ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. รัฐบาลเตรียมมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุม
ร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมว่า ได้รับฟังความเห็นจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และนักวิชาการแล้ว แต่
ข้อมูลที่ได้รับยังไม่ครบถ้วนเพียงพอที่จะสะท้อนสภาพแท้จริงของทุกภาคเศรษฐกิจถึงขั้นที่จะออกมาตรการช่วยเหลือได้ ซึ่งจะต้องหารือเพื่อหาข้อ
สรุปกันต่อไป สำหรับมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นภาคเศรษฐกิจจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเฉพาะกลุ่ม เนื่องจากมาตรการโดยรวมมักไม่ได้ผล
เพราะแต่ละกลุ่มได้รับผลกระทบแตกต่างกัน จำเป็นต้องมีมาตรการที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ยกตัวอย่างในอดีตที่เคยบอกว่าเศรษฐกิจของ
ประเทศขยายตัวสูงถึงกว่าร้อยละ 10 แต่ภาคเศรษฐกิจรากหญ้าไม่ได้เติบโตดีตามเศรษฐกิจมหภาค จึงจำเป็นต้องหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน
ทั้งนี้ การประชุมในวันนี้ยังไม่มีการหารือกับ ธปท. เพื่อยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 โดย ธปท. จะเข้าพบในวันที่ 15 มี.ค.นี้ ซึ่ง
คาดว่าจะมีการพูดคุยทั้งเรื่องมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เงินทุนนำเข้าระยะสั้น รวมถึงข้อกฎหมายการเงินต่าง ๆ ที่จะป็นหลักในการวาง
รากฐานในด้านการเงินด้วย (บ้านเมือง)
2. สศค. เตรียมเสนอแผนเพิ่มทุน ธ.พาณิชย์เฉพาะกิจของรัฐ นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
กล่าวว่า จะเสนอแผนการเพิ่มทุน ธ.พาณิชย์เฉพาะกิจให้ รมว.คลังพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 21 มี.ค.นี้ หลังจากที่ได้รับความเห็นชอบในหลักการ
เบื้องต้นแล้วแต่ให้กลับไปพิจารณาในรายละเอียด เพื่อให้การเพิ่มทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลังการเพิ่มทุน ระดับของเงินกองทุนต่อ
สินทรัพย์เสี่ยงจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งการพิจารณาเพิ่มทุนแก่ ธ.พาณิชย์เฉพาะกิจของรัฐจะพิจารณาตามความ
เหมาะสม โดยเม็ดเงินที่จะเพิ่มเข้าไปมีความสำคัญไม่เท่ากับแผนการบริหารงานของผู้บริหาร ดังนั้น ธนาคารที่ขอเพิ่มทุนจะต้องมีเป้าหมายการ
จัดการเงินที่ดี จากการพิจารณาธนาคารเฉพาะกิจ 8 แห่ง จำเป็นต้องใส่เงินเพิ่มทุน 5 แห่ง จำนวนเงินเพิ่มทุนรวม 3 หมื่นล้านบาท ซึ่ง
ก.คลังพิจารณาแล้วจะใส่เงินเพิ่มทุนให้ไม่เท่ากับจำนวนที่ขอมา และเมื่อเพิ่มทุนแล้วจะทำธุรกิจได้อีก 5 ปี ซึ่งระดับของเงินกองทุนของธนาคาร
เฉพาะกิจไม่จำเป็นต้องสูงมาก หรืออยู่ในระดับที่เรียกว่า Well-capitalize จึงน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 10 เนื่องจากธนาคารเฉพาะกิจถูกจัดตั้ง
ขึ้นมาเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล มีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน จึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนให้เท่ากับ ธ.พาณิชย์ของเอกชน
ขณะที่ ธ.พาณิชย์ทั่วไปได้เพิ่มเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่น้อยกว่าร้อยละ 12 สำหรับธนาคารเฉพาะกิจที่ขอเพิ่มทุนประกอบด้วย
ธ.อาคารสงเคราะห์ ประมาณ 2.5 พันล้านบาท ได้เตรียมเงินไว้แล้ว 1.9 พันล้านบาท รัฐต้องใส่ทุนเพิ่มอีก 600 ล้านบาท ธ.พัฒนาวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมฯ 2.7 พันล้านบาท ธ.เพื่อการเกษตรฯ ขอเพิ่มทุน 1 หมื่นล้านบาท ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ ขอเพิ่มทุน
1 หมื่นล้านบาท โดยจะเพิ่มทุน 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2551-2553 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. คณะกรรมการตรวจสอบ ธปท.เสนอแนะแนวทางการดูแลค่าเงินบาทในระยะยาว นายนนทพล นิ่มสมบุญ อดีตผู้ว่าการ
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบของ ธปท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบฯ เมื่อวันที่
13 มี.ค.50 ได้เสนอความเห็นไปยังผู้ว่าการ ธปท. เกี่ยวกับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากคณะกรรมการฯ เห็นว่าเงินบาทยังมีแนวโน้ม
ที่จะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น มาตราการที่ทางการจะใช้ในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนควรจะต้องพิจารณาถึงค่าเงินบาทในระยะยาวด้วย
โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ส่งออกด้วยการดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่านั้น ธปท. ก็คงไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างไม่สิ้นสุด ทางการจึง
ควรต้องมีกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ส่งออกมีความเข้มแข็งและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งการส่งออกที่สามารถขยายตัวได้ดีในช่วงที่ผ่านมา
เป็นผลจากการที่ภาครัฐคอยให้ความช่วยเหลือ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะ ธปท. เท่านั้น ขณะนี้ถึงจุดที่ผู้ส่งออกจะต้องเตรียมการรับมือและจัดการ
