ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จะพิจารณาการถือหุ้นสถาบันการเงิน 2 แห่งพร้อมกัน ตามสัดส่วนการถือหุ้นและอำนาจการบริหารจัดการเป็นหลัก
นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า นายไชย ไชยวรรณ กก.ผจก.ใหญ่ บ.ไทยประกันชีวิต
และครอบครัว ที่ถือหุ้นใหญ่ใน ธ.ทหารไทย และ ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย ไทยเคหะ ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาต ถือว่าไม่ขัดกับหลักเกณฑ์การทำธุรกิจ
สถาบันการเงินแต่อย่างใด โดยหลักเกณฑ์การกำกับและควบคุมการถือหุ้นสถาบันการเงิน 2 แห่งพร้อมกัน จะยึดตามสัดส่วนการถือหุ้นและอำนาจ
ในการบริหารจัดการเป็นหลัก ดังนั้น กรณีของนายไชยและครอบครัวที่ถือหุ้นใน ธ.ทหารไทยไม่ถึงร้อยละ 5 และไม่มีอำนาจในการบริหาร และ
ยังมีหุ้นใหญ่ใน ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย ไทยเคหะ จึงไม่ผิดเกณฑ์การทำธุรกิจแบบ 1 ธุรกิจ 1 รูปแบบ และไม่ถือว่าขัดต่อหลักธรรมาภิบาล เนื่องจาก
ไม่ได้มีส่วนในการบริหารทั้ง 2 แห่งพร้อมกัน (โพสต์ทูเดย์)
2. รมว.คลังยืนยันยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในขณะนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง
ยืนยันว่าการที่ ธปท. นำมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ออกมาใช้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้น นั่นคือการรักษาภาคการส่งออกไม่ให้
เสียหาย หากไม่มีมาตรการดังกล่าวเชื่อว่าค่าเงินบาทจะไปอยู่ที่ร้อยละ 32-34 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. และเมื่อสามารถทำให้ภาคการส่งออกไม่ได้
รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากแล้ว ก็จะส่งผลให้ปัญหาเล็ก ๆ เช่น การลงทุนในตลาดหุ้นจะได้รับการแก้ไขตามไปด้วย ส่วนข้อเสนอ
จากหลายฝ่ายที่ต้องการให้ ธปท. ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นั้น รมว.คลังกล่าวว่า การที่ไทยมีมาตรการดังกล่าวบังคับใช้อยู่ถือเป็น
เหมือนกับการมีป้อมปราการที่ตั้งไว้ หากมีเงินดอลลาร์ สรอ. ไหลเข้ามาอีกล็อตใหญ่ก็จะสามารถรับมือได้ง่ายกว่า ดังนั้น คงต้องรอให้ค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ. กลับมาแข็งตัวขึ้นกว่านี้อีกสักระยะแล้วค่อยดำเนินการพิจารณาถอนมาตรการดังกล่าว และเชื่อว่า ณ เวลานี้เงินดอลลาร์ สรอ.
ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลง อย่างไรก็ดี เวลานี้ ธปท. ก็ได้ทำการผ่อนผันมาตรการลงบ้างแล้ว เช่น การให้ผู้ที่นำเงินเข้ามาเลือกว่าจะทำประกัน
ความเสี่ยงค่าเงินไว้เต็ม 100% ของวงเงินลงทุนก็ได้ ซึ่งจะไม่ต้องถูกกันสำรองร้อยละ 30 และ ธปท. ได้ทำการติดตามผลการอออกมาตรการ
ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว (แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท. เตือนประชาชนระวังธนบัตรปลอมระบาด ปี 49 จับเพิ่มได้กว่าเท่าตัว น.ส.ดวงดาว สมบัติศิริ ผอ.อาวุโสฝ่ายจัดการ
ธนบัตร ธปท. เปิดเผยว่า ในปี 49 มีการตรวจพบธนบัตรปลอมจากทั่วประเทศ 15,232 ฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7,623 ฉบับ หรือ 105.58% ซึ่ง
เป็นธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทมากที่สุด จำนวน 9,157 ฉบับ รองลงมาเป็นชนิดราคา 100 บาท 50 บาท 500 บาท และ 20 บาท
ตามลำดับ โดยตรวจพบในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตออกมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.2 รองลงมาคือภาคเหนือ ร้อยละ 14.9
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.9 และภาคใต้ ร้อยละ 3 ทั้งนี้ หากไม่รวมธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท ที่จับได้ล็อตใหญ่ พบว่าธนบัตร
ชนิดราคา 100 บาท แบบเก่าที่ไม่มีแถบฟอยล์สีเงินคาดมีการปลอมแปลงสูงมาก ซึ่งธนบัตรรุ่นดังกล่าวเหลือหมุนเวียนอยู่ในระบบไม่มาก อย่างไร
ก็ตาม แม้จะพบธนบัตรปลอมเพิ่มขึ้นมากแต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล โดยไทยตรวจพบธนบัตรปลอมเฉลี่ย 5 ฉบับต่อธนบัตร
หมุนเวียน 1 ล้านฉบับ ทั้งนี้ ประชาชนต้องระมัดระวังการรับธนบัตรจากผู้อื่น โดยเฉพาะที่ปั๊มน้ำมันและตลาด เนื่องจากเป็นจุดที่มีการรับ-ส่งธนบัตร
หมุนเวียนค่อนข้างเร็ว ทำให้ประชาชนลืมสังเกตจนได้รับความเสียหาย (มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การจ้างงานใน สรอ.ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 2ก.พ.50 การจ้างงานใน สรอ.
