แท็ก
ถ่านอัดแท่ง
ความต้องการของตลาดในปัจจุบันและอนาคต
เนื่องจากปัจจุบันมีการตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีการนำทรัพยากรที่เหลือใช้กลับมาแปรสภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบกับประเทศไทยมีการผลิต สินค้าที่มีส่วนประกอบจากวัตถุดิบไม้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดเศษขี้เลื่อยจากเศษไม้ที่เกิดจากการผลิตเป็นจำนวนมาก และเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของเศษขี้เลื่อยไม้ดังกล่าว จึงมีการนำเอาเศษขี้เลื่อยไม้นั้น มาแปรสภาพโดยเข้ากระบวนการอัดแท่งเพื่อเป็นถ่านอัดแท่งใช้ประโยชน์ต่างๆตามลักษณะการใช้งาน เช่นการใช้เป็นเชื้อฟืนตามร้านอาหารต่างๆหรือใช้ภายในบ้านพักอาศัย หรือโรงงานต่างๆเป็นต้น
ถ่านอัดแท่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนถ่านจากป่าไม้ธรรมชาติที่กำลังจะหมดไปได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้อย่างคุ้มค่า เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาผลิตคือ เศษขี้เลื่อยจาก ไม้เนื้อแข็งทั่วไปและจากไม้ยางพาราซึ่งมีมากในภาคตะวันออกซึ่งอยู่ภายในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 9 ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจในการลงทุนที่อาศัยอยู่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9 เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบในการผลิต หรือถ้ามีการขาดแคลนก็อาจนำวัสดุอื่นทดแทนได้ เช่น เปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เปลือกไม้ยูคาลิปตัส และกะลาปาล์มที่เป็นกากวัสดุที่เหลือใช้ จากการผลิตน้ำมันปาล์มของโรงงานที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
รายละเอียดทางด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัญหา อุปสรรคและ ข้อเสนอแนะในการประกอบกิจการ รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาใน การลงทุนของอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่ง มีดังต่อไปนี้
จำนวนผู้ผลิตและผู้นำเข้า
ปัจจุบันผู้ประกอบการอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งภายในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 62 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 2 ราย ผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 60 ราย (ข้อมูลจากกรมโรงงาน ณ. เดือนมีนาคม 2545) และผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จำนวน 1 ราย (ข้อมูลจาก WWW.THAITAMBON.COM) ส่วนผู้นำเข้าในอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งมีจำนวน 19 ราย และผู้ส่งออกสินค้าถ่านอัดแท่งมีจำนวน 36 ราย โดยมีรายละเอียดดังตารางแสดงรายชื่อผู้นำเข้าและผู้ส่งออก
อุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งมีผู้ประกอบการที่อยู่ภายในเขตความรับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จำนวนทั้งสิ้น 6 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 9.67 ของผู้ประกอบการทั้งประเทศโดยเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 2 รายและผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 4 ราย
ผู้ผลิตและผู้นำตลาดที่สำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งได้แก่ ริษัท พี แอนด์ เอ ชาร์โคลไทย จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุนจดทะเบียน 12,400,000 บาท บริษัท เอส.เอ็น.พี จำกัด จังหวัดยโสธร ทุนจดทะเบียน 9,600,000 บาท และบริษัท นาทวีรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดสงขลา ทุนจดทะเบียน 5,100,000 บาท ส่วนผู้ผลิตและผู้นำตลาดถ่านอัดแท่งที่อยู่ภายในเขตอุตสาหกรรมภาค9 ได้แก่ บริษัท ชลบุรี ศาลาคู่ จำกัด จังหวัดชลบุรี ทุนจดทะเบียน 18,284,000 บาท
ภาวะตลาดในประเทศและการส่งออกนำเข้า
ลักษณะของถ่านอัดแท่งสำเร็จรูปมีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่แตกประทุ ขี้เถ้าน้อยไม่ฟุ้งกระจาย ไม่ทำลายสุขภาพ ให้ความร้อนสูงสม่ำเสมอและทนทานใช้งานได้มากกว่า ถ่านไม้ธรรมดาอย่างน้อย 2.5 เท่าโดยผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในขนาด มาตรฐาน 2 ขนาดดังนี้
1. ถ่านอัดแท่งรูปทรงกระบอก มีรูกลวง ขนาด 4 X 4.5 เซนติเมตร
