แท็ก
คณะกรรมการนโยบายการเงิน
กรมส่งเสริมการส่งออก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
วิทยาลัยการจัดการ
อัตราดอกเบี้ย
บัตรเครดิต
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยถึงแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตตามทิศทางการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 3 ครั้ง
ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมาแล้วทั้งสิ้นร้อยละ 1.0 ส่วนจะมีผลให้ ธปท.มีการ
ทบทวนปรับลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตหรือไม่ในอนาคตนั้น ขอดูผลที่เกิดขึ้นกับตลาดธุรกิจบัตรเครดิตก่อนว่า ตลาดมีการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลง
มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตบางแห่งทั้งสถาบันการเงินและบริษัทที่ไม่ใช่
สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) อาจจะมีการปรับตัวเองด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเอง เพื่อพร้อมรับกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น
ในอนาคตก็เป็นได้ (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
2. ยอดเช็คเรียกคืนไม่มีเงินไตรมาสแรกปี 50 ลดลงร้อยละ 8.82 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานข้อมูลการ
เรียกเก็บเช็คในไตรมาสแรกปี 50 พบว่า มีมูลค่าเช็คเรียกคืนไม่มีเงินหรือเช็คเด้งที่พบจากการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ
ปริมณฑล เช็คเด้งที่พบจากการหักบัญชีระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล เช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีต่างจังหวัด และเช็คเรียกเก็บ
ข้ามเขตสำนักหักบัญชี รวมมูลค่าทั้งสิ้น 30,790 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 49 ที่มีมูลค่า 33,770 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.82
โดยเช็คเด้งดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.4 ของเช็คที่เรียกเก็บทั้งหมด โดยเช็คเด้งที่พบเป็นเช็คเรียกเก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ผ่านการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารมูลค่า 23,090 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.3 ต่อเช็คเรียกเก็บในเขตนี้ ส่วนเช็คเด้งที่เรียกเก็บ
ผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัดมีมูลค่า 4,370 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.7 ของเช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัด และเช็คเด้งที่เรียกเก็บ
ข้ามเขตสำนักหักบัญชีมีมูลค่า 3,330 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.9 ของเช็คเรียกเก็บข้ามเขตสำนักหักบัญชี นอกจากนี้ เช็คเรียกเก็บ
เงินรวมทั้งหมดในไตรมาสแรกมีปริมาณทั้งสิ้น 20,375,431 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 7,536,810 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.6
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ยอดขอส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกปี 50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75 รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
เปิดเผยถึงภาวการณ์ลงทุนในไตรมาสแรกปี 50 ว่า มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งปัญหาการ
เมืองและภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 356 โครงการ มูลค่ารวม 129,300 ล้านบาท มีการ
จ้างงาน 60,722 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 75 ที่มีโครงการลงทุนจำนวน 302 โครงการ มูลค่า 73,900 ล้านบาท
มีการจ้างงาน 69,662 คน สำหรับอุตสาหกรรมที่มีผู้สนใจขอรับส่งเสริมการลงทุนมากเป็นอันดับหนึ่งในช่วงไตรมาสแรก คือ อุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีกระดาษและพลาสติก รองลงมาเป็น อุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมโลหะและเครื่องจักร
และอุปกรณ์ขนส่ง (กรุงเทพธุรกิจ)
4. สคร.คาดว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 50 จะทำได้ประมาณร้อยละ 80 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ผอ.สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า คาดว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 50 นี้จะทำได้ประมาณร้อยละ 80
ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 331,280 ล้านบาท แม้ว่าอาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการ
ใช้จ่ายภาครัฐได้เสนอให้ที่ประชุม ครม.อนุมัตกรอบเป้าหมายดังกล่าวก็ตาม อย่างไรก็ตาม ถือว่ายังสูงกว่าปี 49 ที่ทั้งปีเบิกจ่ายได้ร้อยละ 71
หรือเป็นวงเงิน 246,975 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
5. ก.คลังกระตุ้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่งปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนระดับฐานรากและธุรกิจเอสเอ็มอี รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 พ.ค.นี้ จะเชิญผู้บริหารของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง คือ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ ธ.เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนายด่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) มาติดตามความ
