แท็ก
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์
ภาวะเศรษฐกิจ
โรงแรมคอนราด
อุตสาหกรรม
เหล็ก
1. สถานการณ์ปัจจุบัน
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีประมาณ 2,217,226 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 12.68 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ เช่น ความไม่ชัดเจนทางการเมือง ราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น การแข็งตัวของค่าเงินบาท รวมถึงผลกระทบจากการที่เหล็กราคาถูกของประเทศจีนเข้ามาตีตลาดในช่วงนี้ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 25.56 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 17.64 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 16.26 เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัว ผู้ผลิตจึงผลิตเฉพาะเท่าที่มีคำสั่งซื้อเท่านั้น ขณะที่สถานการณ์ราคาเหล็กได้ปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าที่จะสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อเก็บไว้เป็นสต๊อกในปริมาณมาก สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.72 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.75 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการส่งออก เนื่องจากตลาดในประเทศชะลอตัว ผู้ผลิตจึงมุ่งเน้นตลาดส่งออก เช่น ประเทศเวียดนาม ตะวันออกกลาง ซึ่งยังมีความต้องการใช้เหล็กอยู่ รายละเอียดตามตารางที่ 1
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในครึ่งปีแรก ปี 2550 มีประมาณ 4,203,968เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 8.58 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 11.08 เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 11.05 เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.95 และเหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.52 รายละเอียดตามตารางที่ 2
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ประมาณ 3,173,470 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศลดลง ร้อยละ 5.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลงจากผลกระทบทั้งทางด้านภาวะเศรษฐกิจและฤดูกาล โดยเหล็กทรงแบนมีความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 9.10 ขณะที่เหล็กทรงยาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีความต้องการใช้ในประเทศลดลงเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.77
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในครึ่งปีแรกปี 2550 ประมาณ 6,013,713 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 3.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศ ลดลง ร้อยละ 4.90 เหล็กทรงแบนมีความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 2.66
การนำเข้า-การส่งออก
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีจำนวนประมาณ 66,409 ล้านบาท และ 2,921,377 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าขยายตัวขึ้น ร้อยละ 10.32 และ 4.02 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านมูลค่าจะมากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 127.61 รองลงมาคือ ท่อเหล็กมีตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 88.20 และเหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 77.22
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ มีมูลค่า 9,477 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 8,275 ล้านบาท และเหล็กแท่งแบน มีมูลค่า 7,425 ล้านบาท สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแท่งแบน ลดลง ร้อยละ 34.11 เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 11.96 และเหล็กเส้น ลดลง ร้อยละ 11.63 รายละเอียดตามตารางที่ 3
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในครึ่งปีแรก ปี 2550 มีจำนวนประมาณ 124,960 ล้านบาท และ 5,527,596 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าขยายตัวขึ้น ร้อยละ 8.96 และ 7.37 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ท่อเหล็กมีตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 130.55 เหล็กแผ่นเคลือบไมได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 71.96 และ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.69
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 16,447 ล้านบาท เหล็กแท่งแบน มีมูลค่า 15,097 ล้านบาท และ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 12,762 ล้านบาท สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ลดลง ร้อยละ 27.62 เหล็กแท่งแบน ลดลง ร้อยละ 9.60 และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 8.16
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีจำนวนประมาณ 17,340 ล้านบาท และ 606,620 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกขยายตัวขึ้น ร้อยละ 70.70 และ 45.28 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวขึ้นในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 910.30 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 609.27 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 195.38 ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน มีมูลค่า 3,172 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิมและเหล็กแผ่นบางรีดร้อน โดยมีมูลค่า 2,938 และ 2,761 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ลดลง ผู้ผลิตไทยจึงต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดโดยการขยายฐานการตลาดโดยส่งออกไปยังประเทศที่ยังมีความต้องการใช้อยู่ รายละเอียดตามตารางที่ 5
