วันนี้ (2 มี.ค.50) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หลังจากที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกและรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่งก็ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์และความมีกังวลเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง เกรงว่าจะมีผลกระทบต่อรัฐบาล ตลอดทั้งความเชื่อมั่น ซึ่งวันนี้พรรคประชาธิปัตย์อยากจะนำเสนอให้พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสในการพลิกฟื้นความเชื่อมั่นความศรัทธา
ตนเห็นว่าทุกฝ่ายมองว่าสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งปัญหาเรื่องความศรัทธา ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าการลาออกของบุคคลใดบุคคลหนึ่งของรัฐบาล ซึ่งจากการสำรวจของสำนักโพลล์หรือการวิเคราะห์ของนักวิชาการจะเห็นได้ว่าความเชื่อมั่น ความศรัทธาที่มีต่อรัฐบาลลดลงอย่างต่อเนื่อง ตรงนี้ถือว่าเป็นผลลบ เพราะบ้านเมืองจะผ่านวิกฤติไปได้คือต้องทำให้บ้านเมืองกลับสู่ปกติและความมีประชาธิปไตย
ซึ่งกระบวนการที่จะนำพาบ้านเมืองกลับไปสู่สภาวะปกติได้อย่างราบรื่น ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของสังคม เพราะฉะนั้นปัญหานี้จึงเป็นปัญหาใหญ่กว่าของนายกฯหรือรัฐบาล ตนมองเรื่องความถดถอยในเรื่องความเชื่อมั่นความศรัทธา เกิดขึ้นจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ 1. ความห่างเหินระหว่างประชาชนกับรัฐบาล เพราะต้องเข้าใจว่าส่วนหนึ่งที่มาของรัฐบาลไม่ได้มาจากกระบวนการของประชาธิปไตย ดังนั้นเมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งจึงไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เชื่อมระหว่างประชาชนกับรัฐบาล
ตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาพื้นฐานของรัฐบาลตั้งแต่เบื้องต้นอยู่แล้ว แต่เมื่อมาตอกย้ำด้วยความรู้สึกของประชาชนว่าปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนรัฐบาลอาจไม่รับรู้เท่าที่ควร หรือการพยายามแก้ปัญหาของรัฐบาล แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางนั้น ๆ 2. เหตุความไม่สงบต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร ทำให้ความรู้สึกในเรื่องความปลอดภัยมั่นคงของประชาชนขาดหายไป
3. ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมีการชลอตัวลงและ 4. ลักษณะการทำงานของรัฐบาลท่ามกลางความคาดหวังของประชาชนค่อนข้างสูง ถูกมองว่ายังขาดทิศทางที่ชัดเจนหรือขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ในการผลักดันงานให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว
4 ปัจจัยนี้ส่งผลกระทบต่อการทำงานในภารกิจหลัก นั่นก็คือการปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งถ้ามองปัญหาอย่างนี้จะได้คำตอบสำหรับบ้านเมือง สำหรับสังคมมากกว่า และไม่ทำให้สภาพการเมืองวกวนในลักษณะที่เป็นอยู่นี้
ซึ่งแนวทางที่ตนอยากจะเสนอมี 3 เรื่องหลักที่ต้องการให้นายกฯพิจารณา เรื่องที่ 1. การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งตนขอเสนอว่าการปรับเล็กหรือปรับการปรับเอาบุคคลหนึ่งมาแทนบุคคลหนึ่งไม่ใช่คำตอบของสถานการณ์ปัจจุบัน การปรับเสนอแนะจึงควรเป็นการปรับใหญ่ คือการเปลี่ยนการจัดคนให้มีความเหมาะสมชัดเจนว่าทำงานอะไร และที่สำคัญประชาชนเห็นความเชื่อมโยงความรับผิดชอบได้ ดังนั้นจึงควรจะมีการตั้งหรือกำหนดให้มีรัฐมนตรีเฉพาะกิจ เฉพาะด้านในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. รัฐมนตรีที่มาดูแลปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะได้เป็นฝ่ายนโยบายในการขับเคลื่อนงานของศอ.บต. เพื่อจะได้ดูแลปัญหาใน 3 จังหวัดได้อย่างครบวงจร ตรงนี้ตนเชื่อจะช่วยคลี่คลายและแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