คืบหน้าเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนระดับฐานรากและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้มากน้อยเพียงใด
หลังรับฟังนโยบายไปแล้ว 5 สัปดาห์ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวเห็นว่าการให้สินเชื่อของทั้ง 4 สถาบันการเงินเป็นวิธีการเดียวที่จะใส่เงินเข้าถึง
ฐานรากได้เร็วและดีที่สุด เนื่องจากตรงกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย หากใช้วิธีการทางการคลังก็ต้องผ่านระบบ
ราชการที่ไม่คล่องตัวและล่าช้า และที่ผ่านมาที่ปรึกษา รมว.คลังได้เข้าไปดูแลเรื่องการปล่อยสินเชื่อสู่ฐานรากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
บางแห่งอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว (เดลินิวส์, ไทยรํฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยูโรโซนตั้งเป้าหมายในการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบสมดุลภายในปี 53 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 50
บรรดารมต.คลังของประเทศต่างๆในยูโรโซนตกลงที่จะใช้จังหวะที่ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นดำเนินนโยบายการคลังแบบสมดุลหรือเกินดุล
ให้ได้ภายในปี 53 ตามกฎของ Stability and Growth Pact ซึ่งจำกัดให้สามารถขาดดุลงบประมาณได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของ GDP ซึ่ง
ทั้งเยอรมนี และฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยูโรโซน ไม่สามารถปรับตัวตามกฎนี้ได้และได้ผลักดันให้มีการทบทวน Pact
นี้ตั้งแต่ปี 48 อย่างไรก็ตามทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนีได้พยายามปรับลดงปมเกินดุลลงอย่างมากเพื่อให้อยู่ในกฎของยูโรโซน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจน
ว่าการมีวินัยเช่นนี้จะเป็นเพียงระยะกลางเท่านั้นหรือไม่ ทั้งนี้ปัจจุบัน 11 ประเทศจาก 13 ประเทศในยูโรโซนไม่เคยดำเนินนโยบายงบประมาณ
ขาดดุลเกินกว่าร้อยละ 3 ของ GDP เลย ซึ่งกฎเกณฑ์ดังกล่าวควรจะเป็นไปอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามข้อตกลงของยูโรโซนมีความชัดเจน
ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของยูโรโซนจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวในระยะกลางในปี 51 หรือปี 52 และในปี 53 ทุกประเทศจะต้องบรรลุถึงเป้าหมาย
ในที่สุด ทั้งนี้เป็นช่วงจังหวะที่ดีที่สามารถกระทำตามกฎของยูโรโซนได้เนื่องจากเศรษฐกิจปัจจุบันขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่าที่ควรจะเป็น(รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของอังกฤษขยายตัวชะลอลงในเดือน มี.ค.50 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 20 เม.ย.50 The Office for
National Statistics เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และต่ำกว่ามากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีที่ร้อยละ 1.6 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปียอดขาย
ปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า แม้ยอดขายปลีกชะลอลงอย่างมากในเดือน มี.ค.ดังกล่าว ก็จะไม่สามารถยับยั้ง
การพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษในเดือน พ.ค.นี้ได้ ประกอบกับยอดขายปลีกมีการขยายตัวเพิ่มในช่วงเทศกาล
Easter ที่ผ่านมา และอัตราเงินเฟ้อในเดือนเดียวกันขยายตัวร้อยละ 3.1 สูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในรอบ
10 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการที่ภาคการผลิตปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวและประมาณอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนมุมมองของ
บรรดานักลงทุนซึ่งเชื่อว่า จะมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดว่าอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25
ในเดือน ส.ค.50 อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ ได้เปิดเผยกับ นสพ. Yorkshire Post ว่า ธ.กลางอังกฤษพยายามที่จะควบคุม
อัตราเงินเฟ้อในปี 50 ให้อยู่ในระดับเป้าหมายร้อยละ 2.0 ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของเยอรมนีแทบจะไม่ชะลอตัวลงในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อ
วันที่ 20 เม.ย.50 ก.คลังของเยอรมนี คาดการณ์ว่าการบริโภคของภาคเอกชนในช่วงไตรมาสแรกปีนี้แทบจะไม่เติบโตลดลงแม้ว่าจะมีการ
ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.50 ก็ตาม รวมทั้งดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจหลายอย่างก็เป็นไปในทางบวก ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่
เชื่อว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีอาจจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 0.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี 49 และบางคนคาดว่าเศรษฐกิจ
อาจจะหดตัวด้วย อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้มุมมองสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคยังคงสดใส โดยอัตราการว่างงานจะ
ลดลงและจะมีการจ้างงานใหม่เกิดขึ้น ส่วนการส่งออกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่จะเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีปัจจัยเสี่ยง
จากเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัว และเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. รวมทั้งราคาน้ำมันที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้น สำหรับภาค
การก่อสร้างที่มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจล่าสุดขยายตัวเพิ่มขึ้นคาดว่าจะยังมีอัตราการเติบโตได้ดี ด้านอัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปียังอยู่ที่ระดับต่ำกว่า
ร้อยละ 2 ทำให้เยอรมนีเป็นประเทศที่ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากประเทศหนึ่งในเขตเศรษฐกิจยุโรป (รอยเตอร์)
4. อัตราส่วนการเริ่มธุรกิจใหม่เทียบกับการเลิกกิจการในเกาหลีใต้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 36.3 ในเดือน มี.ค.50 ต่ำสุด
ในรอบ 4 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ 20 เม.ย.50 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานตัวเลขอัตราส่วนการเริ่มธุรกิจใหม่เทียบกับการเลิก
กิจการของธุรกิจในเกาหลีใต้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 36.3 ในเดือน มี.ค.50 ลดลงจากร้อยละ 40.3 ในเดือน ก.พ.50 อยู่ในระดับต่ำสุด
ในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ย.49 ซึ่งอัตราส่วนอยู่ที่ร้อยละ 30.5 ในขณะที่ยอดสินเชื่อที่ผิดนัดชำระหนี้เทียบกับยอดรวมสินเชื่อเพื่อ
ธุรกิจและหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคธุรกิจจากการประนอมหนี้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.01 ในเดือน มี.ค.50 จากร้อยละ 0.02 ในเดือน ก.พ.50
อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บตัวเลขดังกล่าวในเดือน ม.ค.35 ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี
เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันในการประชุมเมื่อวันที่ 12 เม.ย.50 ที่ผ่านมา ในขณะที่ยังแสดงความเชื่อมั่นว่าความต้องการในประเทศยังคงขยายตัว
อยู่ในเกณฑ์ดี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23/4/2493 20/4/2550 29/12/2549 แหล่งที่มา
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.784 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.5571/34.9012 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.16078 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 687.53/7.01 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,300/11,400 11,200/11,300 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.52 61.87 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.79*/24.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยถึงแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตตามทิศทางการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 3 ครั้ง
ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันมาแล้วทั้งสิ้นร้อยละ 1.0 ส่วนจะมีผลให้ ธปท.มีการ
ทบทวนปรับลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตหรือไม่ในอนาคตนั้น ขอดูผลที่เกิดขึ้นกับตลาดธุรกิจบัตรเครดิตก่อนว่า ตลาดมีการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลง
มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม ในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตบางแห่งทั้งสถาบันการเงินและบริษัทที่ไม่ใช่
สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) อาจจะมีการปรับตัวเองด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเอง เพื่อพร้อมรับกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น
ในอนาคตก็เป็นได้ (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, แนวหน้า)
2. ยอดเช็คเรียกคืนไม่มีเงินไตรมาสแรกปี 50 ลดลงร้อยละ 8.82 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานข้อมูลการ
เรียกเก็บเช็คในไตรมาสแรกปี 50 พบว่า มีมูลค่าเช็คเรียกคืนไม่มีเงินหรือเช็คเด้งที่พบจากการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ
ปริมณฑล เช็คเด้งที่พบจากการหักบัญชีระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล เช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีต่างจังหวัด และเช็คเรียกเก็บ
ข้ามเขตสำนักหักบัญชี รวมมูลค่าทั้งสิ้น 30,790 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ 4 ปี 49 ที่มีมูลค่า 33,770 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.82
โดยเช็คเด้งดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.4 ของเช็คที่เรียกเก็บทั้งหมด โดยเช็คเด้งที่พบเป็นเช็คเรียกเก็บในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ผ่านการหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารมูลค่า 23,090 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.3 ต่อเช็คเรียกเก็บในเขตนี้ ส่วนเช็คเด้งที่เรียกเก็บ
ผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัดมีมูลค่า 4,370 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.7 ของเช็คเรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัด และเช็คเด้งที่เรียกเก็บ
ข้ามเขตสำนักหักบัญชีมีมูลค่า 3,330 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.9 ของเช็คเรียกเก็บข้ามเขตสำนักหักบัญชี นอกจากนี้ เช็คเรียกเก็บ
