คำต่อคำรายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2550
ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิสิทธิ์สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณอภิสิทธิ์คะ ก็มาถึงวันนี้นะคะ มีเรื่องของการร่นวันเลือกตั้งขึ้นมา และก็หลากหลายมุมมอง หลากหลายความคิดเห็น ในส่วนของคุณอภิสิทธิ์เอง พอใจไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ คือความคิดผมนั้น การเลื่อนมาจริง ๆ ก็ห่างกันไม่กี่สัปดาห์นะครับ จากของเดิมซึ่งเคยพูดว่าเป็นช่วงเดือนธันวา ผมว่าการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะกลับไปสู่การเลือกตั้ง สู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่คาดหวังอยู่ เพื่อไปแก้ปัญหาปากท้องเพื่อไปแก้ปัญหาความไม่สงบนั้น ผมว่าการแสดงออกในทิศทางนี้เป็นสิ่งที่ดีนะครับ แต่ว่าแน่นอนวันนั้นที่ผมฟัง ก็อาจจะยังมีเงื่อนไข มีประเด็นซึ่งก็คงจะต้องติดตามกันต่อไปนะครับ เพราะว่ากำหนดเวลาก็เป็นลักษณะคร่าว ๆ เพราะว่ายังต้องรอดูเรื่องของรัฐธรรมนูญ กฎหมายลูก หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ผมคิดว่าโดยรวม การที่รัฐบาลแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะเลือกตั้งให้เร็วนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีนะครับ และก็อยากจะฝากว่า ทางการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นนั้น รัฐบาลและ กกต. มีภาระอีกค่อนข้างมากในการเตรียมการ โดยเฉพาะถ้าจะให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรมนะครับ แล้วก็หนีจากปัญหาเดิม ๆ ของการเลือกตั้งที่ผ่าน ๆ มาด้วย
ผู้ดำเนินรายการ ครับ เมื่อวันก่อน พลเอกสนธิ ไปพูดแล้วก็ถูกวิจารณ์เหมือนกันนะครับที่บอกว่ารัฐบาลใหม่ จะประกอบด้วย 2 — 3 พรรคใหญ่ที่เป็นขั้วตรงข้ามกับไทยรักไทยนี่นะฮะ ก็ถูกมองว่าเอ๊ะนี่ล็อคสเปคหรือเปล่า คมช. ล็อคสเปครัฐบาลใหม่หรือเปล่า คุณอภิสิทธิ์มองเรื่องนี้อย่างไรครับ
คุณอภิสิทธิ์ ผมเอง ผมไม่ได้ฟังเต็ม ๆ นะครับแต่ว่าจริง ๆ แล้ว ก็อาจจะเป็นเรื่องการวิเคราะห์หรือการคาดการณ์หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งท่านอาจจะต้องระมัดระวังมากขึ้นนะครับ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ไม่มีใครทราบหรอกครับผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร นะฮะ เพราะว่าเวลานี้ก็ยังถือว่า ยังเร็วมากที่จะพูดเพราะว่า จะต้องมีพรรคการเมืองใหม่ จะต้องมีปรากฎการณ์ที่ อดีต ส.ส. อาจจะมีการรวมกลุ่มกันตั้งพรรคบ้าง ย้ายพรรคบ้างนะครับ เขตเลือกตั้งก็รู้สึกชัดเจนขึ้นเมื่อวาน เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วยังไม่มีใครคาดการณ์ได้นะครับ แล้วก็จริง ๆ ผลการเลือกตั้งนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับประชาชน
ผู้ดำเนินรายการ ครับ ครับ แต่ก็เริ่มมีวาทะกรรมแล้วนะครับ จากทางฝ่ายขั้วอำนาจเก่าว่า อำนาจใหม่ก็จะเป็นรัฐบาลที่อยู่ในอาณัติของ คมช. บ้าง คมช.สั่งได้บ้าง อะไรอย่างนี้ ตรงนี้ทำให้ประชาชนไม่สบายใจเหมือนกับครับ คุณอภิสิทธิ์ฮะ
คุณอภิสิทธิ์ คือทุกคนก็มีสิทธิ์จะพูดนะครับ (หัวเราะ) แต่ว่าจริง ๆ แล้ว รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ต้องฟังประชาชน ประชาชนเป็นคนเลือก นะครับและก็ผมถือว่าในระบบเลือกตั้งนั้น ประชาชนก็เป็นคนตั้งรัฐบาลนะครับ เพราะฉะนั้น การที่จะมาบอกว่าจะไปอยู่ภายใต้อาณัติใคร ต้องอยู่ภายใต้อาณัติประชาชนนะครับ บทบาทของ คมช. บทบาทของหน่วยงานต่าง ๆ ก็ต้องกลับเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยนะครับ ผมยังคิดว่านั้นคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ และก็ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องการที่จะสนับสนุนให้เข้าไปสู่สภาวะอย่างนั้น
