สศอ. เผยออสซี่อ้างกุ้งแปรรูปมีความเสี่ยงแหล่งสะสมเชื้อโรค หวั่นแพร่ระบาดสู่อุตสาหกรรมภายในประเทศ เตรียมดันมาตรการ IRA ควบคุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์กุ้ง แจ้งเตือนผู้ประกอบการพร้อมรับมือ ขณะที่ไทยเดินหน้าเจรจาผ่อนปรน หาข้อโต้แย้งทางเทคนิคและวิทยาศาสตร์ ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ออสเตรเลียได้ประกาศร่างมาตรการ Import Risk Analysis หรือ IRA ซึ่งเป็นการเสนอมาตรการเพื่อควบคุมและหรือป้องกันโรคที่มากับกุ้ง ทั้งนี้ ออสเตรเลียอ้างว่า กุ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยง เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่อาจแพร่ระบาดเข้าสู่อุตสาหกรรมกุ้งภายในประเทศออสเตรเลีย จึงต้องออกมาตรการป้องกัน โดยจะบังคับใช้กับกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยขณะนี้ประเทศออสเตรเลียได้แจ้งเวียนประกาศมาตรการดังกล่าว แก่ประเทศคู่ค้าพิจารณาเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงดังกล่าวก่อนที่จะมีการประกาศเป็นมาตรการบังคับใช้ต่อไป
อย่างไรก็ตามมาตรการสำคัญดังกล่าวนี้ได้ส่งผลกระทบต่อไทย คือ สินค้ากุ้งสดต้องมาจากประเทศหรือพื้นที่ปลอดโรค ส่วนกุ้งต้มสุกต้องผ่านกระบวนการที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส และสินค้าต้องผ่านการรับรองผลการตรวจโรค จากหน่วยงานของประเทศผู้ส่งออกและผ่านการตรวจสอบจากห้องทดลองที่ออสเตรเลียรับรอง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสัดส่วนปริมาณการส่งออกกุ้งไทยไปยังออสเตรเลียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวทำให้มูลค่าส่งออกสินค้ากุ้งไปออสเตรเลีย ปี 2549 ลดลงร้อยละ 20 โดยเฉพาะกุ้งแช่เย็นแช่แข็งที่ยอดส่งออกลดลงถึงร้อยละ 40 ตามข้อกำหนดในการรับซื้อกุ้ง
จากเขตปลอดโรค ในขณะที่ไทยยังไม่ได้กำหนดเขตปลอดโรคดังกล่าว สำหรับกุ้งต้มที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส จะมีผลให้ลักษณะทางกายภาพของสินค้าเปลี่ยนไป และส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินการในการเตรียมรับมือกับมาตรการ IRA ของไทยนั้น ทางกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปกุ้งกำลังศึกษาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอุณหภูมิการต้มกุ้งที่จะฆ่าเชื้อโรคได้ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการได้หันมาส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าอื่นเพิ่มขึ้น ในส่วนของภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะเจรจาผ่อนปรนการใช้มาตรการกับออสเตรเลีย พร้อมข้อโต้แย้งทางเทคนิค และทางวิทยาศาสตร์ในเวทีการค้าโลกทั้ง WTO TAFTA และการเจรจาของหน่วยงานระหว่างประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ออสเตรเลียได้ประกาศร่างมาตรการ Import Risk Analysis หรือ IRA ซึ่งเป็นการเสนอมาตรการเพื่อควบคุมและหรือป้องกันโรคที่มากับกุ้ง ทั้งนี้ ออสเตรเลียอ้างว่า กุ้งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยง เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่อาจแพร่ระบาดเข้าสู่อุตสาหกรรมกุ้งภายในประเทศออสเตรเลีย จึงต้องออกมาตรการป้องกัน โดยจะบังคับใช้กับกุ้งและผลิตภัณฑ์กุ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยขณะนี้ประเทศออสเตรเลียได้แจ้งเวียนประกาศมาตรการดังกล่าว แก่ประเทศคู่ค้าพิจารณาเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงดังกล่าวก่อนที่จะมีการประกาศเป็นมาตรการบังคับใช้ต่อไป
อย่างไรก็ตามมาตรการสำคัญดังกล่าวนี้ได้ส่งผลกระทบต่อไทย คือ สินค้ากุ้งสดต้องมาจากประเทศหรือพื้นที่ปลอดโรค ส่วนกุ้งต้มสุกต้องผ่านกระบวนการที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส และสินค้าต้องผ่านการรับรองผลการตรวจโรค จากหน่วยงานของประเทศผู้ส่งออกและผ่านการตรวจสอบจากห้องทดลองที่ออสเตรเลียรับรอง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสัดส่วนปริมาณการส่งออกกุ้งไทยไปยังออสเตรเลียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวทำให้มูลค่าส่งออกสินค้ากุ้งไปออสเตรเลีย ปี 2549 ลดลงร้อยละ 20 โดยเฉพาะกุ้งแช่เย็นแช่แข็งที่ยอดส่งออกลดลงถึงร้อยละ 40 ตามข้อกำหนดในการรับซื้อกุ้ง
จากเขตปลอดโรค ในขณะที่ไทยยังไม่ได้กำหนดเขตปลอดโรคดังกล่าว สำหรับกุ้งต้มที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส จะมีผลให้ลักษณะทางกายภาพของสินค้าเปลี่ยนไป และส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินการในการเตรียมรับมือกับมาตรการ IRA ของไทยนั้น ทางกลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปกุ้งกำลังศึกษาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับอุณหภูมิการต้มกุ้งที่จะฆ่าเชื้อโรคได้ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการได้หันมาส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น และส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าอื่นเพิ่มขึ้น ในส่วนของภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะเจรจาผ่อนปรนการใช้มาตรการกับออสเตรเลีย พร้อมข้อโต้แย้งทางเทคนิค และทางวิทยาศาสตร์ในเวทีการค้าโลกทั้ง WTO TAFTA และการเจรจาของหน่วยงานระหว่างประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-