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในครึ่งปีแรก ปี 2550 มีจำนวนประมาณ 35,311 ล้านบาท และ 1,222,603 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกขยายตัวขึ้น ร้อยละ 81.84 และ 63.14 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวขึ้นในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 798.06 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 209.13 และเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 159.54 ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดเย็นไร้สนิม มีมูลค่า 6,369 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็นและเหล็กแผ่นหนารีดร้อน โดยมีมูลค่า 4,196 และ 3,895 ล้านบาท ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางที่ 6
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีการผลิตลดลง ร้อยละ 12.68 ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 5.81 ขณะที่มูลค่าและปริมาณการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.32 และ 4.02 มูลค่าและปริมาณการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.70 และ 45.28 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ ได้แก่ ความไม่ชัดเจนทางการเมือง ราคาน้ำมันในประเทศ ค่าเงินบาท เป็นต้น รวมถึงการที่เหล็กราคาถูกจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาดในช่วงนี้ จึงมีผลทำให้ผู้ผลิตต้องปรับกลยุทธ์โดยการขยายการส่งออกให้มากขึ้น
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในครึ่งปีแรก ปี 2550 ทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตลดลง ร้อยละ 8.58 ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 3.56 มูลค่าและปริมาณการนำเข้าขยายตัวขึ้น ร้อยละ 8.96 และ 7.37 ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าและปริมาณการส่งออกขยายตัวขึ้น ร้อยละ 81.84 และ 63.14 ตามลำดับ
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่เพิ่มขึ้นโดยราคาเหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 428 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 570 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.36 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 386 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 512 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.82 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 402 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 527 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.94 เศษเหล็ก(จาก EU ) เพิ่มขึ้นจาก 253 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 308 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.78 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 559 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 556 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.20 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 595 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 625 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.14 เป็นผลมาจากการที่ประเทศจีนมีนโยบายควบคุมการส่งออกสินค้าเหล็กโดยมีการเก็บภาษีส่งออก ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีอัตราภาษีที่ไม่เท่ากัน เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ( เช่น เหล็กแท่งยาว เหล็กแท่งแบน ) ปัจจุบันภาษีที่เก็บอยู่ที่ ร้อยละ 15 (ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 ) จึงมีผลทำให้ราคาเหล็กในตลาดปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากความต้องการใช้ที่ขยายตัวขึ้นจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกาและยุโรป
ขณะที่สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ในครึ่งปีแรกของ ปี 2550 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีราคาปรับตัวสูงขึ้นทุกตัว โดยราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 356 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 496 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.21 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 357 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 485 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.63 เหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 404 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 541 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.09 เศษเหล็ก(จาก EU ) เพิ่มขึ้นจาก 236 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 304 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.05 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 464 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 545 หรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.33 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 546 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 616 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.84
