แท็ก
มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
พรรคประชาธิปัตย์
ร่างรัฐธรรมนูญ
อลงกรณ์ พลบุตร
สุขภัณฑ์กะรัต
อาหารสยาม
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวอภิปรายในหัวข้อ “ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ : ประชาชนได้อะไร ?” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ว่า ประชาชนจะได้ 3 ประเด็นสำคัญจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
1. ได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา
2. ได้ เศรษฐกิจกลับคืนมา
3.ได้ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบที่ดีกลับคืนมา
ประการแรก ประชาชนจะได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา
ทั้งนี้นับแต่มีการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ทำให้รัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกฉีกทิ้ง อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่ประชาธิปไตยเริ่มชัดเจนเมื่อ สสร.เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อ 6 ก.ค. 2550 และกำหนดวันออกเสียงลงประชามติ 19 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ถ้ารัฐธรรมนูญใหม่ผ่านฉันทานุมัติจากประชาชน การเลือกตั้งก็จะมีขึ้นในเดือน ธันวาคม 2550 เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลและรัฐสภาของประชาชน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ย้ำด้วยว่า “ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ กุญแจสำคัญสู่การคืนอำนาจกลับมาที่ประชาชนและฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย “ โดยยกตัวอย่าง ประเทศพม่าที่คณะทหารยึดอำนาจและถ่วงการคืนประชาธิปไตยโดยการยกร่างรัฐธรรมนูญ 7 ชั่วโคตรและถูกต่างชาติบอยคอต ซึ่งต่างจากสถานการณ์ในประเทศไทย
ประการที่สอง ประชาชนจะได้เศรษฐกิจกลับคืนมา
นายอลงกรณ์กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศบอบช้ำเพราะผลกระทบจาก วิกฤติการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อและไม่แน่นอนเกือบ 2 ปีส่งผลให้ความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจประเทศไทยทั้งจากต่างประเทศและในประเทศลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง พิจารณาได้จาก ดัชนีการลงทุนและ ดัชนีการบริโภคชะลอตัว คนว่างงานมากขึ้น กระทบปัญหาปากท้องของประชาชนโดยตรง การฟื้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต้องสร้างความชัดเจนของอนาคตทางการเมือง และ“ รัฐธรรมนูญจะนำมาซึ่งรัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยตรง ประเทศชาติและประชาชนบอบช้ำมามากแล้ว วันนี้มีแต่รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะช่วยฉุดประเทศให้พ้นจากปลักตมของความตกต่ำทางเศรษฐกิจ“
ประการที่สาม ประชาชนจะได้ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบที่ดีกลับคืนมา
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้ความเห็นว่า หัวใจของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอยู่ที่ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบ (Check& Balance) ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้ช่วยซ่อมแซมจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญปี 2540 และเสริมสร้างระบบถ่วงดุลและตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพและเกิดดุลยภาพให้กับระบบรัฐสภาเพื่อป้องกันการใช้อำนาจรัฐแบบฉ้อฉล (abuse of power)และทุจริต(corruption)
โดยเฉพาะระบบถ่วงดุลและตรวจสอบ 4 ระบบ ของระบอบประชาธิปไตยไทยได้แก่
1. รัฐสภา
ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทำได้ง่ายขึ้นโดยใช้เสียง ส.ส. 1 ใน 5 สำหรับการยื่นอภิปรายนายกรัฐมนตรี และ 1 ใน 6 สำหรับอภิปรายรัฐมนตรีและหากฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอจำนวนดังกล่าวก็มีสิทธิอภิปรายได้เมื่อครบ 2 ปี นอกจากนี้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ยังให้ความคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. ให้เป็นอิสระจากพรรคการเมืองที่สังกัดกรณีการตั้งกระทู้ และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รวมทั้งการคุ้มครองวุฒิสภาให้ปลอดจากอิทธิพลของพรรคการเมือง