2. ถ่านอัดแท่งรูปทรงกระบอก มีรูกลวง ขนาด 20 X 4.5 เซนติเมตร
ราคาจำหน่ายสินค้าถ่านอัดแท่งอยู่ที่ กิโลกรัมละ 12-15 บาท โดยบรรจุใส่กระสอบพลาสติก น้ำหนัก 30 กิโลกรัม
ตลาดถ่านอัดแท่งภายในประเทศไทยมีความต้องการเพื่อใช้เป็นเชื้อฟืนในการประกอบอาหารตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนกระทั่งภัตตาคารใหญ่ ประกอบกับปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของร้านอาหารประเภทย่างและปิ้งในรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดมากมาย และมีการเล็งเห็นถึงอันตรายจากการใช้แก็สในการย่างหรือปิ้งอาหาร ดังนั้นจึงมีการใช้ถ่านในการประกอบอาหารเพิ่มมากขึ้น ความต้องการในการใช้ถ่านก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
เนื่องจากประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9 มีปริมาณเศษขี้เลื่อยจากไม้(โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ยางพารา) ที่เป็นวัตถุดิบในการนำมาทำเป็นถ่านอัดแท่งอยู่มาก ดังนั้นถ้ามีการพัฒนาและให้การสนับสนุนในอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งให้กับผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนก็จะเกิดประโยชน์มากเพราะมีตลาดรองรับทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ด้านการนำเข้าถ่านอัดแท่งเพื่อนำมาขายภายในประเทศนั้นพบว่า ยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศในมูลค่าที่ไม่มากนัก โดยมีการนำเข้าถ่านอัดแท่งจากทั่วโลก เท่ากับ 43.15 และ 27.41 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2543และ2544 ซึ่งมีการนำเข้าจากประเทศพม่ามากที่สุดในสัดส่วนถึงร้อยละ 80-90 ในแต่ละปี
ตลาดสำหรับการจำหน่ายสินค้าถ่านอัดแท่งภายในประเทศแบ่งเป็น 2 ตลาดคือ
1. ตลาดท้องถิ่นหรือตลาดต่างจังหวัด โดยมุ่งเน้นตลาดโรงแรม ห้องอาหาร และภัตตาคาร ซึ่งจะมีการส่งไปยังพ่อค้าคนกลาง (ร้านขายของชำ) หรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านอัดแท่งในต่างจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดใกล้เคียงกับจังหวัดที่อยู่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9 เพื่อเป็นการประหยัดค่าขนส่งสินค้าถ่านอัดแท่ง
2. ตลาดสินค้าถ่านอัดแท่งในกรุงเทพมหานคร โดยมีการส่งไปยังพ่อค้าคนกลางที่เชื่อถือได้ มุ่งเน้นไปตามร้านอาหารประเภทปิ้งและย่างที่เกิดขึ้นมากมายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ของผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9 และมีระยะทางที่ไม่ใกล้จากแหล่งผลิตมากนัก สะดวกในการขนส่งสินค้าถ่านอัดแท่ง
ภาวะตลาดต่างประเทศ
ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าถ่านอัดแท่งไปยังตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 22.21 และ 47.22 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวในการส่งออกเท่ากับ -63.02 และ 112.61 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสินค้าถ่านอัดแท่งที่สำคัญของประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ประเทศญี่ปุ่นโดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่นเท่ากับ 12.22 และ 25.20 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 55.01 และ 53.36 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
เกาหลีใต้โดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปเกาหลีใต้เท่ากับ 0.36 และ 7.06 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 1.63 และ 14.96 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ไต้หวันโดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปไต้หวันเท่ากับ 2.40 และ 6.38 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 10.82 และ 13.51 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ฮ่องกง โดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปฮ่องกงเท่ากับ 1.69 และ 2.62 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 7.59 และ 5.54 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
มาเลเซียโดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปประเทศมาเลเซียเท่ากับ 1.23 และ 1.33 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5.55 และ 2.81 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
