กรุงเทพ--28 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการ ตามคำทูลเชิญของนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ ๒ ถึงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสหพันธรัฐรัสเซียครั้งนี้ ตรงกับโอกาสที่รัฐบาลรัสเซียจัดงานฉลองครบรอบ ๑๑๐ ปี ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนรัสเซีย ครั้งพุทธศักราช ๒๔๔๐
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงกรุงมอสโก รัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียจะจัดพิธีรับเสด็จอย่างเป็นทางการ ณ ท่าอากาศยานวนูโคโว ระหว่างที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงเยือนกรุงมอสโก รัฐบาลรัสเซียได้จัดพระราชวังเครมลินถวายเป็นที่ประทับ และประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียจะถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำอย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังเครมลินด้วย โอกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชวังเครมลิน เพื่อเผยแพร่ศิลปหัตถกรรมและวัฒนธรรมของไทย
หลังจากทรงเยือนกรุงมอสโกแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อทอดพระเนตรสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมของรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย รวมทั้งพระราชวังปีเตอร์โฮฟ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนรัสเซียในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยกับรัฐบาลรัสเซียจะร่วมกันบูรณะพระราชวังปีเตอร์โฮฟเพื่อเป็นอนุสรณ์การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนครั้งนั้น
นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถด้วย
การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสหพันธรัฐรัสเซียในครั้งนี้ นอกจากจะเป็น การกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียที่มีมายาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
2. แถลงการณ์ร่วมในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2550 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมเดินทางไปในการเยือนครั้งนี้ด้วย
ระหว่างการเยือน นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับ นายมานโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย และในโอกาสนี้ ผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลอินเดีย ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน และหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในโลกสภา (สภาผู้แทนราษฎร) ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีไทย นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีแห่งอินเดียด้วย
ในโอกาสนี้ ได้มีการลงนามความตกลงที่สำคัญสองฉบับระหว่างประเทศไทยและอินเดีย โดยมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเป็นสักขีพยาน คือ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างกระทรวงพลังงานของไทยและอินเดีย และแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
ในระหว่างการหารือของนายกรัฐมนตรีไทยและอินเดีย ผู้นำทั้งสองได้แสดงความพอใจเกี่ยวกับความคืบหน้าของความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย — อินเดีย และตระหนักถึงคุณค่าของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสายสัมพันธ์ด้านประวัติศาสตร์ อารยธรรม และวัฒนธรรม ที่ได้พัฒนาจากความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการค้า ไปเป็นความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมความร่วมมือในทุกสาขาที่สำคัญ
การเยือนของนายกรัฐมนตรี มีขึ้นในโอกาสของการครบรอบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินเดีย และเป็นสัญลักษณ์ของความสำคัญที่ทั้งสองประเทศให้ต่อความสัมพันธ์อันดีที่ใกล้ชิดระหว่างกันในโอกาสนี้ ทั้งสองประเทศจะจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้จากข่าวสารนิเทศ
3. การประชุมคณะกรรมกาธิการร่วมไทย — มาเลเซีย ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 27 — 29 มิถุนายน 2550
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2550 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ และ Datuk Seri Syed Hamid Albar รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย เป็นประธานร่วมในการประชุมฯ ระหว่างที่ Datuk Seri Syed Hamid Albar และภริยาพำนักอยู่ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียจะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี อีกด้วย
การประชุมครั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่เพิ่มขึ้นจากความร่วมมือทวิภาคีที่สองประเทศมีอยู่คือ มาตรการสร้างความไว้วางใจ (Confidence Building Measures หรือ CBMs ) เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยความร่วมมือด้านการสร้างความไว้วางใจนี้ ประกอบด้วยการส่งเสริม 3Es คือ การศึกษา (Education) การจ้างงานและการฝึกอบรมแรงงาน (Employment) และการประกอบกิจการ (Entrepreneurship) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ดังกล่าว ตลอดจนนำความยุติธรรมมาสู่พื้นที่ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นตอ
รายละเอียดเพิ่มเติมและกำหนดการ สามารถดูได้จากข่าวสารนิเทศ