2. ควรจะมีรัฐมนตรีที่มาดูแลงานมวลชนสัมพันธ์คือการเข้าไปดูแลปัญหาซึ่งเป็นความทุกข์ของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น กล่าวได้ว่าเข้าไปขันน็อตกลไกราชการต่าง ๆ โดยมีฝ่ายรับผิดชอบนโยบายอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การเข้าไปแก้ปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น ซึ่งรัฐมนตรีท่านนี้จะต้องได้พยายามประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มาก เพื่อชดเชยกับสภาพที่ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในขณะนี้ กล่าวคือดึงเอาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของรัฐบาล เพื่อเชื่อมโยงเข้าหาประชาชนได้มากขึ้น
3. รัฐมนตรีที่จะมาวางรากฐานสำหรับการกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย เรื่องดังกล่าวนี้ตนได้เสนอไปหลายครั้งว่าการฟื้นฟูประชาธิปไตยไม่สามารถทำได้โดยทำรัฐธรรมนูญเรื่องเดียว โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาธิปไตยของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องมีการปฎิรูป หรือการทำงานหลายด้าน ดังนั้นรัฐมนตรีคนนี้ตนเห็นว่าต้องเข้ามาปฎิรูปสื่อ ปฎิรูปตำรวจ และเข้ามาเร่งปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบราชการ เพราะในช่วงรัฐบาลที่แล้วได้ทำลายระบบคุณธรรมไป
4. รัฐมนตรีที่จะมาช่วยทำงานสนับสนุนการทำงานของคตส.เพื่อให้การสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทั้งหลายเป็นไปอย่างมีระบบและรวดเร็ว
5. ทีมเศรษฐกิจ ตนอยากให้ความคิดว่าการจะเรียกความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจขณะนี้ นอกจากจะได้คนที่มีชื่อเสียงในการงานแล้ว ตนอยากเห็นทีมเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้นในแง่ภูมหลังและประสบการณ์การทำงาน เพราะความรู้สึกของประชาชนโดยทั่วไป เข้าใจว่ารัฐมนตรีส่วนใหญ่ในครม.ปัจจุบันจะมีภูมิหลังมาจากการรับราชการเป็นหลัก
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเร่งแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะมีการทบทวนนโยบาย มาตรการใด อย่างไรบ้าง ต้องยอมรับว่าความสับสนเรื่องทิศทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากมาตรการและนโยบายของรัฐบาลทั้งสิ้น เช่น เรื่องมาตรการของธปท.กรณี 30 % หรือการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายธุรกิจคนต่างด้าวเป็นต้น
ข้อเสนอข้อที่ 2 คือ เมื่อมีการปรับครม.แล้ว ตนอยากเห็นนายกฯประชุมครม.เป็นการภายใน ไม่มีระเบียบวาระ เพื่อกำหนดภารกิจร่วมให้ชัดเจนว่า ภายในระยะเวลาที่เหลือครึ่งปีอะไรบ้างที่ต้องทำให้สำเร็จ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็นการแสดงเจตนาต่อประชาชน ว่านี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลา 5-6 เดือนข้างหน้า เพื่อให้เห็นทิศทางและความกระตือรือร้นของสิ่งที่จะกระทำ และเมื่อประชุมตรงนี้เสร็จแล้วก็ควรออกมาแสดงเจตนารมย์ต่อประชาชน ถึงนโยบายที่จะดำเนินการ เสริมต่อจากนี้ก็คือเรื่องของการเสนอแก้ไขกฎหมายที่จะให้ผ่านในช่วงสั้น ๆ นี้