แนวโน้มของตลาดในอนาคต
เนื่องจากการบริโภคอาหารในรูปแบบปิ้ง ย่าง ภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยที่มีตลาดส่งออกอยู่ในประเทศที่นิยมที่ใช้ถ่านในการประกอบอาหาร เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี หรือไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไม่สูงเช่นสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆของประเทศ แต่เนื่องด้วยวัตถุดิบในการผลิตเช่นวัสดุเศษไม้ที่มีอยู่มากในประเทศไทยและภาคตะวันออกที่อยู่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีผู้ประกอบการกิจการประเภทนี้รวมทั้งขยายตลาดส่งออกถ่านอัดแท่งในตลาดเดิมที่มีการส่งออกอยู่แล้วและตลาดใหม่ที่มีความต้องการถ่านอัดแท่งในอนาคต
ปัญหาและอุปสรรค
1. ความได้เปรียบของคู่แข่งในแง่ของราคาและต้นทุนการส่งออก เช่นสินค้าจากประเทศพม่า รวมถึงความได้เปรียบทางเทคโนโลยีการผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่มีมากจากสินค้าของมาเลเซียอาจมีผลให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดเข้มข้นขึ้น
2. มีปัญหาในด้านการสนับสนุนทางด้านเงินทุนช่วยเหลือในผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเนื่องจากการลงทุนในกิจการประเภทนี้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการในด้านเครื่องจักรในการผลิต
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตให้มีความทันสมัยเพื่อรองรับการขยายตัวในอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งและเป็นการช่วยลดมลภาวะเป็นพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง
2. ควรมีการรณรงค์ให้คนไทยใช้ผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งทดแทนการใช้แก็สหรือเชื้อเพลิงอื่นๆที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศและเป็นการสิ้นเปลืองเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งช่วยกันสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศอีกทางหนึ่ง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
เนื่องจากปัจจุบันมีการตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีการนำทรัพยากรที่เหลือใช้กลับมาแปรสภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบกับประเทศไทยมีการผลิต สินค้าที่มีส่วนประกอบจากวัตถุดิบไม้เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดเศษขี้เลื่อยจากเศษไม้ที่เกิดจากการผลิตเป็นจำนวนมาก และเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของเศษขี้เลื่อยไม้ดังกล่าว จึงมีการนำเอาเศษขี้เลื่อยไม้นั้น มาแปรสภาพโดยเข้ากระบวนการอัดแท่งเพื่อเป็นถ่านอัดแท่งใช้ประโยชน์ต่างๆตามลักษณะการใช้งาน เช่นการใช้เป็นเชื้อฟืนตามร้านอาหารต่างๆหรือใช้ภายในบ้านพักอาศัย หรือโรงงานต่างๆเป็นต้น
ถ่านอัดแท่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทดแทนถ่านจากป่าไม้ธรรมชาติที่กำลังจะหมดไปได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้อย่างคุ้มค่า เนื่องจากวัตถุดิบที่นำมาผลิตคือ เศษขี้เลื่อยจาก ไม้เนื้อแข็งทั่วไปและจากไม้ยางพาราซึ่งมีมากในภาคตะวันออกซึ่งอยู่ภายในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ 9 ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจในการลงทุนที่อาศัยอยู่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9 เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านวัตถุดิบในการผลิต หรือถ้ามีการขาดแคลนก็อาจนำวัสดุอื่นทดแทนได้ เช่น เปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เปลือกไม้ยูคาลิปตัส และกะลาปาล์มที่เป็นกากวัสดุที่เหลือใช้ จากการผลิตน้ำมันปาล์มของโรงงานที่ได้มาตรฐาน เป็นต้น
รายละเอียดทางด้านการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ปัญหา อุปสรรคและ ข้อเสนอแนะในการประกอบกิจการ รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนและให้คำปรึกษาใน การลงทุนของอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่ง มีดังต่อไปนี้
จำนวนผู้ผลิตและผู้นำเข้า
