แท็ก
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พรรคประชาธิปัตย์
พิพิธภัณฑ์เด็ก
บล.ไทยพาณิชย์
ประธานสภา
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ท่านหัวหน้าพรรค ท่านประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ท่านเลขาธิการพรรค คณะกรรมการบริหารพรรคอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ทุกคน ทุกท่านนะครับ ผมได้รับมอบหมายให้ขึ้นมาทำหน้าที่ และในระยะเวลาที่ไม่นานนัก เพื่อที่จะชี้แจงทำความเข้าใจกระบวนการจัดทำนโยบายของพรรคฯ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นเวลาของการระดมพลัง ความคิดสู่นโยบาย ซึ่งจะใช้ระยะเวลาตลอดช่วงบ่ายวันนี้ และในช่วงเช้าวันพรุ่งนี้
เหตุผลสำคัญที่พรรคได้กำหนดให้จะกิจกรรมพิเศษในเรื่องนโยบาย เพราะเหตุว่า นโยบายนั้นถือว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพรรคการเมือง และนโยบายนั้นถือเป็นสัญญาประชาคม เป็นตัวกำหนดทิศทางโดยพรรคการเมือง ที่จะนำพาประเทศไปสู่อนาคต และโดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ในช่วงระยะเวลาของการรณรงค์หาเสียงต่อไปในอนาคต นโยบายจะทวีความสำคัญยิ่งขึ้น และเชื่อว่าประชาชนจะให้ความสำคัญ และให้ความสนใจในเรื่องนโยบายมากขึ้น และเชื่อว่าการแข่งขันเชิงนโยบายจะทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ที่สำคัญคือต้องนำวาระของนโยบายมาเป็นภาระแก่ท่านทั้งหลาย ด้วยเพราะเหตุว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ได้ตระหนักถึงภารกิจของความเป็นพรรคการเมืองที่จะต้องจัดทำนโยบายที่ดีทีสุด ที่จะนำเสนอเป็นทางเลือกของประชาชน
กระบวนการจัดทำนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ดังเช่นที่ท่านหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เน้นย้ำกับพวกเราตั้งแต่เช้า นั่นก็คือว่า เราเน้นน้ำกระบวนการจัดทำนโยบายของพรรคฯ ด้วยการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นด้านหลัก เราเชื่อว่านโยบายของพรรคการเมืองนั้น ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของพรรคการเมือง แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับประชาชน เพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางอนาคตของประเทศ และมีผลกระทบกระเทือนต่อวิถีชีวิตของประชาชน เป็นอย่างยิ่ง การจัดทำนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ในระยะเวลาที่ผ่านมา จึงเป็นการมุ่งเน้นการจัดทำนโยบายที่โอกาสประชาชน และเชิญชวนประชาชนทุกสาขาอาชีพ มามีส่วนร่วมมีบทบาทในการจัดทำอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง รูปธรรมในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ระดมความเห็นจากประชาชนภาคส่วนต่างๆ เข้ามาจัดทำนโยบายที่เห็นเป็นตัวอย่างได้อย่างชัดเจน
พรรคประชาธิปัตย์ได้เริ่มต้นในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่ท่านอภิสิทธิ์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค และพรรคนั้นได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาประชาชน เมื่อวันที่ 8 — 9 ตุลาคม 2548 มีผู้เข้าร่วมครั้งนั้นถึง 3,000 คน แล้วก็ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็น เกิดเป็นทิศทางในการพัฒนาประเทศ แล้วก็ได้ผลสรุปคือการจัดทำวาระประชาชน ที่ใช้หัวข้อ เศรษฐกิจคุณภาพ สังคมคุณธรรม ต่อมาในปี 2549 เป็นวาระของประชาชน ที่เน้นย้ำอย่างชัดเจนหนักแน่นว่า ผลประโยชน์ของประชาชน ต้องมาก่อน แต่ว่าหลังเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แม้พรรคการเมืองจะถูกห้ามทำกิจกรรมในทางการเมือง เพราะประกาศกฎ คปค. ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 แต่ก็ใช่ว่าการดำเนินการในเรื่องนโยบายของพรรค ในทางภายในจะหยุดสิ้นลงเพียงเท่านั้น เราได้มีการจัดทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ท่านหัวหน้าพรรคฯ ได้จัดระดมความคิดเห็นดังที่ท่านได้เรียนให้พวกเราทราบแล้วในทางวิชาการ มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ภาคองค์กรเอกชน ภาคสื่อ และเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ได้ดำเนินการจัดวาระประชาชนที่พรรคประชาธิปัตย์ รวมแล้วถึง 9 ครั้งในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านพ้นมา แล้วก็ได้มีการลงพื้นที่พบปะกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่างๆมาประกอบในการจัดทำนโยบาย ซึ่งล่าสุดท่านหัวหน้าพรรคได้นำคณะไปที่ภาคเหนือ ไปที่ภาคอีสาน ที่จังหวัดชัยภูมิ แล้วสุดท้ายเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ในวันที่ 14-15 กรกฎาคม ก็ได้มีการจัดวาระในเรื่องของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในที่สุดก็นำมาซึ่งข้อสรุปที่เป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาของยุทธศาสตร์ นั่นก็คือยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาความไม่สงบ มาถึงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้กำหนดเป็นนโยบาย ที่จะจัดพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษ
ในส่วนของคณะทำงานยุทธศาสตร์ ซึ่งผมและคณะได้รับมอบหมายจากท่านหัวหน้าพรรคฯ ให้รับผิดชอบก็ได้มีการดำเนินการในเรื่องของการจัดทำนโยบายมาโดยต่อเนื่อง ได้มีการรวบรวมความคิดเห็นต่างๆจากกรจัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็น มีการติดตามปัญหาแล้วก็มีการจัดประชุมคณะทำงานรวมทั้งเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ สาขาอาชีพต่างๆ ทุกสัปดาห์ แล้วช่วงหลังก็เพิ่มมาเป็นสัปดาห์ละ 2 หน เพื่อกลั่นกรองเนื้อหาทั้งหมดเป็นนโยบาย ผมขออนุญาตเรียนพวกเราเพิ่มเติมว่า หลักการสำคัญในการจัดทำนโยบายในส่วนคณะทำงานยุทธศาสตร์พรรคนั้น ได้ถือหลักให้ความสำคัญคำนึงถึงปัจจัย 3 ปัจจัยเป็นด้านหลัก ปัจจัยประการที่ 1 ก็คือ ในเรื่องของสถานการณ์และสภาพปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน เพราะว่าต้องยอมรับความจริงว่า รัฐบาลชุดปัจจุบัน หลังจากเราได้ประกาศนโยบายไปแล้ว ก็ได้กรุณาให้เกียรติพรรคประชาธิปัตย์นำนโยบายบางเรื่องของเราไปประกาศเป็นนโยบาย ซึ่งอันนี้ก็ถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับเรา ที่เห็นว่านโยบายของพรรคประชาธิปัตย์วันนั้นเป็นนโยบายที่ปฏิบัติได้ เป็นนโยบายที่น่าสนใจ แต่ว่าถึงอย่างไรก็ตามก็ถือเป็นภารกิจของเราที่จะนำสิ่งนั้นมาปรับปรุง เช่น ในเรื่องของการรักษาพยาบาลฟรี เป็นต้น ซึ่งเป็นภารกิจของเราทุกกลุ่มที่จะต้องนำมาจัดการดำเนินการปรับปรุง ไม่ใช่แค่เพียงว่าเมื่อประกาศเป็นนโยบายรักษาพยาบาลฟรีแล้วเนี่ยเท่านั้นก็จบกัน
