แบบอย่างการลงทุน: เครื่องสำอางจากธรรมชาติ และสมุนไพร

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 7, 2005 16:32 —กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ความต้องการของตลาดในปัจจุบันและอนาคต
ปัจจุบันวิวัฒนาการของเทคโนโลยีต่างๆประกอบกับการศึกษาวิจัยของมนุษย์ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้คนเพื่อความสวยงาม บุคลิกภาพและสุขภาพในนิยามของคำว่าเครื่องสำอาง
แต่ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับผู้บริโภคและการกำกับดูแลของภาครัฐมากพอ สมควรโดยอาศัยกลยุทธ์ของการเป็นเครื่องสำอาง หลีกเลี่ยงการเป็นยา ที่จะถูกควบคุมกำกับอย่างเข้มงวด มีการใช้ส่วนผสมใหม่ๆ อ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทั้งเรื่องของฉลากและโฆษณาก้าวล่วงไปในความเป็นยา ทำให้ผู้บริโภคคาดหวังในสรรพคุณที่เกินความเป็นจริง มองข้ามหลักความปลอดภัย
ผลที่ได้รับคือผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ปัญหาเหล่านี้นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นดังนั้นจึงควรหันมาใส่ใจกับผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติมากขึ้น โดยเครื่องสำอางมีหลายชนิดและสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เวชสำอาง ได้แก่เครื่องสำอางเพื่อการรักษาและบำรุง และเครื่องสำอางทั่วไปซึ่งใช้เป็นเครื่องสำอางเพื่อปรุงแต่งความงาม นอกจากนี้หากอาศัยเกณฑ์ของกระทรวง อุตสาหกรรมก็จะสามารถแบ่งเครื่องสำอางออกได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ เครื่องสำอางสำหรับผม เครื่องสำอางแอโรซอล เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า เครื่องสำอางสำหรับลำตัว เครื่องหอม และเบ็ดเตล็ด แต่หากแบ่งตามเกณฑ์ของคณะกรรมการอาหารและยาจะแบ่งได้เป็น เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุมและเครื่องสำอางทั่วไป
ดังนั้นปัจจุบันเราจึงควรหันมาสนใจกับเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรมากยิ่งขึ้นเพื่อความสวยงามและมีสุขภาพที่ดีควบคู่กันไป โดยมีสมุนไพรหลายชนิดในปัจจุบันที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และได้รับความ นิยมอย่างดีเนื่องจากผู้ใช้มั่นใจว่าปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมี ได้แก่ ว่านหางจรเข้ อัญชัน มะคำดีควาย เปลือกมังคุดเป็นต้น โดยนำมาใช้เป็นส่วนผสมของแชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่นบำรุงผิว เป็นต้น
รายละเอียดทางด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการประกอบกิจการ รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาในการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร
จำนวนผู้ผลิตและผู้นำเข้า
ปัจจุบันผู้ประกอบการภายในประเทศไทยในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร มีจำนวนทั้งสิ้น 131 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่จำนวน 4 ราย ผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 49 ราย และผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 78 ราย (ข้อมูลจากกรมโรงงาน ณ. เดือนมีนาคม 2545) และผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จำนวน 125 ราย (ข้อมูลจาก WWW.THAITAMBON.COM) ส่วนผู้นำเข้าในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรมีจำนวน 281 ราย และผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรมีจำนวน 442 ราย
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ภายในเขตความรับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จำนวนทั้งสิ้น 1 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก และผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จำนวน 9 ราย
ผู้ผลิตและผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรของไทยนั้นได้แก่ บริษัท อิมพีเรียล อินดัสเตรียล เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดปทุมธานี มีทุนจดทะเบียน 127,500,000 บาท บริษัท อินซ์เคปแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จังหวัดปทุมธานี มีทุนจดทะเบียน 119,000,000 บาท บริษัท นีโอคอสเมด จำกัด จังหวัดปทุมธานี มีทุนจดทะเบียน 75,491,000 บาท บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีทุนจดทะเบียน 75,000,000 บาท และ บริษัท แมนดอมคอร์ปอเรชั่น จำกัด จังหวัดปทุมธานี มีทุนจดทะเบียน 72,000,000 บาท ส่วนผู้นำตลาดเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่อยู่ในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 คือ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ มีทุนจดทะเบียน 174,241,000 บาท บริษัท เค.เอ็ม.อินเตอร์แล็บ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ มีทุนจดทะเบียน 137,600,000 บาท และบริษัท เอ็กซ์ตร้า ฟาร์มาซูติคอล จำกัด จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ มีทุนจดทะเบียน 53,500,000 บาท
