื้นฐานของการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนและเป็นธรรม อย่าไปมองที่มุมเดียว ซึ่งที่ผ่านมา ตนรู้สึกว่าเป็นการมองแค่มุมมเดียวว่าจะมีใครไปก่อกวน ขัดขวาง ซึ่งที่จริง เรื่องประชามติคือ ผู้ไปลงคะแนนต้องมีสิทธิ์รับรู้ อย่างน้อยที่สุด ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่าน คมช.และรัฐบาลก็ต้องไปหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้ ซึ่งก็ต้องบอกล่วงหน้า มิฉะนั้น คนไปลงคะแนนก็ไม่ทราบว่าถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะได้อะไรไปแทน ซึ่งรัฐบาลและคมช.ควรทำจุดนี้ และน่าจะประกาศเป็นจุดยืนออกมา ซึ่งตนได้ฟัง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.พูดว่าจะนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาเป็นตัวตั้ง ซึ่งถ้าขยายความต่อไปว่าตรงไหนที่ต้องปรับปรุง ก็เป็นเรื่องที่ดี
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 19 ม.ค. 2550--จบ--