สิ่งที่เป็นหน้าที่ของเราก็คือต้องคิดต่อไปว่า ทำอย่างไรที่จะให้รักษาฟรีอย่างมีคุณภาพภายใต้ภารกิจของพรรคประชาธิปัตย์นี้ก็คือสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงสถานการณ์ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ปัจจัยประการที่ 2 ก็คือเราจำเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลและความผสมผสานกลมกลืนให้เกิดขึ้นระหว่างอุดมการณ์ของพรรคฯ นโยบายที่ผ่านมาของพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ยุคก่อนๆ มาจนถึงยุค ฯพณฯชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และยุคท่านบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค และนโยบายของพรรคในยุคท่านอภิสิทธิ์ ก่อนเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน ที่จะต้องนำมาปรับปรุงผสมผสาน เข้ากับความต้องการที่แท้จริงของประชาขน ที่มีการตรวจสอบผ่านกระบวนการวิชาการ และฐานข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ที่สมดุลระหว่างความถูกต้องกับความถูกใจ และความเป็นจริงได้ ที่มิใช่นโยบายขายฝัน นี่ก็คือสิ่งประการที่ 2 ที่เราต้องคำนึงถึง
ในประการสุดท้าย ประการที่ 3 ก็คือว่า คณะทำงานยุทธศาสตร์ได้คำนึงถึง การกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปี 2550 (ถ้าผ่านประชามติ) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะต้องจัดทำนโยบายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดที่ว่า แนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า ค่อนข้างมีรายละเอียดจุกจิกตามสมควร และเกือบจะเรียกได้ว่า กลายเป็นแนวนโยบายรัฐบาลมากกว่า จะเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ ที่ควรจะเป็น แต่ว่าถึงอย่างไร ถ้ามีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ เราก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเขียนนโยบายของพรรคให้สอดคล้องต้องกัน กับปัจจัยประการนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ในส่วนขอนโยบายของพรรคนั้น จะมีการจัดทำเป็น 2 ส่วนครับ ส่วนที่ 1 ก็คือ ส่วนที่เรียกว่านโยบายฉบับเต็ม ซึ่งจะครอบคลุมเรื่องราวต่างๆ ประมาณ 40 เรื่อง และจะใช้สำหรับให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรค สาขาพรรค และผู้ที่สนใจได้นำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ถึงทิศทางนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ แต่นโยบายในส่วนที่ 2 ก็คือ เป็นนโยบายเพื่อการรณรงค์ ผ่านสื่อไปสู่ประชาชน ซึ่งวันนี้ได้เริ่มมีการเปิดตัวนโยบายรณรงค์ที่ผมเรียนให้ทราบผ่านหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ในเรื่องราวต่างๆ ซึ่งจะมีการดำเนินการต่อไป เป็นลำดับๆ ซึ่งผมเชื่อว่า เพื่อนสมาชิกหลายท่านจะได้ติดตามทางสถานีโทรทัศน์ เกือบจะเรียกว่าทุกช่องนะครับ ก็ได้เริ่มต้นในวันนี้ เป็นต้นไป และก็จะมีตามมาอีกเป็นลำดับ อย่างไรก็ตามผมขอเรียนว่า กระบวนการจัดทำนโยบายของพรรคฯ จบนะครับ
เพราะฉะนั้นวันนี้ จึงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ พรรคได้จัดวาระระดมพลังความคิดสู่นโยบาย ซึ่งจะดำเนินการในช่วงบ่าย ผมขอเรียนว่า เราจะแบ่งกลุ่มพวกเราที่สนใจออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มการเมือง เศรษฐกิจ และกลุ่มสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะหาคำตอบจากทุกท่านไปประกอบการจัดทำเป็นนโยบาย และจัดทำเป็นวาระประชาชน ซึ่งมีคำถามและปัญหา ที่ท้าทายพวกเราประชาธิปัตย์อยู่จำนวนมากมาย ดังเช่นที่ท่านหัวหน้าพรรคฯ ได้เรียนให้พวกเราทราบไปเมื่อสักครู่นี้ รวมทั้งคำถามอื่นๆ เช่น ทำอย่างไรที่จะให้คนไทยฉลาด แข็งแรง เราจะพัฒนาเศรษฐกิจชนบทและนำเกษตรกรพ้นจากความยากจน ได้อย่างไร ทำย่างไรให้คนไทยได้มีหลักประกันสวัสดิการในชีวิต และสวัสดิการในชีวิตดีขึ้น เราจะลดต้นทุนทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านการคมนาคม ขนส่ง ด้านพลังงาน และด้านอื่นๆ เพื่อนำประเทศไปสู่การปฏิรูปการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อเชื่อมโยงไทย เชื่อมโลกได้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทำอย่างไร การเมืองไทยจึงใสสะอาด ทำอย่างไรใต้จึงจะพบกับความสันติสุข เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นคำถามที่ท้าทายท่านทั้งหลาย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ก.ค. 2550--จบ--
