สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันจันทร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า คณะกรรมการการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มีมติแจ้งให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทราบว่า หากสมาชิกมีข้อเสนอแนะการดำเนินการการออกเสียงประชามติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สามารถส่งมายังคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อให้ข้อเสนอแนะประสานให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อรวบรวม ข้อเสนอแนะประสานงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ได้แจ้งให้ คณะกรรมาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกคณะรับทราบแล้ว
ที่ประชุมรับทราบ
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเหนือ
นายวิชัย ศิริขวัญ ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมี ส่วนร่วมของประชาชน ภาคเหนือ ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้กำหนดให้มีการประชุมเป็นประจำสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
โดยมีการประชุมไปแล้วทั้งหมด จำนวน ๑๒ ครั้ง
๒. คณะกรรมาธิการได้กำหนดแผนการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม
ของประชาชน ภาคเหนือ โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการคือ
- สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมี
ส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดภาคเหนือให้แก่คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเหนือ และคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของ ประชาชนประจำจังหวัด
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกกลุ่มและทุกพื้นที่ในระดับอำเภอ จังหวัด และภูมิภาค
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยช่องทางอื่น ๆ ได้แก่
การสนับสนุนการดำเนินการขององค์กรที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมโดยการเปิดตู้ ป.ณ. (ตู้รับฟังความคิดเห็น) และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
ซึ่งผลของการดำเนินงานในรอบที่ ๑ นั้น ได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน ๑๕๔ ครั้ง และมีผู้เข้าร่วมจำนวน ๒๓,๒๓๙ คน
สำหรับการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในรอบที่ ๒ ซึ่งได้จัดทำหลังจากได้มีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คณะกรรมาธิการร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและ การประชามติ ได้จัดสัมมนาและปฐมนิเทศผู้ดำเนินรายการ วิทยากรกระบวนการ และผู้จดบันทึก เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดในภาคเหนือ ๑๗ จังหวัด วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเจตนารมณ์ของการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อวางกรอบการดำเนินการของการรับฟังความคิดเห็นและวิธีการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ รายมาตรารอบที่ ๒ ในวันเสาร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๐ และคณะกรรมาธิการได้มีมติเห็นชอบให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมประจำจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนประจำจังหวัดในภาคเหนือรอบที่ ๒ หลังการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่คณะกรรมาธิการฯ ภาคเหนือจัดสัมมนา สรุปเป็นผลการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มแต่ละจังหวัดในภาคเหนือ ซึ่งแผนปฏิบัติการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดภาคเหนือรอบที่ ๒ นั้น ได้จัดทำทั้งสิ้น จำนวน ๔๐ จังหวัด รวม ๒๐๐ เวที โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ ๒,๒๐๐ คน
หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญได้มีการจัดเวทีระดับจังหวัดแล้ว ในระดับภาคได้มีการจัดกลุ่มผู้เข้าสัมมนา คือ กลุ่มจังหวัด และกลุ่มผู้นำอาชีพต่าง ๆ จังหวัดละ ๔๕ คน เพื่อตรวจสอบ ทบทวนเพิ่มเติมประเด็นให้สมบูรณ์ จำนวน ๔ ครั้ง ดังนี้
- จังหวัดพิษณุโลก จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- จังหวัดนครสวรรค์ จัดขึ้นในวันพุธที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- จังหวัดเชียงใหม่ จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- จังหวัดเชียงราย จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ซึ่งในภาพรวมของการรับฟังความคิดเห็นจากเป้าหมายที่ได้วางไว้ คือ
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาชนในทุก
พื้นที่ ทุกกลุ่ม ได้มีความตื่นตัวเข้าร่วมประชุมทุกเวที
- การให้เรียนรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง การใช้อำนาจ อย่างกว้างขวาง
- การเตรียมการไปสู่การออกเสียงประชามติ หลังจากได้มีการประชาสัมพันธ์แล้ว
