นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จัดผึกอบรมวิธีการตรวจสอบสายพันธุกรรมข้าว (DNA) ให้แก่บุคลากรของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูก ข้าวหอมมะลิใหญ่ของไทย รุ่นแรก ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2548 ณ ห้องปฏิบัติการ ดี.เอ็น.เอ. เทคโนโลยี ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
จากการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ ในการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทย ให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก โดยเร่งประชาสัมพันธ์คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ ให้เห็นความแตกต่างจากข้าวชนิดอื่น เพื่อยกระดับให้เป็นสินค้าคุณภาพระดับสุดยอด (Premium) พร้อมเน้นถึงการควบคุมคุณภาพ ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบก่อนการส่งออกไปต่างประเทศ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด และมีตราสัญลักษณ์รับรอง
ปัจจุบันการปลอมปนข้าวหอมมะลิ นิยมใช้ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มาผสม ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีทางกายภาพ และทางเคมีเพราะมีลักษณะเหมือนกันมาก มีเพียงการตรวจสอบโดยอาศัยเทคโนโลยีด้าน ดี เอ็น เอ เข้ามาช่วยตรวจสอบหาเปอร์เซนต์การปลอมปนเท่านั้น ซึ่งหน่วยงานในประเทศไทยที่มี ศักยภาพในการตรวจสอบได้ มีเพียง 2 แห่ง คือ กรมวิชาการเกษตร และห้องปฏิบัติการ ดี เอ็น เอ เทคโนโลยี จึงมีความจำเป็นต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อสร้างบุคลากร ให้สามารถตรวจสอบพันธุกรรมข้าวได้ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ส่งออก ผู้ประกอบการค้าข้าว และเกษตรกร ซึ่งกระจายอยู่ในแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิทั่วประเทศที่ต้องการตรวจสอบคุณภาพข้าวของตน ซึ่งจะเป็น รากฐานของการส่งเสริมการส่งออกข้าวตามสายพันธุ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ในอนาคต
กรมการค้าต่างประเทศ จึงร่วมกับห้องปฏิบัติการ ดี เอ็น เอ เทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ คัดเลือกบุคลากรจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความพร้อมในด้านเครื่องมืออุปกรณ์การตรวจสอบอยู่แล้ว แต่ยังขาดเทคโนโลยีในการตรวจสอบ พันธุกรรมข้าวเข้ารับการฝึกอบรม โดยกรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และจะขยายการฝึกอบรมให้แก่ผู้ส่งออก และผู้ตรวจสอบภาคเอกชนด้วยในโอกาสต่อไป นายราเชนทร์ฯ กล่าวในที่สุด การส่งออกข้าวหอมมะลิไทย ตั้งแต่ มกราคม-26 พฤศจิกายน 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 1.98 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3.0 หมื่นล้านบาท
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
จากการดำเนินงานของกระทรวงพาณิชย์ ในการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทย ให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก โดยเร่งประชาสัมพันธ์คุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์ ให้เห็นความแตกต่างจากข้าวชนิดอื่น เพื่อยกระดับให้เป็นสินค้าคุณภาพระดับสุดยอด (Premium) พร้อมเน้นถึงการควบคุมคุณภาพ ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบก่อนการส่งออกไปต่างประเทศ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด และมีตราสัญลักษณ์รับรอง
ปัจจุบันการปลอมปนข้าวหอมมะลิ นิยมใช้ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มาผสม ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีทางกายภาพ และทางเคมีเพราะมีลักษณะเหมือนกันมาก มีเพียงการตรวจสอบโดยอาศัยเทคโนโลยีด้าน ดี เอ็น เอ เข้ามาช่วยตรวจสอบหาเปอร์เซนต์การปลอมปนเท่านั้น ซึ่งหน่วยงานในประเทศไทยที่มี ศักยภาพในการตรวจสอบได้ มีเพียง 2 แห่ง คือ กรมวิชาการเกษตร และห้องปฏิบัติการ ดี เอ็น เอ เทคโนโลยี จึงมีความจำเป็นต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อสร้างบุคลากร ให้สามารถตรวจสอบพันธุกรรมข้าวได้ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้ส่งออก ผู้ประกอบการค้าข้าว และเกษตรกร ซึ่งกระจายอยู่ในแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิทั่วประเทศที่ต้องการตรวจสอบคุณภาพข้าวของตน ซึ่งจะเป็น รากฐานของการส่งเสริมการส่งออกข้าวตามสายพันธุ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ในอนาคต
กรมการค้าต่างประเทศ จึงร่วมกับห้องปฏิบัติการ ดี เอ็น เอ เทคโนโลยี ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ คัดเลือกบุคลากรจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีความพร้อมในด้านเครื่องมืออุปกรณ์การตรวจสอบอยู่แล้ว แต่ยังขาดเทคโนโลยีในการตรวจสอบ พันธุกรรมข้าวเข้ารับการฝึกอบรม โดยกรมการค้าต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และจะขยายการฝึกอบรมให้แก่ผู้ส่งออก และผู้ตรวจสอบภาคเอกชนด้วยในโอกาสต่อไป นายราเชนทร์ฯ กล่าวในที่สุด การส่งออกข้าวหอมมะลิไทย ตั้งแต่ มกราคม-26 พฤศจิกายน 2548 มีมูลค่าทั้งสิ้น 1.98 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3.0 หมื่นล้านบาท
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-