ผู้ดำเนินรายการ ครับ อีกเรื่องหนึ่งที่ดูเหมือนคุณอภิสิทธิ์ก็เป็นห่วงนะครับ คือกฎหมายที่เรียกว่า ร่างพรบ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กฎหมายนี้ก็ถูกวิจารณ์เยอะนะครับว่าเป็นการรวบอำนาจให้กับฝ่ายของกองทัพมากเกินไป มองยังไงครับ
คุณอภิสิทธิ์ ต้องยอมรับว่า กฎหมายลักษณะนี้ในระยะหลังนั้นเกิดขึ้นมากนะครับ เพราะว่าปัญหาเรื่องของการก่อการร้ายนะครับ ทั้งในเชิงของรูปแบบ ทั้งในเชิงของความรุนแรงก็เปลี่ยนแปลงไปพอสมควรนะครับ เพราะฉะนั้นหลายประเทศก็จะเริ่มมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อย รักษาความมั่นคงภายในประเทศด้วย ทีนี้แม้ว่า ความจำเป็นในการที่จะต้องมีเครื่องมือที่รับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ ผมดูจากร่างที่เสนอมา ผมมองว่ายังจะต้องมีการปรับปรุงอีกมากนะครับ
ข้อแรกเลย ผมคิดว่า การที่จะจัดการกับปัญหาที่เป็นภัยที่คุกคามต่อความมั่นคง ขณะนี้ภัยมันมีรูปแบบหลากหลาย และเครื่องที่จะต้องใช้กับแต่ละรูปแบบก็ไม่ควรจะเหมือนกัน ผมอ่านในคำนิยมของคำว่า ภัยต่อความมั่นคง อะไรต่าง ๆ แล้ว ผมรู้สึกว่ามันกว้าง และมันคลุมทุกสิ่งทุกอย่างมากจนเกินไป คือมันไปตั้งแต่ภัยการก่อการร้ายระดับสากล มาจนถึงเรื่องของการ อาจจะเป็นเรื่องการชุมนุมทางการเมืองก็ได้นะฮะ ถ้าเกิดมีการไปตีความกัน ซึ่งผมคิดว่ามันคงไม่ค่อยเหมาะที่จะมีเครื่องมือแบบเดียวกันแล้วก็ไปใช้กับทุกสถานการณ์แบบนั้น อันนั้นคือปัญหาแรกเลย
ปัญหาที่สองนั้น ก็มีปัญหาในเรื่องของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิทธิ เสรีภาพ ในเชิงกฎหมายก่อนเพราะว่า เรากำลังจะจัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องเป็นกฎหมายแม่บท ทีนี้ถ้ากฎหมายนี้เรารีบออกไป โดยต่อมาพบว่าบทบัญญัตินี้ขัดกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 นี้ มันก็จะบังคับใช้ไม่ได้ จะเกิดความวุ่นวายขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้นต้องชัดเจนด้วยว่า บทบัญญัติทั้งหลายไม่ไปขัดกับรัฐธรรมนูญนะครับ ตรงนี้ก็จำเป็นจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ
ประเด็นที่สามก็เป็นประเด็นกฎหมายเหมือนกันก็คือว่า ขณะนี้เรามีกฎหมายอีก 2 ฉบับ คือกฎอัยการศึก กับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนะครับ ซึ่งบทบัญญัติ โดยเฉพาะการให้อำนาจกับผู้คนนั้นจะมีหลายส่วนที่คล้ายกันอยู่ แต่ปัญหาก็คือว่า พอเรามีกฎหมาย 3 ฉบับ มันจะเกิดความสับสนขึ้นแล้วว่าจะใช้กฎหมายฉบับไหนโดยใคร อย่างไร นะครับ ความเป็นเอกภาพจะเป็นปัญหาเพราะว่ากรณีของกฎหมายฉบับใหม่มันไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องไปประกาศเหมือนกับเวลาที่เรามีกฎอัยการศึก หรือพรก. ที่จะต้องมีการประกาศชัดเจนว่าใช้กับพื้นที่ไหนเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ ใช่ไม๊ครับ และก็จะมีการให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ว่าฉบับนี้นั้นเป็นเรื่องของ กอ.รมน. ซึ่งไม่ได้มีลักษณะของการที่ไปประกาศสถานการณ์อะไรต่าง ๆ เฉพาะ ทีนี้ก็จะเกิดความสับสนขึ้นเพราะว่ามันก็จะมีเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนเดียวกันบ้าง ต่างคนบ้างนะครับ ไปใช้อำนาจในทางเดียวกัน หรือในเรื่องเดียวกัน แต่ว่าถือกฎหมายคนละฉบับ ใจผมนั้นอยากให้มันมีการเชื่อมโยงที่ชัดเจนว่า กฎหมายฉบับไหนจะใช้เมื่อไหร่ และสัมพันธ์กับฉบับอื่นอย่างไรนะครับ อันนี้คือประเด็นที่สาม
ทีนี้ในแง่ของความห่วงใยที่สำคัญก็คือเรื่องของการตรวจสอบถ่วงดุลนะครับ เพราะว่ากฎหมายในลักษณะนี้นั้นมันจะมีการไปจำกัดสิทธิ์ของประชาชนแน่นอนนะครับ ผมก็เชื่อว่าประชาชนก็พร้อมที่จะยอมรับการจำกัดสิทธิ์ ในกรณีที่มีความจำเป็นจริง ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เพื่อความมั่นคงของส่วนรวมนะครับ แต่ในหลาย ๆ ประเทศนั้นการถ่วงดุล การใช้อำนาจ หรือการตรวจสอบการใช้อำนาจ ก็ยังจำเป็นจะต้องมีนะครับ อาจจะไม่ใช่ในรูปแบบที่เหมือนกับกรณีปกติทั้งหมด แต่ต้องมีนะครับ บทบัญญัติที่ผมไม่สบายใจก็คือการไปยกเว้นทุกสิ่งทุกอย่างจากการตรวจสอบของศาลปกครองก็ดีนะครับ หรือกรณีที่บอกว่าเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ก็ดีนะครับ จริง ๆ แล้วในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เขาก็จะมีการอนุญาตให้อำนาจพิเศษ แต่เขาก็จะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบถ่วงดุลด้วย นะครับ มิเช่นนั้นแล้ว มันก็จะเกิดปัญหาในการเอาไปปฏิบัติได้ ก็อย่าลืมว่าการปฏิบัตินั้นไม่ได้อยู่ที่เฉพาะระดับบนนะครับ แต่ว่ามันจะลงไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับในพื้นที่ ระดับล่างเลยซึ่งถ้ามีใครไปใช้อำนาจในทางที่ผิด บางทีก็ไปสร้างปัญหาได้นะครับ
ตัวโครงสร้างของ กอ.รมน.เองก็คงต้องมีการเอามาดูให้ชัดว่า ถ้าต้องการที่จะบูรณาการให้เกิดความมีเอกภาพนะครับ ขณะนี้ก็ผมยังดูแล้วยังรู้สึกว่าแปลก ๆ นิดหน่อยว่ามันคาบเกี่ยวกันอยู่ระหว่างสำนักนายกฯ กับทางกองทัพบกนะครับ เพราะฉะนั้น โดยสรุปก็คือว่า ผมคิดว่าความจำเป็นที่จะปรับปรุงกฎหมายเพื่อที่จะรับมือกับสถานการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงนั้นดี แต่อยากให้มีความชัดเจนนะครับ เป็นกฎหมายที่ออกมาแล้วคนใช้และก็ประชาชนสบายใจว่ากติกาเป็นอะไร อย่างไร ไม่สับสน ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับอื่น และก็มีขั้นตอนที่จะทำให้ทุกฝ่ายสบายใจว่าการใช้อำนาจจะไม่ไปใช้ในทางที่ผิดนะครับ กฎหมายนั้นมันออกมาในสถานการณ์ใดก็แล้วแต่ แต่ว่ามันไม่ได้หมดไปกับสถานการณ์นะครับ หรือว่าออกมาในภาวะซึ่ง คนใด คนหนึ่งเป็นคนใช้ก็แล้วแต่ แต่ว่าท่านจะไม่ได้เป็นคนใช้คนเดียวนะครับ มันจะมีคนที่จะต้องใช้ตามมาอีก เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้วด้วย
ผู้ดำเนินรายการ เพราะฉะนั้นวิธีแก้ที่ดีที่สุดสำหรับอำนาจหน้าที่ ที่จะต้องใช้อำนาจพิเศษของ ผอ.กอ.รมน. คุณอภิสิทธิ์คิดว่า จะต้องเขียนไปเลยไม๊คะ ระบุไปเลย อันนี้สำหรับภาคใต้หรืออะไรอย่างไร ลักษณะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าคะ
คุณอภิสิทธิ์ คือผมเข้าใจว่าฉบับนี้คงไม่ได้ตั้งใจที่จะใช้เฉพาะกับภาคใต้นะครับ มันจะเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากตั้งแต่เหตุการณ์ก่อการร้ายสากล และก็มีแรงกดดันมาตลอดว่าจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมายที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงนะครับ มันมีการพูดกันมาตั้งแต่ ก่อนที่จะมี พรก. ด้วยซ้ำนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ ผมจึงบอกว่าคงต้องไปปรับปรุงนะครับ และต้องเข้าใจว่าขณะนี้ก็เป็นการรับหลักการโดยครม. เพื่อส่งไปกฤษฎีกานะครับ เพราะฉะนั้นกฤษฎีกาคงต้องทำงานหนักนะครับ และก็ถ้ามาเร็วแล้วส่งไป สนช. ผมคิดว่า สนช. ก็คงต้องทำงานหนัก
ผู้ดำเนินรายการ ครับ คือมีความเป็นห่วงกันว่าความไม่พอใจ หรือความหวาดระแวงต่อกฎหมายฉบับนี้อาจจะเป็นชนวนไปสู่การล้มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เลยก็ได้ คุณอภิสิทธิ์มองไปขนาดนั้นหรือเปล่าครับ
คุณอภิสิทธิ์ ผมยังไม่มองไปถึงขนาดนั้น เพราะว่ามันยังอีกหลายขั้นตอนกว่าที่จะมีความชัดเจนว่ากฎหมายฉบับนี้จะออกมาหรือไม่นะครับ ในรูปแบบใด อย่างไร เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งไปคิดถึงขั้นนั้นเลยครับ เอาว่าเป็นความคิดที่เสนอมาในขณะนี้ก็รัฐบาลเห็นว่าจำเป็นจะต้องมีกฎหมายแบบนี้ก็ควรจะต้องไปดูให้ดีว่า มันออกมาแล้วไม่สร้างปัญหาแล้วก็ปรับปรุงประสิทธิภาพในการรับมือกับปัญหาความมั่นคงจริง ๆ
ผู้ดำเนินรายการ ย้อนกลับไปที่การเมืองเรื่องการเลือกตั้งหน่อยนะครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ คุณผู้ฟังก็เป็นห่วงโทรเข้ามาบอกว่า ถ้าเกิดไทยรักไทยเขาจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่ไม่ได้มันอาจจะเกิดปรากฎการณ์โนโหวตขึ้นมาบ้าง ตรงนี้ประชาธิปัตย์จะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไรครับ คุณอภิสิทธิ์ฮะ
