สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยตัวเลขผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ คาดกระเทียม มันฝรั่งปีนี้ราคาดี ส่วนหอมหัวใหญ่และหอมแดงราคาลดลง เหตุเพราะการส่งออกลดลงเช่นกัน ขณะที่กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมมาตรการแก้ไขเป็นการด่วนแล้ว
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การผลิต การตลาด และราคาที่เกษตรกรขายได้ของสินค้ากระเทียม มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ และหอมแดง ณ สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2550 พบว่า
กระเทียม คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 74,711 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 8.19 เนื่องจากนโยบายการปรับโครงสร้างกระเทียมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่น ๆ ทดแทน แนวโน้มพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตกระเทียมจึงลดลง ขณะนี้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตขายออกสู่ตลาดเกือบหมดแล้ว โดยราคากระเทียมสดที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 11 — 15 บาท คาดว่าเกษตรกรจะมีกำไรจากการเพาะปลูกกระเทียมไร่ละประมาณ 15,000 — 20,000 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี
มันฝรั่ง คาดว่าจะมีผลผลิตมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน 113,224 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 4.88 และผลผลิตมันฝรั่งบริโภค 12,456 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 17.31 ทั้งพันธุ์โรงงานและพันธุ์บริโภคเกษตรกรได้เก็บเกี่ยวและขายไปเกือบหมดแล้ว โดยราคาพันธุ์โรงงานที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 8 — 9 บาท ส่วนพันธุ์บริโภคราคากิโลกรัมละ 10 บาท คาดว่าเกษตรกรจะมีกำไรจากการเพาะปลูกมันฝรั่งพันธุ์โรงงานไร่ละประมาณ 5,000 บาท พันธุ์บริโภคไร่ละประมาณ 8,000 — 9,000 บาท
ส่วนหอมหัวใหญ่ คาดว่าจะมีผลผลิตในปีนี้ประมาณ 52,748 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 37.27 เกษตรกรในอำเภอ สันป่าตอง และอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตและขายออกสู่ตลาดไปหมดแล้ว คงเหลือผลผลิตในเขตท้องที่อำเภอฝาง ประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตทั้งหมด และราคาหอมหัวใหญ่ที่เกษตรกรขายได้ อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 3 — 5 บาท ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บผลผลิตไว้ในโรงเรือนเพื่อรอการจำหน่าย สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาราคาหอมหัวใหญ่ตกต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะประสานกับพ่อค้าให้เข้าไปรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เพื่อระบายผลผลิตออกสู่ตลาด และขอความร่วมมือผู้นำเข้าหอมหัวใหญ่จากต่างประเทศ ให้ชะลอการนำเข้าในช่วงเดือนเมษายน — มิถุนายน โดยหันไปซื้อหอมหัวใหญ่จากเกษตรกรเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้ราคาหอมหัวใหญ่กระเตืองขึ้น
ปิดท้ายที่หอมแดง คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 208,995 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 7.27 ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วประมาณร้อยละ 85 ยังคงเหลืออีกบางส่วนในเขตท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและอุตรดิตถ์ ซึ่งจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายนนี้ สำหรับการตลาดหอมแดงในปีนี้ไม่ค่อยกระเตืองมากเท่าไรนัก เนื่องจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นคู่ค้าหอมแดงที่สำคัญของไทยมีการนำเข้าจากไทยไม่มากนัก จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจภายในของประเทศ และมีการนำเข้าหอมแดงจากประเทศคู่แข่ง เช่น ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีราคาถูกกว่า ทำให้หอมแดงของไทยมีราคาต่ำลง ขณะนี้ราคาหอมแดงที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 3 — 5 บาท
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติเงินทุนหมุนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 75 ล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง นำไปให้จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตหอมแดงฤดูแล้งในภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พะเยา และเชียงราย ดำเนินการแทรกแซงตลาดแล้ว นายมณฑล กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์การผลิต การตลาด และราคาที่เกษตรกรขายได้ของสินค้ากระเทียม มันฝรั่ง หอมหัวใหญ่ และหอมแดง ณ สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2550 พบว่า
กระเทียม คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 74,711 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 8.19 เนื่องจากนโยบายการปรับโครงสร้างกระเทียมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่น ๆ ทดแทน แนวโน้มพื้นที่เพาะปลูกและผลผลิตกระเทียมจึงลดลง ขณะนี้เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตขายออกสู่ตลาดเกือบหมดแล้ว โดยราคากระเทียมสดที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 11 — 15 บาท คาดว่าเกษตรกรจะมีกำไรจากการเพาะปลูกกระเทียมไร่ละประมาณ 15,000 — 20,000 บาท ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี
มันฝรั่ง คาดว่าจะมีผลผลิตมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน 113,224 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 4.88 และผลผลิตมันฝรั่งบริโภค 12,456 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 17.31 ทั้งพันธุ์โรงงานและพันธุ์บริโภคเกษตรกรได้เก็บเกี่ยวและขายไปเกือบหมดแล้ว โดยราคาพันธุ์โรงงานที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 8 — 9 บาท ส่วนพันธุ์บริโภคราคากิโลกรัมละ 10 บาท คาดว่าเกษตรกรจะมีกำไรจากการเพาะปลูกมันฝรั่งพันธุ์โรงงานไร่ละประมาณ 5,000 บาท พันธุ์บริโภคไร่ละประมาณ 8,000 — 9,000 บาท
ส่วนหอมหัวใหญ่ คาดว่าจะมีผลผลิตในปีนี้ประมาณ 52,748 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 37.27 เกษตรกรในอำเภอ สันป่าตอง และอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตและขายออกสู่ตลาดไปหมดแล้ว คงเหลือผลผลิตในเขตท้องที่อำเภอฝาง ประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตทั้งหมด และราคาหอมหัวใหญ่ที่เกษตรกรขายได้ อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 3 — 5 บาท ทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่เก็บผลผลิตไว้ในโรงเรือนเพื่อรอการจำหน่าย สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาราคาหอมหัวใหญ่ตกต่ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะประสานกับพ่อค้าให้เข้าไปรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เพื่อระบายผลผลิตออกสู่ตลาด และขอความร่วมมือผู้นำเข้าหอมหัวใหญ่จากต่างประเทศ ให้ชะลอการนำเข้าในช่วงเดือนเมษายน — มิถุนายน โดยหันไปซื้อหอมหัวใหญ่จากเกษตรกรเป็นหลัก ซึ่งจะทำให้ราคาหอมหัวใหญ่กระเตืองขึ้น
ปิดท้ายที่หอมแดง คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 208,995 ตัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 7.27 ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้วประมาณร้อยละ 85 ยังคงเหลืออีกบางส่วนในเขตท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและอุตรดิตถ์ ซึ่งจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายนนี้ สำหรับการตลาดหอมแดงในปีนี้ไม่ค่อยกระเตืองมากเท่าไรนัก เนื่องจากประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นคู่ค้าหอมแดงที่สำคัญของไทยมีการนำเข้าจากไทยไม่มากนัก จากปัญหาภาวะเศรษฐกิจภายในของประเทศ และมีการนำเข้าหอมแดงจากประเทศคู่แข่ง เช่น ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีราคาถูกกว่า ทำให้หอมแดงของไทยมีราคาต่ำลง ขณะนี้ราคาหอมแดงที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 3 — 5 บาท
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้อนุมัติเงินทุนหมุนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 75 ล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง นำไปให้จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตหอมแดงฤดูแล้งในภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พะเยา และเชียงราย ดำเนินการแทรกแซงตลาดแล้ว นายมณฑล กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-