ภาวะตลาดภายในประเทศ
กระแสอนุรักษ์ธรรมชาติที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ได้ส่งผลให้ผู้คนเริ่มที่จะหันมาเอาใจใส่กับสภาวะแวดล้อมรอบๆตัวกันมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพของตนเองมากขึ้นด้วยเช่นกัน จึงทำให้การตัดสินใจในการเลือกซื้อหาสินค้ามาใช้ของผู้คนเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม คือ นอกจากจะพิจารณาจากปัจจัยทางด้านคุณภาพและราคาสินค้าแล้ว ปัจจุบันยังพิจารณาถึงผลกระทบของ สินค้านั้นๆต่อสภาวะแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งก็ทำให้สินค้าที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สภาวะแวดล้อม (Green Marketing) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ และหนึ่งในสินค้าที่มีแนวคิดในการอนุรักษ์ที่เรากำลังจะพูดถึง ก็คือ เครื่องสำอางจากสารสกัดธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านผู้ประกอบการและจำนวนผู้บริโภค ส่งผลให้เครื่องสำอางจากสารสกัดธรรมชาติเป็นอีกส่วนหนึ่งของตลาดความงามที่น่าสนใจ
ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพมากมายหลายชนิด ตั้งแต่ ผลิตภัณฑ์อาหาร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้งจากธรรมชาติและอื่นๆ, ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพร และสมุนไพรเดี่ยว ทั้งในรูปของวัตถุดิบและ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปพร้อมรับประทาน และใช้ประโยชน์ในการบริโภค ซึ่งการใช้สมุนไพรในธุรกิจต่างๆ ทั้งในลักษณะของยา อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางสมุนไพร นวดและอบตัวด้วยสมุนไพร ไปจนถึงการรับประทานชาสมุนไพรเพื่อสุขภาพมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรเหล่านี้เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างมาก อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงมาก ผู้ประกอบการรายใหม่ๆมีโอกาสเข้าตลาดได้ และมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก ทั้งนี้จะเห็นได้จากการที่ตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศขยายตัวปีละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20-30 เนื่องจากความนิยมในการบริโภคและใช้สมุนไพรไทย และมูลค่าตลาดรวมในประเทศของผลิตภัณฑ์สมุนไพรในปี 2544 จะมีมูลค่าสูงถึงเกือบ 30,000 ล้านบาท และมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 30 มูลค่าตลาดรวมผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศเติบโตในลักษณะก้าวกระโดด(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2545) เนื่องจากความนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะ สอดรับกับกระแสนิยมผลิตภัณฑ์อิงธรรมชาติที่เป็นกระแสที่กำลังมาแรง ซึ่งนับว่าเป็นการขยายตัวที่สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงซบเซา โดยเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสินค้าต่างๆได้ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และเวชสำอางจาก สารสกัดจากธรรมชาติ
แชมพูสมุนไพร - ว่านหางจระเข้ ,ว่านประคำดีควาย, ดอกอัญชัน, มะกรูด
สบู่เหลว - สารสกัดจากว่านหางจระเข้ ,ดอกไม้รวม, สารสกัดเปลือกมังคุด
สบู่ก้อน - สารสกัดเปลือกมังคุด, สารสกัดจากว่านหางจระเข้, สารสกัดจากใบบัวบก, สารสกัดจากเนื้อมะขาม, สารสกัดจากขมิ้นชัน
1. เวชสำอางจากสมุนไพร
เวชสำอางครีมจากสมุนไพร รวม สารสกัดจากมะขาม, ใบบัวบก, ขมิ้นชัน และ สารสกัดจากสมุนไพรอื่นๆ จากต่างประเทศ สำหรับ สิว ฝ้า กระ รอยด่างดำบนใบหน้า ( ได้ผลภายใน 7-15 วัน แล้วแต่พื้นฐานของผิวหน้า )
ครีมโฟม ล้างหน้า จากสารสกัดจากสมุนไพร สำหรับกำจัด เซลล์และสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่บนผิวหนัง และ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิว
โคน พอกหน้า เพื่อฟื้นฟูสภาพผิวให้สดชื่น และ ความสดใสแก่เซลล์ผิวพรรณใหม่ๆ ให้มีสุขภาพดี
มาส์คผ้าสำลี ชุ่มด้วย สารสกัดจากสมุนไพร และ สารสกัดจาก แตงกวา และ สารสกัดจากสมุนของต่างประเทศกว่า 5 ชนิด สำหรับฟื้นฟู้สภาพผิว และ ปรับสภาพผิวพรรณให้ดูสดใสภายใน 15 นาที
ตลาดภายในประเทศในสินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่มีการนำเข้ามีมูลค่าเท่ากับ 2,534.79 และ 3,439.74 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2543และ2544 ตามลำดับ และมีการนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรจากประเทศต่างๆที่สำคัญได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส จีนและ สหราชอาณาจักรเป็นต้น การนำเข้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรจากต่างประเทศเพื่อนำมาใช้บริโภคภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีพ.ศ. 2543 และ 2544 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรเท่ากับร้อยละ 36.68 และ 35.70 ตามลำดับ ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้มีการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี และควรรณรงค์ให้คนไทยบริโภคสินค้าภายในประเทศเพื่อลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศ
ช่องทางจัดจำหน่ายเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรภายในประเทศนั้นส่วนใหญ่มีช่องทาง การจัดจำหน่ายได้ดังนี้
1. กลุ่มที่จำหน่ายโดยการตั้งเคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่และผู้ผลิตจะต้องจัดหาพนักงานขายที่มีบุคลิกดี มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจและฝึกอบรบให้มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรชนิดนั้นๆ โดยเฉพาะที่เรียกว่า B.A. (Beauty Advisor) เพื่อประจำอยู่ ณ.จุดขายและเป็นผู้คอยแนะนำและบริการลูกค้า โดยภาพรวมกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่มีราคาสูง เป็นยี่ห้อนำเข้าจากต่างประเทศและมีภาพลักษณ์ที่เป็นสากล เน้นความเชื่อถือในตัวสินค้า
2. กลุ่มที่จำหน่ายโดยการตั้งร้านของตนเองโดยเฉพาะ โดยร้านค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่มักอยู่ในห้างสรรพสินค้า กลุ่มนี้จะเป็นเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่มีราคารองลงมาจากกลุ่มแรกมีทั้งยี่ห้อต่างประเทศและของไทย
3. กลุ่มที่ลูกค้าเลือกซื้อเองตามซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นช่องทางการจำหน่ายที่เล็ก มุ่งเน้นตลาดระดับล่างเป็นหลัก สินค้ามีราคาไม่สูงนัก ผู้บริโภคสามารถเลือกเองโดยการอ่านคุณสมบัติและวิธีการใช้จาก บรรจุภัณฑ์
4. กลุ่มที่ใช้วิธีขายตรงโดยผ่านพนักงานขาย โดยเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรในกลุ่มนี้มีภาพลักษณ์ไม่สูงมากโดยมีทั้งเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรจากต่างประเทศและภายในประเทศ การจัดจำหน่ายวิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้ขายสามารถเข้าถึงลูกค้าอย่างใกล้ชิด ทำให้สามารถบริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีสินค้าของคู่แข่งมาเปรียบเทียบ
ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรของไทยต่างพยายามคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่อ้างว่ามีคุณสมบัติต่างจากเดิมนั้น จะทำให้สามารถขยายตลาดเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรให้ใหญ่ขึ้น เนื่องจากเป็นการดึงดูดลูกค้าที่ไม่สนใจให้มาบริโภคสินค้านั้นได้ หรือจะส่งเสริมการจัดกิจกรรมร่วมกันเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการขายเมื่อถึงระดับที่ตั้งไว้
ภาวะตลาดต่างประเทศ
ประเทศไทยมีมูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ไปยังทุกประเทศทั่วโลกเท่ากับ 5,876.49 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2543และเพิ่มขึ้นเป็น 9,163.44 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2544 ตามลำดับ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเท่ากับร้อยละ 5.93 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยในสินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ได้แก่
ประเทศอินโดนีเซียโดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไปประเทศอินโดนีเซียเท่ากับ 1,050.93 และ 1,872.58 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 17.88 และ 20.44 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
มาเลเซียโดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไป มาเลเซียเท่ากับ 701.53 และ 1,355.86 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 11.94 และ 14.80 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ฟิลิปปินส์ โดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไปฟิลิปปินส์เท่ากับ 830.32 และ 1,001.63 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 14.13 และ 10.93 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ฮ่องกง โดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไป ฮ่องกงเท่ากับ 325.03 และ 644.21 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5.53 และ 7.03 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