“ รัฐธรรมนูญปี 2540 ต้องการมีรัฐบาลที่เข้มแข็งจึงกำหนดให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจกระทำได้ยากผลคือผู้นำรัฐบาลไม่ถูกตรวจสอบโดยสภาฯ.ทำให้เกิดการคอรัปชั่นในวงการเมืองอย่างรุนแรง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จึงนำระบบถ่วงดุลและตรวจสอบที่ดีกลับคืนมาให้กับระบบรัฐสภา”
2. สื่อมวลชน
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนหมาเฝ้าบ้านของประชาชนคอยตรวจสอบพฤติกรรมฉ้อฉลและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม แต่ภายใต้ระบอบทักษิณมีการแทรกแซงแทรกซื้อและครอบงำสื่อมวลชนทั้งสื่อรัฐและเอกชนทำให้ระบบตรวจสอบโดยสื่อมวลชนกลายเป็นเป็ดง่อย ดังนั้นจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญใหม่จึงฟื้นฟูการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนดังนี้
1. ห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนของรัฐและเอกชน
2. ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชน
ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสื่อมวลชนให้ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม(public interest)ได้อย่างเป็นกลางและมีอิสระ
3. ประชาชนและชุมชน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ชี้ต่อไปว่า รากฐานของระบอบประชาธิปไตยอยู่ที่ประชาชนและชุมชน ด้วยเหตุนี้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จึงบัญญัติหลักการเพิ่มอำนาจประชาชนและชุมชนไว้อย่างก้าวหน้ากว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ดังนี้
1. อำนาจเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 10,000 คน ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดไว้ 50,000 คน
2. อำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 20,000 คน ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดไว้ 50,000 คน
3. อำนาจเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 50,000 คน ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ไม่ได้กำหนดไว้
4. อำนาจชุมชนในการฟ้องศาลกรณีละเมิดสิทธิชุมชน
5. อำนาจประชาชนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญกรณีกรณีละเมิดสิทธิเสรีภาพ และกรณีเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจไม่เป็นธรรม
4. องค์กรอิสระ
การแทรกแซงและครอบงำองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญของระบอบทักษิณทำให้องค์กรเหล่านั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการปรับปรุงกระบวนการสรรหาการสรรหาองค์กรอิสระให้พ้นจากอิทธิพลทางการเมืองและคุ้มครองความเป็นอิสระ รวมทั้งส่งเสริมความเข้มแข็งและความมีประสิทธิภาพขององค์กรอิสระเช่น ปปช. ,สตง. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และยังมีบทบัญญัติสำคัญๆดังนี้
1. บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับฟ้องโดยตรงกรณีประชาชนถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ
2. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจวินิจฉัยผู้จงใจกระทำผิดเกี่ยวกับการแสดงบัญชีหนี้สินและทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3. ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภามีอำนาจพิจารณาเรื่องที่ประชาชนเสียหายได้โดยไม่ต้องมีการร้องเรียนหากเจ้าหน้าที่รัฐละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
4. เพิ่มการถ่วงดุลอำนาจของ กกต. โดยให้ ผู้สมัครส.ส.และ ส.ว.อุทธรณ์ใบเหลืองใบแดงต่อ ศาลฎีกา และผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับท้องถิ่นอุทธรณ์ใบเหลืองใบแดงต่อศาลอุทธรณ์ ซึ่งการถ่วงดุลองค์กรอิสระเช่น กกต.ถือเป็นหลักการที่ถูกต้องและเพิ่งมีการกำหนดขึ้นใหม่ภายหลังจาก กกต.ในอดีตถูกศาลตัดสินให้มีความผิดทางอาญาฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะรัฐธรรมนูญปี 2540 ให้อำนาจเบ็ดเสร็จกับ กกต.โดยปราศจากการถ่วงดุล
อดีต ส.ส.อลงกรณ์กล่าวว่า “ องค์กรอิสระเสมือนเป็นอำนาจอธิปไตยที่ 4 ที่มีความสำคัญในระบบถ่วงดุลและตรวจสอบที่จะช่วยเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของไทยและเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดจนดูแลการใช้อำนาจรัฐให้เป็นไปบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล”