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติโครงการกิจการผลิตเหล็ก ในนามบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มูลค่าเงินลงทุน 3,900 ล้านบาท โดยเป็นการขยายกำลังการผลิตเหล็กขั้นต้น (น้ำเหล็ก กำลังการผลิต 500,000 ตันต่อปี เหล็กถลุง 150,000 ตันต่อปี) และการผลิตเหล็กขั้นกลาง (Steel Billet กำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี) โดยโรงงานตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จ.ชลบุรี โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการผลิตเหล็กดิบ (crude steel) ของโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีจำนวน 651.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ประเทศจีนมีปริมาณการผลิตที่ 237 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับประเทศในแถบยุโรป มีปริมาณการผลิต 108 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.7 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประเทศเยอรมนี อิตาลี สเปน สหราชอาณาจักร และโปแลนด์ แต่ในบางประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ ปริมาณการผลิตกลับลดลง เช่นเดียวกับประเทศในแถบอเมริกาเหนือที่มีการผลิตที่ลดลงด้วย คือ มีปริมาณการผลิต 65.8 ล้านต้น ลดลงร้อยละ 2.3 ขณะที่ในอเมริกาใต้การผลิตกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8
ในช่วงเดือน ม.ค. — พ.ค. 2550 ประเทศจีนมีปริมาณการส่งออกเหล็กทรงยาวถึง 10.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 154 ขณะที่ ปริมาณการส่งออกเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 105 โดยประเทศจีนส่งออกเหล็กข้ออ้อยและลวดเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53 ขณะที่สแตนเลสและ HRC อัลลอยพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 1100 เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น หากพิจารณาด้านมูลค่าแล้ว พบว่าจีนสามารถเพิ่มรายได้จากการส่งออกระหว่างเดือนม.ค.-พ.ค.ได้ถึง 19 พันล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 160 อย่างไรก็ตามการส่งออกหลักของจีนส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามูลค่าสูง โดยส่งออกไปยังตลาดเอเชียมากที่สุดถึงร้อยละ 55.6 รองลงมาคือ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ร้อยละ 15.1 และ ตลาดแถบตะวันออกกลาง ร้อยละ 13.2 ตามลำดับ
กระทรวงพาณิชย์ของประเทศจีนประกาศขึ้นภาษีส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปอีกร้อยละ 5-10และมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 1 มิ.ย. 2550 โดยก่อนหน้านี้จีนได้ออกมาตรการยกเลิกการคืนภาษีและการกำหนดใบอนุญาตส่งออกสำหรับสินค้าทั้ง 83 ชนิดแล้ว นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังขึ้นภาษีส่งออกสินค้าประเภทอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ถ่านโค้ก และ pig iron เป็น ร้อยละ 15 ซึ่งการขึ้นภาษีส่งออกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลจีนมีความพยายามและตั้งใจที่จะควบคุมการส่งออก ทั้งนี้เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ และหลังจากที่มีการเพิ่มภาษีส่งออก ทำให้ราคาส่งออกสูงขึ้น
บริษัท Nippon Steel Corp. ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของญี่ปุ่นและบริษัท Arcelor Mittal ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ลงนามใน MOU ร่วมกัน เพื่อขยายความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างกัน พร้อมมีแผนขยายการดำเนินงานของธุรกิจเหล็กแผ่นคุณภาพสูงที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในอเมริกาเหนือ โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวทาง บริษัท Arcelor Mittal จะสนับสนุนเทคโนโลยีให้แก่ บริษัท Nippon Steel Corp. ซึ่งมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าที่เป็นค่ายรถยนต์ยุโรปซึ่งมีฐานการผลิตในแถบเอเซีย ในขณะที่ บริษัท Nippon Steel Corp. จะให้การสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีการผลิตเหล็กคุณภาพสูง ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่มีโรงงานผลิตในแถบยุโรป ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จากญี่ปุ่นมองว่าแม้ทั้ง 2 บริษัทจะลงนามความร่วมมือระหว่างกัน แต่โดยรวมในธุรกิจเหล็กก็ยังคงแข่งขันกันต่อไป แต่ว่าจะไม่มีฝ่ายใดที่จะเสนอ take over เนื่องจากลักษณะของการดำเนินธุรกิจเหล็กของทั้ง 2 บริษัท มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ บริษัท Arcelor Mittal จะให้ความสำคัญในการขยายธุรกิจต่างประเทศ แต่ บริษัท Nippon Steel Corp. จะให้ความสำคัญกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเหล็กในประเทศ
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะทรงตัว โดยในส่วนของความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะทรงตัวเนื่องจากภาคก่อสร้างโดยโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เริ่มดำเนินการในช่วงไตรมาสนี้ ขณะที่โครงการภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจากความต้องการใช้ในประเทศที่ทรงตัว ทำให้ที่ผ่านมาผู้ผลิตต้องขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง เพิ่มมากขึ้น แต่จากการที่ในช่วงนี้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญของไทยชะลอตัว จากการแตกของฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับการลงทุนที่หดตัวลง นอกจากนี้ความต้องการใช้เหล็กในยุโรปเริ่มชะลอตัว จึงอาจเป็นปัจจัยลบที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียตลาดส่งออกหลักที่สำคัญ 2 ตลาด แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกจากความต้องการใช้จากตลาดในเอเชียและตะวันออกกลางยังคงมีอยู่ ซึ่งผู้ผลิตจะต้องศึกษาลู่ทางการส่งออกเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกไปยังประเทศที่ยังคงมีความต้องการใช้อยู่และทดแทนตลาดที่เสียไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิต
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีประมาณ 2,217,226 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 12.68 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ เช่น ความไม่ชัดเจนทางการเมือง ราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น การแข็งตัวของค่าเงินบาท รวมถึงผลกระทบจากการที่เหล็กราคาถูกของประเทศจีนเข้ามาตีตลาดในช่วงนี้ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 25.56 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 17.64 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 16.26 เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัว ผู้ผลิตจึงผลิตเฉพาะเท่าที่มีคำสั่งซื้อเท่านั้น ขณะที่สถานการณ์ราคาเหล็กได้ปรับตัวสูงขึ้น จึงทำให้ผู้ผลิตไม่กล้าที่จะสั่งซื้อวัตถุดิบเพื่อเก็บไว้เป็นสต๊อกในปริมาณมาก สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.72 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.75 โดยการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการส่งออก เนื่องจากตลาดในประเทศชะลอตัว ผู้ผลิตจึงมุ่งเน้นตลาดส่งออก เช่น ประเทศเวียดนาม ตะวันออกกลาง ซึ่งยังมีความต้องการใช้เหล็กอยู่ รายละเอียดตามตารางที่ 1
ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในครึ่งปีแรก ปี 2550 มีประมาณ 4,203,968เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ชะลอตัวลง ร้อยละ 8.58 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 11.08 เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 11.05 เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.95 และเหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.52 รายละเอียดตามตารางที่ 2
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ประมาณ 3,173,470 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศลดลง ร้อยละ 5.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศที่ชะลอตัวลงจากผลกระทบทั้งทางด้านภาวะเศรษฐกิจและฤดูกาล โดยเหล็กทรงแบนมีความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 9.10 ขณะที่เหล็กทรงยาวที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีความต้องการใช้ในประเทศลดลงเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.77
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญในครึ่งปีแรกปี 2550 ประมาณ 6,013,713 เมตริกตัน โดยการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 3.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเหล็กทรงยาวมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศ ลดลง ร้อยละ 4.90 เหล็กทรงแบนมีความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 2.66
การนำเข้า-การส่งออก
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีจำนวนประมาณ 66,409 ล้านบาท และ 2,921,377 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าขยายตัวขึ้น ร้อยละ 10.32 และ 4.02 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านมูลค่าจะมากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 127.61 รองลงมาคือ ท่อเหล็กมีตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 88.20 และเหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 77.22
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ มีมูลค่า 9,477 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 8,275 ล้านบาท และเหล็กแท่งแบน มีมูลค่า 7,425 ล้านบาท สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแท่งแบน ลดลง ร้อยละ 34.11 เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 11.96 และเหล็กเส้น ลดลง ร้อยละ 11.63 รายละเอียดตามตารางที่ 3
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในครึ่งปีแรก ปี 2550 มีจำนวนประมาณ 124,960 ล้านบาท และ 5,527,596 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าขยายตัวขึ้น ร้อยละ 8.96 และ 7.37 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ท่อเหล็กมีตะเข็บ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 130.55 เหล็กแผ่นเคลือบไมได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 71.96 และ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 52.69
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 16,447 ล้านบาท เหล็กแท่งแบน มีมูลค่า 15,097 ล้านบาท และ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 12,762 ล้านบาท สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุด ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ลดลง ร้อยละ 27.62 เหล็กแท่งแบน ลดลง ร้อยละ 9.60 และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 8.16
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีจำนวนประมาณ 17,340 ล้านบาท และ 606,620 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกขยายตัวขึ้น ร้อยละ 70.70 และ 45.28 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวขึ้นในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 910.30 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 609.27 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 195.38 ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน มีมูลค่า 3,172 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็นไร้สนิมและเหล็กแผ่นบางรีดร้อน โดยมีมูลค่า 2,938 และ 2,761 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศที่ลดลง ผู้ผลิตไทยจึงต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดโดยการขยายฐานการตลาดโดยส่งออกไปยังประเทศที่ยังมีความต้องการใช้อยู่ รายละเอียดตามตารางที่ 5
