จะเป็นเพียงข่าวลือหรือข่าวปล่อยหรือจะเป็นข่าวจริงที่บังเอิญหลุดออกมา แต่ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ก็มีการพูดถึงการปรับคณะรัฐมนตรีกันค่อนข้างหนาหู และผมเองก็พลอยพูดไปกับเขาด้วย ซึ่งก็คือ การเสนอความเห็นให้ปรับครม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งกำลังเป็นปัญหาและก็น่าฟันธงได้ว่า จะเป็นปัญหามากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้ การเพิ่มความพร้อมเพื่อการนี้ทางหนึ่งที่ควรทำและทำได้ก็คือการจัดให้มีรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงเพื่อกำกับดูแลงานทางด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย พร้อม ๆ กับการเพิ่มตำแหน่งรัฐมนตรีในกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงอีกด้วยเพื่อให้เป็นทีมใหญ่ ที่พร้อมจะรับมือกับงานใหญ่ที่จะใหญ่มากขึ้นอีกนั่นเอง
โดยปกติการที่มีการพูดถึงการปรับคณะรัฐมนตรีหรือการปรับครม.มากขึ้นเรื่อย ๆ นั้นมีที่มาได้หลายทางด้วยกันเช่น อาจจะเป็นเรื่องจริงที่ผู้มีอำนาจกำลังคิดที่จะทำหรืออาจเป็นข่าวปล่อยเพื่อทำลายความเชื่อมั่น หรืออาจมีการเลื่อยขาเก้าอี้บางตำแหน่งกันเอง
แต่เหตุสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งพอที่จะถือเป็นกฎทางการเมืองได้เลยทีเดียวก็คือว่า เมื่อใดก็ตามที่การบริหารหรือการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองของคณะรัฐมนตรีซึ่งบางทีก็เป็นเพียงรายบุคคลไม่อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจในความรู้สึกของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อนั้นก็จะมีเสียงเรียกร้องให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี พูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อความเชื่อมั่นลดลงเมื่อใด ความเรียกร้องต้องการให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี หรือครม. จะเกิดขึ้นเมื่อนั้น ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาในทางการเมืองเพราะปรับแล้วก็จะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้นมาใหม่ บางทีจึงเรียกการปรับคณะรัฐมนตรีว่า เป็นการต่ออายุรัฐบาล
ขณะนี้ต้องยอมรับว่า ความเชื่อมั่นที่มีต่อ ครม. และคมช. ลดลง ซึ่งโพลล์จากบางสำนักก็ได้สะท้อนตัวเลขออกมาให้เห็นแล้ว เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้โดยเฉพาะภายหลังจากที่มีเหตุร้ายของการลอบวางระเบิดเกิดขึ้นในช่วงส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่
ผมเคยกล่าวเอาไว้ในรายการเดียวกันนี้ว่าภารกิจอย่างหนึ่งของคนที่เป็นนักการเมืองมานาน ๆ ก็คือมักจะได้รับการปรับทุกข์จากประชาชนในปัญหาบ้านเมืองอยู่เสมอ ซึ่งเมื่อรับฟังแล้วนำมาคิด วิเคราะห์ ก็พอที่จะประมวลได้ว่า เหตุที่ความเชื่อมั่นที่มีต่อ ครม. และคมช. ลดลงไปก็เพราะว่า
1. ประชาชนตั้งความหวังต่อรัฐบาลและคมช. ไว้สูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่เข้าใจปัญหาก่อนการยึดอำนาจเชื่อในเหตุผลของการยึดอำนาจที่แถลงและคาดหมายว่า จะได้เห็นการชำระสะสางความเลวร้ายในเร็ววัน เมื่อยังไม่เห็นผล รู้สึกไม่ทันใจ ไม่สมหวัง
2. ประชาชนคาดหมายว่ารัฐบาลและคมช. ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมจะต้องมีความแน่วแน่ เข้มแข็ง และเด็ดขาด และสามารถแก้ปัญหาได้ เมื่อเผชิญปัญหาท้าทายเช่นการก่อกวน หรือก่อปัญหาท้าทายจากกลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์ทางการเมือง ก็ปรากฎว่าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ก็รู้สึกผิดหวัง
3. รัฐบาลและคมช. ยังไม่สามารถที่จะควบคุม บังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐได้จริง ทั้งยังไม่มีมาตรการที่จะจัดการกับพวกนอกแถวหรือพวกใส่เกียร์ว่างให้เห็นเป็นตัวอย่างได้
4. รัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ค่อยตรงจุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาที่ไม่มีความรอบคอบ รัดกุมพอ และก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบตามมาเป็นอันมาก รวมทั้งที่รัฐบาลและคมช. ยังไม่สามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า สามารถป้องกันและควบคุมปัญหาความมั่นคงปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ซึ่งเกิดขึ้นบ่อย และมีแนวโน้มที่จะเกิดมากยิ่งขึ้นไปอีก
เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ตั้งความหวังต่อรัฐบาล และคมช. ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งผมคิดว่าทั้งนายกรัฐมนตรี และประธานคมช. ก็ทราบดีจึงเป็นที่มาของคำพูดว่า “เขาว่าผม หน่อมแน้มมากไป” รวมทั้ง “ขอเวลาอีก 4 เดือน ทุกอย่างจะดีขึ้น” และดูจะเริ่มทันเกมขึ้นมาบ้างแล้ว นี่ยังไม่นับรวมไปถึงความพยายามที่จะทำลายความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือของนายกรัฐมนตรีและประธานคมช. โดยกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจอีกต่างหาก ซึ่งนับวันจะมีเพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้นถ้ามีการปรับคณะรัฐมนตรีเสียในช่วงนี้ก็เป็นเรื่องที่ควรทำเพราะจะเป็นทั้งการสร้างความพร้อมเพื่อการแก้ไขปัญหาที่กำลังจะดาหน้าเข้ามาให้รัฐบาลแก้ไขและเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและคมช. อีกด้วย โดยทั้งรัฐบาลและคมช. ควรจะได้เข้าใจว่า
1. รัฐบาลและคมช. ยังคงมีเวลาสำหรับการทำหน้าที่อีกไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น ตามคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับประชาชนซึ่งจะขยายออกไปอีกก็คงจะมีปัญหาแน่ ในขณะที่ภารกิจอันเป็นที่มาของการยึดอำนาจและที่กลายมาเป็นคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ยังไม่บรรลุผลสักเท่าใดรวม ทั้งยังมีปัญหาของประเทศที่มีเพิ่มขึ้นมาอีกเป็นอันมากการมีทีมงานใหญ่ที่มีความพร้อมมาช่วยกันภายใต้กรอบเวลาที่จำกัด จึงมีความจำเป็น
2. ปัญหาที่มีเพิ่มขึ้นมาที่เผชิญหน้าอยู่ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาความมั่นคงปลอดภัย เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องอาศัยทีมงานใหญ่ที่มีความเหมาะสมได้รับความเชื่อถือและมีความเป็นเอกภาพในการทำงานซึ่งเป็นทีมงานที่สำคัญและจำเป็นต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่
3. แม้คมช. จะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยก็จริงอยู่ แต่บทบาทและอำนาจหน้าที่ในระดับสูงสุดยังคงต้องอยู่ที่รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นองค์อธิปัตย์ที่แท้จริง ทั้งการบริหารจัดการปัญหาความมั่นคง ปลอดภัย และความสงบเรียบร้อย ต้องมีส่วนสัมพันธ์กับการบริหารจัดการงานการเมืองอย่างใกล้ชิด เพราะกระทบถึงกันการมีรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง พร้อมทีมงานรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงที่เข้มแข็ง และมีความเข้าใจงานการเมืองดี ทำหน้าที่ควบคู่กันไปและประสานกันอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่อย่างแน่นอนในช่วงต้นปีจนถึงกลางปีนี้ให้เป็นไปโดยรัดกุม และได้ผลดียิ่งขึ้น
4. งานการปฏิรูปการเมือง อันเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด ซึ่งต้องเข้าใจว่าความสำเร็จของการปฏิรูปการเมือง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ภายในเวลาเท่านั้น เท่านี้ ด้วยการแก้ไขจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แล้วถือว่าเสร็จกันเพราะตราบใดที่รัฐยังไม่อาจสร้างความเข้าใจทางการเมืองที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้โดยเฉพาะที่ยังคงสับสนและหลงไหลได้ปลื้มกับการโฆษณาชวนเชื่อในยุคที่ผ่านมาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ดีขึ้นแล้ว ก็ต้องถือว่ายังล้มเหลว งานนี้ก็เป็นงานที่ต้องอาศัยทีมใหญ่เช่นเดียวกัน ซึ่งควรจะได้ทำควบคู่กันไปกับการสร้างความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