คุณอภิสิทธิ์ ผมยังยืนยันในจุดยืนของเรานะครับว่า เราต้องการที่จะให้นักการเมืองที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทยได้จดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองได้นะครับ แล้วก็ผมไม่คิดว่า สนช. ควรจะใช้เวลานานไปกว่านี้ในการพิจารณานะครับ และก็ผมคิดว่า ผมยังมองไม่เห็นว่า กกต. จะไปใช้อำนาจอะไรในการที่จะไปสกัดกั้นนะฮะ ซึ่งก็ไม่ควรจะใช้อำนาจในทางนั้นอยู่แล้วนะครับ กกต. ในฐานะที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง จะต้องส่งเสริมกิจกรรมของพรรคการเมืองต่าง ๆ นะครับ แล้วก็สำหรับคนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือพรรคการเมืองที่กระทำความผิดนั้นก็รับผิดชอบไปตามกฎหมายและคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นส่วนที่เหลือมันไม่ควรจะมีปัญหาหรือข้อจำกัดใด ๆ ในการที่จะให้เขาเข้ามาสู่กระบวนการของการเลือกตั้ง
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ ในส่วนตัวของคุณอภิสิทธิ์เองมองว่าบรรยากาศทางการเมืองช่วงนี้คลี่คลายลงไปมากหรือยังคะ
คุณอภิสิทธิ์ ก็ระดับหนึ่งนะครับ ผมคิดว่า บังเอิญสัปดาห์ที่แล้วนี่คนไปกลัวกันมาก ในเรื่องของความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ มันไม่มีอะไร และน่าจะสบายใจขึ้น
คุณอภิสิทธิ์ ก็ดูจะคลายลงไป แต่ว่า ผมก็คิดว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงก็ไม่ควรประมาทนะครับ และทุกฝ่ายก็ควรที่จะต้องช่วยกันแสดงออกว่าเราต้องการความสงบ เพราะว่ายังมีเงื่อนไขที่อาจเป็นประเด็นถกเถียงหรือข้อขัดแย้งทางการเมืองอีกนะครับ เพราะว่าจะมีทั้งเรื่องของ จะเป็น คตส. หรือต่อไปก็จะเป็นศาลฎีกา ใช่ไม๊ครับ แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนะครับ แล้วก็อาจจะมีประเด็นอื่น ๆ ขึ้นมาอีก คือทุกฝ่ายคงจะต้องช่วยกันระมัดระวัง
ผู้ดำเนินรายการ ยังไม่วางใจซะทีเดียว อย่างงี้เหรอคะ
คุณอภิสิทธิ์ ใช้คำว่า อย่าประมาท อย่าลืมว่าในอดีต ในประวัติศาสตร์นั้น เหตุการณ์หลายเหตุการณ์มันก็เกิดขึ้นจากจุดที่ไม่คาดคิดนะครับ คือเวลาที่มันมีคนคาดการณ์คาดคิดกันมาก ๆ คนก็จะระวังเป็นพิเศษ แต่เวลาไปตายใจบางทีมันก็อุบัติเหตุมันก็เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นผมว่าทุกคนไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้น ผมก็บอกว่าอย่าไปตื่นตระหนก ต้องอย่าประมาท และก็ทุกคนก็ควรจะต้องแสดงพลังของการต้องการความสงบ เรียบร้อย เพื่อเป็นตัวปรามใครก็ตามที่คิดจะไปใช้วิธีอื่น
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณทักษิณทำท่าจะได้แมนเชสเตอร์ ซิตี้ แล้วนะคะคุณอภิสิทธิ์ อันนี้เป็นยังไงบ้างคะในความคิด คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ ก็ถ้าเป็นเรื่องของการมีที่มีของเงินที่ไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็เป็นสิทธิที่จะทำได้นะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ดีใจด้วยไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ จำนวนเงินก็ขณะนี้เท่าที่ดูมันก็ไม่มากอย่างที่คิดนะครับ อาจจะเป็นเพราะว่าจะต้องมีการเตรียมเงิน เผื่อเงินไว้สำหรับลงทุนในเรื่องของผู้เล่นหรืออะไร ก็คงจะต้องติดตามกันต่อไปเพราะว่า ก็ยังมีขั้นตอนที่จะต้องมีการซื้อต่อนะฮะ ตอนนี้เข้าใจว่าซื้อได้ประมาณ ใกล้ ๆ ร้อยละ 60 แต่ว่าหลายเรื่องที่ตั้งใจจะทำอาจจะต้องใช้เสียงถึงร้อยละ 75 ครับก็คงจะต้องติดตามดูกันต่อไป
ผู้ดำเนินรายการ อ๋อ ไม่อย่างนั้นจะไม่มีอำนาจบริหาร / สุดท้ายนิดเดียวครับคุณอภิสิทธิ์ครับ เท่าที่จำได้ พรรคประชาธิปัตย์เคยตั้งคำถามกับที่มาของเงินที่ วินมาร์ค เอามาซื้อหุ้นของคุณทักษิณ แต่วันนั้นพอไปยื่น ปปง. ปปง. บอกไม่มีมูล แต่วันนี้พอทางดีเอสไอเขาสรุปแล้วว่า วินมาร์ค เป็นนอมินีของคุณทักษิณจริง ๆ เราจะขยายตรงผลตรงนั้นต่อไม๊ครับ คุณอภิสิทธิ์ครับในแง่ของปปง.