ปัจจุบันผู้ประกอบการอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งภายในประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 62 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 2 ราย ผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 60 ราย (ข้อมูลจากกรมโรงงาน ณ. เดือนมีนาคม 2545) และผู้ประกอบการระดับท้องถิ่นในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์จำนวน 1 ราย (ข้อมูลจาก WWW.THAITAMBON.COM) ส่วนผู้นำเข้าในอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งมีจำนวน 19 ราย และผู้ส่งออกสินค้าถ่านอัดแท่งมีจำนวน 36 ราย โดยมีรายละเอียดดังตารางแสดงรายชื่อผู้นำเข้าและผู้ส่งออก
อุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งมีผู้ประกอบการที่อยู่ภายในเขตความรับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จำนวนทั้งสิ้น 6 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 9.67 ของผู้ประกอบการทั้งประเทศโดยเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางจำนวน 2 รายและผู้ประกอบการขนาดเล็กจำนวน 4 ราย
ผู้ผลิตและผู้นำตลาดที่สำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งได้แก่ ริษัท พี แอนด์ เอ ชาร์โคลไทย จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทุนจดทะเบียน 12,400,000 บาท บริษัท เอส.เอ็น.พี จำกัด จังหวัดยโสธร ทุนจดทะเบียน 9,600,000 บาท และบริษัท นาทวีรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดสงขลา ทุนจดทะเบียน 5,100,000 บาท ส่วนผู้ผลิตและผู้นำตลาดถ่านอัดแท่งที่อยู่ภายในเขตอุตสาหกรรมภาค9 ได้แก่ บริษัท ชลบุรี ศาลาคู่ จำกัด จังหวัดชลบุรี ทุนจดทะเบียน 18,284,000 บาท
ภาวะตลาดในประเทศและการส่งออกนำเข้า
ลักษณะของถ่านอัดแท่งสำเร็จรูปมีคุณสมบัติพิเศษคือ ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่แตกประทุ ขี้เถ้าน้อยไม่ฟุ้งกระจาย ไม่ทำลายสุขภาพ ให้ความร้อนสูงสม่ำเสมอและทนทานใช้งานได้มากกว่า ถ่านไม้ธรรมดาอย่างน้อย 2.5 เท่าโดยผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในขนาด มาตรฐาน 2 ขนาดดังนี้
1. ถ่านอัดแท่งรูปทรงกระบอก มีรูกลวง ขนาด 4 X 4.5 เซนติเมตร
2. ถ่านอัดแท่งรูปทรงกระบอก มีรูกลวง ขนาด 20 X 4.5 เซนติเมตร
ราคาจำหน่ายสินค้าถ่านอัดแท่งอยู่ที่ กิโลกรัมละ 12-15 บาท โดยบรรจุใส่กระสอบพลาสติก น้ำหนัก 30 กิโลกรัม
ตลาดถ่านอัดแท่งภายในประเทศไทยมีความต้องการเพื่อใช้เป็นเชื้อฟืนในการประกอบอาหารตั้งแต่ระดับครัวเรือนจนกระทั่งภัตตาคารใหญ่ ประกอบกับปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของร้านอาหารประเภทย่างและปิ้งในรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดมากมาย และมีการเล็งเห็นถึงอันตรายจากการใช้แก็สในการย่างหรือปิ้งอาหาร ดังนั้นจึงมีการใช้ถ่านในการประกอบอาหารเพิ่มมากขึ้น ความต้องการในการใช้ถ่านก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
เนื่องจากประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9 มีปริมาณเศษขี้เลื่อยจากไม้(โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ยางพารา) ที่เป็นวัตถุดิบในการนำมาทำเป็นถ่านอัดแท่งอยู่มาก ดังนั้นถ้ามีการพัฒนาและให้การสนับสนุนในอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งให้กับผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนก็จะเกิดประโยชน์มากเพราะมีตลาดรองรับทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ด้านการนำเข้าถ่านอัดแท่งเพื่อนำมาขายภายในประเทศนั้นพบว่า ยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศในมูลค่าที่ไม่มากนัก โดยมีการนำเข้าถ่านอัดแท่งจากทั่วโลก เท่ากับ 43.15 และ 27.41 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2543และ2544 ซึ่งมีการนำเข้าจากประเทศพม่ามากที่สุดในสัดส่วนถึงร้อยละ 80-90 ในแต่ละปี
ตลาดสำหรับการจำหน่ายสินค้าถ่านอัดแท่งภายในประเทศแบ่งเป็น 2 ตลาดคือ
1. ตลาดท้องถิ่นหรือตลาดต่างจังหวัด โดยมุ่งเน้นตลาดโรงแรม ห้องอาหาร และภัตตาคาร ซึ่งจะมีการส่งไปยังพ่อค้าคนกลาง (ร้านขายของชำ) หรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าถ่านอัดแท่งในต่างจังหวัดโดยเฉพาะจังหวัดใกล้เคียงกับจังหวัดที่อยู่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9 เพื่อเป็นการประหยัดค่าขนส่งสินค้าถ่านอัดแท่ง