เงินรวมทั้งหมดในไตรมาสแรกมีปริมาณทั้งสิ้น 20,375,431 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 7,536,810 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 0.6
(กรุงเทพธุรกิจ)
3. ยอดขอส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกปี 50 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75 รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
เปิดเผยถึงภาวการณ์ลงทุนในไตรมาสแรกปี 50 ว่า มีแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งปัญหาการ
เมืองและภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีจำนวน 356 โครงการ มูลค่ารวม 129,300 ล้านบาท มีการ
จ้างงาน 60,722 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณร้อยละ 75 ที่มีโครงการลงทุนจำนวน 302 โครงการ มูลค่า 73,900 ล้านบาท
มีการจ้างงาน 69,662 คน สำหรับอุตสาหกรรมที่มีผู้สนใจขอรับส่งเสริมการลงทุนมากเป็นอันดับหนึ่งในช่วงไตรมาสแรก คือ อุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีกระดาษและพลาสติก รองลงมาเป็น อุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมโลหะและเครื่องจักร
และอุปกรณ์ขนส่ง (กรุงเทพธุรกิจ)
4. สคร.คาดว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 50 จะทำได้ประมาณร้อยละ 80 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ ผอ.สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า คาดว่าการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 50 นี้จะทำได้ประมาณร้อยละ 80
ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 331,280 ล้านบาท แม้ว่าอาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการ
ใช้จ่ายภาครัฐได้เสนอให้ที่ประชุม ครม.อนุมัตกรอบเป้าหมายดังกล่าวก็ตาม อย่างไรก็ตาม ถือว่ายังสูงกว่าปี 49 ที่ทั้งปีเบิกจ่ายได้ร้อยละ 71
หรือเป็นวงเงิน 246,975 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
5. ก.คลังกระตุ้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่งปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนระดับฐานรากและธุรกิจเอสเอ็มอี รมว.คลัง
เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 พ.ค.นี้ จะเชิญผู้บริหารของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง คือ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ ธ.เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนายด่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) มาติดตามความ
คืบหน้าเกี่ยวกับการปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนระดับฐานรากและผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ได้มากน้อยเพียงใด
หลังรับฟังนโยบายไปแล้ว 5 สัปดาห์ ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวเห็นว่าการให้สินเชื่อของทั้ง 4 สถาบันการเงินเป็นวิธีการเดียวที่จะใส่เงินเข้าถึง
ฐานรากได้เร็วและดีที่สุด เนื่องจากตรงกลุ่มเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย หากใช้วิธีการทางการคลังก็ต้องผ่านระบบ
ราชการที่ไม่คล่องตัวและล่าช้า และที่ผ่านมาที่ปรึกษา รมว.คลังได้เข้าไปดูแลเรื่องการปล่อยสินเชื่อสู่ฐานรากของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
บางแห่งอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว (เดลินิวส์, ไทยรํฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยูโรโซนตั้งเป้าหมายในการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบสมดุลภายในปี 53 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 50
บรรดารมต.คลังของประเทศต่างๆในยูโรโซนตกลงที่จะใช้จังหวะที่ภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้นดำเนินนโยบายการคลังแบบสมดุลหรือเกินดุล
ให้ได้ภายในปี 53 ตามกฎของ Stability and Growth Pact ซึ่งจำกัดให้สามารถขาดดุลงบประมาณได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของ GDP ซึ่ง
ทั้งเยอรมนี และฝรั่งเศสซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยูโรโซน ไม่สามารถปรับตัวตามกฎนี้ได้และได้ผลักดันให้มีการทบทวน Pact
นี้ตั้งแต่ปี 48 อย่างไรก็ตามทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนีได้พยายามปรับลดงปมเกินดุลลงอย่างมากเพื่อให้อยู่ในกฎของยูโรโซน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจน
ว่าการมีวินัยเช่นนี้จะเป็นเพียงระยะกลางเท่านั้นหรือไม่ ทั้งนี้ปัจจุบัน 11 ประเทศจาก 13 ประเทศในยูโรโซนไม่เคยดำเนินนโยบายงบประมาณ
ขาดดุลเกินกว่าร้อยละ 3 ของ GDP เลย ซึ่งกฎเกณฑ์ดังกล่าวควรจะเป็นไปอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามข้อตกลงของยูโรโซนมีความชัดเจน
ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ของยูโรโซนจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวในระยะกลางในปี 51 หรือปี 52 และในปี 53 ทุกประเทศจะต้องบรรลุถึงเป้าหมาย
ในที่สุด ทั้งนี้เป็นช่วงจังหวะที่ดีที่สามารถกระทำตามกฎของยูโรโซนได้เนื่องจากเศรษฐกิจปัจจุบันขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่าที่ควรจะเป็น(รอยเตอร์)
2. ยอดขายปลีกของอังกฤษขยายตัวชะลอลงในเดือน มี.ค.50 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 20 เม.ย.50 The Office for