เหตุผลสำคัญที่พรรคได้กำหนดให้จะกิจกรรมพิเศษในเรื่องนโยบาย เพราะเหตุว่า นโยบายนั้นถือว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพรรคการเมือง และนโยบายนั้นถือเป็นสัญญาประชาคม เป็นตัวกำหนดทิศทางโดยพรรคการเมือง ที่จะนำพาประเทศไปสู่อนาคต และโดยส่วนตัวผมเชื่อว่า ในช่วงระยะเวลาของการรณรงค์หาเสียงต่อไปในอนาคต นโยบายจะทวีความสำคัญยิ่งขึ้น และเชื่อว่าประชาชนจะให้ความสำคัญ และให้ความสนใจในเรื่องนโยบายมากขึ้น และเชื่อว่าการแข่งขันเชิงนโยบายจะทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ที่สำคัญคือต้องนำวาระของนโยบายมาเป็นภาระแก่ท่านทั้งหลาย ด้วยเพราะเหตุว่าพรรคประชาธิปัตย์นั้น ได้ตระหนักถึงภารกิจของความเป็นพรรคการเมืองที่จะต้องจัดทำนโยบายที่ดีทีสุด ที่จะนำเสนอเป็นทางเลือกของประชาชน
กระบวนการจัดทำนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ได้ดังเช่นที่ท่านหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้เน้นย้ำกับพวกเราตั้งแต่เช้า นั่นก็คือว่า เราเน้นน้ำกระบวนการจัดทำนโยบายของพรรคฯ ด้วยการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นด้านหลัก เราเชื่อว่านโยบายของพรรคการเมืองนั้น ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของพรรคการเมือง แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับประชาชน เพราะเป็นตัวกำหนดทิศทางอนาคตของประเทศ และมีผลกระทบกระเทือนต่อวิถีชีวิตของประชาชน เป็นอย่างยิ่ง การจัดทำนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ในระยะเวลาที่ผ่านมา จึงเป็นการมุ่งเน้นการจัดทำนโยบายที่โอกาสประชาชน และเชิญชวนประชาชนทุกสาขาอาชีพ มามีส่วนร่วมมีบทบาทในการจัดทำอย่างเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง รูปธรรมในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ระดมความเห็นจากประชาชนภาคส่วนต่างๆ เข้ามาจัดทำนโยบายที่เห็นเป็นตัวอย่างได้อย่างชัดเจน
พรรคประชาธิปัตย์ได้เริ่มต้นในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่ท่านอภิสิทธิ์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค และพรรคนั้นได้จัดให้มีการประชุมสมัชชาประชาชน เมื่อวันที่ 8 — 9 ตุลาคม 2548 มีผู้เข้าร่วมครั้งนั้นถึง 3,000 คน แล้วก็ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็น เกิดเป็นทิศทางในการพัฒนาประเทศ แล้วก็ได้ผลสรุปคือการจัดทำวาระประชาชน ที่ใช้หัวข้อ เศรษฐกิจคุณภาพ สังคมคุณธรรม ต่อมาในปี 2549 เป็นวาระของประชาชน ที่เน้นย้ำอย่างชัดเจนหนักแน่นว่า ผลประโยชน์ของประชาชน ต้องมาก่อน แต่ว่าหลังเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แม้พรรคการเมืองจะถูกห้ามทำกิจกรรมในทางการเมือง เพราะประกาศกฎ คปค. ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 แต่ก็ใช่ว่าการดำเนินการในเรื่องนโยบายของพรรค ในทางภายในจะหยุดสิ้นลงเพียงเท่านั้น เราได้มีการจัดทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีนี้ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ท่านหัวหน้าพรรคฯ ได้จัดระดมความคิดเห็นดังที่ท่านได้เรียนให้พวกเราทราบแล้วในทางวิชาการ มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ ภาคองค์กรเอกชน ภาคสื่อ และเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ได้ดำเนินการจัดวาระประชาชนที่พรรคประชาธิปัตย์ รวมแล้วถึง 9 ครั้งในช่วงระยะเวลา 2-3 เดือนที่ผ่านพ้นมา แล้วก็ได้มีการลงพื้นที่พบปะกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่างๆมาประกอบในการจัดทำนโยบาย ซึ่งล่าสุดท่านหัวหน้าพรรคได้นำคณะไปที่ภาคเหนือ ไปที่ภาคอีสาน ที่จังหวัดชัยภูมิ แล้วสุดท้ายเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ในวันที่ 14-15 กรกฎาคม ก็ได้มีการจัดวาระในเรื่องของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งในที่สุดก็นำมาซึ่งข้อสรุปที่เป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาของยุทธศาสตร์ นั่นก็คือยุทธศาสตร์ในการแก้ปัญหาความไม่สงบ มาถึงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้กำหนดเป็นนโยบาย ที่จะจัดพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษ
ในส่วนของคณะทำงานยุทธศาสตร์ ซึ่งผมและคณะได้รับมอบหมายจากท่านหัวหน้าพรรคฯ ให้รับผิดชอบก็ได้มีการดำเนินการในเรื่องของการจัดทำนโยบายมาโดยต่อเนื่อง ได้มีการรวบรวมความคิดเห็นต่างๆจากกรจัดประชุมสัมมนาระดมความคิดเห็น มีการติดตามปัญหาแล้วก็มีการจัดประชุมคณะทำงานรวมทั้งเพื่อนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ สาขาอาชีพต่างๆ ทุกสัปดาห์ แล้วช่วงหลังก็เพิ่มมาเป็นสัปดาห์ละ 2 หน เพื่อกลั่นกรองเนื้อหาทั้งหมดเป็นนโยบาย ผมขออนุญาตเรียนพวกเราเพิ่มเติมว่า หลักการสำคัญในการจัดทำนโยบายในส่วนคณะทำงานยุทธศาสตร์พรรคนั้น ได้ถือหลักให้ความสำคัญคำนึงถึงปัจจัย 3 ปัจจัยเป็นด้านหลัก ปัจจัยประการที่ 1 ก็คือ ในเรื่องของสถานการณ์และสภาพปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปหลังเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน เพราะว่าต้องยอมรับความจริงว่า รัฐบาลชุดปัจจุบัน หลังจากเราได้ประกาศนโยบายไปแล้ว ก็ได้กรุณาให้เกียรติพรรคประชาธิปัตย์นำนโยบายบางเรื่องของเราไปประกาศเป็นนโยบาย ซึ่งอันนี้ก็ถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับเรา ที่เห็นว่านโยบายของพรรคประชาธิปัตย์วันนั้นเป็นนโยบายที่ปฏิบัติได้ เป็นนโยบายที่น่าสนใจ แต่ว่าถึงอย่างไรก็ตามก็ถือเป็นภารกิจของเราที่จะนำสิ่งนั้นมาปรับปรุง เช่น ในเรื่องของการรักษาพยาบาลฟรี เป็นต้น ซึ่งเป็นภารกิจของเราทุกกลุ่มที่จะต้องนำมาจัดการดำเนินการปรับปรุง ไม่ใช่แค่เพียงว่าเมื่อประกาศเป็นนโยบายรักษาพยาบาลฟรีแล้วเนี่ยเท่านั้นก็จบกัน
สิ่งที่เป็นหน้าที่ของเราก็คือต้องคิดต่อไปว่า ทำอย่างไรที่จะให้รักษาฟรีอย่างมีคุณภาพภายใต้ภารกิจของพรรคประชาธิปัตย์นี้ก็คือสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงสถานการณ์ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ปัจจัยประการที่ 2 ก็คือเราจำเป็นที่จะต้องสร้างความสมดุลและความผสมผสานกลมกลืนให้เกิดขึ้นระหว่างอุดมการณ์ของพรรคฯ นโยบายที่ผ่านมาของพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ยุคก่อนๆ มาจนถึงยุค ฯพณฯชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี และยุคท่านบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค และนโยบายของพรรคในยุคท่านอภิสิทธิ์ ก่อนเหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน ที่จะต้องนำมาปรับปรุงผสมผสาน เข้ากับความต้องการที่แท้จริงของประชาขน ที่มีการตรวจสอบผ่านกระบวนการวิชาการ และฐานข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย ที่สมดุลระหว่างความถูกต้องกับความถูกใจ และความเป็นจริงได้ ที่มิใช่นโยบายขายฝัน นี่ก็คือสิ่งประการที่ 2 ที่เราต้องคำนึงถึง