2. ตลาดสินค้าถ่านอัดแท่งในกรุงเทพมหานคร โดยมีการส่งไปยังพ่อค้าคนกลางที่เชื่อถือได้ มุ่งเน้นไปตามร้านอาหารประเภทปิ้งและย่างที่เกิดขึ้นมากมายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ของผู้ประกอบการที่อยู่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 9 และมีระยะทางที่ไม่ใกล้จากแหล่งผลิตมากนัก สะดวกในการขนส่งสินค้าถ่านอัดแท่ง
ภาวะตลาดต่างประเทศ
ประเทศไทยมีการส่งออกสินค้าถ่านอัดแท่งไปยังตลาดโลกคิดเป็นมูลค่า 22.21 และ 47.22 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2543 และ 2544 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวในการส่งออกเท่ากับ -63.02 และ 112.61 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกสินค้าถ่านอัดแท่งที่สำคัญของประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ประเทศญี่ปุ่นโดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปประเทศญี่ปุ่นเท่ากับ 12.22 และ 25.20 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 55.01 และ 53.36 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
เกาหลีใต้โดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปเกาหลีใต้เท่ากับ 0.36 และ 7.06 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 1.63 และ 14.96 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ไต้หวันโดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปไต้หวันเท่ากับ 2.40 และ 6.38 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 10.82 และ 13.51 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
ฮ่องกง โดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปฮ่องกงเท่ากับ 1.69 และ 2.62 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 7.59 และ 5.54 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
มาเลเซียโดยมีมูลค่าส่งออกถ่านอัดแท่งจากประเทศไทยไปประเทศมาเลเซียเท่ากับ 1.23 และ 1.33 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5.55 และ 2.81 ของมูลค่าการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยในปีพ.ศ.2543 และ 2544 ตามลำดับ
แนวโน้มของตลาดในอนาคต
เนื่องจากการบริโภคอาหารในรูปแบบปิ้ง ย่าง ภายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและการส่งออกถ่านอัดแท่งของประเทศไทยที่มีตลาดส่งออกอยู่ในประเทศที่นิยมที่ใช้ถ่านในการประกอบอาหาร เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี หรือไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าจะมีมูลค่าการส่งออกไม่สูงเช่นสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆของประเทศ แต่เนื่องด้วยวัตถุดิบในการผลิตเช่นวัสดุเศษไม้ที่มีอยู่มากในประเทศไทยและภาคตะวันออกที่อยู่ในเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีผู้ประกอบการกิจการประเภทนี้รวมทั้งขยายตลาดส่งออกถ่านอัดแท่งในตลาดเดิมที่มีการส่งออกอยู่แล้วและตลาดใหม่ที่มีความต้องการถ่านอัดแท่งในอนาคต
ปัญหาและอุปสรรค
1. ความได้เปรียบของคู่แข่งในแง่ของราคาและต้นทุนการส่งออก เช่นสินค้าจากประเทศพม่า รวมถึงความได้เปรียบทางเทคโนโลยีการผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่มีมากจากสินค้าของมาเลเซียอาจมีผลให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดเข้มข้นขึ้น
2. มีปัญหาในด้านการสนับสนุนทางด้านเงินทุนช่วยเหลือในผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเนื่องจากการลงทุนในกิจการประเภทนี้ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการในด้านเครื่องจักรในการผลิต
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตให้มีความทันสมัยเพื่อรองรับการขยายตัวในอุตสาหกรรมถ่านอัดแท่งและเป็นการช่วยลดมลภาวะเป็นพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง
2. ควรมีการรณรงค์ให้คนไทยใช้ผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งทดแทนการใช้แก็สหรือเชื้อเพลิงอื่นๆที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศและเป็นการสิ้นเปลืองเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งช่วยกันสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศอีกทางหนึ่ง
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-