ข้อเสนอข้อที่ 3 คือ รัฐบาลและคมช.ควรจะประชุมและร่วมกันกำหนดจุดยืนใน 2 เรื่องหลัก 1. เรื่องรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ต้องบอกกับสังคมให้ชัดเจนว่าเมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลและคมช.จะใช้อำนาจในการหยิบรัฐธรรมนูญใดฉบับหนึ่งขึ้นมาและปรับปรุงแก้ไข จะเลือกฉบับไหนและแก้ไปอย่างไร หากรัฐบาลและคมช.ไม่ทำตามข้อเสนอนี้ ตนเห็นว่าการทำประชามติจะไม่มีความหมาย เพราะเป็นการบอกให้ประชาชนเลือกระหว่างร่างของสสร.กับอะไรก็ไม่รู้ ดังนั้นการลงคะแนนและการตัดสินใจจะไม่อาจมีความหมายได้เลย ดังนั้นรัฐบาลและคมช.ควรจะดำเนินเรื่องนี้ด้วยความชัดเจน และที่แน่นอนก็คือว่าหากรัฐบาลและคมช.ประกาศจุดยืนตรงนี้ และสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย จะเป็นแนวทางแก้ปัญหากังวลทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องมวลชน ประชามติ การเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง รวมทั้งไปถึงข้อครหาในเรื่องการสืบทอดอำนาจ
2. เรื่องของคำสั่งของคณะปฎิรูปการปกครองฯ ในเรื่องของการห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งโดยส่วนตัวตนมีข้อเสนอว่าควรจะกำหนดมาเลยว่าอะไรที่สามารถทำได้ และอะไรที่ไม่สามารถทำได้ เช่น การปราศรัยการจัดการชุมนุม แต่เรื่องอื่น ๆ เช่นการเปิดให้พรรคการเมืองร่วมประชุมหารือ เพื่อคลายบรรยากาศและไม่ทำให้รัฐบาลและคมช.ถูกยั่วยุให้เผชิญหน้ากับพลังประชาธิปไตยในสังคม
ทั้งหมดเป็นข้อเสนอที่ตนอยากให้ผู้มีอำนาจได้พิจารณา ซึ่งเป็นข้อเสนอจากความห่วงใยว่า ถ้าไม่มีการดำเนินการกอบกู้ในเรื่องสภาพการณ์ความศรัทธา ความเชื่อมั่นของประชาชน เส้นทางเดินของสังคมไทยไปสู่ความปกติเพื่อคลี่คลายวิกฤติการณ์จะมีอุปสรรคมาก ซึ่งตนไม่แน่ใจว่าจะสามารถผ่านพ้นไปโดยที่ไม่ปัญหาอื่นแทรกซ้อนขึ้นมาอีก
นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เสนอแนะ 4 มาตรการเร่งด่วนให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติโดยธนาคารแห่งประเทศไทยควรที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องก็ได้แต่พึ่งการบริโภคการลงทุนและลดแรงกดดันจากค่าเงินบาท เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงยกเลิกมาตรการ 30%เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและยกเลิกการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เนื่องจากเห็นว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนั้นจะทำให้เกิดปัญหาในสภาและอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี
Slide ที่ 1
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 มี.ค. 2550--จบ--
ตนเห็นว่าทุกฝ่ายมองว่าสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งปัญหาเรื่องความศรัทธา ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าการลาออกของบุคคลใดบุคคลหนึ่งของรัฐบาล ซึ่งจากการสำรวจของสำนักโพลล์หรือการวิเคราะห์ของนักวิชาการจะเห็นได้ว่าความเชื่อมั่น ความศรัทธาที่มีต่อรัฐบาลลดลงอย่างต่อเนื่อง ตรงนี้ถือว่าเป็นผลลบ เพราะบ้านเมืองจะผ่านวิกฤติไปได้คือต้องทำให้บ้านเมืองกลับสู่ปกติและความมีประชาธิปไตย
ซึ่งกระบวนการที่จะนำพาบ้านเมืองกลับไปสู่สภาวะปกติได้อย่างราบรื่น ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของสังคม เพราะฉะนั้นปัญหานี้จึงเป็นปัญหาใหญ่กว่าของนายกฯหรือรัฐบาล ตนมองเรื่องความถดถอยในเรื่องความเชื่อมั่นความศรัทธา เกิดขึ้นจาก 4 ปัจจัยหลัก คือ 1. ความห่างเหินระหว่างประชาชนกับรัฐบาล เพราะต้องเข้าใจว่าส่วนหนึ่งที่มาของรัฐบาลไม่ได้มาจากกระบวนการของประชาธิปไตย ดังนั้นเมื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งจึงไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เชื่อมระหว่างประชาชนกับรัฐบาล
ตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาพื้นฐานของรัฐบาลตั้งแต่เบื้องต้นอยู่แล้ว แต่เมื่อมาตอกย้ำด้วยความรู้สึกของประชาชนว่าปัญหาและความเดือดร้อนของประชาชนรัฐบาลอาจไม่รับรู้เท่าที่ควร หรือการพยายามแก้ปัญหาของรัฐบาล แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางนั้น ๆ 2. เหตุความไม่สงบต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร ทำให้ความรู้สึกในเรื่องความปลอดภัยมั่นคงของประชาชนขาดหายไป
3. ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งมีการชลอตัวลงและ 4. ลักษณะการทำงานของรัฐบาลท่ามกลางความคาดหวังของประชาชนค่อนข้างสูง ถูกมองว่ายังขาดทิศทางที่ชัดเจนหรือขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน ในการผลักดันงานให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว
4 ปัจจัยนี้ส่งผลกระทบต่อการทำงานในภารกิจหลัก นั่นก็คือการปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งถ้ามองปัญหาอย่างนี้จะได้คำตอบสำหรับบ้านเมือง สำหรับสังคมมากกว่า และไม่ทำให้สภาพการเมืองวกวนในลักษณะที่เป็นอยู่นี้
ซึ่งแนวทางที่ตนอยากจะเสนอมี 3 เรื่องหลักที่ต้องการให้นายกฯพิจารณา เรื่องที่ 1. การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งตนขอเสนอว่าการปรับเล็กหรือปรับการปรับเอาบุคคลหนึ่งมาแทนบุคคลหนึ่งไม่ใช่คำตอบของสถานการณ์ปัจจุบัน การปรับเสนอแนะจึงควรเป็นการปรับใหญ่ คือการเปลี่ยนการจัดคนให้มีความเหมาะสมชัดเจนว่าทำงานอะไร และที่สำคัญประชาชนเห็นความเชื่อมโยงความรับผิดชอบได้ ดังนั้นจึงควรจะมีการตั้งหรือกำหนดให้มีรัฐมนตรีเฉพาะกิจ เฉพาะด้านในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. รัฐมนตรีที่มาดูแลปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะได้เป็นฝ่ายนโยบายในการขับเคลื่อนงานของศอ.บต. เพื่อจะได้ดูแลปัญหาใน 3 จังหวัดได้อย่างครบวงจร ตรงนี้ตนเชื่อจะช่วยคลี่คลายและแก้ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้
2. ควรจะมีรัฐมนตรีที่มาดูแลงานมวลชนสัมพันธ์คือการเข้าไปดูแลปัญหาซึ่งเป็นความทุกข์ของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและรวดเร็วมากขึ้น กล่าวได้ว่าเข้าไปขันน็อตกลไกราชการต่าง ๆ โดยมีฝ่ายรับผิดชอบนโยบายอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การเข้าไปแก้ปัญหาภัยแล้ง เป็นต้น ซึ่งรัฐมนตรีท่านนี้จะต้องได้พยายามประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มาก เพื่อชดเชยกับสภาพที่ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในขณะนี้ กล่าวคือดึงเอาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานของรัฐบาล เพื่อเชื่อมโยงเข้าหาประชาชนได้มากขึ้น
3. รัฐมนตรีที่จะมาวางรากฐานสำหรับการกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย เรื่องดังกล่าวนี้ตนได้เสนอไปหลายครั้งว่าการฟื้นฟูประชาธิปไตยไม่สามารถทำได้โดยทำรัฐธรรมนูญเรื่องเดียว โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาธิปไตยของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องมีการปฎิรูป หรือการทำงานหลายด้าน ดังนั้นรัฐมนตรีคนนี้ตนเห็นว่าต้องเข้ามาปฎิรูปสื่อ ปฎิรูปตำรวจ และเข้ามาเร่งปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบราชการ เพราะในช่วงรัฐบาลที่แล้วได้ทำลายระบบคุณธรรมไป
4. รัฐมนตรีที่จะมาช่วยทำงานสนับสนุนการทำงานของคตส.เพื่อให้การสะสางปัญหาทุจริตคอรัปชั่นทั้งหลายเป็นไปอย่างมีระบบและรวดเร็ว
5. ทีมเศรษฐกิจ ตนอยากให้ความคิดว่าการจะเรียกความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจขณะนี้ นอกจากจะได้คนที่มีชื่อเสียงในการงานแล้ว ตนอยากเห็นทีมเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้นในแง่ภูมหลังและประสบการณ์การทำงาน เพราะความรู้สึกของประชาชนโดยทั่วไป เข้าใจว่ารัฐมนตรีส่วนใหญ่ในครม.ปัจจุบันจะมีภูมิหลังมาจากการรับราชการเป็นหลัก