กับปัญหาด้วยตนเอง โดยคณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้ทำข้อเสนอเพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. มีความชัดเจนขึ้น แต่เนื่อง
จากคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีอำนาจสั่งการหรือบังคับ จึงได้แต่เพียงเสนอแนะเท่านั้น อย่างไรก็ดี เข้าใจว่ามาตรการกันสำรองร้อยละ 30
ที่ออกบังคับใช้ทำด้วยเจตนาที่ดี แต่หากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อไปก็คงเป็นไปไม่ได้ที่ ธปท. จะเลือกดูแลเฉพาะผู้ส่งออกเท่านั้น สำหรับการให้
ผู้ส่งออกทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในภาวะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นนั้น ขณะนี้มีข้อเท็จจริงที่จะต้องนำมาพิจารณาคือ กลุ่มผู้ส่งออก
มีความเป็นห่วงเรื่องค่าธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า เพราะปัจจุบันค่าธรรมเนียมได้ปรับสูงขึ้น ซึ่งหากยังคงเพิ่มขึ้น
อีกอาจเป็นไปได้ว่าสุดท้ายแล้วต้นทุนจากค่าธรรมเนียมสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของค่าเงินจะเทียบเท่ากับส่วนต่างของเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่า
ขึ้นมาเช่นกัน (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาอาหารสูงขึ้น รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 50 สำนักงาน
สถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ. อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของจีนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 มากกว่าเดือน ม.ค.
ที่ CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 แต่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เนื่องจากราคาอาหารสูงขึ้นจากเทศกาลตรุษจีน
โดย CPI ที่ปรับแล้วอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ทั้งนี้ในช่วงเดือน ม.ค. และ ก.พ.เมื่อปีที่แล้ว CPI เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 อย่างไรก็ตามแม้ว่า CPI
ในเดือน ก.พ. จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วบ้าง แต่ก็ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของจีนที่ร้อยละ 3.0 (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน รายงานจากเมนเฮล์ม เมื่อ
13 มี.ค.50 ดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันจำนวน 296 คนโดยสถาบัน
วิจัยเศรษฐกิจ ZEW เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ + 5.8 ในเดือน มี.ค.50 จากระดับ + 2.9 ในเดือน ก.พ.50 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน
นับตั้งแต่เดือน ก.ค.49 และสูงกว่าที่คาดไว้ที่ + 3.3 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เป็นผลจากความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจยังคง
ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 49 ซึ่งขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปี สอดคล้องกับผลสำรวจโดยบริษัทจัดหางาน Manpower ที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจ
ในเยอรมนีมีแผนที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 50 สูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี และสอดคล้องกับประมาณการขององค์การเพื่อความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ที่คาดว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปจะขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรกปี 50
เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 49 (รอยเตอร์)
3. อังกฤษขาดดุลการค้าลดลงในเดือน ม.ค.50 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 13 มี.ค.50
The Office for National Statistics เปิดเผยว่า เดือน ม.ค.50 อังกฤษขาดดุลการค้าเป็นจำนวน 6.226 พัน ล.ปอนด์ ลดลงจาก
จำนวน 6.945 พัน ล.ปอนด์ในเดือนก่อนหน้า เป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขาดดุล
การค้าจำนวน 6.9 พัน ล.ปอนด์ เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าลดลง ประกอบกับมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศนอกกุล่มสหภาพยุโรป (อียู)
เพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้าจากกลุ่มอียูลดลงร้อยละ 3.5 และนอกกลุ่มอียูลดลงร้อยละ 2 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังประเทศนอกกลุ่ม
อียูเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 6 ส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้ากับประเทศนอกกลุ่มอียูลดลงเป็นจำนวน 3.678 พัน ล.ปอนด์จาก 4.321 พัน ล.ปอนด์ใน
เดือนก่อนหน้า ต่างจากความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าอังกฤษจะขาดดุลการค้ากับประเทศนอกกลุ่มอียูจำนวน 4.3 พัน ล.ปอนด์
(รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค. จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการท่องเที่ยว รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 13 มี.ค.