ทำให้ประชาชนตื่นตัว และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้นก่อนถึงวันที่มีการลง ประชามติรัฐธรรมนูญต่อไป
จากนั้นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รายงานเพิ่มเติมว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย พร้อมมีข้อเสนอแนะ ข้อสังเกต อาทิ ว่า
- ควรบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ
- ควรกำหนดคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมือง เพื่อเป็นการควบคุมผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประพฤติปฏิบัติออกนอกทาง หรือใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เป็นการป้องกันการสมรู้ร่วมคิดของนักการเมืองกับข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้ง
- ควรปรับเปลี่ยนวิธีการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเป็นแบบการสรรหาหรือให้
คณะกรรมการสรรหาคัดผู้สมัครทั้งหมดให้ได้ ๕ เท่า ของสมาชิกวุมิสภาที่จะต้องมีอยู่ในแต่ละจังหวัดและส่งมายังประชาชนในจังหวัดนั้นลงคะแนนเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง
- ควรลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลง โดยเลือกแบบเขตเรียงเบอร์และแบบ
สัดส่วน
- ควรจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น และมีอิสระ
ในการบริหารการจัดการเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ
- ควรตัดมาตรา ๒๙๙ (นิรโทษกรรม) ออกทั้งมาตรา เพราะไม่มีความจำเป็น
- ควรกำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐานการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของ
นักการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น
- ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นผู้ดำเนินการประมวลจริยธรรมของนักการเมือง
- ควรกำหนดภาวะวิกฤตให้ชัดเจนว่าเป็นภาวะใดและอะไรคือวิกฤตแห่งชาติ
๔.๒ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคกลาง
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคกลาง ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการฯ ได้ดำเนินการรวบรวมและพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติ
พร้อมทั้งจัดทำรายนามของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัด ๒๕ จังหวัด ในเขตพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาแต่งตั้ง
๒. คณะกรรมาธิการฯ มีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลการรับฟังความคิดเห็น
จากประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง รวม ๒๕ จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ที่ประชุมคณะกรรมาธิการจึงได้มีมติจำแนกเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ ออกเป็น ๕ กลุ่มจังหวัด โดยในแต่ละกลุ่มจังหวัดได้กำหนดกรรมาธิการผู้รับผิดชอบ
๓. หลังจากที่คณะกรรมาธิการยกร่าง ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญร่างที่ ๑ เสร็จแล้ว
คณะกรรมาธิการฯ ภาคกลาง ได้จัดให้มีการสัมมนาเพื่ออบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ประจำจังหวัด และวิทยากรกระบวนการของจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญร่างที่ ๑ เพื่อให้คณะกรรมาธิการประจำจังหวัดและวิทยากรกระบวนการประจำจังหวัดสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ไปเผยแพร่ต่อประชาชนได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อเสนอข้อมูลกลับมายังคณะกรรมาธิการยกร่างต่อไป ซึ่งรายละเอียดในการจัดสัมมนาได้จัดแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด ๔ กลุ่ม และได้ดำเนินการจัดการสัมมนา จำนวน ๖ ครั้ง คือ
๑. กลุ่มจังหวัดที่ ๑ กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
จัดในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๐
๒. กลุ่มจังหวัดที่ ๓ สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี
สระแก้ว จัดในวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๐
๓. กลุ่มจังหวัดที่ ๔ จันทบุรี ตราด จัดในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐
๔. กลุ่มจังหวัดที่ ๒ ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา
ปทุมธานี นนทบุรี จัดในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐
๕. กลุ่มจังหวัดที่ ๔ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา
จัดในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
๖. กลุ่มจังหวัดที่ ๔ ชลบุรี ระยอง จัดในวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐
หลังจากจัดการสัมมนาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญร่างที่ ๑ เรียบร้อยแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ทันที รวมทั้งได้จัดทำโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบความเคลื่อนไหว และมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญได้สะดวกและง่ายที่สุด โดยใช้ชื่อโครงการเครือข่าย “ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ” และได้รับความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร้านสะดวกซื้อ สถานีบริการน้ำมันทุกสาขา ในการร่วมให้บริการแบบแสดงความคิดเห็นและเป็นจุดรับแบบแสดงความคิดเห็นจากประชาชน ตลอดจนการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนด้วย ซึ่งเครือข่ายดังกล่าวนี้ได้นำส่งแบบแสดงความคิดเห็นกลับมายังคณะกรรมาธิการฯ เพื่อสรุปนำส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว
จากนั้น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รายงานเพิ่มเติมว่า จากผลการรับฟังความคิดเห็นจาก ๒๕ จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ นั้น มีประเด็นที่ประชาชน ให้ความสำคัญดังนี้
๑. ควรบรรจุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
๒. ประชาชนไม่เห็นด้วยกับมาตรา ๖๘ วรรค ๒ องค์กรแก้วิกฤต
๓. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตละ ๓ คน นั้น ประชาชนไม่เชื่อว่าจะ
สามารถแก้ไขปัญหาการซื้อขายเสียงได้ และอาจเป็นประโยชน์แก่นักการเมืองที่มีฐานะดีกว่า
๔. สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้งหรือการสรรหา โดยให้ประชาชนเลือกหรือ
สรรหาอย่างละครึ่ง และถ้าสมาชิกวุฒิสภามาจากการสรรหาจึงไม่ควรมีอำนาจเท่าสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
๕. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรา ๒๙๙ เรื่องการนิรโทษกรรม
๔.๓ พิจารณาความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟัง
ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พล.ต.ท.ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเหนือ โดยรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกวันอังคาร และได้มี
การประชุมไปแล้วทั้งหมด ๑๒ ครั้ง
๒. คณะกรรมาธิการฯ ได้กำหนดแผนการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการคือ
- สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้แก่คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม
ในพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยช่องทางอื่น ๆ ได้แก่ การสนับสนุน
การดำเนินการขององค์กรที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การสร้างช่องทางการมี ส่วนร่วมของประชาชนโดยการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
๓. การดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน รอบที่ ๒
- คณะกรรมาธิการร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วม
และการประชามติ จัดสัมมนาและปฐมนิเทศผู้ดำเนินรายการ วิทยากร ผู้จดบันทึกเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ของประชาชนประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ จังหวัด วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในเจตนารมณ์ของการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อวางกรอบการดำเนินการของการรับฟังความคิดเห็นและวิธีการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ รอบที่ ๒ เรียบร้อยแล้ว และได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รอบที่สอง ทั้งสิ้น ๑๑ เวที มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งสิ้นประมาณ ๖,๗๔๐ คน
จากนั้น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รายงานเพิ่มเติมว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับมาตรา ๖๘ วรรค ๒ แต่ไม่ควรมีนายกรัฐมนตรีเป็นองค์ประกอบ
- ควรเพิ่มองคมนตรีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบแทน
- ควรบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
- ไม่เห็นด้วยกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
- ไม่เห็นด้วยกับเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบเขตใหญ่ ๓ คน แต่ควร
เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเล็กจะสามารถหาเสียงได้ง่ายขึ้น
- ไม่เห็นด้วยกับการให้นักการเมืองอุทธรณ์ต่อศาลกรณีที่ กกต. ให้ใบแดง-ใบเหลือง
เพราะอาจทำให้ศาลเสียชื่อเสียงและเป็นภาระ
จากนั้นนายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวว่า ความเห็นที่คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นจากภาคต่าง ๆ ที่ได้รับฟังมา คณะกรรมาธิการยกร่างฯ พร้อมจะรับฟัง และขณะนี้ทุกประเด็นยังไม่มีข้อยุติ
