นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 ณ ไตรมาสที่ 3 ดังนี้
1. ภาพรวมของผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ในไตรมาสที่ 3 กระทรวงการคลังสามารถดำเนินงานตามแผน ฯ ได้ทั้งสิ้น 205,548.37 ล้านบาท ประกอบด้วยการก่อหนี้
ใหม่ของรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 38,400 ล้านบาท การบริหารหนี้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศของรัฐบาล
ได้แก่ การ Roll — over ตั๋วเงินคลัง การออกพันธบัตร เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF การชำระคืนหนี้เงินกู้ก่อนครบกำหนดให้ JBIC
และการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อบริหารหนี้เงินกู้ Samurai Bond จำนวน 147,356.08 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการบริหาร
หนี้และการก่อหนี้ใหม่ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 19,792.29 ล้านบาท ซึ่งผลจากการดำเนินงานดังกล่าวสามารถลดยอดหนี้คงค้างลงจำนวน
10,683.68 ล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้ 1,805 ล้านบาท
เมื่อรวมกับผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 1 และ 2 แล้วจะทำให้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 กระทรวงการคลังสามารถดำเนินงาน
ตามแผนฯ ได้ทั้งสิ้น 484,999.07 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.11 ของแผนฯ การดำเนินงานตามแผนฯ ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา
ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างลงทั้งสิ้น 34,240.98 ล้านบาท ลดภาระดอกเบี้ยได้ 2,370 ล้านบาท และประหยัดดอกเบี้ยได้
332 ล้านบาท
นอกจากผลการดำเนินงานตามแผนฯ ที่กล่าวมาแล้ว ในไตรมาสที่ 3 ยังมีรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
ซึ่งได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กรอบวงเงินกู้ของแผนการบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการกู้เงินจากต่างประเทศจำนวน 14,155.48
ล้านบาท และมีรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูป Credit Line อีกจำนวน 50 ล้านบาท
2. รายละเอียดของผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3
2.1 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
กระทรวงการคลังดำเนินการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 38,400 ล้านบาท โดยเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล
จำนวน 2 รุ่น วงเงินรวม 21,855 ล้านบาท ประกอบด้วย พันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปี และ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ
5.25 และ 5.00 ต่อปี ตามลำดับ และออกตั๋วสัญญาใช้เงินกับธนาคารโตเกียว — มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ สาขากรุงเทพฯ ธนาคารออมสิน
และธนาคารกรุงไทย วงเงินรวม 16,545 ล้านบาท อายุ 6 ปี อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่างร้อยละ 3.64 — 3.69 ต่อปี
2.2 การ Roll — over ตั๋วเงินคลัง และการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล
กระทรวงการคลังออกตั๋วเงินคลังเพื่อใช้ในการบริหารเงินสดเพื่อรองรับการทำธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาลซึ่ง
ณ สิ้นปีงบประมาณ 2549 มียอดวงเงินตั๋วเงินคลังหมุนเวียนในตลาดจำนวน 250,000 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงินดังกล่าวได้รวมการ
กู้เงินในรูปตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลซึ่งสะสมมาในช่วงปี 2542 — 2547 จำนวน 170,000 ล้านบาทด้วย กระทรวงการคลัง
จึงมีแผนที่จะปรับโครงสร้างตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลให้เป็นพันธบัตรระยะยาว โดยจะทยอยดำเนินการตามความเหมาะสมให้แล้วเสร็จ
ภายในปีงบประมาณ 2550 ซึ่งในไตรมาสที่ 1 กระทรวงการคลังได้แปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วจำนวน 32,000 ล้านบาท
และในไตรมาสที่ 3 สามารถดำเนินการอีกได้จำนวน 41,000 ล้านบาท ทำให้ตั๋วเงินคลังที่หมุนเวียนอยู่ในตลาด ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 มี
จำนวน 177,000 ล้านบาท
2.3 การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF
กระทรวงการคลังดำเนินการออกพันธบัตร FIDF 3 จำนวน 1,500 ล้านบาท โดยเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ อายุ 3 ปี จำนวน
