สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่ครัวเรือนเกษตร ตามนโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นการกระจายผลประโยชน์ที่เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจไปสู่คนทุกภาคส่วนของประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มากกว่าผู้มีรายได้สูง เพื่อให้มีการกระจายรายได้ดีขึ้นและทั่วถึง ส่งผลให้ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมามีการกระจายรายได้ ปรับตัวดีขึ้นทำให้สัดส่วนคนจนโดยรวมมีแนวโน้มลดลง
จากการศึกษาของสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ทำการศึกษาโดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2537 — 2547 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ ( Gini = ดัชนีวัดการกระจายรายได้ ) เป็นตัววัด พบว่าการกระจายรายได้ไปสู่ ครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ( ค่าสัมประสิทธิ์ Gini มีค่าห่างจาก 0 มาก ) แต่มีแนวโน้มความเหลื่อมล้ำของรายได้ลดลง แสดงให้เห็นได้จากค่าสัมประสิทธิ์ Gini 0.4999 ในปี 2537 เหลือ 0.4782 ในปี 2547
โดยผลของวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนในปี 2543 ซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างของรายได้มากขึ้น และมากที่สุดในรอบ 10 ปี หลังจากนั้นการกระจายรายได้เริ่มปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้สัดส่วนคนจน โดยรวมมีแนวโน้มลดลง คือจากร้อยละ 47.49ในปี 2537 เหลือร้อยละ 27.14 ใน ปี 2547 เมื่อวิเคราะห์โดยการแบ่งชั้นรายได้ของคนในภาคเกษตรออกเป็น 5 ชั้น พบว่า สัดส่วนของผู้มีรายได้ในชั้นต่ำสุด ( 0 — 20,000 บาท / ปี) มีแนวโน้มลดลง แต่ส่วนแบ่งรายได้ที่ผู้มีรายได้ในชั้นนี้ได้รับสูงขึ้น ในขณะที่ส่วนแบ่งรายได้ของผู้มีรายได้ใน ชั้นสูงสุด ( 80,001 บาท / ปีขึ้นไป ) มีแนวโน้มลดลง กล่าวคือช่องว่างระหว่างรายได้ของคนในภาคเกษตรด้วยกันลดลง แต่มีประเด็นสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้คือ อัตราส่วนรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดต่อต่ำสุดห่างกันถึง 12 เท่า นับว่ายังไม่มีความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ของสังคมภาคเกษตรด้วยกันเอง ในขณะที่ยังไม่ได้นำไปเปรียบเทียบกับผู้มีรายได้ในภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ
สาเหตุของความแตกต่างของรายได้ ในช่วงปีแรกๆ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมการผลิต และความสมบูรณ์ของทรัพยากรในพื้นที่ แต่ในช่วงปีหลัง ๆ พบว่าการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากการได้รับการศึกษามีผลต่อ การยอมรับเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ ดังนั้น นโยบายการกระจาย รายได้ที่เป็นธรรม มีผลโดยตรงต่อโอกาสในการศึกษาเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความรู้ในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงสภาพแวดล้อมอื่นๆ ด้วย อันจะส่งผลถึงการ เพิ่มขึ้นของรายได้ของเกษตรกรอย่างเป็นวงจรที่ยั่งยืน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
จากการศึกษาของสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ทำการศึกษาโดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2537 — 2547 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายรายได้ ( Gini = ดัชนีวัดการกระจายรายได้ ) เป็นตัววัด พบว่าการกระจายรายได้ไปสู่ ครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ( ค่าสัมประสิทธิ์ Gini มีค่าห่างจาก 0 มาก ) แต่มีแนวโน้มความเหลื่อมล้ำของรายได้ลดลง แสดงให้เห็นได้จากค่าสัมประสิทธิ์ Gini 0.4999 ในปี 2537 เหลือ 0.4782 ในปี 2547
โดยผลของวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนในปี 2543 ซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างของรายได้มากขึ้น และมากที่สุดในรอบ 10 ปี หลังจากนั้นการกระจายรายได้เริ่มปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้สัดส่วนคนจน โดยรวมมีแนวโน้มลดลง คือจากร้อยละ 47.49ในปี 2537 เหลือร้อยละ 27.14 ใน ปี 2547 เมื่อวิเคราะห์โดยการแบ่งชั้นรายได้ของคนในภาคเกษตรออกเป็น 5 ชั้น พบว่า สัดส่วนของผู้มีรายได้ในชั้นต่ำสุด ( 0 — 20,000 บาท / ปี) มีแนวโน้มลดลง แต่ส่วนแบ่งรายได้ที่ผู้มีรายได้ในชั้นนี้ได้รับสูงขึ้น ในขณะที่ส่วนแบ่งรายได้ของผู้มีรายได้ใน ชั้นสูงสุด ( 80,001 บาท / ปีขึ้นไป ) มีแนวโน้มลดลง กล่าวคือช่องว่างระหว่างรายได้ของคนในภาคเกษตรด้วยกันลดลง แต่มีประเด็นสำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้คือ อัตราส่วนรายได้ของกลุ่มผู้มีรายได้สูงสุดต่อต่ำสุดห่างกันถึง 12 เท่า นับว่ายังไม่มีความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ของสังคมภาคเกษตรด้วยกันเอง ในขณะที่ยังไม่ได้นำไปเปรียบเทียบกับผู้มีรายได้ในภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ
สาเหตุของความแตกต่างของรายได้ ในช่วงปีแรกๆ ขึ้นอยู่กับกิจกรรมการผลิต และความสมบูรณ์ของทรัพยากรในพื้นที่ แต่ในช่วงปีหลัง ๆ พบว่าการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากการได้รับการศึกษามีผลต่อ การยอมรับเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ ดังนั้น นโยบายการกระจาย รายได้ที่เป็นธรรม มีผลโดยตรงต่อโอกาสในการศึกษาเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความรู้ในการตัดสินใจเลือกการผลิตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงสภาพแวดล้อมอื่นๆ ด้วย อันจะส่งผลถึงการ เพิ่มขึ้นของรายได้ของเกษตรกรอย่างเป็นวงจรที่ยั่งยืน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-