เกษตรกรเมืองจันฯ เตรียมเฮ รัฐบาลไฟเขียวให้จังหวัดเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องแปลง สินทรัพย์ เป็นทุน เพื่อคนทุกระดับมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบคาดสามารถสร้างงานสร้าง รายได้เป็น อย่างดี
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 สังกัดสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดจันทบุรีเป็นหนึ่งใน จังหวัดที่ถูกกำหนดให้ดำเนินโครงการนำร่อง รูปแบบการจัดการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนประเภทที่ดินและทรัพย์ติดกับที่ดินในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินและเขตนิคม สหกรณ์โป่งน้ำร้อน เพื่อให้เกษตรกรที่ครอบครองสิทธิ์และเป็นเจ้าของทรัพย์สินประเภทที่ดินและ ทรัพย์ติดกับที่ดิน ที่ต้องการเข้าสู่แผนธุรกิจเกษตรจากฐานอาชีพเดิม หรือต้องการสร้างอาชีพใหม่ ได้มีโอกาสเข้าสู่แหล่งเงินทุนเพื่อประกอบธุรกิจตามขบวนการและรูปแบบกำหนด เพื่อเป็นต้นแบบใน การสร้างผู้ประกอบการเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรข้างเคียงเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลต่อไปซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว มีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2551 มีเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องของจังหวัดจันทบุรี ปี 2547 จำนวน 271 ราย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการประเมินสภาพเกษตรกร ก่อนเข้าร่วม โครงการเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเปรียบเทียบผลหลังจากที่มีการดำเนินโครงการ
จากผลการติดตามพบว่า ครัวเรือนเกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีพื้นที่ถือครอง ขนาดเล็กไม่เกิน 30 ไร่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีสมาชิกที่ประกอบการเกษตรเฉลี่ย 2 คน ครัวเรือนส่วนใหญ่มีหนี้สินร้อยละ 76.19 และไม่มีหนี้สินร้อยละ 23.81 ซึ่งหนี้สินส่วนใหญ่กู้มาจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เฉลี่ยครัวเรือนละ 42,678.57 บาท ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยปีละ 146,337 บาท (เป็นรายได้จากการเกษตรเฉลี่ย 93,791.05 บาท รายได้นอกเหนือจากการเกษตรเฉลี่ย 52,545.95 บาท) มีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 99,565.70 บาท มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 46,771.30 บาท มีทรัพย์สินเฉลี่ย 1,133,127.50 บาท ครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 31.25 มีทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า 500,000 บาท ถึง 100,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะเกษตรกรในโครงการฯ ทั้งหมด 6 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรการฝึกอบรมทักษะยางพารา หลักสูตรฝึกอบรมทักษะทุเรียน หลักสูตรฝึกอบรมทักษะ ลองกอง หลักสูตรฝึกอบรมทักษะลำไย หลักสูตรฝึกอบรมทักษะการเลี้ยงแพะเนื้อ และหลักสูตร ฝึกอบรมทักษะการเลี้ยงโคเนื้อ จำนวนเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด 272 ราย มากกว่า เป้าหมาย 1 ราย และผ่านการฝึกอบรมทั้งหมด โดยสามารถเขียนแผนการ ลงทุนเพื่อเสนอขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. ได้ทุกราย ซึ่งวงเงินที่เกษตรกรเสนอขอกู้เป็นจำนวน 21.5 ล้านบาท
สำหรับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล โดยมีเจตนารมณ์ที่ จะสร้างโอกาสให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ด้อยโอกาส เช่น เกษตรกร ผู้ยากจน และผู้ประกอบ การค้ารายย่อย หรือธุรกิจขนาดย่อม ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ โดยใช้เอกสารสิทธิ ในสินทรัพย์ที่ครอบครองทำกินอยู่ หรือเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการจากหน่วยงาน ของรัฐโดยนำ เอกสารสิทธิมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน เพื่อนำไปลงทุน อันเป็นการก่อให้เกิด การสร้างงาน สร้างรายได้ ตลอดจนกระตุ้นให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 สังกัดสำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดจันทบุรีเป็นหนึ่งใน จังหวัดที่ถูกกำหนดให้ดำเนินโครงการนำร่อง รูปแบบการจัดการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนประเภทที่ดินและทรัพย์ติดกับที่ดินในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินและเขตนิคม สหกรณ์โป่งน้ำร้อน เพื่อให้เกษตรกรที่ครอบครองสิทธิ์และเป็นเจ้าของทรัพย์สินประเภทที่ดินและ ทรัพย์ติดกับที่ดิน ที่ต้องการเข้าสู่แผนธุรกิจเกษตรจากฐานอาชีพเดิม หรือต้องการสร้างอาชีพใหม่ ได้มีโอกาสเข้าสู่แหล่งเงินทุนเพื่อประกอบธุรกิจตามขบวนการและรูปแบบกำหนด เพื่อเป็นต้นแบบใน การสร้างผู้ประกอบการเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรข้างเคียงเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลต่อไปซึ่งโครงการฯ ดังกล่าว มีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2547-2551 มีเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องของจังหวัดจันทบุรี ปี 2547 จำนวน 271 ราย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการประเมินสภาพเกษตรกร ก่อนเข้าร่วม โครงการเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเปรียบเทียบผลหลังจากที่มีการดำเนินโครงการ
จากผลการติดตามพบว่า ครัวเรือนเกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีพื้นที่ถือครอง ขนาดเล็กไม่เกิน 30 ไร่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีสมาชิกที่ประกอบการเกษตรเฉลี่ย 2 คน ครัวเรือนส่วนใหญ่มีหนี้สินร้อยละ 76.19 และไม่มีหนี้สินร้อยละ 23.81 ซึ่งหนี้สินส่วนใหญ่กู้มาจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เฉลี่ยครัวเรือนละ 42,678.57 บาท ครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยปีละ 146,337 บาท (เป็นรายได้จากการเกษตรเฉลี่ย 93,791.05 บาท รายได้นอกเหนือจากการเกษตรเฉลี่ย 52,545.95 บาท) มีค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 99,565.70 บาท มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 46,771.30 บาท มีทรัพย์สินเฉลี่ย 1,133,127.50 บาท ครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 31.25 มีทรัพย์สินมูลค่ามากกว่า 500,000 บาท ถึง 100,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะเกษตรกรในโครงการฯ ทั้งหมด 6 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรการฝึกอบรมทักษะยางพารา หลักสูตรฝึกอบรมทักษะทุเรียน หลักสูตรฝึกอบรมทักษะ ลองกอง หลักสูตรฝึกอบรมทักษะลำไย หลักสูตรฝึกอบรมทักษะการเลี้ยงแพะเนื้อ และหลักสูตร ฝึกอบรมทักษะการเลี้ยงโคเนื้อ จำนวนเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด 272 ราย มากกว่า เป้าหมาย 1 ราย และผ่านการฝึกอบรมทั้งหมด โดยสามารถเขียนแผนการ ลงทุนเพื่อเสนอขอกู้เงินจาก ธ.ก.ส. ได้ทุกราย ซึ่งวงเงินที่เกษตรกรเสนอขอกู้เป็นจำนวน 21.5 ล้านบาท
สำหรับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล โดยมีเจตนารมณ์ที่ จะสร้างโอกาสให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ด้อยโอกาส เช่น เกษตรกร ผู้ยากจน และผู้ประกอบ การค้ารายย่อย หรือธุรกิจขนาดย่อม ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ โดยใช้เอกสารสิทธิ ในสินทรัพย์ที่ครอบครองทำกินอยู่ หรือเป็นผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการจากหน่วยงาน ของรัฐโดยนำ เอกสารสิทธิมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน เพื่อนำไปลงทุน อันเป็นการก่อให้เกิด การสร้างงาน สร้างรายได้ ตลอดจนกระตุ้นให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-