กรุงเทพ--5 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดเดินทางเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานระหว่างวันที่ 4 — 6 เมษายน 2550 เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับรัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถาน และเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นความสัมพันธ์และความร่วมมือที่สำคัญของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะด้านความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย การค้าและการลงทุน
นอกจากนั้น การเยือนในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ไทยจะได้หารือกับปากีสถานซึ่งจะเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ OIC ครั้งที่ 34 ที่กรุงอิสลามาบัด ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤษภาคม 2550 ด้วย
ตามกำหนดการ นายสวนิตฯ จะเข้าพบหารือกับนาย Makhdum Khusro Bakhtyarรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 4 เมษายน 2550 และจะพบกับ Lt. Gen (R) Javed Ashrat Qazi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนาย Khurshid Mahmud Kasuri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถานในวันที่ 6 เมษายน 2550 เพื่อหารือข้อราชการระหว่างกันด้วย
ไทยและปากีสถานเป็นพันธมิตรกันมายาวนาน เพราะต่างเคยเป็นสมาชิกในองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Treaty Organization หรือ SEATO) ที่ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2497 และปากีสถานต้องการใช้ไทยเป็นประตูไปสู่ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกอื่น ๆ เพื่อขยายบทบาทของปากีสถานในภูมิภาคนี้ตามนโยบาย Look East Policy ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายของไทยที่ต้องการให้กลุ่มประเทศเอเชียมีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ปากีสถานจึงมีความร่วมมือกับไทยด้วยดีเสมอมาทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ดังจะเห็นได้จากการที่ปากีสถานมีท่าทีแข็งขันในเวที Asia Cooperation Dialogue (ACD) ที่ไทยเป็นผู้ริเริ่ม นอกจากนี้ ปากีสถานยังขอรับการสนับสนุนจากไทยในการขอเข้าเป็น Full Dialogue Partner ของอาเซียนอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและปากีสถานมีความใกล้ชิดกันมาก โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2548 ไทยได้มอบความช่วยเหลือแก่ปากีสถานภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ โดยเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในรูปของเงินและสิ่งของ (เป็นเงิน 48 ล้านบาทหรือ 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ต่อมา เมื่อวันที่ 4 — 5 มกราคม 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงขับเครื่องบินด้วยพระองค์เองเพื่อทรงนำสิ่งของบรรเทาทุกข์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อพระราชทานแก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปากีสถาน รวมมูลค่า 18 ล้านบาทด้วย
ไทยและปากีสถานมีความร่วมมือด้านความมั่นคงและข่าวกรองระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมอื่น ๆ (MOU on Counter Terrorism and Certain Other Crimes) ซึ่งได้จัดประชุมคณะทำงานสองฝ่ายครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ที่กรุงเทพฯ การประชุมดังกล่าวช่วยกระชับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานปฏิบัติของทั้งสองฝ่าย และทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความใกล้ชิดของฝ่ายทหารและฝ่ายความมั่นคงระหว่างกัน
ด้านเศรษฐกิจ ไทยและปากีสถานกำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลง FTA โดยได้มีการหารือใน Joint Study Group ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองประเทศแล้ว 4 ครั้ง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้จัดตั้งกลไก Joint Economic Commission (JEC) เพื่อติดตามความคืบหน้าด้านเศรษฐกิจ โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นประธาน ซึ่งได้ประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง การค้าสองฝ่ายได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 772 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวจากปี 2548 ร้อยละ 14
ปากีสถานได้เพิ่มสิทธิการบินแก่การบินไทยในเส้นทาง กรุงเทพฯ — อิสลามาบัด จาก 2 เที่ยว เป็น 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยเริ่มมีผลเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2550 และเส้นทางกรุงเทพฯ — การาจี และกรุงเทพฯ — ละฮอร์ ได้เพิ่มจาก 9 เที่ยวเป็น 14 เที่ยวต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ ปากีสถานมีแหล่งโบราณคดีทางพุทธศาสนาทางตอนเหนือของประเทศ (ตักศิลา) ซึ่งสามารถผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นเรื่องที่ไทยพร้อมจะสนับสนุน เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ความร่วมมือระหว่างประเทศพุทธและอิสลามด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีกำหนดเดินทางเยือนสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานระหว่างวันที่ 4 — 6 เมษายน 2550 เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับรัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถาน และเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นความสัมพันธ์และความร่วมมือที่สำคัญของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะด้านความมั่นคง การต่อต้านการก่อการร้าย การค้าและการลงทุน