ในเดือน ม.ค.50 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 111,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในตลาดเงินคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 149,000 ตำแหน่ง ในขณะเดียวกัน
รัฐบาลได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เพิ่มขึ้นอีก 104,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังขยายตัวอยู่ใน
เกณฑ์ดีโดยขยายตัวถึงร้อยละ 3.5 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 สอดคล้องกับผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเดียวกันโดยรอยเตอร์
ร่วมกับ ม.มิชิแกนที่ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 96.9 จาก 91.7 ในเดือน ธ.ค.49 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 โดยเป็นผลจาก
แนวโน้มค่าจ้างที่สูงขึ้นโดยค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงในเดือน ม.ค.50 อยู่ที่ 17.09 ดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือน ธ.ค.49 ต่ำกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน แต่เมื่อเทียบต่อปีแล้ว ค่าจ้างต่อชั่วโมงในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับปี 49
ซึ่งเป็นระดับที่ ธ.กลาง สรอ.กำลังเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดว่าอาจส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อได้ (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 2 ก.พ.50
The Reuters/University of Michigan เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. (Consumer sentiment index)
ในเดือน ม.ค.50 ว่า เพิ่มขึ้นที่ระดับ 96.9 จากระดับ 91.7 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปีตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 แต่
ต่ำกว่าการคาดการณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 98.0 โดยดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
(Consumer current conditions index) เพิ่มขึ้นที่ระดับ 111.3 จากระดับ 108.1 และดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคต
(Consumer expectations index) เพิ่มขึ้นที่ระดับ 87.6 จากระดับ 81.2 ทั้งนี้ การที่ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคมีความ
เชื่อมั่นต่อการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจว่า จะส่งผลให้การจ้างงานและค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับ
ภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าแนวโน้มราคาพลังงานจะลดลงก็ตาม โดยผลการสำรวจพบว่าการประเมินภาวะเงินเฟ้อในช่วงเวลา 1 ปี
(1-year inflation) เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 2.9 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่การประเมินภาวะเงินเฟ้อในช่วงเวลา 5 ปี
(5-year inflation) ทรงตัวที่ร้อยละ 3.0 มาเป็นเวลา 3 เดือนต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของยูโรโซนในเดือน ธ.ค.49 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 2 ก.พ.50
European Union statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer price index) ของ 12 ประเทศเขต
เศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ธ.ค.49 อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.0 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการทรงตัวอยู่
ในระดับเดิมเป็นเวลา 3 เดือนต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ต.ค.เป็นต้นมา โดยมีสาเหตุจากการที่ราคาพลังงานลดลงร้อยละ 0.2 ชดเชยกับราคา
สินค้าทุน สินค้าคงทน และสินค้าไม่คงทน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตเมื่อเทียบต่อปี ขยายตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 4.1 จาก
ร้อยละ 4.3 ในเดือนก่อนหน้า โดยสาเหตุที่ดัชนียังคงขยายตัวเนื่องจากราคาพลังงานและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เทียบต่อปี และ
แม้ว่าระยะนี้ทั้งดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็มิได้เป็นอุปสรรคที่จะทำให้ ธ.กลางสหภาพยุโรปหยุดความคิดที่จะ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก ธ.กลางต้องการรักษาระดับเงินเฟ้อไว้ที่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบต่อปีในเดือน
ม.ค.50 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างประเมินว่า การที่ภาวะเศรษฐกิจของ
ยูโรโซนเติบโตเหนือความคาดหมาย รวมถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานและการขยายตัวของสินเชื่อ จะเป็นปัจจัยผลักดันให้
ธ.กลางสหภาพยุโรปปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ โดยคาดว่าอาจมีการปรับเพิ่มอีกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ในเดือน มี.ค.50
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 (รอยเตอร์)
4. จีนเพิ่มมาตรการสกัดสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมากที่เกิดจากการค้าและการลงทุน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 50
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า จีนได้เพิ่มมาตรการในการดำเนินการกับสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมากที่เกิดจากการเกินดุลการค้า
และการไหลเข้าของเงินลงทุน อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องดูแลปริมาณเงินหมุนเวียน และสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย ทั้งนี้เพื่อที่
จะทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลง ในช่วงปี 46 ถึง ปี 49 ธ.กลางจีนได้ออกพันธบัตรประมาณ 6.4 ล้านล้านหยวน (825 พัน ล้าน ดอลลาร์ สรอ.)