คุณอภิสิทธิ์ ผมเข้าใจว่า ปปง. ตอนนั้นคงไม่ได้บอกว่า ไม่มีมูลนะฮะ คงจะมีประเด็นว่ามันมีความผิดขั้นมูลฐานตรงไหนอย่างไรนะครับ ทีนี้ตรงนี้เมื่อเรื่องวินมาร์คเกิดขึ้น และก็ทางดีเอสไอก็สรุปออกมา มันก็คงจะต้องมีผลสืบเนื่องต่อไปนะครับ เพราะว่ามันจะต้องมีการขยายผลอยู่แล้ว ซึ่งอันนี้จะไปเกี่ยวข้องกับ ปปง. หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงซึ่งมันปรากฎมาในสำนวนของทางดีเอสไอ
ผู้ดำเนินรายการ ครับ เอาหล่ะครับ วันนี้ขอบคุณมากนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ สวัสดีครับ
*************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 มิ.ย. 2550--จบ--
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2550
ผู้ดำเนินรายการ คุณอภิสิทธิ์สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์ สวัสดีครับ
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณอภิสิทธิ์คะ ก็มาถึงวันนี้นะคะ มีเรื่องของการร่นวันเลือกตั้งขึ้นมา และก็หลากหลายมุมมอง หลากหลายความคิดเห็น ในส่วนของคุณอภิสิทธิ์เอง พอใจไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ คือความคิดผมนั้น การเลื่อนมาจริง ๆ ก็ห่างกันไม่กี่สัปดาห์นะครับ จากของเดิมซึ่งเคยพูดว่าเป็นช่วงเดือนธันวา ผมว่าการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะกลับไปสู่การเลือกตั้ง สู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่คาดหวังอยู่ เพื่อไปแก้ปัญหาปากท้องเพื่อไปแก้ปัญหาความไม่สงบนั้น ผมว่าการแสดงออกในทิศทางนี้เป็นสิ่งที่ดีนะครับ แต่ว่าแน่นอนวันนั้นที่ผมฟัง ก็อาจจะยังมีเงื่อนไข มีประเด็นซึ่งก็คงจะต้องติดตามกันต่อไปนะครับ เพราะว่ากำหนดเวลาก็เป็นลักษณะคร่าว ๆ เพราะว่ายังต้องรอดูเรื่องของรัฐธรรมนูญ กฎหมายลูก หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ผมคิดว่าโดยรวม การที่รัฐบาลแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะเลือกตั้งให้เร็วนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีนะครับ และก็อยากจะฝากว่า ทางการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นนั้น รัฐบาลและ กกต. มีภาระอีกค่อนข้างมากในการเตรียมการ โดยเฉพาะถ้าจะให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรมนะครับ แล้วก็หนีจากปัญหาเดิม ๆ ของการเลือกตั้งที่ผ่าน ๆ มาด้วย
ผู้ดำเนินรายการ ครับ เมื่อวันก่อน พลเอกสนธิ ไปพูดแล้วก็ถูกวิจารณ์เหมือนกันนะครับที่บอกว่ารัฐบาลใหม่ จะประกอบด้วย 2 — 3 พรรคใหญ่ที่เป็นขั้วตรงข้ามกับไทยรักไทยนี่นะฮะ ก็ถูกมองว่าเอ๊ะนี่ล็อคสเปคหรือเปล่า คมช. ล็อคสเปครัฐบาลใหม่หรือเปล่า คุณอภิสิทธิ์มองเรื่องนี้อย่างไรครับ
คุณอภิสิทธิ์ ผมเอง ผมไม่ได้ฟังเต็ม ๆ นะครับแต่ว่าจริง ๆ แล้ว ก็อาจจะเป็นเรื่องการวิเคราะห์หรือการคาดการณ์หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งท่านอาจจะต้องระมัดระวังมากขึ้นนะครับ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ไม่มีใครทราบหรอกครับผลการเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร นะฮะ เพราะว่าเวลานี้ก็ยังถือว่า ยังเร็วมากที่จะพูดเพราะว่า จะต้องมีพรรคการเมืองใหม่ จะต้องมีปรากฎการณ์ที่ อดีต ส.ส. อาจจะมีการรวมกลุ่มกันตั้งพรรคบ้าง ย้ายพรรคบ้างนะครับ เขตเลือกตั้งก็รู้สึกชัดเจนขึ้นเมื่อวาน เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วยังไม่มีใครคาดการณ์ได้นะครับ แล้วก็จริง ๆ ผลการเลือกตั้งนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับประชาชน
ผู้ดำเนินรายการ ครับ ครับ แต่ก็เริ่มมีวาทะกรรมแล้วนะครับ จากทางฝ่ายขั้วอำนาจเก่าว่า อำนาจใหม่ก็จะเป็นรัฐบาลที่อยู่ในอาณัติของ คมช. บ้าง คมช.สั่งได้บ้าง อะไรอย่างนี้ ตรงนี้ทำให้ประชาชนไม่สบายใจเหมือนกับครับ คุณอภิสิทธิ์ฮะ
คุณอภิสิทธิ์ คือทุกคนก็มีสิทธิ์จะพูดนะครับ (หัวเราะ) แต่ว่าจริง ๆ แล้ว รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็ต้องฟังประชาชน ประชาชนเป็นคนเลือก นะครับและก็ผมถือว่าในระบบเลือกตั้งนั้น ประชาชนก็เป็นคนตั้งรัฐบาลนะครับ เพราะฉะนั้น การที่จะมาบอกว่าจะไปอยู่ภายใต้อาณัติใคร ต้องอยู่ภายใต้อาณัติประชาชนนะครับ บทบาทของ คมช. บทบาทของหน่วยงานต่าง ๆ ก็ต้องกลับเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยนะครับ ผมยังคิดว่านั้นคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประเทศ และก็ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องการที่จะสนับสนุนให้เข้าไปสู่สภาวะอย่างนั้น
