สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่3(กรกฎาคม—กันยายน)พ.ศ.2549(อุตสาหกรรมอาหาร)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 17, 2007 15:17 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          1. การผลิต 
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมผลิตภัณฑ์ น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากไตร
มาสที่ 2 ปี 2549 เนื่องจากการผลิตในกลุ่มธัญพืชและแป้ง และประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 และ 7.7 ตามลำดับ (ตารางที่ 1) เป็นผลจากยอดสั่งซื้อ
จากต่างประเทศในสินค้าอาหารทะเลและปริมาณมันสำปะหลังเลื่อนเวลาเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และหากพิจารณารวมการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายจะทำให้
ภาพรวมของภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 10.4 เนื่องจากเป็นช่วงปิดหีบการผลิต
การผลิตในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตพืชผลซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ได้แก่ กลุ่มแปร
รูปผักผลไม้ แม้ว่าการผลิตจะลดลงจากไตรมาสก่อน แต่เมื่อเทียบกับปีก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.5 เป็นผลจากผลผลิตสับปะรดมีปริมาณเพิ่ม
ขึ้นจากระดับราคาที่สูงขึ้นในปีก่อน จูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น และกลุ่มผลิตภัณฑ์จากแป้ง มันสำปะหลัง และ ธัญพืช ปริมาณการ
ผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 สำหรับการผลิตสินค้าแปรรูปปศุสัตว์ ลดลงเล็ก
น้อย จากไตรมาสก่อน ตามฤดูกาล และเป็นช่วงที่ประเทศไทยปลอดจากปัญหาไข้หวัดนก และสามารถ ส่งออกไก่ต้มสุกได้เพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป
ประกอบกับได้เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในประเทศแถบยุโรปและอาฟริกา ส่งผลให้ปริมาณส่งออกไก่ต้มสุกของไทยเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาไก่เป็นหน้า
ฟาร์มขยับสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรลงทุนเลี้ยงไก่มากขึ้น แม้ว่าจะมีข่าวการปรับโควตาภาษีสินค้าไก่ของ EU ที่ส่งผลด้านจิตวิทยาต่อการเร่งทำประวัตินำ
เข้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณโควตาในปีต่อไป ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้การผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ
2.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ในส่วนสินค้าอาหารกลุ่มแปรรูปประมง พบว่า มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการส่งออกกุ้งและ
ผลิตภัณฑ์แปรรูป และปลาทูน่ากระป๋องเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จากการคืน GSP กุ้งไทยของสหภาพยุโรป และข่าวการยื่นฟ้อง WTO ต่อสหรัฐฯ กรณีการ
เก็บเงินค้ำประกันการนำเข้ากุ้งสู่ตลาดสหรัฐฯ เป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ทำให้มีการเร่งนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อปริมาณการผลิตสินค้าแปรรูปประมงใน
ภาพรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
การผลิตสินค้าอาหารเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบและบริโภคในประเทศ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปร้อยละ 9.8 ส่วนน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมัน ลดลงร้อยละ 4.3 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี
2548 อัตราการผลิตของน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 เป็นผลจากปาล์ม น้ำมันมีผลผลิตเพิ่มขึ้น
ภาพรวมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร 9 เดือนของปี 2549 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า (ไม่รวมน้ำตาล) ประมาณร้อยละ
14.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่หากรวมน้ำตาล การผลิตขยายตัวประมาณร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่ง
ออก เช่น ประมง เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 จากการได้คืนสิทธิ์ GSP ในสินค้าประมง และข่าวการระบาดของไข้หวัดนกในสหภาพยุโรปยังส่งผลต่อการส่ง
ออกไก่แปรรูปที่ทำให้กลุ่มปศุสัตว์มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 นอกจากนี้ผลจากการทำ FTA กับจีน ทำให้ความต้องการในสินค้าผักผลไม้เพิ่มขึ้น ส่งผล
ต่อการผลิตที่มีการขยายตัวถึงร้อยละ 33.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีเพียงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ผลิตลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการ
บริโภคอาหารสำเร็จรูปประเภทอื่นๆ ที่มีทั้งความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และปริมาณมากขึ้นทดแทน