เพื่อดำเนินการกับเงินทุนนำเข้า 780 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. และเพื่อจัดการกับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงิน ธ.กลางได้ขายตั๋วเงินคลัง
จำนวน 3 ล้าน ล้าน หยวน เพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกิน รวมทั้งให้ ธพ. เพิ่มสำรองเงินกู้ทางการค้า อย่างไรก็ตามสภาพคล่องส่วนเกินใน
ระบบการเงินที่มีเป็นจำนวนมหาศาลดังกล่าวส่งผลให้การขยายตัวของสินเชื่อและเงินลงทุนเพิ่มมากขึ้น ในระยะ 2 — 3 เดือนนี้ทำให้เกิดความ
วิตกว่าเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวอย่างมากอาจกลับล้มละลายได้ ส่วนเรื่องแรงงกดดันจากเงินเฟ้อและแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นคาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงเนื่องจากสินคาเกษตรมีราคาลดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ก.พ. 50 2 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.881 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.6535/35.9835 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.60/20.35 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,900/11,000 11,000/11,100 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.29 53.56 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/22.94* 25.19/22.54 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. จะพิจารณาการถือหุ้นสถาบันการเงิน 2 แห่งพร้อมกัน ตามสัดส่วนการถือหุ้นและอำนาจการบริหารจัดการเป็นหลัก
นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า นายไชย ไชยวรรณ กก.ผจก.ใหญ่ บ.ไทยประกันชีวิต
และครอบครัว ที่ถือหุ้นใหญ่ใน ธ.ทหารไทย และ ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย ไทยเคหะ ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาต ถือว่าไม่ขัดกับหลักเกณฑ์การทำธุรกิจ
สถาบันการเงินแต่อย่างใด โดยหลักเกณฑ์การกำกับและควบคุมการถือหุ้นสถาบันการเงิน 2 แห่งพร้อมกัน จะยึดตามสัดส่วนการถือหุ้นและอำนาจ
ในการบริหารจัดการเป็นหลัก ดังนั้น กรณีของนายไชยและครอบครัวที่ถือหุ้นใน ธ.ทหารไทยไม่ถึงร้อยละ 5 และไม่มีอำนาจในการบริหาร และ
ยังมีหุ้นใหญ่ใน ธ.พาณิชย์เพื่อรายย่อย ไทยเคหะ จึงไม่ผิดเกณฑ์การทำธุรกิจแบบ 1 ธุรกิจ 1 รูปแบบ และไม่ถือว่าขัดต่อหลักธรรมาภิบาล เนื่องจาก
ไม่ได้มีส่วนในการบริหารทั้ง 2 แห่งพร้อมกัน (โพสต์ทูเดย์)
2. รมว.คลังยืนยันยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ในขณะนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง
ยืนยันว่าการที่ ธปท. นำมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ออกมาใช้เพื่อเป็นการแก้ปัญหาใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้น นั่นคือการรักษาภาคการส่งออกไม่ให้
เสียหาย หากไม่มีมาตรการดังกล่าวเชื่อว่าค่าเงินบาทจะไปอยู่ที่ร้อยละ 32-34 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. และเมื่อสามารถทำให้ภาคการส่งออกไม่ได้
รับผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมากแล้ว ก็จะส่งผลให้ปัญหาเล็ก ๆ เช่น การลงทุนในตลาดหุ้นจะได้รับการแก้ไขตามไปด้วย ส่วนข้อเสนอ
จากหลายฝ่ายที่ต้องการให้ ธปท. ยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 นั้น รมว.คลังกล่าวว่า การที่ไทยมีมาตรการดังกล่าวบังคับใช้อยู่ถือเป็น
เหมือนกับการมีป้อมปราการที่ตั้งไว้ หากมีเงินดอลลาร์ สรอ. ไหลเข้ามาอีกล็อตใหญ่ก็จะสามารถรับมือได้ง่ายกว่า ดังนั้น คงต้องรอให้ค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ. กลับมาแข็งตัวขึ้นกว่านี้อีกสักระยะแล้วค่อยดำเนินการพิจารณาถอนมาตรการดังกล่าว และเชื่อว่า ณ เวลานี้เงินดอลลาร์ สรอ.
ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลง อย่างไรก็ดี เวลานี้ ธปท. ก็ได้ทำการผ่อนผันมาตรการลงบ้างแล้ว เช่น การให้ผู้ที่นำเงินเข้ามาเลือกว่าจะทำประกัน
ความเสี่ยงค่าเงินไว้เต็ม 100% ของวงเงินลงทุนก็ได้ ซึ่งจะไม่ต้องถูกกันสำรองร้อยละ 30 และ ธปท. ได้ทำการติดตามผลการอออกมาตรการ
ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว (แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท. เตือนประชาชนระวังธนบัตรปลอมระบาด ปี 49 จับเพิ่มได้กว่าเท่าตัว น.ส.ดวงดาว สมบัติศิริ ผอ.อาวุโสฝ่ายจัดการ
ธนบัตร ธปท. เปิดเผยว่า ในปี 49 มีการตรวจพบธนบัตรปลอมจากทั่วประเทศ 15,232 ฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7,623 ฉบับ หรือ 105.58% ซึ่ง
เป็นธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาทมากที่สุด จำนวน 9,157 ฉบับ รองลงมาเป็นชนิดราคา 100 บาท 50 บาท 500 บาท และ 20 บาท
ตามลำดับ โดยตรวจพบในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตออกมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.2 รองลงมาคือภาคเหนือ ร้อยละ 14.9
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.9 และภาคใต้ ร้อยละ 3 ทั้งนี้ หากไม่รวมธนบัตรชนิดราคา 1,000 บาท ที่จับได้ล็อตใหญ่ พบว่าธนบัตร
ชนิดราคา 100 บาท แบบเก่าที่ไม่มีแถบฟอยล์สีเงินคาดมีการปลอมแปลงสูงมาก ซึ่งธนบัตรรุ่นดังกล่าวเหลือหมุนเวียนอยู่ในระบบไม่มาก อย่างไร
ก็ตาม แม้จะพบธนบัตรปลอมเพิ่มขึ้นมากแต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล โดยไทยตรวจพบธนบัตรปลอมเฉลี่ย 5 ฉบับต่อธนบัตร
หมุนเวียน 1 ล้านฉบับ ทั้งนี้ ประชาชนต้องระมัดระวังการรับธนบัตรจากผู้อื่น โดยเฉพาะที่ปั๊มน้ำมันและตลาด เนื่องจากเป็นจุดที่มีการรับ-ส่งธนบัตร
หมุนเวียนค่อนข้างเร็ว ทำให้ประชาชนลืมสังเกตจนได้รับความเสียหาย (มติชน, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การจ้างงานใน สรอ.ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดไว้ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 2ก.พ.50 การจ้างงานใน สรอ.
ในเดือน ม.ค.50 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 111,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ในตลาดเงินคาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 149,000 ตำแหน่ง ในขณะเดียวกัน
รัฐบาลได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เพิ่มขึ้นอีก 104,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังขยายตัวอยู่ใน
เกณฑ์ดีโดยขยายตัวถึงร้อยละ 3.5 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 สอดคล้องกับผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเดียวกันโดยรอยเตอร์
ร่วมกับ ม.มิชิแกนที่ดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 96.9 จาก 91.7 ในเดือน ธ.ค.49 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 โดยเป็นผลจาก
แนวโน้มค่าจ้างที่สูงขึ้นโดยค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงในเดือน ม.ค.50 อยู่ที่ 17.09 ดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากเดือน ธ.ค.49 ต่ำกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน แต่เมื่อเทียบต่อปีแล้ว ค่าจ้างต่อชั่วโมงในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับปี 49
ซึ่งเป็นระดับที่ ธ.กลาง สรอ.กำลังเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดว่าอาจส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อได้ (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 2 ก.พ.50
The Reuters/University of Michigan เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ. (Consumer sentiment index)
ในเดือน ม.ค.50 ว่า เพิ่มขึ้นที่ระดับ 96.9 จากระดับ 91.7 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปีตั้งแต่เดือน ธ.ค.47 แต่
ต่ำกว่าการคาดการณ์ของบรรดานักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่าดัชนีจะเพิ่มขึ้นที่ระดับร้อยละ 98.0 โดยดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน
(Consumer current conditions index) เพิ่มขึ้นที่ระดับ 111.3 จากระดับ 108.1 และดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคต
(Consumer expectations index) เพิ่มขึ้นที่ระดับ 87.6 จากระดับ 81.2 ทั้งนี้ การที่ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการที่ผู้บริโภคมีความ
เชื่อมั่นต่อการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจว่า จะส่งผลให้การจ้างงานและค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับ