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในครึ่งปีแรก ปี 2550 มีจำนวนประมาณ 35,311 ล้านบาท และ 1,222,603 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออกขยายตัวขึ้น ร้อยละ 81.84 และ 63.14 ตามลำดับ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวขึ้นในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นไม่ได้เคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 798.06 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 209.13 และเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 159.54 ผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดเย็นไร้สนิม มีมูลค่า 6,369 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็นและเหล็กแผ่นหนารีดร้อน โดยมีมูลค่า 4,196 และ 3,895 ล้านบาท ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางที่ 6
2. สรุป
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีการผลิตลดลง ร้อยละ 12.68 ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ ลดลง ร้อยละ 5.81 ขณะที่มูลค่าและปริมาณการนำเข้า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.32 และ 4.02 มูลค่าและปริมาณการส่งออก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.70 และ 45.28 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ขณะเดียวกันผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ ได้แก่ ความไม่ชัดเจนทางการเมือง ราคาน้ำมันในประเทศ ค่าเงินบาท เป็นต้น รวมถึงการที่เหล็กราคาถูกจากประเทศจีนเข้ามาตีตลาดในช่วงนี้ จึงมีผลทำให้ผู้ผลิตต้องปรับกลยุทธ์โดยการขยายการส่งออกให้มากขึ้น
สถานการณ์เหล็กโดยรวมในครึ่งปีแรก ปี 2550 ทรงตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตลดลง ร้อยละ 8.58 ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศชะลอตัวลง ร้อยละ 3.56 มูลค่าและปริมาณการนำเข้าขยายตัวขึ้น ร้อยละ 8.96 และ 7.37 ตามลำดับ ในขณะที่มูลค่าและปริมาณการส่งออกขยายตัวขึ้น ร้อยละ 81.84 และ 63.14 ตามลำดับ
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่เพิ่มขึ้นโดยราคาเหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 428 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 570 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.36 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 386 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 512 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.82 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 402 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 527 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.94 เศษเหล็ก(จาก EU ) เพิ่มขึ้นจาก 253 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 308 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.78 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 559 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 556 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.20 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 595 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 625 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.14 เป็นผลมาจากการที่ประเทศจีนมีนโยบายควบคุมการส่งออกสินค้าเหล็กโดยมีการเก็บภาษีส่งออก ซึ่งแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีอัตราภาษีที่ไม่เท่ากัน เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ( เช่น เหล็กแท่งยาว เหล็กแท่งแบน ) ปัจจุบันภาษีที่เก็บอยู่ที่ ร้อยละ 15 (ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 ) จึงมีผลทำให้ราคาเหล็กในตลาดปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากความต้องการใช้ที่ขยายตัวขึ้นจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกาและยุโรป
ขณะที่สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ(FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกจาก CIS ณ ท่า Black Sea ในครึ่งปีแรกของ ปี 2550 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีราคาปรับตัวสูงขึ้นทุกตัว โดยราคาเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 356 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 496 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.21 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 357 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 485 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.63 เหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 404 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 541 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.09 เศษเหล็ก(จาก EU ) เพิ่มขึ้นจาก 236 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 304 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.05 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 464 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 545 หรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.33 และเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 546 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 616 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.84
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติโครงการกิจการผลิตเหล็ก ในนามบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มูลค่าเงินลงทุน 3,900 ล้านบาท โดยเป็นการขยายกำลังการผลิตเหล็กขั้นต้น (น้ำเหล็ก กำลังการผลิต 500,000 ตันต่อปี เหล็กถลุง 150,000 ตันต่อปี) และการผลิตเหล็กขั้นกลาง (Steel Billet กำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี) โดยโรงงานตั้งที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช จ.ชลบุรี โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
