ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังเผยจะหารือเรื่องมาตรการภาษีกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์อีกครั้งในสัปดาห์หน้า รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถ
สรุปมาตรการภาษีกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ได้ แต่จะหารือเรื่องนี้อีกครั้งในสัปดาห์หน้า โดยในเบื้องต้นมีความชัดเจนแล้วว่าจะไม่มีการลดภาษีธุรกิจ
เฉพาะร้อยละ 3.3 ลงมา และคาดว่าจะพิจารณาไม่ทันเสนอการประชุม ครม.ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ แต่จะดำเนินการให้เร็วที่สุด ขณะที่
กรรมการผู้จัดการ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ปรึกษา รมว.คลัง กล่าวว่า การประชุมคณะที่ปรึกษาได้หารือมาตรการภาษีกระตุ้น
อสังหาริมทรัพย์ โดยเสนอให้มีการลดค่าธรรมเนียมการโอนร้อยละ 2 และค่าธรรมเนียมจดจำนองร้อยละ 1 ลงมา เนื่องจากผู้ซื้อบ้านจะ
ได้ประโยชน์โดยตรง ส่วนเรื่องการลดภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 ที่ปรึกษายังเสนอให้ลด แม้ว่าผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์ แต่สามารถ
นำประโยชน์มาลดราคาบ้านให้ผู้ซื้อ ทำให้ขายบ้านได้เร็วไม่ค้างสต๊อกจนเป็นต้นทุนดอกเบี้ย (โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
2. บสท.สามารถบริหารจัดการทรัพย์สินและหนี้สินที่รับโอนในรอบ 5 ปีมีกำไรกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท กรรมการผู้จัดการ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า บสท.ได้คำนวณผลกำไรหรือขาดทุน หรือ เกณฑ์ลอส แชริ่ง ที่กำหนดให้แบ่งปันผลประโยชน์
กับสถาบันการเงิน 23 แห่งที่โอนทรัพย์สินและหนี้สินให้กับ บสท.เมื่อดำเนินการครบปีที่ 5 นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.44 ตามกฎหมาย พบว่าใน
ภาพรวม บสท.สามารถบริหารจัดการทรัพย์สินและหนี้สินที่รับโอนมีกำไรกว่า 17,106.76 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกำไรของ บสท.จำนวน
4,369.98 ล้านบาท และเป็นกำไรของสถาบันผู้โอนจำนวน 12,736.78 ล้านบาท (เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. รมว.พลังงานเผยรัฐบาลไม่มีมาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันและไม่มีแผนลดการจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมัน กรรมการผู้จัดการใหญ่
บ.ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันที่ 17 พ.ค.นี้ยังไม่มีการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีก แม้ค่าการตลาดจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ดูแนวโน้มแล้ว
สัปดาห์นี้คงต้องปรับแน่นอน เพราะราคาน้ำมันดิบตลาดโลกยังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัสที่ปรับขึ้นไปถึง 63.17 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล ขณะที่ รมว.พลังงาน กล่าวว่า รัฐบาลไม่มีมาตรการแทรกแซงราคาน้ำมัน และไม่มีแผนลดการจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
จากน้ำมันเบนซิน ที่ขณะนี้จัดเก็บสูงถึง 3.46 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้หนี้ที่ตรึงราคาน้ำมันในรัฐบาลชุดก่อนที่มีวงเงินตรึงราคา
สูงกว่า 90,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คาดว่า หลังจากเดือน มิ.ย.ซึ่งจะเข้าใกล้ช่วงฤดูหนาว ราคาน้ำมันเบนซินน่าจะต่ำลง ด้าน ผอ.วิจัย
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงกรณีที่ราคาน้ำมันในประเทศยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องว่า สถานการณ์
เช่นนี้รัฐบาลไม่ควรเข้าไปแทรกแซงหรืออุดหนุนราคาน้ำมันอีก ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และสร้างความเข้าใจกับประชาชนเดินหน้า
การพัฒนาพลังงานทางเลือกมากขึ้น ทั้งนี้ ก.พลังงานได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ค้าน้ำมันทุกรายให้นำค่าการตลาดน้ำมันดีเซลที่ยังสูงอยู่ลิตรละ
1.13 บาท มาช่วยเฉลี่ยค่าการตลาดเบนซิน ออกเทน 95 และ 91 ที่ค่าการตลาดเบนซิน 95 ลดเหลือลิตรละ 52 สตางค์ และเบนซิน 91
ลิตรละ 40 สตางค์ เพื่อชะลอการปรับราคาขายปลีกเบนซิน ซึ่งหากปรับสะท้อนตามน้ำมันโลก ราคาขายปลีกเบนซินปัจจุบันจะต้องขึ้นไปอีก
ลิตรละ 40 สตางค์ หรือขายปลีกที่ลิตรละ 30.39 บาท (แนวหน้า, เดลินิวส์, ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 16 พ.ค.50 ธ.กลาง
เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial production) ของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 สูงกว่าการคาดหมาย
ของบรรดานักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้น
จากไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 1.5 สำหรับการใช้กำลังการผลิต (Capacity utilization) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้ว่ามีการผลิตใกล้เคียง