4. การออกประกาศรายงานสถิติการนำเข้าของสหรัฐฯ ประจำปี 2549 และผลกระทบต่อการให้สิทธิพิเศษ GSP แก่สินค้าไทย
ตามที่สหรัฐฯ ได้ต่ออายุการให้สิทธิพิเศษ GSP แก่ประเทศต่าง ๆ ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยเพิ่มหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิ GSP ภายใต้กฎ Competitive need limitation waivers (CNL Waivers) ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่จะใช้พิจารณาการให้สิทธิ GSP เป็นรายสินค้า โดยจะพิจารณาจากมูลค่าการนำเข้าของสหรัฐฯ เพื่อเป็นการกระจายสิทธิประโยชน์ให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกไปสหรัฐฯ และให้อำนาจประธานาธิบดีในการใช้ดุลพินิจในการคง/ตัดสิทธิ GSP แก่สินค้าของประเทศต่าง ๆ โดยจะประกาศผลในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 นั้น
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้เผยแพร่รายงานสถิติการนำเข้าของสหรัฐฯ ประจำปี 2549 เพื่อประกอบการพิจารณาขยาย/ตัดสิทธิ GSP แก่สินค้าของประเทศต่าง ๆ โดยมีสินค้าไทยที่อยู่ในข่ายอาจถูกตัดสิทธิจำนวน 4 รายการ ได้แก่ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ยางรถยนต์ โทรทัศน์สี และสินค้าอัญมณีที่ทำจากทอง
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เริ่มกระบวนการทบทวนการต่ออายุ GSP กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้เจรจาโน้มน้าวและผลักดันทางการเมืองกับระดับสูงของทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของสหรัฐฯ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากสิทธิ GSP ของไทย รวมทั้งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกตัดสิทธิ GSP
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้ดำเนินการอย่างเข้มข้นในการหารือกับทุกภาคส่วนของฝ่ายสหรัฐฯ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสิทธิพิเศษ GSP ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อขยายตัวด้านการส่งออกและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย และการระงับการให้สิทธิพิเศษดังกล่าวจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งที่มีความได้เปรียบไทยในด้านการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล
สำหรับข้อเท็จจริงในการตัดสิทธิ GSP ของสินค้าไทยทั้ง 4 รายการนั้น ทางการสหรัฐฯ สามารถกระทำได้เนื่องจากสินค้าทั้ง 4 รายการของไทยมีมูลค่าส่งออกเกินเพดานที่กำหนดในกฎหมายฉบับใหม่ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ชี้แจงว่า หากไทยจะถูกตัดสิทธิ GSP ก็จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นๆ รวมทั้งการใช้มาตรการ CL และการถูกปรับลดสถานะจาก PL เป็น PWL ตามมาตรา 301 พิเศษ
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้จากข่าวสารนิเทศ
ประเด็นถาม — ตอบ
- การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย — มาเลเซีย ครั้งที่ 10
ผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2550 นี้ ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายของทั้งสองประเทศ มาร่วมหารือและติดตามโครงการความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้านดังที่ได้เคยตกลงกันไว้ รวมทั้งหารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ตลอดจนหารือถึงประเด็นมาตรการสร้างความไว้วางใจ (Confidence Building Measures หรือ CBMs) เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งที่ผ่านมาไทยและมาเลเซียได้หารือร่วมกันในเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด โดยเฉพาะในระดับผู้นำและรัฐมนตรีต่างประเทศ และในโอกาสนี้ รัฐมนตรีทั้งสองจะได้หารือกันอีกครั้งเพื่อเตรียมการสำหรับการหารือระดับนายกรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
- การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนและสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง
ประเทศไทยมีกรอบการดำเนินการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนหลักที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ฉบับคือ พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนพ.ศ. 2472 และสนธิสัญญาทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ (ปัจจุบันไทยมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศอังกฤษ เบลเยียม สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน เกาหลีใต้ ลาว บังกลาเทศ กัมพูชา ฟิจิ มาเลเซีย แคนาดา และออสเตรเลีย)
กรณีความร่วมมือระหว่างไทยกับอังกฤษ ทั้งสองประเทศมีข้อผูกพันระหว่างกันภายใต้ประกาศสัญญาว่าด้วยส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันในระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษ ค.ศ. 1911 ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการโดยสังเขปกล่าวคือ อัยการและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจนถึงขั้นออกหมายจับ หลังจากนั้น อัยการจะพิจารณาว่าจะดำเนินการในกรอบของการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ หากจะดำเนินการเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนอัยการจะเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดทำคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนผ่านช่องทางการทูต โดยอัยการจะส่งข้อมูลมาให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อส่งต่อให้ทางการอังกฤษต่อไป จากนั้นส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของอังกฤษจะต้องพิจารณาในรายละเอียดต่าง ๆ อาทิ เงื่อนไขในการดำเนินการส่งตัวกลับ เช่น ความผิดดังกล่าวถือเป็นความผิดของทั้งสองประเทศหรือไม่ เป็นต้น หากความผิดดังกล่าวไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ ทางการอังกฤษมีสิทธิไม่ส่งตัวผู้ถูกร้องขอฯ มายังประเทศไทยได้