ปริมาณการผลิตเหล็กดิบ (crude steel) ของโลกในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีจำนวน 651.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ประเทศจีนมีปริมาณการผลิตที่ 237 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับประเทศในแถบยุโรป มีปริมาณการผลิต 108 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.7 โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประเทศเยอรมนี อิตาลี สเปน สหราชอาณาจักร และโปแลนด์ แต่ในบางประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ ปริมาณการผลิตกลับลดลง เช่นเดียวกับประเทศในแถบอเมริกาเหนือที่มีการผลิตที่ลดลงด้วย คือ มีปริมาณการผลิต 65.8 ล้านต้น ลดลงร้อยละ 2.3 ขณะที่ในอเมริกาใต้การผลิตกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 8
ในช่วงเดือน ม.ค. — พ.ค. 2550 ประเทศจีนมีปริมาณการส่งออกเหล็กทรงยาวถึง 10.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 154 ขณะที่ ปริมาณการส่งออกเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้นร้อยละ 105 โดยประเทศจีนส่งออกเหล็กข้ออ้อยและลวดเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 53 ขณะที่สแตนเลสและ HRC อัลลอยพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 1100 เมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น หากพิจารณาด้านมูลค่าแล้ว พบว่าจีนสามารถเพิ่มรายได้จากการส่งออกระหว่างเดือนม.ค.-พ.ค.ได้ถึง 19 พันล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 160 อย่างไรก็ตามการส่งออกหลักของจีนส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามูลค่าสูง โดยส่งออกไปยังตลาดเอเชียมากที่สุดถึงร้อยละ 55.6 รองลงมาคือ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ร้อยละ 15.1 และ ตลาดแถบตะวันออกกลาง ร้อยละ 13.2 ตามลำดับ
กระทรวงพาณิชย์ของประเทศจีนประกาศขึ้นภาษีส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กสำเร็จรูปอีกร้อยละ 5-10และมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 1 มิ.ย. 2550 โดยก่อนหน้านี้จีนได้ออกมาตรการยกเลิกการคืนภาษีและการกำหนดใบอนุญาตส่งออกสำหรับสินค้าทั้ง 83 ชนิดแล้ว นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังขึ้นภาษีส่งออกสินค้าประเภทอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ถ่านโค้ก และ pig iron เป็น ร้อยละ 15 ซึ่งการขึ้นภาษีส่งออกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลจีนมีความพยายามและตั้งใจที่จะควบคุมการส่งออก ทั้งนี้เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ และหลังจากที่มีการเพิ่มภาษีส่งออก ทำให้ราคาส่งออกสูงขึ้น
บริษัท Nippon Steel Corp. ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของญี่ปุ่นและบริษัท Arcelor Mittal ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ลงนามใน MOU ร่วมกัน เพื่อขยายความสัมพันธ์ทางธุรกิจระหว่างกัน พร้อมมีแผนขยายการดำเนินงานของธุรกิจเหล็กแผ่นคุณภาพสูงที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในอเมริกาเหนือ โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวทาง บริษัท Arcelor Mittal จะสนับสนุนเทคโนโลยีให้แก่ บริษัท Nippon Steel Corp. ซึ่งมีคำสั่งซื้อจากลูกค้าที่เป็นค่ายรถยนต์ยุโรปซึ่งมีฐานการผลิตในแถบเอเซีย ในขณะที่ บริษัท Nippon Steel Corp. จะให้การสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยีการผลิตเหล็กคุณภาพสูง ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นที่มีโรงงานผลิตในแถบยุโรป ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จากญี่ปุ่นมองว่าแม้ทั้ง 2 บริษัทจะลงนามความร่วมมือระหว่างกัน แต่โดยรวมในธุรกิจเหล็กก็ยังคงแข่งขันกันต่อไป แต่ว่าจะไม่มีฝ่ายใดที่จะเสนอ take over เนื่องจากลักษณะของการดำเนินธุรกิจเหล็กของทั้ง 2 บริษัท มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ บริษัท Arcelor Mittal จะให้ความสำคัญในการขยายธุรกิจต่างประเทศ แต่ บริษัท Nippon Steel Corp. จะให้ความสำคัญกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเหล็กในประเทศ
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าจะทรงตัว โดยในส่วนของความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะทรงตัวเนื่องจากภาคก่อสร้างโดยโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เริ่มดำเนินการในช่วงไตรมาสนี้ ขณะที่โครงการภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจากความต้องการใช้ในประเทศที่ทรงตัว ทำให้ที่ผ่านมาผู้ผลิตต้องขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง เพิ่มมากขึ้น แต่จากการที่ในช่วงนี้เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญของไทยชะลอตัว จากการแตกของฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับการลงทุนที่หดตัวลง นอกจากนี้ความต้องการใช้เหล็กในยุโรปเริ่มชะลอตัว จึงอาจเป็นปัจจัยลบที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียตลาดส่งออกหลักที่สำคัญ 2 ตลาด แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกจากความต้องการใช้จากตลาดในเอเชียและตะวันออกกลางยังคงมีอยู่ ซึ่งผู้ผลิตจะต้องศึกษาลู่ทางการส่งออกเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกไปยังประเทศที่ยังคงมีความต้องการใช้อยู่และทดแทนตลาดที่เสียไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-