ความสามารถในการผลิตเต็มกำลังเพียงใดของภาคการผลิต ซึ่งประกอบด้วยโรงงาน เหมืองแร่ และกิจการสาธารณูปโภค อยู่ที่ระดับร้อยละ 81.6
ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 81.5 โดยผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สาเหตุจากผลผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.3 และผลผลิตสินค้าคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ขณะที่ผลผลิตเกี่ยวกับสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5
(รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปเดือน เม.ย.50 เทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 อยู่ในระดับเป้าหมายที่วางไว้ รายงาน
จากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 16 พ.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป (Eurostat) แถลงว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
ในเดือน เม.ย.50 ของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน และเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เท่ากับเดือน มี.ค.
ซึ่งอยู่ในระดับเป้าหมายที่วางไว้ที่ร้อยละ 2.0 ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าแม้ว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อจะอ่อนลง แต่คงจะไม่กระทบต่อ
การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางสหภาพยุโรปอีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ร้อยละ 4 ในเดือน มิ.ย.นี้ และบางทีอาจจะมีการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง(รอยเตอร์)
3. ในไตรมาสแรกปี 50 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับไตรมาสก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 17 พ.ค.50 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7
ต่อไตรมาส โดยเมื่อเทียบต่อปี เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.4 นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 ติดต่อกัน หลังจากในไตรมาสก่อน
ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการลงทุนชะลอตัวลงโดยลดลงร้อยละ 0.9 หลังจากขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อน ในขณะที่
การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการส่งออกยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของผลผลิตในประเทศ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่อไตรมาส ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ต่อไตรมาส และการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ต่อไตรมาส ส่งผลให้
ในปีการเงิน 2006/07 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือน มี.ค.50 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี ตรงกับที่รัฐบาลคาดไว้ นักวิเคราะห์คาดว่า
ธ.กลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันต่อไปอีกหลายเดือน หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเป็นร้อยละ 0.50 ต่อปีเมื่อ
เดือน ก.พ.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 50 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซีย (Consumer
Price Index - CPI) เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่า CPI
ในเดือน เม.ย. จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.7 และอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รวมทั้งต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง
เนื่องจากราคาอาหาร และค่าขนส่งเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ทั้งนี้เมื่อเดือนที่แล้วดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 47 ที่
ร้อยละ 1.4 อย่างไรก็ตาม CPI หลังปรับฤดูกาลไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มี.ค.(เทียบต่อปี) ที่ร้อยละ 1.5 โดยทางการมาเลเซียไม่ได้
แสดงตัวเลข CPI เป็นรายเดือน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ค. 50 16 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.562 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3338/34.6751 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.09781 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 721.66/16.20 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.32 64.99 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มเมื่อ 12 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลังเผยจะหารือเรื่องมาตรการภาษีกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์อีกครั้งในสัปดาห์หน้า รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถ
สรุปมาตรการภาษีกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ได้ แต่จะหารือเรื่องนี้อีกครั้งในสัปดาห์หน้า โดยในเบื้องต้นมีความชัดเจนแล้วว่าจะไม่มีการลดภาษีธุรกิจ
เฉพาะร้อยละ 3.3 ลงมา และคาดว่าจะพิจารณาไม่ทันเสนอการประชุม ครม.ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ แต่จะดำเนินการให้เร็วที่สุด ขณะที่
กรรมการผู้จัดการ ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ปรึกษา รมว.คลัง กล่าวว่า การประชุมคณะที่ปรึกษาได้หารือมาตรการภาษีกระตุ้น
อสังหาริมทรัพย์ โดยเสนอให้มีการลดค่าธรรมเนียมการโอนร้อยละ 2 และค่าธรรมเนียมจดจำนองร้อยละ 1 ลงมา เนื่องจากผู้ซื้อบ้านจะ
ได้ประโยชน์โดยตรง ส่วนเรื่องการลดภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 ที่ปรึกษายังเสนอให้ลด แม้ว่าผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์ แต่สามารถ
นำประโยชน์มาลดราคาบ้านให้ผู้ซื้อ ทำให้ขายบ้านได้เร็วไม่ค้างสต๊อกจนเป็นต้นทุนดอกเบี้ย (โพสต์ทูเดย์, ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
2. บสท.สามารถบริหารจัดการทรัพย์สินและหนี้สินที่รับโอนในรอบ 5 ปีมีกำไรกว่า 1.7 หมื่นล้านบาท กรรมการผู้จัดการ
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เปิดเผยว่า บสท.ได้คำนวณผลกำไรหรือขาดทุน หรือ เกณฑ์ลอส แชริ่ง ที่กำหนดให้แบ่งปันผลประโยชน์
กับสถาบันการเงิน 23 แห่งที่โอนทรัพย์สินและหนี้สินให้กับ บสท.เมื่อดำเนินการครบปีที่ 5 นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.44 ตามกฎหมาย พบว่าใน
ภาพรวม บสท.สามารถบริหารจัดการทรัพย์สินและหนี้สินที่รับโอนมีกำไรกว่า 17,106.76 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกำไรของ บสท.จำนวน
4,369.98 ล้านบาท และเป็นกำไรของสถาบันผู้โอนจำนวน 12,736.78 ล้านบาท (เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. รมว.พลังงานเผยรัฐบาลไม่มีมาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันและไม่มีแผนลดการจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมัน กรรมการผู้จัดการใหญ่
บ.ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วันที่ 17 พ.ค.นี้ยังไม่มีการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีก แม้ค่าการตลาดจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำ แต่ดูแนวโน้มแล้ว
สัปดาห์นี้คงต้องปรับแน่นอน เพราะราคาน้ำมันดิบตลาดโลกยังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันเวสต์เท็กซัสที่ปรับขึ้นไปถึง 63.17 ดอลลาร์
สรอ.ต่อบาร์เรล ขณะที่ รมว.พลังงาน กล่าวว่า รัฐบาลไม่มีมาตรการแทรกแซงราคาน้ำมัน และไม่มีแผนลดการจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
จากน้ำมันเบนซิน ที่ขณะนี้จัดเก็บสูงถึง 3.46 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้หนี้ที่ตรึงราคาน้ำมันในรัฐบาลชุดก่อนที่มีวงเงินตรึงราคา
สูงกว่า 90,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม คาดว่า หลังจากเดือน มิ.ย.ซึ่งจะเข้าใกล้ช่วงฤดูหนาว ราคาน้ำมันเบนซินน่าจะต่ำลง ด้าน ผอ.วิจัย
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงกรณีที่ราคาน้ำมันในประเทศยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องว่า สถานการณ์
เช่นนี้รัฐบาลไม่ควรเข้าไปแทรกแซงหรืออุดหนุนราคาน้ำมันอีก ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และสร้างความเข้าใจกับประชาชนเดินหน้า
การพัฒนาพลังงานทางเลือกมากขึ้น ทั้งนี้ ก.พลังงานได้ขอความร่วมมือไปยังผู้ค้าน้ำมันทุกรายให้นำค่าการตลาดน้ำมันดีเซลที่ยังสูงอยู่ลิตรละ
1.13 บาท มาช่วยเฉลี่ยค่าการตลาดเบนซิน ออกเทน 95 และ 91 ที่ค่าการตลาดเบนซิน 95 ลดเหลือลิตรละ 52 สตางค์ และเบนซิน 91
ลิตรละ 40 สตางค์ เพื่อชะลอการปรับราคาขายปลีกเบนซิน ซึ่งหากปรับสะท้อนตามน้ำมันโลก ราคาขายปลีกเบนซินปัจจุบันจะต้องขึ้นไปอีก
ลิตรละ 40 สตางค์ หรือขายปลีกที่ลิตรละ 30.39 บาท (แนวหน้า, เดลินิวส์, ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 16 พ.ค.50 ธ.กลาง
เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial production) ของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 สูงกว่าการคาดหมาย
ของบรรดานักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ปรับตัวดีขึ้น
จากไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 1.5 สำหรับการใช้กำลังการผลิต (Capacity utilization) ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ชี้ว่ามีการผลิตใกล้เคียง
ความสามารถในการผลิตเต็มกำลังเพียงใดของภาคการผลิต ซึ่งประกอบด้วยโรงงาน เหมืองแร่ และกิจการสาธารณูปโภค อยู่ที่ระดับร้อยละ 81.6
ใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 81.5 โดยผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สาเหตุจากผลผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.3 และผลผลิตสินค้าคอมพิวเตอร์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ขณะที่ผลผลิตเกี่ยวกับสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5
(รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อของเขตเศรษฐกิจยุโรปเดือน เม.ย.50 เทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 อยู่ในระดับเป้าหมายที่วางไว้ รายงาน
จากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 16 พ.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป (Eurostat) แถลงว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค
ในเดือน เม.ย.50 ของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เทียบต่อเดือน และเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เท่ากับเดือน มี.ค.
ซึ่งอยู่ในระดับเป้าหมายที่วางไว้ที่ร้อยละ 2.0 ด้านนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าแม้ว่าแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อจะอ่อนลง แต่คงจะไม่กระทบต่อ
การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลางสหภาพยุโรปอีกร้อยละ 0.25 ไปอยู่ที่ร้อยละ 4 ในเดือน มิ.ย.นี้ และบางทีอาจจะมีการปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยอีกครั้งภายในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง(รอยเตอร์)
3. ในไตรมาสแรกปี 50 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับไตรมาสก่อนต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 17 พ.ค.50 เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรกปี 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7
ต่อไตรมาส โดยเมื่อเทียบต่อปี เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.4 นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 9 ติดต่อกัน หลังจากในไตรมาสก่อน
ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการลงทุนชะลอตัวลงโดยลดลงร้อยละ 0.9 หลังจากขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อน ในขณะที่
การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการส่งออกยังคงขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของผลผลิตในประเทศ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่อไตรมาส ดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ต่อไตรมาส และการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ต่อไตรมาส ส่งผลให้
ในปีการเงิน 2006/07 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือน มี.ค.50 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี ตรงกับที่รัฐบาลคาดไว้ นักวิเคราะห์คาดว่า
ธ.กลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันต่อไปอีกหลายเดือน หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเป็นร้อยละ 0.50 ต่อปีเมื่อ
เดือน ก.พ.50 ที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซียในเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงาน
จากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 50 ทางการมาเลเซียเปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย. ดัชนีราคาผู้บริโภคของมาเลเซีย (Consumer
Price Index - CPI) เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าผลการสำรวจโดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่า CPI
ในเดือน เม.ย. จะเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.7 และอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 รวมทั้งต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง
เนื่องจากราคาอาหาร และค่าขนส่งเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ทั้งนี้เมื่อเดือนที่แล้วดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 47 ที่
ร้อยละ 1.4 อย่างไรก็ตาม CPI หลังปรับฤดูกาลไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มี.ค.(เทียบต่อปี) ที่ร้อยละ 1.5 โดยทางการมาเลเซียไม่ได้
แสดงตัวเลข CPI เป็นรายเดือน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 พ.ค. 50 16 พ.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.562 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3338/34.6751 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.09781 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 721.66/16.20 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 64.32 64.99 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเพิ่มเมื่อ 12 พ.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--