ผู้ดำเนินรายการ ครับ อีกเรื่องหนึ่งที่ดูเหมือนคุณอภิสิทธิ์ก็เป็นห่วงนะครับ คือกฎหมายที่เรียกว่า ร่างพรบ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กฎหมายนี้ก็ถูกวิจารณ์เยอะนะครับว่าเป็นการรวบอำนาจให้กับฝ่ายของกองทัพมากเกินไป มองยังไงครับ
คุณอภิสิทธิ์ ต้องยอมรับว่า กฎหมายลักษณะนี้ในระยะหลังนั้นเกิดขึ้นมากนะครับ เพราะว่าปัญหาเรื่องของการก่อการร้ายนะครับ ทั้งในเชิงของรูปแบบ ทั้งในเชิงของความรุนแรงก็เปลี่ยนแปลงไปพอสมควรนะครับ เพราะฉะนั้นหลายประเทศก็จะเริ่มมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อย รักษาความมั่นคงภายในประเทศด้วย ทีนี้แม้ว่า ความจำเป็นในการที่จะต้องมีเครื่องมือที่รับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ ผมดูจากร่างที่เสนอมา ผมมองว่ายังจะต้องมีการปรับปรุงอีกมากนะครับ
ข้อแรกเลย ผมคิดว่า การที่จะจัดการกับปัญหาที่เป็นภัยที่คุกคามต่อความมั่นคง ขณะนี้ภัยมันมีรูปแบบหลากหลาย และเครื่องที่จะต้องใช้กับแต่ละรูปแบบก็ไม่ควรจะเหมือนกัน ผมอ่านในคำนิยมของคำว่า ภัยต่อความมั่นคง อะไรต่าง ๆ แล้ว ผมรู้สึกว่ามันกว้าง และมันคลุมทุกสิ่งทุกอย่างมากจนเกินไป คือมันไปตั้งแต่ภัยการก่อการร้ายระดับสากล มาจนถึงเรื่องของการ อาจจะเป็นเรื่องการชุมนุมทางการเมืองก็ได้นะฮะ ถ้าเกิดมีการไปตีความกัน ซึ่งผมคิดว่ามันคงไม่ค่อยเหมาะที่จะมีเครื่องมือแบบเดียวกันแล้วก็ไปใช้กับทุกสถานการณ์แบบนั้น อันนั้นคือปัญหาแรกเลย
ปัญหาที่สองนั้น ก็มีปัญหาในเรื่องของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิทธิ เสรีภาพ ในเชิงกฎหมายก่อนเพราะว่า เรากำลังจะจัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องเป็นกฎหมายแม่บท ทีนี้ถ้ากฎหมายนี้เรารีบออกไป โดยต่อมาพบว่าบทบัญญัตินี้ขัดกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 นี้ มันก็จะบังคับใช้ไม่ได้ จะเกิดความวุ่นวายขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้นต้องชัดเจนด้วยว่า บทบัญญัติทั้งหลายไม่ไปขัดกับรัฐธรรมนูญนะครับ ตรงนี้ก็จำเป็นจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ
ประเด็นที่สามก็เป็นประเด็นกฎหมายเหมือนกันก็คือว่า ขณะนี้เรามีกฎหมายอีก 2 ฉบับ คือกฎอัยการศึก กับพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินนะครับ ซึ่งบทบัญญัติ โดยเฉพาะการให้อำนาจกับผู้คนนั้นจะมีหลายส่วนที่คล้ายกันอยู่ แต่ปัญหาก็คือว่า พอเรามีกฎหมาย 3 ฉบับ มันจะเกิดความสับสนขึ้นแล้วว่าจะใช้กฎหมายฉบับไหนโดยใคร อย่างไร นะครับ ความเป็นเอกภาพจะเป็นปัญหาเพราะว่ากรณีของกฎหมายฉบับใหม่มันไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องไปประกาศเหมือนกับเวลาที่เรามีกฎอัยการศึก หรือพรก. ที่จะต้องมีการประกาศชัดเจนว่าใช้กับพื้นที่ไหนเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ ใช่ไม๊ครับ และก็จะมีการให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าไปทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่ว่าฉบับนี้นั้นเป็นเรื่องของ กอ.รมน. ซึ่งไม่ได้มีลักษณะของการที่ไปประกาศสถานการณ์อะไรต่าง ๆ เฉพาะ ทีนี้ก็จะเกิดความสับสนขึ้นเพราะว่ามันก็จะมีเจ้าหน้าที่ที่เป็นคนเดียวกันบ้าง ต่างคนบ้างนะครับ ไปใช้อำนาจในทางเดียวกัน หรือในเรื่องเดียวกัน แต่ว่าถือกฎหมายคนละฉบับ ใจผมนั้นอยากให้มันมีการเชื่อมโยงที่ชัดเจนว่า กฎหมายฉบับไหนจะใช้เมื่อไหร่ และสัมพันธ์กับฉบับอื่นอย่างไรนะครับ อันนี้คือประเด็นที่สาม