สิงคโปร์ โดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไปสิงคโปร์เท่ากับ 426.80 และ 644.21 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 7.26 และ 6.92 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ตลาดส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรในต่างประเทศมีกระแสความนิยมสมุนไพรที่ดีเช่นกัน แม้ว่ามูลค่าในการส่งออกจะยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับการส่งออกสินค้าสำคัญอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการตั้งธุรกิจการนวดแผนโบราณของไทยในหลายแห่งในต่างประเทศและได้รับความนิยมอย่างมากจากชาวต่างประเทศ ดังนั้นเครื่องสำอางจากสมุนไพร และ เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ จึงเป็นสินค้าที่สามารถนำเงินมหาศาลเข้าประเทศ และยังมีอนาคตที่สดใส
โดยกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศในเอเชีย โดยปัจจุบันตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านล้านบาท เฉพาะในตลาดสหรัฐฯมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรสูงถึง 164,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 ของมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของโลก(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2545) สำหรับในไทยตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีอัตราการขยายตัวในแต่ละปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งนับว่าสวนทางกับสินค้าประเภทอื่นๆ จากกระแสความนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรทำให้ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งในลักษณะของยา อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางจากสมุนไพร ตลอดจนเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างมาก แม้ว่าจะอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจก็ตาม อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่ตลาดยังเปิดกว้างในการลงทุน และมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
ช่องทางในการจัดจำหน่ายในตลาดต่างประเทศนั้นได้มีหลายช่องทางเช่นร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และ ญี่ปุ่น โดยสามารถจัดทำข้อมูลทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย และต้องผ่านการตรวจสอบจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และเภสัชกรรมของประเทศคู่ค้าเหล่านั้นอย่างละเอียดทุกครั้ง โดยมีการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องสำอางในต่างประเทศ ดัง รายละเอียดตามตาราง
ปัจจุบันวิวัฒนาการของเทคโนโลยีต่างๆประกอบกับการศึกษาวิจัยของมนุษย์ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้คนเพื่อความสวยงาม บุคลิกภาพและสุขภาพในนิยามของคำว่าเครื่องสำอาง
แต่ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับผู้บริโภคและการกำกับดูแลของภาครัฐมากพอ สมควรโดยอาศัยกลยุทธ์ของการเป็นเครื่องสำอาง หลีกเลี่ยงการเป็นยา ที่จะถูกควบคุมกำกับอย่างเข้มงวด มีการใช้ส่วนผสมใหม่ๆ อ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทั้งเรื่องของฉลากและโฆษณาก้าวล่วงไปในความเป็นยา ทำให้ผู้บริโภคคาดหวังในสรรพคุณที่เกินความเป็นจริง มองข้ามหลักความปลอดภัย
ผลที่ได้รับคือผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ ปัญหาเหล่านี้นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นดังนั้นจึงควรหันมาใส่ใจกับผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากธรรมชาติมากขึ้น โดยเครื่องสำอางมีหลายชนิดและสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เวชสำอาง ได้แก่เครื่องสำอางเพื่อการรักษาและบำรุง และเครื่องสำอางทั่วไปซึ่งใช้เป็นเครื่องสำอางเพื่อปรุงแต่งความงาม นอกจากนี้หากอาศัยเกณฑ์ของกระทรวง อุตสาหกรรมก็จะสามารถแบ่งเครื่องสำอางออกได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ เครื่องสำอางสำหรับผม เครื่องสำอางแอโรซอล เครื่องสำอางสำหรับใบหน้า เครื่องสำอางสำหรับลำตัว เครื่องหอม และเบ็ดเตล็ด แต่หากแบ่งตามเกณฑ์ของคณะกรรมการอาหารและยาจะแบ่งได้เป็น เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุมและเครื่องสำอางทั่วไป
ดังนั้นปัจจุบันเราจึงควรหันมาสนใจกับเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรมากยิ่งขึ้นเพื่อความสวยงามและมีสุขภาพที่ดีควบคู่กันไป โดยมีสมุนไพรหลายชนิดในปัจจุบันที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และได้รับความ นิยมอย่างดีเนื่องจากผู้ใช้มั่นใจว่าปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมี ได้แก่ ว่านหางจรเข้ อัญชัน มะคำดีควาย เปลือกมังคุดเป็นต้น โดยนำมาใช้เป็นส่วนผสมของแชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่นบำรุงผิว เป็นต้น
รายละเอียดทางด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการประกอบกิจการ รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาในการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร มีดังต่อไปนี้
