กรุงเทพ--31 ก.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 นายวีระศักด์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และพล.ต.ต. มานิตย์ วงศ์สมบูรณ์ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ศกนี้ แก่ผู้แทนคณะทูตและองค์การระหว่างประเทศ ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต 46 แห่ง (ระดับเอกอัครราชทูต 7 ประเทศ) และผู้แทนองค์การรระหว่างประเทศอีกจำนวน 5 แห่งเข้าร่วม
นายวีระศักดิ์ฯ กล่าวสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ได้เคลื่อนขบวนออกจากท้องสนามหลวงไปตามถนนราชดำเนินมุ่งหน้าสู่บ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ โดยได้ทำลายทรัพย์สินของราชการ อาทิ แผงเหล็กกั้น และยานพาหนะ ตลอดจนผลักดันเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูรักษาความสงบเรียบร้อยจนต้องเปิดทางให้ขบวนเคลื่อนที่ไปตามความต้องการ
2. เมื่อไปถึงบริเวณหน้าบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ กลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้รถติดตั้งเครื่องขยายเสียงปราศรัยโจมตีเรียกร้องให้พลเอกเปรมฯ ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
3. เมื่อการชุมนุมดำเนินต่อเนื่องไปถึงช่วงดึกของคืนดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามยุติการชุมนุมและยับยั้งการใช้เครื่องกระจายเสียง เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยได้ ขณะที่ผู้ชุมนุมได้มีท่าทีที่รุนแรงมากขึ้น โดยได้ลุกฮือขว้างปาสิ่งของต่างๆ ทำลายป้อมตำรวจ และทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่
4. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ มีเพียงโล่ป้องกันตัวโดยไม่ได้ติดอาวุธ และไม่ใช้ความรุนแรงในการตอบโต้ผู้ชุมนุม เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อย ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องสลายการชุมนุมโดยใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทย
5. ไม่มีการใช้กำลังทหารในการปฏิบัติการดังกล่าว
6. เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 250 คน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 200 คน และสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินทั้งของทางราชการและประชาชนในบริเวณดังกล่าว
7. รัฐบาลไทยยึดหลักกฎหมาย หลักนิติธรรม และให้ความสำคัญต่อสิทธิของประชาชนที่จะสามารถชุมนุมโดยสันติ และมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น อย่างไรก็ดี การดำเนินการดังกล่าวต้องอยู่ในขอบเขตของกฏหมาย และไม่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ดังที่ระบุไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR)
8. ขอให้ผู้แทนคณะทูตและองค์การระหว่างประเทศพิจารณารายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวต่อรัฐบาลของตนทราบ
โอกาสนี้ พล.ต.ต. มานิตย์ฯ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลการชุมชุมที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ใช้ความรุนแรง และมิได้ติดอาวุธ โดยมีเพียงโล่ป้องกัน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยปลอดภัย และป้องกันมิให้เหตุการณ์ลุกลาม ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องตัดสินใจคลี่คลายการชุมนุมประท้วงครั้งนี้
ในช่วงคำถามคำตอบหลังการบรรยายสรุป มีการยกประเด็นเรื่องความแตกต่างของจำนวนผู้ประท้วงตั้งแต่เริ่มต้น ระหว่าง และภายหลังการประท้วง ซึ่งความแตกต่างของจำนวนดังกล่าวเกิดจากการที่มีฝนตกหนักระหว่างการเดินตามถนนราชดำเนิน และมีผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งได้แยกย้ายกลับไปเพราะสามารถทำได้สะดวกและเสรี สำหรับข้อกังวลอีกประการว่าเหตุการณ์เมื่อวันเสาร์จะมีผลกระทบต่อการลงประชามติหรือไม่ สำหรับประเด็นนี้เป้าหมายหลักไม่ได้อยู่ที่การลงประชามติ แต่มีเป้าอยู่ที่ประธานองคมนตรีมากกว่า
สำหรับข้อกังวลสองประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับบทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์และการอนุญาต ให้ประชาชนชุมนุมแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆ คำตอบที่ได้รับคือตำรวจได้บทเรียนที่จะต้องระมัดระวังให้มากขึ้นในคราวต่อไป ส่วนในประเด็นสุดท้ายเป็นสิทธิของประชาชนที่จะชุมนุมอย่างสันติ แต่สำหรับกลุ่ม นปก. นั้น ตำรวจอาจขอให้ทางกลุ่มจำกัดการชุมนุมเฉพาะบริเวณท้องสนามหลวง เนื่องจากทางผู้นำกลุ่มไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ ซึ่งนำไปสู่เหตุความไม่สงบเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 นายวีระศักด์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และพล.ต.ต. มานิตย์ วงศ์สมบูรณ์ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ได้บรรยายสรุปเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ศกนี้ แก่ผู้แทนคณะทูตและองค์การระหว่างประเทศ ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต 46 แห่ง (ระดับเอกอัครราชทูต 7 ประเทศ) และผู้แทนองค์การรระหว่างประเทศอีกจำนวน 5 แห่งเข้าร่วม