50 ผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 13 คนโดยรอยเตอร์คาดว่า ในเดือน ม.ค. ยอดค้าปลีกของสิงคโปร์จะขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 ในเดือน ธ.ค. ทั้งนี้นาย Chua Hak Bin นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup กล่าวว่าการที่ยอดค้า
ปลีกขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยในเดือน ม.ค. จำนวนนักท่องเที่ยวทำสถิติสูงสุดถึง 825,000 คน หรือ
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากอินเดีย และอังกฤษ ทั้งนี้ทางการสิงคโปร์ต้องการส่งเสริมธุรกิจ
ท่องเที่ยวโดยมีการลงทุนในธุรกิจการบิน และเรือสำราญรวมทั้งธุรกิจกาสิโนที่มีมูลค่าหลายพัน ล. ดอลลาร์ สรอ.ถึง 2 แห่งที่จะเปิดดำเนินการ
ในปี 2553 ขณะที่มีบาร์ และคลับต่างๆเพิ่มขึ้น เพิ่อดึงดูดนักท่องเที่ยวดังกล่าว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 มี.ค. 50 13 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.148 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.9529/35.2776 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 675.20/11.40 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.44 56.11 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. รัฐบาลเตรียมมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุม
ร่วมกับคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมว่า ได้รับฟังความเห็นจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และนักวิชาการแล้ว แต่
ข้อมูลที่ได้รับยังไม่ครบถ้วนเพียงพอที่จะสะท้อนสภาพแท้จริงของทุกภาคเศรษฐกิจถึงขั้นที่จะออกมาตรการช่วยเหลือได้ ซึ่งจะต้องหารือเพื่อหาข้อ
สรุปกันต่อไป สำหรับมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นภาคเศรษฐกิจจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเฉพาะกลุ่ม เนื่องจากมาตรการโดยรวมมักไม่ได้ผล
เพราะแต่ละกลุ่มได้รับผลกระทบแตกต่างกัน จำเป็นต้องมีมาตรการที่สอดคล้องกับความเป็นจริง ยกตัวอย่างในอดีตที่เคยบอกว่าเศรษฐกิจของ
ประเทศขยายตัวสูงถึงกว่าร้อยละ 10 แต่ภาคเศรษฐกิจรากหญ้าไม่ได้เติบโตดีตามเศรษฐกิจมหภาค จึงจำเป็นต้องหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน
ทั้งนี้ การประชุมในวันนี้ยังไม่มีการหารือกับ ธปท. เพื่อยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 โดย ธปท. จะเข้าพบในวันที่ 15 มี.ค.นี้ ซึ่ง
คาดว่าจะมีการพูดคุยทั้งเรื่องมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เงินทุนนำเข้าระยะสั้น รวมถึงข้อกฎหมายการเงินต่าง ๆ ที่จะป็นหลักในการวาง
รากฐานในด้านการเงินด้วย (บ้านเมือง)
2. สศค. เตรียมเสนอแผนเพิ่มทุน ธ.พาณิชย์เฉพาะกิจของรัฐ นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
กล่าวว่า จะเสนอแผนการเพิ่มทุน ธ.พาณิชย์เฉพาะกิจให้ รมว.คลังพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 21 มี.ค.นี้ หลังจากที่ได้รับความเห็นชอบในหลักการ
เบื้องต้นแล้วแต่ให้กลับไปพิจารณาในรายละเอียด เพื่อให้การเพิ่มทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลังการเพิ่มทุน ระดับของเงินกองทุนต่อ
สินทรัพย์เสี่ยงจะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งการพิจารณาเพิ่มทุนแก่ ธ.พาณิชย์เฉพาะกิจของรัฐจะพิจารณาตามความ
เหมาะสม โดยเม็ดเงินที่จะเพิ่มเข้าไปมีความสำคัญไม่เท่ากับแผนการบริหารงานของผู้บริหาร ดังนั้น ธนาคารที่ขอเพิ่มทุนจะต้องมีเป้าหมายการ
จัดการเงินที่ดี จากการพิจารณาธนาคารเฉพาะกิจ 8 แห่ง จำเป็นต้องใส่เงินเพิ่มทุน 5 แห่ง จำนวนเงินเพิ่มทุนรวม 3 หมื่นล้านบาท ซึ่ง
ก.คลังพิจารณาแล้วจะใส่เงินเพิ่มทุนให้ไม่เท่ากับจำนวนที่ขอมา และเมื่อเพิ่มทุนแล้วจะทำธุรกิจได้อีก 5 ปี ซึ่งระดับของเงินกองทุนของธนาคาร
เฉพาะกิจไม่จำเป็นต้องสูงมาก หรืออยู่ในระดับที่เรียกว่า Well-capitalize จึงน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 10 เนื่องจากธนาคารเฉพาะกิจถูกจัดตั้ง
ขึ้นมาเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล มีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน จึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนให้เท่ากับ ธ.พาณิชย์ของเอกชน
ขณะที่ ธ.พาณิชย์ทั่วไปได้เพิ่มเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่น้อยกว่าร้อยละ 12 สำหรับธนาคารเฉพาะกิจที่ขอเพิ่มทุนประกอบด้วย
