วันที่ 21 เมย. 50 นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าตามที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำต้นร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นทั้งหมด 299 มาตรา ในมุมมองของพรรคประชาธิปัตย์มีความพอใจในความก้าวหน้าซึ่งส่อให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีซึ่งเป็นขั้นตอนที่นำไปสู่การฟื้นฟูประชาธิปไตยที่ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่มีความก้าวหน้าในระดับน่าพอใจใน 5 หมวดประกอบด้วย 1. หมวดที่ว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพของประชาชน 2.หมวดว่าด้วยการตรวจสอบอำนาจรัฐ 3.หมวดว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ โดยเฉพาะการบรรจุให้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 4. หมวดว่าด้วยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และ 5.หมวดว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งถือว่าใน 5 หมวดดังกล่าวนั้นเป็นองค์ประกอบที่มีความก้าวหน้าและเป็นที่น่าพอใจ
อย่างไรก็ตามนายอลงกรณ์เห็นว่ามีบางประเด็นที่ยังมีความกังวลใจอยู่ 3 ประเด็น 1. ประเด็นเรื่องศาสนา 2. ประเด็นเรื่องอำนาจตุลาการ 3. ประเด็นเรื่องที่มาของ ส.ว. ในมุมมองของพรรคประชาธิปัตย์โดยนายอลงกรณ์เห็นว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ยังไม่มีสัญญาณใดบ่งชี้ว่าจะก่อให้เกิดวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ทั้งนี้เพื่อความไม่ประมาท นายอลงกรณ์จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายได้ยึดหลัก 5 ประการ ประกอบด้วย
1. ยึดหลักของเหตุผล อย่างมีสติ ละเว้นการใช้กำลังอย่างเอาเป็นเอาตาย โดยต้องถือว่าความแตกต่างไม่ใช่ความแตกแยก
2.อย่ามีจิตระแวง โดยเฉพาะกรณีองค์กรพุทธศาสนาที่มีการเคลื่อนไหว มีข้อเสนอให้มีบทบัญญัติว่าด้วยพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้น ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์ที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเชื่อว่าไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จะอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวดังกล่าว และการเคลื่อนไหวดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นในขณะที่มีการร่างรัฐธรรมนูญปี 2540
3. สสร. และรัฐบาลควรถือเป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะสื่อมวลชนส่วนกลางเท่านั้น แต่ควรขอความร่วมมือไปยังองค์กรปกครองท้องถิ่นซึ่งกระจายความรับผิดชอบในพื้นที่ทุกตารางนิ้วในประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เป็นต้นร่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจในหมู่ของสาธารณชนอย่างกว้างขวาง
4. สสร.ควรสนับสนุนให้มีการเปิดเวที แสดงความคิดเห็นสำหรับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากต้นร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะใน 3 ประเด็นต่าง ๆ
5. จะต้องป้องกันไม่ให้มีกลุ่มการเมืองใด ฉวยโอกาสในการนำประเด็นความแตกต่างในความเห็นของร่างรัฐธรรมนูญมาเป็นปัญหาทางการเมือง ซึ่งหากทุกฝ่ายได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวนายอลงกรณ์เชื่อว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่จะเข้าสู่การลงประชามติในประมาณเดือนกันยายนนั้น ก็จะเป็นไปตามขั้นตอน และทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเสียงของประชาชนว่าจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว
“ผมขอย้ำว่าไม่มีสัญญาณใด ๆ ที่ส่อว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองจากปัญหารัฐธรรมนูญ เพราะสถานการณ์ของกลุ่มต่าง ๆ ที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างออกไปนั้น ไม่ใช่ปรากฎการณ์ที่ผิดปกติ เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการยกร่างรัฐธรรมนูญ” นายอลงกรณ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 เม.ย. 2550--จบ--
อย่างไรก็ตามนายอลงกรณ์เห็นว่ามีบางประเด็นที่ยังมีความกังวลใจอยู่ 3 ประเด็น 1. ประเด็นเรื่องศาสนา 2. ประเด็นเรื่องอำนาจตุลาการ 3. ประเด็นเรื่องที่มาของ ส.ว. ในมุมมองของพรรคประชาธิปัตย์โดยนายอลงกรณ์เห็นว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ยังไม่มีสัญญาณใดบ่งชี้ว่าจะก่อให้เกิดวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่วิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ทั้งนี้เพื่อความไม่ประมาท นายอลงกรณ์จึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายได้ยึดหลัก 5 ประการ ประกอบด้วย
1. ยึดหลักของเหตุผล อย่างมีสติ ละเว้นการใช้กำลังอย่างเอาเป็นเอาตาย โดยต้องถือว่าความแตกต่างไม่ใช่ความแตกแยก
2.อย่ามีจิตระแวง โดยเฉพาะกรณีองค์กรพุทธศาสนาที่มีการเคลื่อนไหว มีข้อเสนอให้มีบทบัญญัติว่าด้วยพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้น ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์ที่จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสภาร่างรัฐธรรมนูญ และเชื่อว่าไม่มีบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่จะอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวดังกล่าว และการเคลื่อนไหวดังกล่าวก็เคยเกิดขึ้นในขณะที่มีการร่างรัฐธรรมนูญปี 2540
3. สสร. และรัฐบาลควรถือเป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะสื่อมวลชนส่วนกลางเท่านั้น แต่ควรขอความร่วมมือไปยังองค์กรปกครองท้องถิ่นซึ่งกระจายความรับผิดชอบในพื้นที่ทุกตารางนิ้วในประเทศไทย ได้มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เป็นต้นร่างเพื่อให้เกิดความเข้าใจในหมู่ของสาธารณชนอย่างกว้างขวาง
4. สสร.ควรสนับสนุนให้มีการเปิดเวที แสดงความคิดเห็นสำหรับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากต้นร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะใน 3 ประเด็นต่าง ๆ
5. จะต้องป้องกันไม่ให้มีกลุ่มการเมืองใด ฉวยโอกาสในการนำประเด็นความแตกต่างในความเห็นของร่างรัฐธรรมนูญมาเป็นปัญหาทางการเมือง ซึ่งหากทุกฝ่ายได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวนายอลงกรณ์เชื่อว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่จะเข้าสู่การลงประชามติในประมาณเดือนกันยายนนั้น ก็จะเป็นไปตามขั้นตอน และทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเสียงของประชาชนว่าจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว
“ผมขอย้ำว่าไม่มีสัญญาณใด ๆ ที่ส่อว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองจากปัญหารัฐธรรมนูญ เพราะสถานการณ์ของกลุ่มต่าง ๆ ที่แสดงความคิดเห็นแตกต่างออกไปนั้น ไม่ใช่ปรากฎการณ์ที่ผิดปกติ เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการยกร่างรัฐธรรมนูญ” นายอลงกรณ์กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 21 เม.ย. 2550--จบ--