นายวีระศักดิ์ฯ กล่าวสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ได้เคลื่อนขบวนออกจากท้องสนามหลวงไปตามถนนราชดำเนินมุ่งหน้าสู่บ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ โดยได้ทำลายทรัพย์สินของราชการ อาทิ แผงเหล็กกั้น และยานพาหนะ ตลอดจนผลักดันเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูรักษาความสงบเรียบร้อยจนต้องเปิดทางให้ขบวนเคลื่อนที่ไปตามความต้องการ
2. เมื่อไปถึงบริเวณหน้าบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ กลุ่มผู้ชุมนุมได้ใช้รถติดตั้งเครื่องขยายเสียงปราศรัยโจมตีเรียกร้องให้พลเอกเปรมฯ ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
3. เมื่อการชุมนุมดำเนินต่อเนื่องไปถึงช่วงดึกของคืนดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามยุติการชุมนุมและยับยั้งการใช้เครื่องกระจายเสียง เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยได้ ขณะที่ผู้ชุมนุมได้มีท่าทีที่รุนแรงมากขึ้น โดยได้ลุกฮือขว้างปาสิ่งของต่างๆ ทำลายป้อมตำรวจ และทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่
4. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าปฏิบัติหน้าที่ มีเพียงโล่ป้องกันตัวโดยไม่ได้ติดอาวุธ และไม่ใช้ความรุนแรงในการตอบโต้ผู้ชุมนุม เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อย ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องสลายการชุมนุมโดยใช้แก๊สน้ำตาและสเปรย์พริกไทย
5. ไม่มีการใช้กำลังทหารในการปฏิบัติการดังกล่าว
6. เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 250 คน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 200 คน และสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินทั้งของทางราชการและประชาชนในบริเวณดังกล่าว
7. รัฐบาลไทยยึดหลักกฎหมาย หลักนิติธรรม และให้ความสำคัญต่อสิทธิของประชาชนที่จะสามารถชุมนุมโดยสันติ และมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น อย่างไรก็ดี การดำเนินการดังกล่าวต้องอยู่ในขอบเขตของกฏหมาย และไม่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ดังที่ระบุไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights: ICCPR)
8. ขอให้ผู้แทนคณะทูตและองค์การระหว่างประเทศพิจารณารายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวต่อรัฐบาลของตนทราบ
โอกาสนี้ พล.ต.ต. มานิตย์ฯ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลการชุมชุมที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ใช้ความรุนแรง และมิได้ติดอาวุธ โดยมีเพียงโล่ป้องกัน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยปลอดภัย และป้องกันมิให้เหตุการณ์ลุกลาม ในที่สุดเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเป็นต้องตัดสินใจคลี่คลายการชุมนุมประท้วงครั้งนี้
ในช่วงคำถามคำตอบหลังการบรรยายสรุป มีการยกประเด็นเรื่องความแตกต่างของจำนวนผู้ประท้วงตั้งแต่เริ่มต้น ระหว่าง และภายหลังการประท้วง ซึ่งความแตกต่างของจำนวนดังกล่าวเกิดจากการที่มีฝนตกหนักระหว่างการเดินตามถนนราชดำเนิน และมีผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งได้แยกย้ายกลับไปเพราะสามารถทำได้สะดวกและเสรี สำหรับข้อกังวลอีกประการว่าเหตุการณ์เมื่อวันเสาร์จะมีผลกระทบต่อการลงประชามติหรือไม่ สำหรับประเด็นนี้เป้าหมายหลักไม่ได้อยู่ที่การลงประชามติ แต่มีเป้าอยู่ที่ประธานองคมนตรีมากกว่า
สำหรับข้อกังวลสองประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับบทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์และการอนุญาต ให้ประชาชนชุมนุมแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆ คำตอบที่ได้รับคือตำรวจได้บทเรียนที่จะต้องระมัดระวังให้มากขึ้นในคราวต่อไป ส่วนในประเด็นสุดท้ายเป็นสิทธิของประชาชนที่จะชุมนุมอย่างสันติ แต่สำหรับกลุ่ม นปก. นั้น ตำรวจอาจขอให้ทางกลุ่มจำกัดการชุมนุมเฉพาะบริเวณท้องสนามหลวง เนื่องจากทางผู้นำกลุ่มไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ ซึ่งนำไปสู่เหตุความไม่สงบเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-