ในประการสุดท้าย ประการที่ 3 ก็คือว่า คณะทำงานยุทธศาสตร์ได้คำนึงถึง การกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปี 2550 (ถ้าผ่านประชามติ) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะต้องจัดทำนโยบายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดที่ว่า แนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งต้องยอมรับความจริงว่า ค่อนข้างมีรายละเอียดจุกจิกตามสมควร และเกือบจะเรียกได้ว่า กลายเป็นแนวนโยบายรัฐบาลมากกว่า จะเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ ที่ควรจะเป็น แต่ว่าถึงอย่างไร ถ้ามีการประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ เราก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเขียนนโยบายของพรรคให้สอดคล้องต้องกัน กับปัจจัยประการนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ในส่วนขอนโยบายของพรรคนั้น จะมีการจัดทำเป็น 2 ส่วนครับ ส่วนที่ 1 ก็คือ ส่วนที่เรียกว่านโยบายฉบับเต็ม ซึ่งจะครอบคลุมเรื่องราวต่างๆ ประมาณ 40 เรื่อง และจะใช้สำหรับให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรค สาขาพรรค และผู้ที่สนใจได้นำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชน ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ถึงทิศทางนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ แต่นโยบายในส่วนที่ 2 ก็คือ เป็นนโยบายเพื่อการรณรงค์ ผ่านสื่อไปสู่ประชาชน ซึ่งวันนี้ได้เริ่มมีการเปิดตัวนโยบายรณรงค์ที่ผมเรียนให้ทราบผ่านหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ในเรื่องราวต่างๆ ซึ่งจะมีการดำเนินการต่อไป เป็นลำดับๆ ซึ่งผมเชื่อว่า เพื่อนสมาชิกหลายท่านจะได้ติดตามทางสถานีโทรทัศน์ เกือบจะเรียกว่าทุกช่องนะครับ ก็ได้เริ่มต้นในวันนี้ เป็นต้นไป และก็จะมีตามมาอีกเป็นลำดับ อย่างไรก็ตามผมขอเรียนว่า กระบวนการจัดทำนโยบายของพรรคฯ จบนะครับ
เพราะฉะนั้นวันนี้ จึงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ พรรคได้จัดวาระระดมพลังความคิดสู่นโยบาย ซึ่งจะดำเนินการในช่วงบ่าย ผมขอเรียนว่า เราจะแบ่งกลุ่มพวกเราที่สนใจออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มการเมือง เศรษฐกิจ และกลุ่มสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะหาคำตอบจากทุกท่านไปประกอบการจัดทำเป็นนโยบาย และจัดทำเป็นวาระประชาชน ซึ่งมีคำถามและปัญหา ที่ท้าทายพวกเราประชาธิปัตย์อยู่จำนวนมากมาย ดังเช่นที่ท่านหัวหน้าพรรคฯ ได้เรียนให้พวกเราทราบไปเมื่อสักครู่นี้ รวมทั้งคำถามอื่นๆ เช่น ทำอย่างไรที่จะให้คนไทยฉลาด แข็งแรง เราจะพัฒนาเศรษฐกิจชนบทและนำเกษตรกรพ้นจากความยากจน ได้อย่างไร ทำย่างไรให้คนไทยได้มีหลักประกันสวัสดิการในชีวิต และสวัสดิการในชีวิตดีขึ้น เราจะลดต้นทุนทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านการคมนาคม ขนส่ง ด้านพลังงาน และด้านอื่นๆ เพื่อนำประเทศไปสู่การปฏิรูปการพัฒนาเศรษฐกิจ และเพื่อเชื่อมโยงไทย เชื่อมโลกได้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทำอย่างไร การเมืองไทยจึงใสสะอาด ทำอย่างไรใต้จึงจะพบกับความสันติสุข เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นคำถามที่ท้าทายท่านทั้งหลาย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 20 ก.ค. 2550--จบ--