ทีนี้ในแง่ของความห่วงใยที่สำคัญก็คือเรื่องของการตรวจสอบถ่วงดุลนะครับ เพราะว่ากฎหมายในลักษณะนี้นั้นมันจะมีการไปจำกัดสิทธิ์ของประชาชนแน่นอนนะครับ ผมก็เชื่อว่าประชาชนก็พร้อมที่จะยอมรับการจำกัดสิทธิ์ ในกรณีที่มีความจำเป็นจริง ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง เพื่อความมั่นคงของส่วนรวมนะครับ แต่ในหลาย ๆ ประเทศนั้นการถ่วงดุล การใช้อำนาจ หรือการตรวจสอบการใช้อำนาจ ก็ยังจำเป็นจะต้องมีนะครับ อาจจะไม่ใช่ในรูปแบบที่เหมือนกับกรณีปกติทั้งหมด แต่ต้องมีนะครับ บทบัญญัติที่ผมไม่สบายใจก็คือการไปยกเว้นทุกสิ่งทุกอย่างจากการตรวจสอบของศาลปกครองก็ดีนะครับ หรือกรณีที่บอกว่าเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ก็ดีนะครับ จริง ๆ แล้วในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เขาก็จะมีการอนุญาตให้อำนาจพิเศษ แต่เขาก็จะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบถ่วงดุลด้วย นะครับ มิเช่นนั้นแล้ว มันก็จะเกิดปัญหาในการเอาไปปฏิบัติได้ ก็อย่าลืมว่าการปฏิบัตินั้นไม่ได้อยู่ที่เฉพาะระดับบนนะครับ แต่ว่ามันจะลงไปถึงเจ้าหน้าที่ระดับในพื้นที่ ระดับล่างเลยซึ่งถ้ามีใครไปใช้อำนาจในทางที่ผิด บางทีก็ไปสร้างปัญหาได้นะครับ
ตัวโครงสร้างของ กอ.รมน.เองก็คงต้องมีการเอามาดูให้ชัดว่า ถ้าต้องการที่จะบูรณาการให้เกิดความมีเอกภาพนะครับ ขณะนี้ก็ผมยังดูแล้วยังรู้สึกว่าแปลก ๆ นิดหน่อยว่ามันคาบเกี่ยวกันอยู่ระหว่างสำนักนายกฯ กับทางกองทัพบกนะครับ เพราะฉะนั้น โดยสรุปก็คือว่า ผมคิดว่าความจำเป็นที่จะปรับปรุงกฎหมายเพื่อที่จะรับมือกับสถานการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงนั้นดี แต่อยากให้มีความชัดเจนนะครับ เป็นกฎหมายที่ออกมาแล้วคนใช้และก็ประชาชนสบายใจว่ากติกาเป็นอะไร อย่างไร ไม่สับสน ไม่ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายฉบับอื่น และก็มีขั้นตอนที่จะทำให้ทุกฝ่ายสบายใจว่าการใช้อำนาจจะไม่ไปใช้ในทางที่ผิดนะครับ กฎหมายนั้นมันออกมาในสถานการณ์ใดก็แล้วแต่ แต่ว่ามันไม่ได้หมดไปกับสถานการณ์นะครับ หรือว่าออกมาในภาวะซึ่ง คนใด คนหนึ่งเป็นคนใช้ก็แล้วแต่ แต่ว่าท่านจะไม่ได้เป็นคนใช้คนเดียวนะครับ มันจะมีคนที่จะต้องใช้ตามมาอีก เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้วด้วย
ผู้ดำเนินรายการ เพราะฉะนั้นวิธีแก้ที่ดีที่สุดสำหรับอำนาจหน้าที่ ที่จะต้องใช้อำนาจพิเศษของ ผอ.กอ.รมน. คุณอภิสิทธิ์คิดว่า จะต้องเขียนไปเลยไม๊คะ ระบุไปเลย อันนี้สำหรับภาคใต้หรืออะไรอย่างไร ลักษณะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่าคะ
คุณอภิสิทธิ์ คือผมเข้าใจว่าฉบับนี้คงไม่ได้ตั้งใจที่จะใช้เฉพาะกับภาคใต้นะครับ มันจะเป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากตั้งแต่เหตุการณ์ก่อการร้ายสากล และก็มีแรงกดดันมาตลอดว่าจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมายที่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงนะครับ มันมีการพูดกันมาตั้งแต่ ก่อนที่จะมี พรก. ด้วยซ้ำนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ ผมจึงบอกว่าคงต้องไปปรับปรุงนะครับ และต้องเข้าใจว่าขณะนี้ก็เป็นการรับหลักการโดยครม. เพื่อส่งไปกฤษฎีกานะครับ เพราะฉะนั้นกฤษฎีกาคงต้องทำงานหนักนะครับ และก็ถ้ามาเร็วแล้วส่งไป สนช. ผมคิดว่า สนช. ก็คงต้องทำงานหนัก
ผู้ดำเนินรายการ ครับ คือมีความเป็นห่วงกันว่าความไม่พอใจ หรือความหวาดระแวงต่อกฎหมายฉบับนี้อาจจะเป็นชนวนไปสู่การล้มรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เลยก็ได้ คุณอภิสิทธิ์มองไปขนาดนั้นหรือเปล่าครับ
คุณอภิสิทธิ์ ผมยังไม่มองไปถึงขนาดนั้น เพราะว่ามันยังอีกหลายขั้นตอนกว่าที่จะมีความชัดเจนว่ากฎหมายฉบับนี้จะออกมาหรือไม่นะครับ ในรูปแบบใด อย่างไร เพราะฉะนั้นอย่าเพิ่งไปคิดถึงขั้นนั้นเลยครับ เอาว่าเป็นความคิดที่เสนอมาในขณะนี้ก็รัฐบาลเห็นว่าจำเป็นจะต้องมีกฎหมายแบบนี้ก็ควรจะต้องไปดูให้ดีว่า มันออกมาแล้วไม่สร้างปัญหาแล้วก็ปรับปรุงประสิทธิภาพในการรับมือกับปัญหาความมั่นคงจริง ๆ
ผู้ดำเนินรายการ ย้อนกลับไปที่การเมืองเรื่องการเลือกตั้งหน่อยนะครับ คุณอภิสิทธิ์ครับ คุณผู้ฟังก็เป็นห่วงโทรเข้ามาบอกว่า ถ้าเกิดไทยรักไทยเขาจดทะเบียนตั้งพรรคใหม่ไม่ได้มันอาจจะเกิดปรากฎการณ์โนโหวตขึ้นมาบ้าง ตรงนี้ประชาธิปัตย์จะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไรครับ คุณอภิสิทธิ์ฮะ