3 รุ่น รุ่นละ 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่างร้อยละ 3.00 — 3.90 ต่อปี
2.4 การกู้เงินในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
(1) รัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ทำสัญญาเพื่อกู้เงินและออกพันธบัตรวงเงินรวม 4,500 ล้านบาท เพื่อใช้ลงทุนในโครงการต่าง ๆ
ได้แก่
1) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ทำสัญญาเพื่อกู้เงินกับธนาคารกรุงไทย วงเงิน 500 ล้านบาท
2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ออกพันธบัตรวงเงิน 2,000 ล้านบาท
3) การไฟฟ้านครหลวง ออกพันธบัตรวงเงิน 2,000 ล้านบาท
(2) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ดำเนินการออกพันธบัตรวงเงิน 11,556 ล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปชำระหนี้ค่าน้ำมัน
และค่าเหมาซ่อม
2.5 การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ
รัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง ดำเนินการ Roll — over หนี้ที่ครบกำหนดชำระให้สอดคล้องกับระยะคืนทุนของโครงการ โดยออก
พันธบัตรวงเงินรวม 3,736.29 ล้านบาท ได้แก่
(1) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย วงเงิน 2,000 ล้านบาท
(2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วงเงิน 900 ล้านบาท
(3) การรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 836.29 ล้านบาท
2.6 การบริหารหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล
(1) กระทรวงการคลังชำระคืนหนี้เงินกู้ JBIC ก่อนครบกำหนด (Prepayment) จำนวน 9 สัญญา วงเงิน
10,183.68 ล้านบาท เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550 โดยใช้งบประมาณเพื่อการชำระหนี้
(2) กระทรวงการคลังทำสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าระยะยาว (Long Dated Forward) เมื่อวันที่ 3 — 12
เมษายน 2550 เพื่อเตรียมไว้ชำระคืนหนี้เงินกู้ Samurai Bond รุ่นที่ 21 วงเงิน 14,672.64 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่
30 มิถุนายน 2551
2.7 การกู้เงินและการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
(1) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นในรูปเงินกู้ Euro Commercial Paper (ECP)
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2550 จำนวน 4,155.48 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าเครื่องบินแอร์บัส A 340 — 500 ลำที่ 4 ก่อน
จะจัดหาเงินกู้ระยะยาวต่อไป
(2) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินการออกพันธบัตร Samurai Bond จำนวน 10,000 ล้านบาท เมื่อวันที่
29 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้จ่ายตามแผนการจัดหาเงินเพื่อลงทุน
2.8 การกู้เงินระยะสั้นในรูป Credit Line ของรัฐวิสาหกิจ
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ดำเนินการกู้เงินระยะสั้นในรูป Credit Line วงเงิน 50 ล้านบาท กับธนาคารกรุงไทย
ในวันที่ 6 มิถุนายน 2550 เพื่อใช้ในการเสริมสภาพคล่องของกิจการ
3. การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2550 ครั้งที่ 3
ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ
ประจำปีงบประมาณ 2550 ครั้งที่ 3 โดยปรับวงเงินการบริหารหนี้ในประเทศและต่างประเทศของรัฐบาลให้เหมาะสมกับฐานะการเงินและ
สภาวะตลาด รวมทั้งสอดคล้องกับเงื่อนไขของแหล่งเงินกู้ และได้ปรับวงเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของ
โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจและการบริหารหนี้ที่สามารถดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการปรับปรุงแผนฯ
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ทำให้วงเงินของแผนฯ ที่ได้ปรับปรุงเพิ่มขึ้นเป็น 1,054,559.75 ล้านบาท ประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
แผนงาน
1 การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐบาล 433,200.00
2 การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้ FIDF 109,731.02
3 การบริหารและจัดการเงินกู้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบสถาบันการเงิน ไม่มี
4 การบริหารและจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจ 375,160.77
5 การกู้เงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ 10,696.00
6 การบริหารหนี้ต่างประเทศ 125,771.96
รวม 1,054,559.75