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอาหารภายในประเทศ (ไม่รวมผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย) เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จาก
ไตรมาสก่อน และร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับไตรมาส เดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 2) เป็นผลมาจากปัจจัยด้านความต้องการในกลุ่มสินค้า
ผลิตภัณฑ์นม อาหารสัตว์ และกลุ่มน้ำมันพืชขยายตัวเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่ปลอดจากปัญหาโรคไข้หวัดนก ทำให้ผู้
บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภคสินค้าไก่มากขึ้น และมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปพร้อมรับประทาน ส่งผลให้ตลาดขยายตัวเพิ่มขึ้น ราคาขยับตัวสูงขึ้น
จูงใจให้เกษตรกรเลี้ยงเพิ่มขึ้น ความต้องการอาหารสัตว์จึงเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มตึงตัวทำให้ยอดการจำหน่าย
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
สำหรับสินค้าแปรรูปประมงมีความต้องการบริโภคสูงจากราคากุ้งขาวที่ปรับตัวลดลงจากปริมาณที่ออกสู่ตลาดมากของกุ้งขนาดเล็กและกลาง
เนื่องจากผู้เลี้ยงกุ้งวิตกกับข่าวการระบาดของโรคจากเชื้อไวรัส จึงเร่งจับขายแทนที่จะเลี้ยงให้ได้ขนาดใหญ่ที่เสี่ยงสูงกว่า โดยทั้งกลุ่มประมงมีปริมาณ
การจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 จากไตรมาสก่อน และร้อยละ 19.3 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ สินค้าอาหารอื่น ๆ ที่มีการจำหน่าย
ลดลง ตามปริมาณการผลิตที่ลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากแป้งมันสำปะหลัง และธัญพืช ลดลงร้อยละ 33.2 และน้ำตาล ลดลงร้อยละ 16.6 จากปัญหาขาด
แคลนวัตถุดิบ
เมื่อเปรียบเทียบการจำหน่ายในประเทศระหว่าง 9 เดือนของปี 48 และ 49 พบว่าภาพรวมการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี
ก่อนเพียงร้อยละ 5.3 และเมื่อพิจารณาเป็นหมวด สินค้า แม้ว่าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 12 ผลิตภัณฑ์
นมร้อยละ 11.7 และปศุสัตว์ร้อยละ 4.3 แต่ประชาชนก็มีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจดีขึ้น โดยมีปัจจัยด้านราคาน้ำมันเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนและ
ราคาสินค้าที่มีแนวโน้มลดลง ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงในช่วงเวลานี้
2.2 ตลาดต่างประเทศ
1) การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 การส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร มีมูลค่ารวม 110,575.5 ล้านบาท โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0
จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จาก ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (ตารางที่ 3) ซึ่งหากพิจารณาเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปี 2548
จะพบว่าภาวะการส่งออกในรูปของปริมาณและมูลค่ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของตลาดหลัก เช่น สหรัฐ
ญี่ปุ่น และอาเซียน ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี เมื่อเทียบระหว่าง 9 เดือนของปี 2549 และ 2548 จะเห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมมีมูลค่าส่งออก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 สำหรับการส่งออกในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ มีดังนี้
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 51,620.5 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 จากไตรมาส
ก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของอาหารทะเลสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 4.2 และอาหารทะเลกระป๋อง ร้อยละ 7.1 แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน พบว่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.8 เป็นผลจากการส่งออกอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งที่ลดลงร้อยละ 7.1 โดยสินค้าในหมวดส่วนใหญ่ส่ง
ออกลดลง มีเพียงกุ้งที่ยังส่งออกเพิ่มขึ้นจากเกือบทุกตลาด เนื่องจากความเชื่อถือในคุณภาพและการปลอดสารตกค้าง
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 17,727.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.2 จากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากนโยบายรัฐบาลในการยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากล ทำ
ให้สามารถขยายตลาดส่งออกได้มากขึ้น ประกอบกับราคาส่งออกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผักผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง เนื่องจากผลผลิตในตลาดโลกลดลง ใน
ขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสับปะรดที่ใช้ในการผลิตผลไม้กระป๋องมากที่สุด มีปริมาณผลผลิตมากขึ้น และมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นตลอด 9
เดือนปี 2549 ร้อยละ 17.5 และเมื่อเทียบระหว่าง 9 เดือนปี 2549 และ 2548 พบว่ามูลค่าส่งออกผักผลไม้แปรรูปในภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7
- กลุ่มผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป มีมูลค่าการส่งออก 7,641.2 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.9 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อย
ละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อมีการชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 3 เป็นไปตามฤดูกาล ประกอบกับข่าวโรคระบาด
ไก่ในทวีปอาฟริกาและยุโรป ได้คลี่คลายลงไป แหล่งนำเข้าภายใน EU เริ่มกลับมาผลิตได้ และข่าวการที่ EUอยู่ระหว่างพิจารณาปรับอัตราโควตาภาษี
ไก่ทั้งระบบ โดยเฉพาะไก่แปรรูปที่มีการนำเข้าขยายตัวสูงขึ้น จากการที่องค์การการค้าโลกตัดสินให้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าไก่หมักเกลือที่ไทยและ
บราซิลยื่นฟ้อง นอกจากนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบระหว่าง 9 เดือนปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 โดยที่เป็นการขยายตัว
ของการส่งออกไก่แปรรูปถึงร้อยละ 9.9
- กลุ่มผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช มีมูลค่าการส่งออก 17,407 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.8 จากไตรมาสก่อน เป็น
ผลจากแป้งมันสำปะหลังมีปริมาณส่งออกลดลง จากการเร่งส่งออกในช่วงไตรมาสก่อน และหากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าการส่งออก
ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้า เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และแป้งข้าวเจ้า และหากเปรียบ
เทียบระหว่าง 9 เดือนของปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9
- กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย มีมูลค่าการส่งออก 10,198.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 จากไตรมาสเดียวกันของปี
ก่อน เป็นผลจากปัจจัยด้านราคาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกอยู่ในระดับสูง แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า มูลค่าการส่งออกเพิ่ม
ขึ้นถึงร้อยละ 38.9 เป็นผลจากอุปทานที่เลื่อนการเข้าโรงหีบเพราะประสบปัญหาภาวะภัยแล้งในปีก่อน ขณะที่เมื่อเทียบระหว่าง 9 เดือน ปี 2549
และ 2548 พบว่ามูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 15.9
- กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 5,980.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็น
ผลจากการส่งออกลดลงในกลุ่มสินค้าประเภทไขมันพืชและสัตว์ ร้อยละ 68 สิ่งปรุงรสอาหาร ร้อยละ 11.7 และเครื่องเทศและสมุนไพรอัตราร้อยละ
9.8 และหากเทียบกับไตรมาสก่อน จะพบว่าการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.1 แต่เมื่อเทียบระหว่าง 9 เดือนปี 2549 และ 2548 มูลค่าการส่ง
ออกในภาพรวมของกลุ่มลดลงร้อยละ 7.2 โดยเป็นผลจากการส่งออกไขมันประเภทต่างๆ ลดลงร้อยละ 17 ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 19.3 และซุปและ
อาหารปรุงแต่ง ร้อยละ 16.6
2) การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าอาหารของไทย ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่ารวม 42,962.9 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 4.8(ตารางที่ 4) เมื่อพิจารณาการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ที่ปรับตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 7.8 และตลอด
9 เดือนปี 2549 ขยายตัวลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.6 เป็นผลจากการลดการนำเข้าธัญพืชและพืชน้ำมันเกือบทุกรายการ โดยเฉพาะถั่วเหลืองและกาก
ถั่วเหลือง เนื่องจากระดับราคาต่างประเทศสูงขึ้น
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จะพบว่า มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มสินค้าอุปโภค
บริโภค ในอัตราร้อยละ 14.1 โดยมีการนำผักผลไม้ จากการทำ FTA กับจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 และนำเข้าข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื่องจาก
เป็นการขยายตลาดแฟรนไชส์ในสินค้าประเภทขนมปังจากประเทศในอาเซียน เช่น โรตีบอย โรตีมัม เดอะบัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6
3. นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 เนื่องจากอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รัฐบาลจึงไม่ได้ประกาศหรือดำเนินนโยบายและ
มาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารมากนัก ส่วนใหญ่เป็นการเฝ้าระวังและกำหนดมาตรการรองรับกรณีเกิดปัญหาการผลิตและการค้า เช่น
การเฝ้าระวังโรคระบาดในสัตว์เศรษฐกิจ การเจรจาและดำเนินการตามที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด เช่น การตรวจรับรองโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
การตั้งทีมงานรองรับการตั้งข้อกีดกันทางการค้า เช่น การติดตามการพิจารณาปรับโควตาภาษีสินค้าไก่ของ EU การยื่นฟ้องต่อ WTO กรณีการตั้งสำรอง
พันธบัตรนำเข้ากุ้งและเก็บภาษีทุ่มตลาดกุ้งของสหรัฐซ้ำซ้อน
4. สรุปและแนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2549 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าภาคการผลิตบางส่วนจะได้รับผลกระทบจากการขาด
แคลนวัตถุดิบจากภาวะภัยแล้งหรืออุทกภัยอยู่บ้าง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น และคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังมีต่อเนื่อง แม้ว่า
ระดับค่าเงินบาทจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง แต่ในภาพรวมภาคการผลิตเพื่อการส่งออกกลับได้รับการชดเชยจากระดับราคาส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นของ
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป เป็นต้น เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกลดลง เพราะประเทศผู้ผลิตที่
สำคัญประสบปัญหาภัยธรรมชาติ และโรคระบาด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตมาผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออก
ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
สำหรับแนวโน้มของการผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในไตรมาสที่ 4 ของ ปี 2549 คาดว่าจะยังคงมีทิศทางการผลิตและส่ง
ออกที่ทรงตัวตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การขาดแคลน
วัตถุดิบประมง เช่น ปลาทูน่า และกุ้ง สถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ไม่แน่นอนจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ภาวะนิวเคลียร์ใน
อิหร่านและเกาหลีเหนือ การแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกรอบใหม่ ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ และมาตรการกีดกันการค้ารูปแบบต่างๆ ที่
ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต เช่น การประกาศเพิ่มอัตราภาษีนำเข้าไก่แปรรูปของยุโรปให้เท่ากับที่ผูกพันกับ WTO เพื่อชดเชยให้กับ
เกษตรกรในกลุ่มจากปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก และการประกาศมาตรการด้านสวัสดิภาพสัตว์ของยุโรป มาตรการการบังคับปิดฉลากเพิ่มเติมของ
สหรัฐฯ และการประกาศเกณฑ์ขั้นต่ำของสารตกค้างในอาหารที่เข้มงวดมากขึ้นในหลายสินค้าของจีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ นอกจากนี้การแข็งค่าขึ้นของ
ค่าเงินบาทอาจส่งผลต่อมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในรูปของเงินบาทชะลอตัวลงได้
ตารางที่ 1 การผลิตผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการผลิต (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส3/48 ไตรมาส2/49 ไตรมาส3/49 9 เดือน 9 เดือน ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วง 9 เดือนของปีก่อน
ปี 2548 ปี 2549
ปศุสัตว์ 227,093.30 231,212.10 226,754.60 625,048.80 685,352.90 -1.9 -0.1 9.6
ประมง 235,528.10 235,819.60 253,916.20 659,145.20 712,215.50 7.7 7.8 8.1
ผักผลไม้ 159,002.10 282,091.50 228,119.30 603,567.90 805,207.20 -19.1 43.5 33.4
น้ำมันพืช 309,260.30 406,689.10 389,308.20 966,656.30 1,121,014.20 -4.3 25.9 16
ผลิตภัณฑ์นม 220,067.60 281,830.60 282,443.60 698,741.00 790,609.10 0.2 28.3 13.1
ธัญพืชและแป้ง 414,557.80 387,445.90 545,623.60 1,303,549.50 1,576,021.30 40.8 31.6 20.9
อาหารสัตว์ 1,466,587.40 1,568,015.00 1,609,681.20 4,150,103.10 4,665,093.70 2.7 9.8 12.4
น้ำตาล 79,802.40 662,191.80 88,630.50 6,173,323.60 6,661,448.50 -86.6 11.1 7.9
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 43,320.70 39,425.70 43,289.50 127,446.10 122,681.10 9.8 -0.1 -3.7
รวม 3,155,219.70 4,094,721.30 3,667,766.70 15,307,581.50 17,139,643.50 -10.4 16.2 12
รวม 3,075,417.30 3,432,529.50 3,579,136.20 9,134,257.90 10,478,195.00 4.3 16.4 14.7
(ไม่รวมน้ำตาล)
ตารางที่ 2 การจำหน่ายในประเทศผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ (ตัน) การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ(ร้อยละ)
ไตรมาส3/48 ไตรมาส2/49 ไตรมาส3/49 9 เดือน 9 เดือน ไตรมาสก่อน ช่วงเดียวกันของปีก่อน ช่วง 9 เดือนของปีก่อน
ปี 2548 ปี 2549