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเร่งแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะมีการทบทวนนโยบาย มาตรการใด อย่างไรบ้าง ต้องยอมรับว่าความสับสนเรื่องทิศทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากมาตรการและนโยบายของรัฐบาลทั้งสิ้น เช่น เรื่องมาตรการของธปท.กรณี 30 % หรือการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายธุรกิจคนต่างด้าวเป็นต้น
ข้อเสนอข้อที่ 2 คือ เมื่อมีการปรับครม.แล้ว ตนอยากเห็นนายกฯประชุมครม.เป็นการภายใน ไม่มีระเบียบวาระ เพื่อกำหนดภารกิจร่วมให้ชัดเจนว่า ภายในระยะเวลาที่เหลือครึ่งปีอะไรบ้างที่ต้องทำให้สำเร็จ เพื่อให้เกิดความชัดเจน และเป็นการแสดงเจตนาต่อประชาชน ว่านี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลา 5-6 เดือนข้างหน้า เพื่อให้เห็นทิศทางและความกระตือรือร้นของสิ่งที่จะกระทำ และเมื่อประชุมตรงนี้เสร็จแล้วก็ควรออกมาแสดงเจตนารมย์ต่อประชาชน ถึงนโยบายที่จะดำเนินการ เสริมต่อจากนี้ก็คือเรื่องของการเสนอแก้ไขกฎหมายที่จะให้ผ่านในช่วงสั้น ๆ นี้
ข้อเสนอข้อที่ 3 คือ รัฐบาลและคมช.ควรจะประชุมและร่วมกันกำหนดจุดยืนใน 2 เรื่องหลัก 1. เรื่องรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ต้องบอกกับสังคมให้ชัดเจนว่าเมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลและคมช.จะใช้อำนาจในการหยิบรัฐธรรมนูญใดฉบับหนึ่งขึ้นมาและปรับปรุงแก้ไข จะเลือกฉบับไหนและแก้ไปอย่างไร หากรัฐบาลและคมช.ไม่ทำตามข้อเสนอนี้ ตนเห็นว่าการทำประชามติจะไม่มีความหมาย เพราะเป็นการบอกให้ประชาชนเลือกระหว่างร่างของสสร.กับอะไรก็ไม่รู้ ดังนั้นการลงคะแนนและการตัดสินใจจะไม่อาจมีความหมายได้เลย ดังนั้นรัฐบาลและคมช.ควรจะดำเนินเรื่องนี้ด้วยความชัดเจน และที่แน่นอนก็คือว่าหากรัฐบาลและคมช.ประกาศจุดยืนตรงนี้ และสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย จะเป็นแนวทางแก้ปัญหากังวลทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องมวลชน ประชามติ การเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง รวมทั้งไปถึงข้อครหาในเรื่องการสืบทอดอำนาจ
2. เรื่องของคำสั่งของคณะปฎิรูปการปกครองฯ ในเรื่องของการห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งโดยส่วนตัวตนมีข้อเสนอว่าควรจะกำหนดมาเลยว่าอะไรที่สามารถทำได้ และอะไรที่ไม่สามารถทำได้ เช่น การปราศรัยการจัดการชุมนุม แต่เรื่องอื่น ๆ เช่นการเปิดให้พรรคการเมืองร่วมประชุมหารือ เพื่อคลายบรรยากาศและไม่ทำให้รัฐบาลและคมช.ถูกยั่วยุให้เผชิญหน้ากับพลังประชาธิปไตยในสังคม
ทั้งหมดเป็นข้อเสนอที่ตนอยากให้ผู้มีอำนาจได้พิจารณา ซึ่งเป็นข้อเสนอจากความห่วงใยว่า ถ้าไม่มีการดำเนินการกอบกู้ในเรื่องสภาพการณ์ความศรัทธา ความเชื่อมั่นของประชาชน เส้นทางเดินของสังคมไทยไปสู่ความปกติเพื่อคลี่คลายวิกฤติการณ์จะมีอุปสรรคมาก ซึ่งตนไม่แน่ใจว่าจะสามารถผ่านพ้นไปโดยที่ไม่ปัญหาอื่นแทรกซ้อนขึ้นมาอีก
นายกรณ์ จาติกวณิช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เสนอแนะ 4 มาตรการเร่งด่วนให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติโดยธนาคารแห่งประเทศไทยควรที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องก็ได้แต่พึ่งการบริโภคการลงทุนและลดแรงกดดันจากค่าเงินบาท เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงยกเลิกมาตรการ 30%เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและยกเลิกการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เนื่องจากเห็นว่าร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนั้นจะทำให้เกิดปัญหาในสภาและอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี
Slide ที่ 1
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 มี.ค. 2550--จบ--