- การยื่นขอจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชา
กรณีดังกล่าวแยกได้เป็นสองประเด็น ได้แก่ 1) ประเด็นการเจรจาเขตแดนตามแนวบริเวณชายแดนไทย — กัมพูชา ซึ่งเรื่องนี้ผู้แทนของทั้งสองประเทศได้ดำเนินการเจรจาหารือกันอย่างต่อเนื่อง และ 2) ประเด็นการยื่นขอจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรัฐบาลของทั้งสองประเทศมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องของขั้นตอน โดยฝ่ายไทยต้องการให้มีการหารือเพื่อให้ได้มติที่ตรงกันระหว่างไทย — กัมพูชาเสียก่อนในทุกประเด็น เพื่อเสนอ World Heritage Center (WHC) ต่อไป ในขณะที่ฝ่ายกัมพูชาไม่เห็นด้วยกับขั้นตอนนี้
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน — 2 กรกฎาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มอบหมายให้นายมนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนพิเศษและเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุม 31st Session of the World Heritage Committee ที่เมือง Christchurch ประเทศนิวซีแลนด์ เกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
ในโอกาสนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเพิ่มเติมว่า ไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์อันดี ผู้นำประเทศใกล้ชิดกัน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับ และประชาชนทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น อย่างไรก็ดี โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และรัฐบาลไทยได้ดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือกับกัมพูชา จึงขอความร่วมมือจากสื่อสาขาต่าง ๆ ในการนำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง เพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนของไทยกับประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเยือนสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเป็นทางการ ตามคำทูลเชิญของนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ ๒ ถึงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสหพันธรัฐรัสเซียครั้งนี้ ตรงกับโอกาสที่รัฐบาลรัสเซียจัดงานฉลองครบรอบ ๑๑๐ ปี ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนรัสเซีย ครั้งพุทธศักราช ๒๔๔๐
เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงกรุงมอสโก รัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียจะจัดพิธีรับเสด็จอย่างเป็นทางการ ณ ท่าอากาศยานวนูโคโว ระหว่างที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถทรงเยือนกรุงมอสโก รัฐบาลรัสเซียได้จัดพระราชวังเครมลินถวายเป็นที่ประทับ และประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียจะถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำอย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังเครมลินด้วย โอกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชวังเครมลิน เพื่อเผยแพร่ศิลปหัตถกรรมและวัฒนธรรมของไทย
หลังจากทรงเยือนกรุงมอสโกแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เพื่อทอดพระเนตรสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมของรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย รวมทั้งพระราชวังปีเตอร์โฮฟ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระหว่างการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนรัสเซียในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยกับรัฐบาลรัสเซียจะร่วมกันบูรณะพระราชวังปีเตอร์โฮฟเพื่อเป็นอนุสรณ์การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนครั้งนั้น
นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก แด่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถด้วย
การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนสหพันธรัฐรัสเซียในครั้งนี้ นอกจากจะเป็น การกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับสหพันธรัฐรัสเซียที่มีมายาวนานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นแล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมมิตรภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
2. แถลงการณ์ร่วมในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐอินเดียอย่างเป็นทางการของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25-27 มิถุนายน 2550 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมเดินทางไปในการเยือนครั้งนี้ด้วย
ระหว่างการเยือน นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับ นายมานโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐอินเดีย และในโอกาสนี้ ผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลอินเดีย ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานใหม่และพลังงานหมุนเวียน และหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในโลกสภา (สภาผู้แทนราษฎร) ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีไทย นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้เข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีแห่งอินเดียด้วย