๕. เรื่องอื่น ๆ ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๒๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๔๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า คณะกรรมการการออกเสียงประชามติ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มีมติแจ้งให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทราบว่า หากสมาชิกมีข้อเสนอแนะการดำเนินการการออกเสียงประชามติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง สามารถส่งมายังคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อให้ข้อเสนอแนะประสานให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนแก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อรวบรวม ข้อเสนอแนะประสานงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ได้แจ้งให้ คณะกรรมาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกคณะรับทราบแล้ว
ที่ประชุมรับทราบ
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเหนือ
นายวิชัย ศิริขวัญ ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมี ส่วนร่วมของประชาชน ภาคเหนือ ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้กำหนดให้มีการประชุมเป็นประจำสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
โดยมีการประชุมไปแล้วทั้งหมด จำนวน ๑๒ ครั้ง
๒. คณะกรรมาธิการได้กำหนดแผนการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม
ของประชาชน ภาคเหนือ โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการคือ
- สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมี
ส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดภาคเหนือให้แก่คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคเหนือ และคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของ ประชาชนประจำจังหวัด
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกกลุ่มและทุกพื้นที่ในระดับอำเภอ จังหวัด และภูมิภาค
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยช่องทางอื่น ๆ ได้แก่
การสนับสนุนการดำเนินการขององค์กรที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การสร้างช่องทางการมีส่วนร่วมโดยการเปิดตู้ ป.ณ. (ตู้รับฟังความคิดเห็น) และการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
ซึ่งผลของการดำเนินงานในรอบที่ ๑ นั้น ได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน ๑๕๔ ครั้ง และมีผู้เข้าร่วมจำนวน ๒๓,๒๓๙ คน
สำหรับการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในรอบที่ ๒ ซึ่งได้จัดทำหลังจากได้มีการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คณะกรรมาธิการร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและ การประชามติ ได้จัดสัมมนาและปฐมนิเทศผู้ดำเนินรายการ วิทยากรกระบวนการ และผู้จดบันทึก เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดในภาคเหนือ ๑๗ จังหวัด วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ ในเจตนารมณ์ของการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อวางกรอบการดำเนินการของการรับฟังความคิดเห็นและวิธีการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ รายมาตรารอบที่ ๒ ในวันเสาร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๐ และคณะกรรมาธิการได้มีมติเห็นชอบให้ คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมประจำจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนประจำจังหวัดในภาคเหนือรอบที่ ๒ หลังการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่คณะกรรมาธิการฯ ภาคเหนือจัดสัมมนา สรุปเป็นผลการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มแต่ละจังหวัดในภาคเหนือ ซึ่งแผนปฏิบัติการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดภาคเหนือรอบที่ ๒ นั้น ได้จัดทำทั้งสิ้น จำนวน ๔๐ จังหวัด รวม ๒๐๐ เวที โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ ๒,๒๐๐ คน
หลังจากคณะกรรมาธิการวิสามัญได้มีการจัดเวทีระดับจังหวัดแล้ว ในระดับภาคได้มีการจัดกลุ่มผู้เข้าสัมมนา คือ กลุ่มจังหวัด และกลุ่มผู้นำอาชีพต่าง ๆ จังหวัดละ ๔๕ คน เพื่อตรวจสอบ ทบทวนเพิ่มเติมประเด็นให้สมบูรณ์ จำนวน ๔ ครั้ง ดังนี้
- จังหวัดพิษณุโลก จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- จังหวัดนครสวรรค์ จัดขึ้นในวันพุธที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- จังหวัดเชียงใหม่ จัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- จังหวัดเชียงราย จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐
ซึ่งในภาพรวมของการรับฟังความคิดเห็นจากเป้าหมายที่ได้วางไว้ คือ
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งประชาชนในทุก
พื้นที่ ทุกกลุ่ม ได้มีความตื่นตัวเข้าร่วมประชุมทุกเวที
- การให้เรียนรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมือง การใช้อำนาจ อย่างกว้างขวาง
- การเตรียมการไปสู่การออกเสียงประชามติ หลังจากได้มีการประชาสัมพันธ์แล้ว
ทำให้ประชาชนตื่นตัว และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญมากยิ่งขึ้นก่อนถึงวันที่มีการลง ประชามติรัฐธรรมนูญต่อไป
จากนั้นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รายงานเพิ่มเติมว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย พร้อมมีข้อเสนอแนะ ข้อสังเกต อาทิ ว่า
- ควรบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ
- ควรกำหนดคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมือง เพื่อเป็นการควบคุมผู้ดำรง
ตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐประพฤติปฏิบัติออกนอกทาง หรือใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม เป็นการป้องกันการสมรู้ร่วมคิดของนักการเมืองกับข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
- สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้ง
- ควรปรับเปลี่ยนวิธีการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาเป็นแบบการสรรหาหรือให้
คณะกรรมการสรรหาคัดผู้สมัครทั้งหมดให้ได้ ๕ เท่า ของสมาชิกวุมิสภาที่จะต้องมีอยู่ในแต่ละจังหวัดและส่งมายังประชาชนในจังหวัดนั้นลงคะแนนเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง
- ควรลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลง โดยเลือกแบบเขตเรียงเบอร์และแบบ
สัดส่วน
- ควรจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มากขึ้น และมีอิสระ
ในการบริหารการจัดการเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ
- ควรตัดมาตรา ๒๙๙ (นิรโทษกรรม) ออกทั้งมาตรา เพราะไม่มีความจำเป็น
- ควรกำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐานการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของ
นักการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น
- ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นผู้ดำเนินการประมวลจริยธรรมของนักการเมือง
- ควรกำหนดภาวะวิกฤตให้ชัดเจนว่าเป็นภาวะใดและอะไรคือวิกฤตแห่งชาติ
๔.๒ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
รับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคกลาง
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคกลาง ได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการฯ ได้ดำเนินการรวบรวมและพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติ
พร้อมทั้งจัดทำรายนามของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัด ๒๕ จังหวัด ในเขตพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร เพื่อเสนอต่อสภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาแต่งตั้ง
๒. คณะกรรมาธิการฯ มีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลการรับฟังความคิดเห็น
จากประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง รวม ๒๕ จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ที่ประชุมคณะกรรมาธิการจึงได้มีมติจำแนกเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ ออกเป็น ๕ กลุ่มจังหวัด โดยในแต่ละกลุ่มจังหวัดได้กำหนดกรรมาธิการผู้รับผิดชอบ
๓. หลังจากที่คณะกรรมาธิการยกร่าง ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญร่างที่ ๑ เสร็จแล้ว
คณะกรรมาธิการฯ ภาคกลาง ได้จัดให้มีการสัมมนาเพื่ออบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ประจำจังหวัด และวิทยากรกระบวนการของจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญร่างที่ ๑ เพื่อให้คณะกรรมาธิการประจำจังหวัดและวิทยากรกระบวนการประจำจังหวัดสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ไปเผยแพร่ต่อประชาชนได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพื่อเสนอข้อมูลกลับมายังคณะกรรมาธิการยกร่างต่อไป ซึ่งรายละเอียดในการจัดสัมมนาได้จัดแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด ๔ กลุ่ม และได้ดำเนินการจัดการสัมมนา จำนวน ๖ ครั้ง คือ
๑. กลุ่มจังหวัดที่ ๑ กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
จัดในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๐
๒. กลุ่มจังหวัดที่ ๓ สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี
สระแก้ว จัดในวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๐
๓. กลุ่มจังหวัดที่ ๔ จันทบุรี ตราด จัดในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐
๔. กลุ่มจังหวัดที่ ๒ ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา
ปทุมธานี นนทบุรี จัดในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐
๕. กลุ่มจังหวัดที่ ๔ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา
จัดในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
๖. กลุ่มจังหวัดที่ ๔ ชลบุรี ระยอง จัดในวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๐
หลังจากจัดการสัมมนาเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญร่างที่ ๑ เรียบร้อยแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ทันที รวมทั้งได้จัดทำโครงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบความเคลื่อนไหว และมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญได้สะดวกและง่ายที่สุด โดยใช้ชื่อโครงการเครือข่าย “ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ” และได้รับความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ร้านสะดวกซื้อ สถานีบริการน้ำมันทุกสาขา ในการร่วมให้บริการแบบแสดงความคิดเห็นและเป็นจุดรับแบบแสดงความคิดเห็นจากประชาชน ตลอดจนการแจกจ่ายร่างรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนด้วย ซึ่งเครือข่ายดังกล่าวนี้ได้นำส่งแบบแสดงความคิดเห็นกลับมายังคณะกรรมาธิการฯ เพื่อสรุปนำส่งให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเรียบร้อยแล้ว
จากนั้น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รายงานเพิ่มเติมว่า จากผลการรับฟังความคิดเห็นจาก ๒๕ จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ณ วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ นั้น มีประเด็นที่ประชาชน ให้ความสำคัญดังนี้
๑. ควรบรรจุพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
๒. ประชาชนไม่เห็นด้วยกับมาตรา ๖๘ วรรค ๒ องค์กรแก้วิกฤต
๓. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตละ ๓ คน นั้น ประชาชนไม่เชื่อว่าจะ
สามารถแก้ไขปัญหาการซื้อขายเสียงได้ และอาจเป็นประโยชน์แก่นักการเมืองที่มีฐานะดีกว่า
๔. สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้งหรือการสรรหา โดยให้ประชาชนเลือกหรือ
สรรหาอย่างละครึ่ง และถ้าสมาชิกวุฒิสภามาจากการสรรหาจึงไม่ควรมีอำนาจเท่าสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
๕. ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับมาตรา ๒๙๙ เรื่องการนิรโทษกรรม
๔.๓ พิจารณาความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟัง
ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พล.ต.ท.ธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเหนือ โดยรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมเป็นประจำทุกวันอังคาร และได้มี
การประชุมไปแล้วทั้งหมด ๑๒ ครั้ง
๒. คณะกรรมาธิการฯ ได้กำหนดแผนการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการคือ
- สร้างความเข้าใจในการดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้แก่คณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม
ในพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยช่องทางอื่น ๆ ได้แก่ การสนับสนุน
การดำเนินการขององค์กรที่ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การสร้างช่องทางการมี ส่วนร่วมของประชาชนโดยการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต
๓. การดำเนินงานรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน รอบที่ ๒
- คณะกรรมาธิการร่วมกับคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วม
และการประชามติ จัดสัมมนาและปฐมนิเทศผู้ดำเนินรายการ วิทยากร ผู้จดบันทึกเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วม ของประชาชนประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ จังหวัด วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในเจตนารมณ์ของการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อวางกรอบการดำเนินการของการรับฟังความคิดเห็นและวิธีการจัดเก็บข้อมูล รวมทั้งการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญ รอบที่ ๒ เรียบร้อยแล้ว และได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รอบที่สอง ทั้งสิ้น ๑๑ เวที มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งสิ้นประมาณ ๖,๗๔๐ คน
จากนั้น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้รายงานเพิ่มเติมว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับมาตรา ๖๘ วรรค ๒ แต่ไม่ควรมีนายกรัฐมนตรีเป็นองค์ประกอบ
- ควรเพิ่มองคมนตรีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบแทน
- ควรบรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ
- ไม่เห็นด้วยกับการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา
- ไม่เห็นด้วยกับเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบเขตใหญ่ ๓ คน แต่ควร
เป็นเขตเดียวเบอร์เดียว เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเล็กจะสามารถหาเสียงได้ง่ายขึ้น
- ไม่เห็นด้วยกับการให้นักการเมืองอุทธรณ์ต่อศาลกรณีที่ กกต. ให้ใบแดง-ใบเหลือง
เพราะอาจทำให้ศาลเสียชื่อเสียงและเป็นภาระ
จากนั้นนายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ รองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวว่า ความเห็นที่คณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นจากภาคต่าง ๆ ที่ได้รับฟังมา คณะกรรมาธิการยกร่างฯ พร้อมจะรับฟัง และขณะนี้ทุกประเด็นยังไม่มีข้อยุติ
๕. เรื่องอื่น ๆ ไม่มี
ปิดประชุมเวลา ๑๕.๒๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------