คุณอภิสิทธิ์ ผมยังยืนยันในจุดยืนของเรานะครับว่า เราต้องการที่จะให้นักการเมืองที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทยได้จดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองได้นะครับ แล้วก็ผมไม่คิดว่า สนช. ควรจะใช้เวลานานไปกว่านี้ในการพิจารณานะครับ และก็ผมคิดว่า ผมยังมองไม่เห็นว่า กกต. จะไปใช้อำนาจอะไรในการที่จะไปสกัดกั้นนะฮะ ซึ่งก็ไม่ควรจะใช้อำนาจในทางนั้นอยู่แล้วนะครับ กกต. ในฐานะที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง จะต้องส่งเสริมกิจกรรมของพรรคการเมืองต่าง ๆ นะครับ แล้วก็สำหรับคนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองหรือพรรคการเมืองที่กระทำความผิดนั้นก็รับผิดชอบไปตามกฎหมายและคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นส่วนที่เหลือมันไม่ควรจะมีปัญหาหรือข้อจำกัดใด ๆ ในการที่จะให้เขาเข้ามาสู่กระบวนการของการเลือกตั้ง
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ ในส่วนตัวของคุณอภิสิทธิ์เองมองว่าบรรยากาศทางการเมืองช่วงนี้คลี่คลายลงไปมากหรือยังคะ
คุณอภิสิทธิ์ ก็ระดับหนึ่งนะครับ ผมคิดว่า บังเอิญสัปดาห์ที่แล้วนี่คนไปกลัวกันมาก ในเรื่องของความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ มันไม่มีอะไร และน่าจะสบายใจขึ้น
คุณอภิสิทธิ์ ก็ดูจะคลายลงไป แต่ว่า ผมก็คิดว่าฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงก็ไม่ควรประมาทนะครับ และทุกฝ่ายก็ควรที่จะต้องช่วยกันแสดงออกว่าเราต้องการความสงบ เพราะว่ายังมีเงื่อนไขที่อาจเป็นประเด็นถกเถียงหรือข้อขัดแย้งทางการเมืองอีกนะครับ เพราะว่าจะมีทั้งเรื่องของ จะเป็น คตส. หรือต่อไปก็จะเป็นศาลฎีกา ใช่ไม๊ครับ แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนะครับ แล้วก็อาจจะมีประเด็นอื่น ๆ ขึ้นมาอีก คือทุกฝ่ายคงจะต้องช่วยกันระมัดระวัง
ผู้ดำเนินรายการ ยังไม่วางใจซะทีเดียว อย่างงี้เหรอคะ
คุณอภิสิทธิ์ ใช้คำว่า อย่าประมาท อย่าลืมว่าในอดีต ในประวัติศาสตร์นั้น เหตุการณ์หลายเหตุการณ์มันก็เกิดขึ้นจากจุดที่ไม่คาดคิดนะครับ คือเวลาที่มันมีคนคาดการณ์คาดคิดกันมาก ๆ คนก็จะระวังเป็นพิเศษ แต่เวลาไปตายใจบางทีมันก็อุบัติเหตุมันก็เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นผมว่าทุกคนไม่ต้องการให้มันเกิดขึ้น ผมก็บอกว่าอย่าไปตื่นตระหนก ต้องอย่าประมาท และก็ทุกคนก็ควรจะต้องแสดงพลังของการต้องการความสงบ เรียบร้อย เพื่อเป็นตัวปรามใครก็ตามที่คิดจะไปใช้วิธีอื่น
ผู้ดำเนินรายการ ค่ะ คุณทักษิณทำท่าจะได้แมนเชสเตอร์ ซิตี้ แล้วนะคะคุณอภิสิทธิ์ อันนี้เป็นยังไงบ้างคะในความคิด คุณอภิสิทธิ์
คุณอภิสิทธิ์ ก็ถ้าเป็นเรื่องของการมีที่มีของเงินที่ไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็เป็นสิทธิที่จะทำได้นะครับ
ผู้ดำเนินรายการ ดีใจด้วยไม๊คะ
คุณอภิสิทธิ์ จำนวนเงินก็ขณะนี้เท่าที่ดูมันก็ไม่มากอย่างที่คิดนะครับ อาจจะเป็นเพราะว่าจะต้องมีการเตรียมเงิน เผื่อเงินไว้สำหรับลงทุนในเรื่องของผู้เล่นหรืออะไร ก็คงจะต้องติดตามกันต่อไปเพราะว่า ก็ยังมีขั้นตอนที่จะต้องมีการซื้อต่อนะฮะ ตอนนี้เข้าใจว่าซื้อได้ประมาณ ใกล้ ๆ ร้อยละ 60 แต่ว่าหลายเรื่องที่ตั้งใจจะทำอาจจะต้องใช้เสียงถึงร้อยละ 75 ครับก็คงจะต้องติดตามดูกันต่อไป
ผู้ดำเนินรายการ อ๋อ ไม่อย่างนั้นจะไม่มีอำนาจบริหาร / สุดท้ายนิดเดียวครับคุณอภิสิทธิ์ครับ เท่าที่จำได้ พรรคประชาธิปัตย์เคยตั้งคำถามกับที่มาของเงินที่ วินมาร์ค เอามาซื้อหุ้นของคุณทักษิณ แต่วันนั้นพอไปยื่น ปปง. ปปง. บอกไม่มีมูล แต่วันนี้พอทางดีเอสไอเขาสรุปแล้วว่า วินมาร์ค เป็นนอมินีของคุณทักษิณจริง ๆ เราจะขยายตรงผลตรงนั้นต่อไม๊ครับ คุณอภิสิทธิ์ครับในแง่ของปปง.
คุณอภิสิทธิ์ ผมเข้าใจว่า ปปง. ตอนนั้นคงไม่ได้บอกว่า ไม่มีมูลนะฮะ คงจะมีประเด็นว่ามันมีความผิดขั้นมูลฐานตรงไหนอย่างไรนะครับ ทีนี้ตรงนี้เมื่อเรื่องวินมาร์คเกิดขึ้น และก็ทางดีเอสไอก็สรุปออกมา มันก็คงจะต้องมีผลสืบเนื่องต่อไปนะครับ เพราะว่ามันจะต้องมีการขยายผลอยู่แล้ว ซึ่งอันนี้จะไปเกี่ยวข้องกับ ปปง. หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงซึ่งมันปรากฎมาในสำนวนของทางดีเอสไอ
ผู้ดำเนินรายการ ครับ เอาหล่ะครับ วันนี้ขอบคุณมากนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ สวัสดีครับ
*************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 มิ.ย. 2550--จบ--