ปศุสัตว์ 191,210.90 191,153.10 190,886.90 550,438.10 573,993.10 -0.1 -0.2 4.3
ประมง 27,761.10 31,375.70 33,120.10 87,133.40 93,084.50 5.6 19.3 6.8
ผักผลไม้ 43,263.60 35,622.20 39,288.20 118,941.70 108,125.90 10.3 -9.2 -9.1
น้ำมันพืช 242,927.00 281,590.30 278,086.90 753,684.00 804,362.80 -1.2 14.5 6.7
ผลิตภัณฑ์นม 185,497.60 231,632.80 237,118.00 546,943.70 610,966.00 2.4 27.8 11.7
ธัญพืชและแป้ง 246,036.80 239,533.80 279,921.60 791,368.20 878,150.00 16.9 13.8 11
อาหารสัตว์ 1,349,786.00 1,445,897.10 1,487,231.10 3,832,744.40 4,293,206.80 2.9 10.2 12
น้ำตาล 757,586.60 1,065,397.30 958,109.50 3,444,865.20 3,300,623.70 -10.1 26.5 -4.2
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 33,117.10 33,741.60 35,593.20 96,036.80 101,277.60 5.5 7.5 5.5
รวม 3,077,186.60 3,555,943.90 3,539,355.60 10,222,155.50 10,763,790.50 -0.5 15 5.3
รวม(ไม่รวมน้ำตาล) 2,319,600.00 2,490,546.70 2,581,246.10 6,777,290.30 7,463,166.80 3.6 11.3 10.1
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ตารางที่ 3 การส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ผลิตภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี 2548 ปี 2549 9 เดือน 9 เดือน เทียบไตรมาส เทียบ เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ปี 2549 เดียวกันปีก่อน ไตรมาสก่อน 9เดือนปี49และ48
ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป 52,565.90 46,372.70 51,620.50 129,411.30 139,401.80 -1.8 11.3 7.7
อาหารทะเลกระป๋อง 12,273.80 11,589.80 12,407.80 31,837.60 35,375.80 1.1 7.1 11.1
อาหารทะเลแปรรูป 16,742.10 13,789.50 17,326.40 39,372.40 44,769.40 3.5 25.6 13.7
อาหารสดแช่เย็นแช่แข็ง 23,550.00 20,993.40 21,886.30 58,201.30 59,256.60 -7.1 4.3 1.8
ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูป 17,057.70 21,405.00 17,727.20 47,457.00 52,557.00 3.9 -17.2 10.7
ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 4,188.20 4,296.90 4,023.30 9,638.70 10,230.50 -3.9 -6.4 6.1
ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง 1,755.60 1,986.10 1,639.60 5,853.60 5,693.00 -6.6 -17.4 -2.7
ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 8,468.70 12,192.70 9,191.80 25,073.40 28,825.00 8.5 -24.6 15
ผักกระป๋องและแปรรูป 2,645.30 2,929.30 2,872.50 6,891.30 7,808.50 8.6 -1.9 13.3
ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป 7,665.40 8,205.00 7,641.20 19,865.50 21,804.00 -0.3 -6.9 9.8
ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง 272.4 147.2 177.4 359.7 346.3 -34.9 20.5 -3.7
ไก่แปรรูป 7,363.20 8,028.70 7,434.30 19,468.30 21,395.90 1 -7.4 9.9
ผลิตภัณฑ์จากข้าว แป้ง และธัญพืช 14,842.70 19,509.40 17,407.00 43,828.90 49,477.00 17.3 -10.8 12.9
ผลิตภัณฑ์ข้าว 1,510.80 1,535.00 1,632.80 4,153.60 4,409.20 8.1 6.4 6.2
ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 4,588.50 5,387.50 4,693.00 14,608.40 13,969.40 2.3 -12.9 -4.4
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 8,743.30 12,586.80 11,081.20 25,066.90 31,098.40 26.7 -12 24.1
ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทราย 8,508.50 7,339.70 10,198.70 26,738.00 22,474.70 19.9 39 -15.9
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ 5,067.00 3,475.60 5,980.90 16,361.10 15,188.40 18 72.1 -7.2
เครื่องเทศและสมุนไพร 415.2 431.6 456.1 1,132.00 1,304.50 9.8 5.7 15.2
สิ่งปรุงรสอาหาร 1,667.60 1,936.20 1,863.00 4,765.30 5,288.50 11.7 -3.8 11
นมและผลิตภัณฑ์นม 1,273.00 739 1,044.20 3,929.90 3,169.80 -18 41.3 -19.3
ซุปและอาหารปรุงแต่ง 364.4 213.2 355.4 1,117.60 932.5 -2.5 66.7 -16.6
ไขมันและน้ำมันพืชและสัตว์ 1,346.80 155.6 2,262.20 5,416.30 4,493.10 68 1353.6 -17
รวม 105,707.20 106,307.30 110,575.50 283,661.80 300,902.90 4.6 4 6.1
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตารางที่ 4 การนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารของไทย
ผลิตภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี 2548 ปี 2549 9 เดือน 9 เดือน เทียบไตรมาส เทียบ เทียบระหว่าง
ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ปี 2549 เดียวกันปีก่อน ไตรมาสก่อน 9 เดือนปี49และ48
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 33,176.20 30,580.40 30,588.20 86,726.30 85,379.80 0 -7.8 -1
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