ในโอกาสนี้ ได้มีการลงนามความตกลงที่สำคัญสองฉบับระหว่างประเทศไทยและอินเดีย โดยมีนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศเป็นสักขีพยาน คือ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนระหว่างกระทรวงพลังงานของไทยและอินเดีย และแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
ในระหว่างการหารือของนายกรัฐมนตรีไทยและอินเดีย ผู้นำทั้งสองได้แสดงความพอใจเกี่ยวกับความคืบหน้าของความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย — อินเดีย และตระหนักถึงคุณค่าของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสายสัมพันธ์ด้านประวัติศาสตร์ อารยธรรม และวัฒนธรรม ที่ได้พัฒนาจากความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการค้า ไปเป็นความสัมพันธ์ที่ครอบคลุมความร่วมมือในทุกสาขาที่สำคัญ
การเยือนของนายกรัฐมนตรี มีขึ้นในโอกาสของการครบรอบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินเดีย และเป็นสัญลักษณ์ของความสำคัญที่ทั้งสองประเทศให้ต่อความสัมพันธ์อันดีที่ใกล้ชิดระหว่างกันในโอกาสนี้ ทั้งสองประเทศจะจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้จากข่าวสารนิเทศ
3. การประชุมคณะกรรมกาธิการร่วมไทย — มาเลเซีย ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 27 — 29 มิถุนายน 2550
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2550 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ และ Datuk Seri Syed Hamid Albar รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย เป็นประธานร่วมในการประชุมฯ ระหว่างที่ Datuk Seri Syed Hamid Albar และภริยาพำนักอยู่ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียจะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี อีกด้วย
การประชุมครั้งนี้มีประเด็นสำคัญที่เพิ่มขึ้นจากความร่วมมือทวิภาคีที่สองประเทศมีอยู่คือ มาตรการสร้างความไว้วางใจ (Confidence Building Measures หรือ CBMs ) เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยความร่วมมือด้านการสร้างความไว้วางใจนี้ ประกอบด้วยการส่งเสริม 3Es คือ การศึกษา (Education) การจ้างงานและการฝึกอบรมแรงงาน (Employment) และการประกอบกิจการ (Entrepreneurship) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ดังกล่าว ตลอดจนนำความยุติธรรมมาสู่พื้นที่ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นตอ
รายละเอียดเพิ่มเติมและกำหนดการ สามารถดูได้จากข่าวสารนิเทศ
4. การออกประกาศรายงานสถิติการนำเข้าของสหรัฐฯ ประจำปี 2549 และผลกระทบต่อการให้สิทธิพิเศษ GSP แก่สินค้าไทย
ตามที่สหรัฐฯ ได้ต่ออายุการให้สิทธิพิเศษ GSP แก่ประเทศต่าง ๆ ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยเพิ่มหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิ GSP ภายใต้กฎ Competitive need limitation waivers (CNL Waivers) ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ที่จะใช้พิจารณาการให้สิทธิ GSP เป็นรายสินค้า โดยจะพิจารณาจากมูลค่าการนำเข้าของสหรัฐฯ เพื่อเป็นการกระจายสิทธิประโยชน์ให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกไปสหรัฐฯ และให้อำนาจประธานาธิบดีในการใช้ดุลพินิจในการคง/ตัดสิทธิ GSP แก่สินค้าของประเทศต่าง ๆ โดยจะประกาศผลในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 นั้น
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้เผยแพร่รายงานสถิติการนำเข้าของสหรัฐฯ ประจำปี 2549 เพื่อประกอบการพิจารณาขยาย/ตัดสิทธิ GSP แก่สินค้าของประเทศต่าง ๆ โดยมีสินค้าไทยที่อยู่ในข่ายอาจถูกตัดสิทธิจำนวน 4 รายการ ได้แก่ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ยางรถยนต์ โทรทัศน์สี และสินค้าอัญมณีที่ทำจากทอง
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เริ่มกระบวนการทบทวนการต่ออายุ GSP กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้เจรจาโน้มน้าวและผลักดันทางการเมืองกับระดับสูงของทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของสหรัฐฯ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากสิทธิ GSP ของไทย รวมทั้งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกตัดสิทธิ GSP
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้ดำเนินการอย่างเข้มข้นในการหารือกับทุกภาคส่วนของฝ่ายสหรัฐฯ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสิทธิพิเศษ GSP ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อขยายตัวด้านการส่งออกและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย และการระงับการให้สิทธิพิเศษดังกล่าวจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งที่มีความได้เปรียบไทยในด้านการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล
สำหรับข้อเท็จจริงในการตัดสิทธิ GSP ของสินค้าไทยทั้ง 4 รายการนั้น ทางการสหรัฐฯ สามารถกระทำได้เนื่องจากสินค้าทั้ง 4 รายการของไทยมีมูลค่าส่งออกเกินเพดานที่กำหนดในกฎหมายฉบับใหม่ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ชี้แจงว่า หากไทยจะถูกตัดสิทธิ GSP ก็จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นๆ รวมทั้งการใช้มาตรการ CL และการถูกปรับลดสถานะจาก PL เป็น PWL ตามมาตรา 301 พิเศษ