ภาวะเงินเฟ้อ แม้ว่าแนวโน้มราคาพลังงานจะลดลงก็ตาม โดยผลการสำรวจพบว่าการประเมินภาวะเงินเฟ้อในช่วงเวลา 1 ปี
(1-year inflation) เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.0 จากร้อยละ 2.9 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่การประเมินภาวะเงินเฟ้อในช่วงเวลา 5 ปี
(5-year inflation) ทรงตัวที่ร้อยละ 3.0 มาเป็นเวลา 3 เดือนต่อเนื่อง (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของยูโรโซนในเดือน ธ.ค.49 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 2 ก.พ.50
European Union statistics office (Eurostat) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer price index) ของ 12 ประเทศเขต
เศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร (ยูโรโซน) ในเดือน ธ.ค.49 อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.0 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการทรงตัวอยู่
ในระดับเดิมเป็นเวลา 3 เดือนต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ต.ค.เป็นต้นมา โดยมีสาเหตุจากการที่ราคาพลังงานลดลงร้อยละ 0.2 ชดเชยกับราคา
สินค้าทุน สินค้าคงทน และสินค้าไม่คงทน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตเมื่อเทียบต่อปี ขยายตัวลดลงที่ระดับร้อยละ 4.1 จาก
ร้อยละ 4.3 ในเดือนก่อนหน้า โดยสาเหตุที่ดัชนียังคงขยายตัวเนื่องจากราคาพลังงานและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เทียบต่อปี และ
แม้ว่าระยะนี้ทั้งดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็มิได้เป็นอุปสรรคที่จะทำให้ ธ.กลางสหภาพยุโรปหยุดความคิดที่จะ
ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก ธ.กลางต้องการรักษาระดับเงินเฟ้อไว้ที่ต่ำกว่าร้อยละ 2.0 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเมื่อเทียบต่อปีในเดือน
ม.ค.50 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ บรรดานักเศรษฐศาสตร์ต่างประเมินว่า การที่ภาวะเศรษฐกิจของ
ยูโรโซนเติบโตเหนือความคาดหมาย รวมถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานและการขยายตัวของสินเชื่อ จะเป็นปัจจัยผลักดันให้
ธ.กลางสหภาพยุโรปปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ โดยคาดว่าอาจมีการปรับเพิ่มอีกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ในเดือน มี.ค.50
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 (รอยเตอร์)
4. จีนเพิ่มมาตรการสกัดสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมากที่เกิดจากการค้าและการลงทุน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 50
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ธ.กลางจีนเปิดเผยว่า จีนได้เพิ่มมาตรการในการดำเนินการกับสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมากที่เกิดจากการเกินดุลการค้า
และการไหลเข้าของเงินลงทุน อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นต้องดูแลปริมาณเงินหมุนเวียน และสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย ทั้งนี้เพื่อที่
จะทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลง ในช่วงปี 46 ถึง ปี 49 ธ.กลางจีนได้ออกพันธบัตรประมาณ 6.4 ล้านล้านหยวน (825 พัน ล้าน ดอลลาร์ สรอ.)
เพื่อดำเนินการกับเงินทุนนำเข้า 780 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. และเพื่อจัดการกับสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงิน ธ.กลางได้ขายตั๋วเงินคลัง
จำนวน 3 ล้าน ล้าน หยวน เพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกิน รวมทั้งให้ ธพ. เพิ่มสำรองเงินกู้ทางการค้า อย่างไรก็ตามสภาพคล่องส่วนเกินใน
ระบบการเงินที่มีเป็นจำนวนมหาศาลดังกล่าวส่งผลให้การขยายตัวของสินเชื่อและเงินลงทุนเพิ่มมากขึ้น ในระยะ 2 — 3 เดือนนี้ทำให้เกิดความ
วิตกว่าเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวอย่างมากอาจกลับล้มละลายได้ ส่วนเรื่องแรงงกดดันจากเงินเฟ้อและแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นคาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงเนื่องจากสินคาเกษตรมีราคาลดลง (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ก.พ. 50 2 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.881 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.6535/35.9835 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 670.60/20.35 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,900/11,000 11,000/11,100 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.29 53.56 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/22.94* 25.19/22.54 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--