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงลงประชามติรัฐธรรมนูญครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทยในวันที่ 19 สิงหาคมศกนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ส.ค. 2550--จบ--
1. ได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา
2. ได้ เศรษฐกิจกลับคืนมา
3.ได้ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบที่ดีกลับคืนมา
ประการแรก ประชาชนจะได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา
ทั้งนี้นับแต่มีการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ทำให้รัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกฉีกทิ้ง อย่างไรก็ตาม เส้นทางสู่ประชาธิปไตยเริ่มชัดเจนเมื่อ สสร.เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อ 6 ก.ค. 2550 และกำหนดวันออกเสียงลงประชามติ 19 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ถ้ารัฐธรรมนูญใหม่ผ่านฉันทานุมัติจากประชาชน การเลือกตั้งก็จะมีขึ้นในเดือน ธันวาคม 2550 เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลและรัฐสภาของประชาชน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ย้ำด้วยว่า “ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ กุญแจสำคัญสู่การคืนอำนาจกลับมาที่ประชาชนและฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย “ โดยยกตัวอย่าง ประเทศพม่าที่คณะทหารยึดอำนาจและถ่วงการคืนประชาธิปไตยโดยการยกร่างรัฐธรรมนูญ 7 ชั่วโคตรและถูกต่างชาติบอยคอต ซึ่งต่างจากสถานการณ์ในประเทศไทย
ประการที่สอง ประชาชนจะได้เศรษฐกิจกลับคืนมา
นายอลงกรณ์กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศบอบช้ำเพราะผลกระทบจาก วิกฤติการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อและไม่แน่นอนเกือบ 2 ปีส่งผลให้ความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจประเทศไทยทั้งจากต่างประเทศและในประเทศลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง พิจารณาได้จาก ดัชนีการลงทุนและ ดัชนีการบริโภคชะลอตัว คนว่างงานมากขึ้น กระทบปัญหาปากท้องของประชาชนโดยตรง การฟื้นความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจต้องสร้างความชัดเจนของอนาคตทางการเมือง และ“ รัฐธรรมนูญจะนำมาซึ่งรัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยตรง ประเทศชาติและประชาชนบอบช้ำมามากแล้ว วันนี้มีแต่รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะช่วยฉุดประเทศให้พ้นจากปลักตมของความตกต่ำทางเศรษฐกิจ“
ประการที่สาม ประชาชนจะได้ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบที่ดีกลับคืนมา
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ให้ความเห็นว่า หัวใจของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาอยู่ที่ระบบถ่วงดุลและตรวจสอบ (Check& Balance) ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้ช่วยซ่อมแซมจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญปี 2540 และเสริมสร้างระบบถ่วงดุลและตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพและเกิดดุลยภาพให้กับระบบรัฐสภาเพื่อป้องกันการใช้อำนาจรัฐแบบฉ้อฉล (abuse of power)และทุจริต(corruption)
โดยเฉพาะระบบถ่วงดุลและตรวจสอบ 4 ระบบ ของระบอบประชาธิปไตยไทยได้แก่
1. รัฐสภา
ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทำได้ง่ายขึ้นโดยใช้เสียง ส.ส. 1 ใน 5 สำหรับการยื่นอภิปรายนายกรัฐมนตรี และ 1 ใน 6 สำหรับอภิปรายรัฐมนตรีและหากฝ่ายค้านมีเสียงไม่พอจำนวนดังกล่าวก็มีสิทธิอภิปรายได้เมื่อครบ 2 ปี นอกจากนี้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ยังให้ความคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส. ให้เป็นอิสระจากพรรคการเมืองที่สังกัดกรณีการตั้งกระทู้ และการลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รวมทั้งการคุ้มครองวุฒิสภาให้ปลอดจากอิทธิพลของพรรคการเมือง
“ รัฐธรรมนูญปี 2540 ต้องการมีรัฐบาลที่เข้มแข็งจึงกำหนดให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจกระทำได้ยากผลคือผู้นำรัฐบาลไม่ถูกตรวจสอบโดยสภาฯ.ทำให้เกิดการคอรัปชั่นในวงการเมืองอย่างรุนแรง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จึงนำระบบถ่วงดุลและตรวจสอบที่ดีกลับคืนมาให้กับระบบรัฐสภา”