ปัจจุบันผู้ประกอบการภายในประเทศไทยในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร มีจำนวนทั้งสิ้น 131 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่จำนวน 4 ราย ผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 49 ราย และผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 78 ราย (ข้อมูลจากกรมโรงงาน ณ. เดือนมีนาคม 2545) และผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จำนวน 125 ราย (ข้อมูลจาก WWW.THAITAMBON.COM) ส่วนผู้นำเข้าในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรมีจำนวน 281 ราย และผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรมีจำนวน 442 ราย
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ภายในเขตความรับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จำนวนทั้งสิ้น 1 ราย โดยเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็ก และผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จำนวน 9 ราย
ผู้ผลิตและผู้นำตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรของไทยนั้นได้แก่ บริษัท อิมพีเรียล อินดัสเตรียล เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดปทุมธานี มีทุนจดทะเบียน 127,500,000 บาท บริษัท อินซ์เคปแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จังหวัดปทุมธานี มีทุนจดทะเบียน 119,000,000 บาท บริษัท นีโอคอสเมด จำกัด จังหวัดปทุมธานี มีทุนจดทะเบียน 75,491,000 บาท บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีทุนจดทะเบียน 75,000,000 บาท และ บริษัท แมนดอมคอร์ปอเรชั่น จำกัด จังหวัดปทุมธานี มีทุนจดทะเบียน 72,000,000 บาท ส่วนผู้นำตลาดเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่อยู่ในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 คือ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ มีทุนจดทะเบียน 174,241,000 บาท บริษัท เค.เอ็ม.อินเตอร์แล็บ จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ มีทุนจดทะเบียน 137,600,000 บาท และบริษัท เอ็กซ์ตร้า ฟาร์มาซูติคอล จำกัด จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ มีทุนจดทะเบียน 53,500,000 บาท
ภาวะตลาดต่างประเทศ
ประเทศไทยมีมูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ไปยังทุกประเทศทั่วโลกเท่ากับ 5,876.49 ล้านบาทในปี พ.ศ. 2543และเพิ่มขึ้นเป็น 9,163.44 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2544 ตามลำดับ ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเท่ากับร้อยละ 5.93 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศไทยในสินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ได้แก่
ประเทศอินโดนีเซียโดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไปประเทศอินโดนีเซียเท่ากับ 1,050.93 และ 1,872.58 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 17.88 และ 20.44 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
มาเลเซียโดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไป มาเลเซียเท่ากับ 701.53 และ 1,355.86 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 11.94 และ 14.80 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ฟิลิปปินส์ โดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไปฟิลิปปินส์เท่ากับ 830.32 และ 1,001.63 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 14.13 และ 10.93 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ฮ่องกง โดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไป ฮ่องกงเท่ากับ 325.03 และ 644.21 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5.53 และ 7.03 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
สิงคโปร์ โดยมีมูลค่าส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร จากประเทศไทยไปสิงคโปร์เท่ากับ 426.80 และ 644.21 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 7.26 และ 6.92 ของมูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพร ของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ตลาดส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรในต่างประเทศมีกระแสความนิยมสมุนไพรที่ดีเช่นกัน แม้ว่ามูลค่าในการส่งออกจะยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับการส่งออกสินค้าสำคัญอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการตั้งธุรกิจการนวดแผนโบราณของไทยในหลายแห่งในต่างประเทศและได้รับความนิยมอย่างมากจากชาวต่างประเทศ ดังนั้นเครื่องสำอางจากสมุนไพร และ เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ จึงเป็นสินค้าที่สามารถนำเงินมหาศาลเข้าประเทศ และยังมีอนาคตที่สดใส
โดยกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศในเอเชีย โดยปัจจุบันตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านล้านบาท เฉพาะในตลาดสหรัฐฯมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรสูงถึง 164,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 ของมูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรของโลก(ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2545) สำหรับในไทยตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรก็มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีอัตราการขยายตัวในแต่ละปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 แม้จะอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งนับว่าสวนทางกับสินค้าประเภทอื่นๆ จากกระแสความนิยมผลิตภัณฑ์สมุนไพรทำให้ธุรกิจการค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรทั้งในลักษณะของยา อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอางจากสมุนไพร ตลอดจนเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างมาก แม้ว่าจะอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจก็ตาม อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่ตลาดยังเปิดกว้างในการลงทุน และมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
ช่องทางในการจัดจำหน่ายในตลาดต่างประเทศนั้นได้มีหลายช่องทางเช่นร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกา ยุโรป และ ญี่ปุ่น โดยสามารถจัดทำข้อมูลทั้งที่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย และต้องผ่านการตรวจสอบจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และเภสัชกรรมของประเทศคู่ค้าเหล่านั้นอย่างละเอียดทุกครั้ง โดยมีการจัดงานแสดงสินค้าเครื่องสำอางในต่างประเทศ ดัง รายละเอียดตามตาราง
แนวโน้มของตลาดในอนาคต
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรยังมีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่พึ่งพิงตลาดในประเทศเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นยาสมุนไพร เครื่องสำอางจากสมุนไพร และเครื่องดื่มจากสมุนไพร แต่ผลิตภัณฑ์ที่จะยังเติบโตต่อไปได้นั้นมีเงื่อนไขว่าราคาจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้บริโภคยอมรับได้ และผู้บริโภคมีความเชื่อถือในมาตรฐานการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ดังนั้นแนวโน้มผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีอนาคตนั้นน่าจะเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผลิตในประเทศที่มีการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานของราชการ ส่วนการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรจากต่างประเทศนั้นประเทศไทยยังคงมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรจากต่างประเทศสูง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราการขยายตัวการนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรจากต่างประเทศ เท่ากับร้อยละ 36.68 และ 35.70 ใน ปี พ.ศ.2543และ2544 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มว่าราคาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรจากการนำเข้าจะอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ผลิตในประเทศ และน่าจะมีปัญหาในเรื่องการผลักดันยอดขาย เนื่องจากผู้บริโภคยังเน้นในเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว
สำหรับแนวโน้มการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรคาดว่ายังคงมีแนวโน้มที่ดีเช่นกัน เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวการส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรในปีพ.ศ. 2543 และ2544 เท่ากับร้อยละ 32.35 และ 55.93 ตามลำดับ ซึ่งเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในอนาคตคาดว่าตลาดส่งออกของไทยจึงมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตสำหรับผู้ที่สนใจในเขตศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ที่จะทำการลงทุนในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรเพื่อรักษามูลค่าการส่งออกและให้มีการขยายตัวไปยังตลาดใหม่ๆในอนาคต สำหรับแนวโน้มตลาดต่างประเทศในสินค้าเครื่องสำอางจาก ธรรมชาติและสมุนไพรที่กำลังมีแนวโน้มที่ดีคือตลาดเอเชีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และออสเตรเลียเป็นต้น ไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เป็นแหล่งอันอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายของทรัพยากรสมุนไพร ซึ่งไทยต้องรักษาจุดแข็งในเรื่องนี้ไว้เพื่อที่จะให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยสามารถผลักดันให้อยู่ในแถวหน้าของประเทศผู้ส่งออกเครื่องสำอางจากธรรมชาติและสมุนไพรที่สำคัญของโลก
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