การปรับครม. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างทีมใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ จึงเป็นเรื่องจำเป็นต้องทำและมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะต้องรีบทำเสียตั้งแต่ช่วงนี้เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจจะกลายเป็นว่า เมื่อหมดเวลาแล้วจะมานั่งเสียใจว่า นั่นก็ยังไม่ได้ทำ นี่ก็ยังไม่ได้ทำ ซึ่งนอกจากจะเป็นปัญหาสำหรับตนเองเพราะว่าอาจถูกศัตรูทางการเมือง เหยียบย่ำซ้ำเติมเอาก็ได้แล้วยังเป็นการทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเวลาและโอกาสไปเปล่า ๆ อย่างน่าเสียดายยิ่ง
**************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ม.ค. 2550--จบ--
โดยปกติการที่มีการพูดถึงการปรับคณะรัฐมนตรีหรือการปรับครม.มากขึ้นเรื่อย ๆ นั้นมีที่มาได้หลายทางด้วยกันเช่น อาจจะเป็นเรื่องจริงที่ผู้มีอำนาจกำลังคิดที่จะทำหรืออาจเป็นข่าวปล่อยเพื่อทำลายความเชื่อมั่น หรืออาจมีการเลื่อยขาเก้าอี้บางตำแหน่งกันเอง
แต่เหตุสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งพอที่จะถือเป็นกฎทางการเมืองได้เลยทีเดียวก็คือว่า เมื่อใดก็ตามที่การบริหารหรือการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองของคณะรัฐมนตรีซึ่งบางทีก็เป็นเพียงรายบุคคลไม่อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจในความรู้สึกของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป เมื่อนั้นก็จะมีเสียงเรียกร้องให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี พูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อความเชื่อมั่นลดลงเมื่อใด ความเรียกร้องต้องการให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี หรือครม. จะเกิดขึ้นเมื่อนั้น ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาในทางการเมืองเพราะปรับแล้วก็จะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้นมาใหม่ บางทีจึงเรียกการปรับคณะรัฐมนตรีว่า เป็นการต่ออายุรัฐบาล
ขณะนี้ต้องยอมรับว่า ความเชื่อมั่นที่มีต่อ ครม. และคมช. ลดลง ซึ่งโพลล์จากบางสำนักก็ได้สะท้อนตัวเลขออกมาให้เห็นแล้ว เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้โดยเฉพาะภายหลังจากที่มีเหตุร้ายของการลอบวางระเบิดเกิดขึ้นในช่วงส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่
ผมเคยกล่าวเอาไว้ในรายการเดียวกันนี้ว่าภารกิจอย่างหนึ่งของคนที่เป็นนักการเมืองมานาน ๆ ก็คือมักจะได้รับการปรับทุกข์จากประชาชนในปัญหาบ้านเมืองอยู่เสมอ ซึ่งเมื่อรับฟังแล้วนำมาคิด วิเคราะห์ ก็พอที่จะประมวลได้ว่า เหตุที่ความเชื่อมั่นที่มีต่อ ครม. และคมช. ลดลงไปก็เพราะว่า
1. ประชาชนตั้งความหวังต่อรัฐบาลและคมช. ไว้สูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มที่เข้าใจปัญหาก่อนการยึดอำนาจเชื่อในเหตุผลของการยึดอำนาจที่แถลงและคาดหมายว่า จะได้เห็นการชำระสะสางความเลวร้ายในเร็ววัน เมื่อยังไม่เห็นผล รู้สึกไม่ทันใจ ไม่สมหวัง
2. ประชาชนคาดหมายว่ารัฐบาลและคมช. ในภาวะการณ์เช่นนี้ย่อมจะต้องมีความแน่วแน่ เข้มแข็ง และเด็ดขาด และสามารถแก้ปัญหาได้ เมื่อเผชิญปัญหาท้าทายเช่นการก่อกวน หรือก่อปัญหาท้าทายจากกลุ่มผู้สูญเสียประโยชน์ทางการเมือง ก็ปรากฎว่าไม่เป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ก็รู้สึกผิดหวัง
3. รัฐบาลและคมช. ยังไม่สามารถที่จะควบคุม บังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐได้จริง ทั้งยังไม่มีมาตรการที่จะจัดการกับพวกนอกแถวหรือพวกใส่เกียร์ว่างให้เห็นเป็นตัวอย่างได้
4. รัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ค่อยตรงจุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ปัญหาที่ไม่มีความรอบคอบ รัดกุมพอ และก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา เช่นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบตามมาเป็นอันมาก รวมทั้งที่รัฐบาลและคมช. ยังไม่สามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นได้ว่า สามารถป้องกันและควบคุมปัญหาความมั่นคงปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ซึ่งเกิดขึ้นบ่อย และมีแนวโน้มที่จะเกิดมากยิ่งขึ้นไปอีก
เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ตั้งความหวังต่อรัฐบาล และคมช. ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งผมคิดว่าทั้งนายกรัฐมนตรี และประธานคมช. ก็ทราบดีจึงเป็นที่มาของคำพูดว่า “เขาว่าผม หน่อมแน้มมากไป” รวมทั้ง “ขอเวลาอีก 4 เดือน ทุกอย่างจะดีขึ้น” และดูจะเริ่มทันเกมขึ้นมาบ้างแล้ว นี่ยังไม่นับรวมไปถึงความพยายามที่จะทำลายความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือของนายกรัฐมนตรีและประธานคมช. โดยกลุ่มผู้สูญเสียอำนาจอีกต่างหาก ซึ่งนับวันจะมีเพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้นถ้ามีการปรับคณะรัฐมนตรีเสียในช่วงนี้ก็เป็นเรื่องที่ควรทำเพราะจะเป็นทั้งการสร้างความพร้อมเพื่อการแก้ไขปัญหาที่กำลังจะดาหน้าเข้ามาให้รัฐบาลแก้ไขและเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและคมช. อีกด้วย โดยทั้งรัฐบาลและคมช. ควรจะได้เข้าใจว่า
1. รัฐบาลและคมช. ยังคงมีเวลาสำหรับการทำหน้าที่อีกไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น ตามคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้กับประชาชนซึ่งจะขยายออกไปอีกก็คงจะมีปัญหาแน่ ในขณะที่ภารกิจอันเป็นที่มาของการยึดอำนาจและที่กลายมาเป็นคำปรารภของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ยังไม่บรรลุผลสักเท่าใดรวม ทั้งยังมีปัญหาของประเทศที่มีเพิ่มขึ้นมาอีกเป็นอันมากการมีทีมงานใหญ่ที่มีความพร้อมมาช่วยกันภายใต้กรอบเวลาที่จำกัด จึงมีความจำเป็น
2. ปัญหาที่มีเพิ่มขึ้นมาที่เผชิญหน้าอยู่ ทั้งปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาความมั่นคงปลอดภัย เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องอาศัยทีมงานใหญ่ที่มีความเหมาะสมได้รับความเชื่อถือและมีความเป็นเอกภาพในการทำงานซึ่งเป็นทีมงานที่สำคัญและจำเป็นต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่
3. แม้คมช. จะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาความมั่นคงปลอดภัย และความสงบเรียบร้อยก็จริงอยู่ แต่บทบาทและอำนาจหน้าที่ในระดับสูงสุดยังคงต้องอยู่ที่รัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นองค์อธิปัตย์ที่แท้จริง ทั้งการบริหารจัดการปัญหาความมั่นคง ปลอดภัย และความสงบเรียบร้อย ต้องมีส่วนสัมพันธ์กับการบริหารจัดการงานการเมืองอย่างใกล้ชิด เพราะกระทบถึงกันการมีรองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง พร้อมทีมงานรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงที่เข้มแข็ง และมีความเข้าใจงานการเมืองดี ทำหน้าที่ควบคู่กันไปและประสานกันอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่อย่างแน่นอนในช่วงต้นปีจนถึงกลางปีนี้ให้เป็นไปโดยรัดกุม และได้ผลดียิ่งขึ้น
4. งานการปฏิรูปการเมือง อันเป็นปัญหาใหญ่ที่สุด ซึ่งต้องเข้าใจว่าความสำเร็จของการปฏิรูปการเมือง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญใหม่ภายในเวลาเท่านั้น เท่านี้ ด้วยการแก้ไขจุดบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 แล้วถือว่าเสร็จกันเพราะตราบใดที่รัฐยังไม่อาจสร้างความเข้าใจทางการเมืองที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้โดยเฉพาะที่ยังคงสับสนและหลงไหลได้ปลื้มกับการโฆษณาชวนเชื่อในยุคที่ผ่านมาให้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ดีขึ้นแล้ว ก็ต้องถือว่ายังล้มเหลว งานนี้ก็เป็นงานที่ต้องอาศัยทีมใหญ่เช่นเดียวกัน ซึ่งควรจะได้ทำควบคู่กันไปกับการสร้างความเข้าใจในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
การปรับครม. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสร้างทีมใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ จึงเป็นเรื่องจำเป็นต้องทำและมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะต้องรีบทำเสียตั้งแต่ช่วงนี้เพราะมิฉะนั้นแล้วอาจจะกลายเป็นว่า เมื่อหมดเวลาแล้วจะมานั่งเสียใจว่า นั่นก็ยังไม่ได้ทำ นี่ก็ยังไม่ได้ทำ ซึ่งนอกจากจะเป็นปัญหาสำหรับตนเองเพราะว่าอาจถูกศัตรูทางการเมือง เหยียบย่ำซ้ำเติมเอาก็ได้แล้วยังเป็นการทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียเวลาและโอกาสไปเปล่า ๆ อย่างน่าเสียดายยิ่ง
**************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 12 ม.ค. 2550--จบ--