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้จากข่าวสารนิเทศ
ประเด็นถาม — ตอบ
- การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย — มาเลเซีย ครั้งที่ 10
ผู้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (JC) ไทย-มาเลเซีย ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2550 นี้ ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายของทั้งสองประเทศ มาร่วมหารือและติดตามโครงการความร่วมมือระหว่างกันในทุกด้านดังที่ได้เคยตกลงกันไว้ รวมทั้งหารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ตลอดจนหารือถึงประเด็นมาตรการสร้างความไว้วางใจ (Confidence Building Measures หรือ CBMs) เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งที่ผ่านมาไทยและมาเลเซียได้หารือร่วมกันในเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด โดยเฉพาะในระดับผู้นำและรัฐมนตรีต่างประเทศ และในโอกาสนี้ รัฐมนตรีทั้งสองจะได้หารือกันอีกครั้งเพื่อเตรียมการสำหรับการหารือระดับนายกรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
- การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนและสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง
ประเทศไทยมีกรอบการดำเนินการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนหลักที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ฉบับคือ พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดนพ.ศ. 2472 และสนธิสัญญาทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ (ปัจจุบันไทยมีสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับประเทศอังกฤษ เบลเยียม สหรัฐฯ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน เกาหลีใต้ ลาว บังกลาเทศ กัมพูชา ฟิจิ มาเลเซีย แคนาดา และออสเตรเลีย)
กรณีความร่วมมือระหว่างไทยกับอังกฤษ ทั้งสองประเทศมีข้อผูกพันระหว่างกันภายใต้ประกาศสัญญาว่าด้วยส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันในระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษ ค.ศ. 1911 ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการโดยสังเขปกล่าวคือ อัยการและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการจนถึงขั้นออกหมายจับ หลังจากนั้น อัยการจะพิจารณาว่าจะดำเนินการในกรอบของการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ หากจะดำเนินการเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนอัยการจะเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและจัดทำคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนผ่านช่องทางการทูต โดยอัยการจะส่งข้อมูลมาให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อส่งต่อให้ทางการอังกฤษต่อไป จากนั้นส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของอังกฤษจะต้องพิจารณาในรายละเอียดต่าง ๆ อาทิ เงื่อนไขในการดำเนินการส่งตัวกลับ เช่น ความผิดดังกล่าวถือเป็นความผิดของทั้งสองประเทศหรือไม่ เป็นต้น หากความผิดดังกล่าวไม่ถือเป็นความผิดตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ ทางการอังกฤษมีสิทธิไม่ส่งตัวผู้ถูกร้องขอฯ มายังประเทศไทยได้
- การยื่นขอจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชา
กรณีดังกล่าวแยกได้เป็นสองประเด็น ได้แก่ 1) ประเด็นการเจรจาเขตแดนตามแนวบริเวณชายแดนไทย — กัมพูชา ซึ่งเรื่องนี้ผู้แทนของทั้งสองประเทศได้ดำเนินการเจรจาหารือกันอย่างต่อเนื่อง และ 2) ประเด็นการยื่นขอจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรัฐบาลของทั้งสองประเทศมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องของขั้นตอน โดยฝ่ายไทยต้องการให้มีการหารือเพื่อให้ได้มติที่ตรงกันระหว่างไทย — กัมพูชาเสียก่อนในทุกประเด็น เพื่อเสนอ World Heritage Center (WHC) ต่อไป ในขณะที่ฝ่ายกัมพูชาไม่เห็นด้วยกับขั้นตอนนี้
ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน — 2 กรกฎาคม 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มอบหมายให้นายมนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนพิเศษและเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปเข้าร่วมการประชุม 31st Session of the World Heritage Committee ที่เมือง Christchurch ประเทศนิวซีแลนด์ เกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
ในโอกาสนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเพิ่มเติมว่า ไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์อันดี ผู้นำประเทศใกล้ชิดกัน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับ และประชาชนทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น อย่างไรก็ดี โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และรัฐบาลไทยได้ดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือกับกัมพูชา จึงขอความร่วมมือจากสื่อสาขาต่าง ๆ ในการนำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง เพื่อเป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนของไทยกับประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-