1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ภาคเอกชนมั่นใจตลาดกุ้งยังไปได้
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าในปี 2549 ภาคการผลิตกุ้งของไทยได้สร้างประวัติศาสตร์มีการผลิตกุ้งมากที่สุดเท่าที่เคยเป็นมาถึงราว 530,000 — 550,000 ตัน โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการผลิตในกลุ่มของกุ้งขาว ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรไทยสามารถพัฒนาระบบและวิธีการเลี้ยงให้ได้ปริมาณผลผลิตจำนวนมาก แต่ต้องยอมรับว่ากุ้งขาวยังมีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับกุ้งกุลาดำที่ไทยเคยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ก่อนหน้านี้ ในขณะที่ภาคการส่งออก ถือว่าไทยเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของประเทศผู้นำเข้า อีกทั้งปัจจุบันมีการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับในสินค้ากุ้ง ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประเทศ คู่ค้ามากขึ้น และประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่เมื่อต้องเดินทางมาตรวจสอบผู้ประกอบการไทย ก็สนใจที่จะศึกษาขบวนการผลิตทุกขั้นตอน ไม่เฉพาะการตรวจสอบโรงงานแปรรูปเท่านั้น แต่สนใจดูการผลิตในส่วนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง โรงเพาะฟัก และโรงงานผลิตอาหารกุ้งด้วย สำหรับอุปสรรคของภาคการส่งออก ยังเห็นว่าอัตรา แลกเปลี่ยนของไทยที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงประเทศคู่แข่งสำคัญไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และจีน ส่งผลให้ผู้ประกอบการของไทยต้องปรับเพิ่มราคาขายสูงขึ้น จึงทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่ง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7 — 13 ก.พ. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,267.82 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 644.52 ตัน สัตว์น้ำจืด 623.30 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.09 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.77 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 121.34 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.78 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 89.66 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 126.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 15.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.87 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 114.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 18 - 24 มี.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19 - 25 มีนาคม 2550 --
-พห-
การผลิต
ภาคเอกชนมั่นใจตลาดกุ้งยังไปได้
นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าในปี 2549 ภาคการผลิตกุ้งของไทยได้สร้างประวัติศาสตร์มีการผลิตกุ้งมากที่สุดเท่าที่เคยเป็นมาถึงราว 530,000 — 550,000 ตัน โดยส่วนใหญ่ยังเป็นการผลิตในกลุ่มของกุ้งขาว ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรไทยสามารถพัฒนาระบบและวิธีการเลี้ยงให้ได้ปริมาณผลผลิตจำนวนมาก แต่ต้องยอมรับว่ากุ้งขาวยังมีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับกุ้งกุลาดำที่ไทยเคยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ก่อนหน้านี้ ในขณะที่ภาคการส่งออก ถือว่าไทยเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของประเทศผู้นำเข้า อีกทั้งปัจจุบันมีการใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับในสินค้ากุ้ง ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประเทศ คู่ค้ามากขึ้น และประเทศผู้นำเข้าส่วนใหญ่เมื่อต้องเดินทางมาตรวจสอบผู้ประกอบการไทย ก็สนใจที่จะศึกษาขบวนการผลิตทุกขั้นตอน ไม่เฉพาะการตรวจสอบโรงงานแปรรูปเท่านั้น แต่สนใจดูการผลิตในส่วนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง โรงเพาะฟัก และโรงงานผลิตอาหารกุ้งด้วย สำหรับอุปสรรคของภาคการส่งออก ยังเห็นว่าอัตรา แลกเปลี่ยนของไทยที่แข็งค่าขึ้นมากกว่าประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงประเทศคู่แข่งสำคัญไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ และจีน ส่งผลให้ผู้ประกอบการของไทยต้องปรับเพิ่มราคาขายสูงขึ้น จึงทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่ง
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (7 — 13 ก.พ. 2550) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,267.82 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 644.52 ตัน สัตว์น้ำจืด 623.30 ตัน ประกอบด้วย สัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.09 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.77 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 121.34 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 36.78 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 89.66 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.97 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.58 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 126.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 15.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 130.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.01 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 118.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.87 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 114.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.77 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 18 - 24 มี.ค. 2550) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.10 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19 - 25 มีนาคม 2550 --
-พห-