National Statistics เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์
คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และต่ำกว่ามากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวสูงสุดในรอบกว่า 2 ปีที่ร้อยละ 1.6 ขณะที่เมื่อเทียบต่อปียอดขาย
ปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นว่า แม้ยอดขายปลีกชะลอลงอย่างมากในเดือน มี.ค.ดังกล่าว ก็จะไม่สามารถยับยั้ง
การพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษในเดือน พ.ค.นี้ได้ ประกอบกับยอดขายปลีกมีการขยายตัวเพิ่มในช่วงเทศกาล
Easter ที่ผ่านมา และอัตราเงินเฟ้อในเดือนเดียวกันขยายตัวร้อยละ 3.1 สูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในรอบ
10 ปีที่ผ่านมา รวมถึงการที่ภาคการผลิตปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวและประมาณอัตราเงินเฟ้อในระยะสั้น ล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนมุมมองของ
บรรดานักลงทุนซึ่งเชื่อว่า จะมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดว่าอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นร้อยละ 0.25
ในเดือน ส.ค.50 อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ ได้เปิดเผยกับ นสพ. Yorkshire Post ว่า ธ.กลางอังกฤษพยายามที่จะควบคุม
อัตราเงินเฟ้อในปี 50 ให้อยู่ในระดับเป้าหมายร้อยละ 2.0 ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นในการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง (รอยเตอร์)
3. เศรษฐกิจของเยอรมนีแทบจะไม่ชะลอตัวลงในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อ
วันที่ 20 เม.ย.50 ก.คลังของเยอรมนี คาดการณ์ว่าการบริโภคของภาคเอกชนในช่วงไตรมาสแรกปีนี้แทบจะไม่เติบโตลดลงแม้ว่าจะมีการ
ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.50 ก็ตาม รวมทั้งดัชนีชี้วัดด้านเศรษฐกิจหลายอย่างก็เป็นไปในทางบวก ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่
เชื่อว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีอาจจะขยายตัวต่ำกว่าร้อยละ 0.9 ในไตรมาสสุดท้ายปี 49 และบางคนคาดว่าเศรษฐกิจ
อาจจะหดตัวด้วย อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้มุมมองสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคยังคงสดใส โดยอัตราการว่างงานจะ
ลดลงและจะมีการจ้างงานใหม่เกิดขึ้น ส่วนการส่งออกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่จะเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีปัจจัยเสี่ยง
จากเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัว และเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ. รวมทั้งราคาน้ำมันที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้น สำหรับภาค
การก่อสร้างที่มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจล่าสุดขยายตัวเพิ่มขึ้นคาดว่าจะยังมีอัตราการเติบโตได้ดี ด้านอัตราเงินเฟ้อเทียบต่อปียังอยู่ที่ระดับต่ำกว่า
ร้อยละ 2 ทำให้เยอรมนีเป็นประเทศที่ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากประเทศหนึ่งในเขตเศรษฐกิจยุโรป (รอยเตอร์)
4. อัตราส่วนการเริ่มธุรกิจใหม่เทียบกับการเลิกกิจการในเกาหลีใต้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 36.3 ในเดือน มี.ค.50 ต่ำสุด
ในรอบ 4 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ 20 เม.ย.50 ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานตัวเลขอัตราส่วนการเริ่มธุรกิจใหม่เทียบกับการเลิก
กิจการของธุรกิจในเกาหลีใต้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 36.3 ในเดือน มี.ค.50 ลดลงจากร้อยละ 40.3 ในเดือน ก.พ.50 อยู่ในระดับต่ำสุด
ในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือน พ.ย.49 ซึ่งอัตราส่วนอยู่ที่ร้อยละ 30.5 ในขณะที่ยอดสินเชื่อที่ผิดนัดชำระหนี้เทียบกับยอดรวมสินเชื่อเพื่อ
ธุรกิจและหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคธุรกิจจากการประนอมหนี้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.01 ในเดือน มี.ค.50 จากร้อยละ 0.02 ในเดือน ก.พ.50
อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บตัวเลขดังกล่าวในเดือน ม.ค.35 ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปี
เป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกันในการประชุมเมื่อวันที่ 12 เม.ย.50 ที่ผ่านมา ในขณะที่ยังแสดงความเชื่อมั่นว่าความต้องการในประเทศยังคงขยายตัว
อยู่ในเกณฑ์ดี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23/4/2493 20/4/2550 29/12/2549 แหล่งที่มา
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.784 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.5571/34.9012 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.16078 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 687.53/7.01 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,300/11,400 11,200/11,300 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 62.52 61.87 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.79*/24.94* 28.79*/24.94* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 11 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--