นอกจากนั้น การเยือนในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ไทยจะได้หารือกับปากีสถานซึ่งจะเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ OIC ครั้งที่ 34 ที่กรุงอิสลามาบัด ระหว่างวันที่ 15 - 17 พฤษภาคม 2550 ด้วย
ตามกำหนดการ นายสวนิตฯ จะเข้าพบหารือกับนาย Makhdum Khusro Bakhtyarรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ 4 เมษายน 2550 และจะพบกับ Lt. Gen (R) Javed Ashrat Qazi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนาย Khurshid Mahmud Kasuri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศปากีสถานในวันที่ 6 เมษายน 2550 เพื่อหารือข้อราชการระหว่างกันด้วย
ไทยและปากีสถานเป็นพันธมิตรกันมายาวนาน เพราะต่างเคยเป็นสมาชิกในองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Treaty Organization หรือ SEATO) ที่ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2497 และปากีสถานต้องการใช้ไทยเป็นประตูไปสู่ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกอื่น ๆ เพื่อขยายบทบาทของปากีสถานในภูมิภาคนี้ตามนโยบาย Look East Policy ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายของไทยที่ต้องการให้กลุ่มประเทศเอเชียมีความเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ปากีสถานจึงมีความร่วมมือกับไทยด้วยดีเสมอมาทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ดังจะเห็นได้จากการที่ปากีสถานมีท่าทีแข็งขันในเวที Asia Cooperation Dialogue (ACD) ที่ไทยเป็นผู้ริเริ่ม นอกจากนี้ ปากีสถานยังขอรับการสนับสนุนจากไทยในการขอเข้าเป็น Full Dialogue Partner ของอาเซียนอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและปากีสถานมีความใกล้ชิดกันมาก โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2548 ไทยได้มอบความช่วยเหลือแก่ปากีสถานภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ โดยเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในรูปของเงินและสิ่งของ (เป็นเงิน 48 ล้านบาทหรือ 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ต่อมา เมื่อวันที่ 4 — 5 มกราคม 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงขับเครื่องบินด้วยพระองค์เองเพื่อทรงนำสิ่งของบรรเทาทุกข์พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อพระราชทานแก่ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปากีสถาน รวมมูลค่า 18 ล้านบาทด้วย
ไทยและปากีสถานมีความร่วมมือด้านความมั่นคงและข่าวกรองระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมอื่น ๆ (MOU on Counter Terrorism and Certain Other Crimes) ซึ่งได้จัดประชุมคณะทำงานสองฝ่ายครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ที่กรุงเทพฯ การประชุมดังกล่าวช่วยกระชับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานปฏิบัติของทั้งสองฝ่าย และทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ ทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความใกล้ชิดของฝ่ายทหารและฝ่ายความมั่นคงระหว่างกัน
ด้านเศรษฐกิจ ไทยและปากีสถานกำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลง FTA โดยได้มีการหารือใน Joint Study Group ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของทั้งสองประเทศแล้ว 4 ครั้ง นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้จัดตั้งกลไก Joint Economic Commission (JEC) เพื่อติดตามความคืบหน้าด้านเศรษฐกิจ โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นประธาน ซึ่งได้ประชุมไปแล้ว 2 ครั้ง การค้าสองฝ่ายได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 772 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขยายตัวจากปี 2548 ร้อยละ 14
ปากีสถานได้เพิ่มสิทธิการบินแก่การบินไทยในเส้นทาง กรุงเทพฯ — อิสลามาบัด จาก 2 เที่ยว เป็น 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยเริ่มมีผลเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2550 และเส้นทางกรุงเทพฯ — การาจี และกรุงเทพฯ — ละฮอร์ ได้เพิ่มจาก 9 เที่ยวเป็น 14 เที่ยวต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ ปากีสถานมีแหล่งโบราณคดีทางพุทธศาสนาทางตอนเหนือของประเทศ (ตักศิลา) ซึ่งสามารถผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และเป็นเรื่องที่ไทยพร้อมจะสนับสนุน เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ความร่วมมือระหว่างประเทศพุทธและอิสลามด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-