2. สื่อมวลชน
สื่อมวลชนเปรียบเสมือนหมาเฝ้าบ้านของประชาชนคอยตรวจสอบพฤติกรรมฉ้อฉลและการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม แต่ภายใต้ระบอบทักษิณมีการแทรกแซงแทรกซื้อและครอบงำสื่อมวลชนทั้งสื่อรัฐและเอกชนทำให้ระบบตรวจสอบโดยสื่อมวลชนกลายเป็นเป็ดง่อย ดังนั้นจุดเด่นของร่างรัฐธรรมนูญใหม่จึงฟื้นฟูการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนดังนี้
1. ห้ามแทรกแซงสื่อมวลชนของรัฐและเอกชน
2. ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชน
ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสื่อมวลชนให้ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของส่วนรวม(public interest)ได้อย่างเป็นกลางและมีอิสระ
3. ประชาชนและชุมชน
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ชี้ต่อไปว่า รากฐานของระบอบประชาธิปไตยอยู่ที่ประชาชนและชุมชน ด้วยเหตุนี้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จึงบัญญัติหลักการเพิ่มอำนาจประชาชนและชุมชนไว้อย่างก้าวหน้ากว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 ดังนี้
1. อำนาจเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 10,000 คน ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดไว้ 50,000 คน
2. อำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 20,000 คน ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2540 กำหนดไว้ 50,000 คน
3. อำนาจเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 50,000 คน ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ไม่ได้กำหนดไว้
4. อำนาจชุมชนในการฟ้องศาลกรณีละเมิดสิทธิชุมชน
5. อำนาจประชาชนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญกรณีกรณีละเมิดสิทธิเสรีภาพ และกรณีเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจไม่เป็นธรรม
4. องค์กรอิสระ
การแทรกแซงและครอบงำองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญของระบอบทักษิณทำให้องค์กรเหล่านั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการปรับปรุงกระบวนการสรรหาการสรรหาองค์กรอิสระให้พ้นจากอิทธิพลทางการเมืองและคุ้มครองความเป็นอิสระ รวมทั้งส่งเสริมความเข้มแข็งและความมีประสิทธิภาพขององค์กรอิสระเช่น ปปช. ,สตง. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และยังมีบทบัญญัติสำคัญๆดังนี้
1. บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับฟ้องโดยตรงกรณีประชาชนถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ
2. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจวินิจฉัยผู้จงใจกระทำผิดเกี่ยวกับการแสดงบัญชีหนี้สินและทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3. ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภามีอำนาจพิจารณาเรื่องที่ประชาชนเสียหายได้โดยไม่ต้องมีการร้องเรียนหากเจ้าหน้าที่รัฐละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
4. เพิ่มการถ่วงดุลอำนาจของ กกต. โดยให้ ผู้สมัครส.ส.และ ส.ว.อุทธรณ์ใบเหลืองใบแดงต่อ ศาลฎีกา และผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับท้องถิ่นอุทธรณ์ใบเหลืองใบแดงต่อศาลอุทธรณ์ ซึ่งการถ่วงดุลองค์กรอิสระเช่น กกต.ถือเป็นหลักการที่ถูกต้องและเพิ่งมีการกำหนดขึ้นใหม่ภายหลังจาก กกต.ในอดีตถูกศาลตัดสินให้มีความผิดทางอาญาฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะรัฐธรรมนูญปี 2540 ให้อำนาจเบ็ดเสร็จกับ กกต.โดยปราศจากการถ่วงดุล
อดีต ส.ส.อลงกรณ์กล่าวว่า “ องค์กรอิสระเสมือนเป็นอำนาจอธิปไตยที่ 4 ที่มีความสำคัญในระบบถ่วงดุลและตรวจสอบที่จะช่วยเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาของไทยและเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตลอดจนดูแลการใช้อำนาจรัฐให้เป็นไปบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล”
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ประชาชนไปใช้สิทธิออกเสียงลงประชามติรัฐธรรมนูญครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทยในวันที่ 19 สิงหาคมศกนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 2 ส.ค. 2550--จบ--