ธ.อาคารสงเคราะห์ ประมาณ 2.5 พันล้านบาท ได้เตรียมเงินไว้แล้ว 1.9 พันล้านบาท รัฐต้องใส่ทุนเพิ่มอีก 600 ล้านบาท ธ.พัฒนาวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมฯ 2.7 พันล้านบาท ธ.เพื่อการเกษตรฯ ขอเพิ่มทุน 1 หมื่นล้านบาท ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าฯ ขอเพิ่มทุน
1 หมื่นล้านบาท โดยจะเพิ่มทุน 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2551-2553 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
3. คณะกรรมการตรวจสอบ ธปท.เสนอแนะแนวทางการดูแลค่าเงินบาทในระยะยาว นายนนทพล นิ่มสมบุญ อดีตผู้ว่าการ
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบของ ธปท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบฯ เมื่อวันที่
13 มี.ค.50 ได้เสนอความเห็นไปยังผู้ว่าการ ธปท. เกี่ยวกับเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากคณะกรรมการฯ เห็นว่าเงินบาทยังมีแนวโน้ม
ที่จะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น มาตราการที่ทางการจะใช้ในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนควรจะต้องพิจารณาถึงค่าเงินบาทในระยะยาวด้วย
โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ส่งออกด้วยการดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่านั้น ธปท. ก็คงไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างไม่สิ้นสุด ทางการจึง
ควรต้องมีกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ส่งออกมีความเข้มแข็งและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งการส่งออกที่สามารถขยายตัวได้ดีในช่วงที่ผ่านมา
เป็นผลจากการที่ภาครัฐคอยให้ความช่วยเหลือ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะ ธปท. เท่านั้น ขณะนี้ถึงจุดที่ผู้ส่งออกจะต้องเตรียมการรับมือและจัดการ
กับปัญหาด้วยตนเอง โดยคณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้ทำข้อเสนอเพื่อให้การดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท. มีความชัดเจนขึ้น แต่เนื่อง
จากคณะกรรมการชุดนี้ไม่มีอำนาจสั่งการหรือบังคับ จึงได้แต่เพียงเสนอแนะเท่านั้น อย่างไรก็ดี เข้าใจว่ามาตรการกันสำรองร้อยละ 30
ที่ออกบังคับใช้ทำด้วยเจตนาที่ดี แต่หากเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อไปก็คงเป็นไปไม่ได้ที่ ธปท. จะเลือกดูแลเฉพาะผู้ส่งออกเท่านั้น สำหรับการให้
ผู้ส่งออกทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในภาวะที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นนั้น ขณะนี้มีข้อเท็จจริงที่จะต้องนำมาพิจารณาคือ กลุ่มผู้ส่งออก
มีความเป็นห่วงเรื่องค่าธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า เพราะปัจจุบันค่าธรรมเนียมได้ปรับสูงขึ้น ซึ่งหากยังคงเพิ่มขึ้น
อีกอาจเป็นไปได้ว่าสุดท้ายแล้วต้นทุนจากค่าธรรมเนียมสำหรับการป้องกันความเสี่ยงของค่าเงินจะเทียบเท่ากับส่วนต่างของเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่า
ขึ้นมาเช่นกัน (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาอาหารสูงขึ้น รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 50 สำนักงาน
สถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ. อัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของจีนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 มากกว่าเดือน ม.ค.
ที่ CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 แต่น้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้นว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เนื่องจากราคาอาหารสูงขึ้นจากเทศกาลตรุษจีน
โดย CPI ที่ปรับแล้วอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ทั้งนี้ในช่วงเดือน ม.ค. และ ก.พ.เมื่อปีที่แล้ว CPI เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.4 อย่างไรก็ตามแม้ว่า CPI
ในเดือน ก.พ. จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วบ้าง แต่ก็ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของจีนที่ร้อยละ 3.0 (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเยอรมนีในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน รายงานจากเมนเฮล์ม เมื่อ
13 มี.ค.50 ดัชนีชี้วัดความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจจากผลสำรวจความเห็นของนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบันจำนวน 296 คนโดยสถาบัน
วิจัยเศรษฐกิจ ZEW เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ + 5.8 ในเดือน มี.ค.50 จากระดับ + 2.9 ในเดือน ก.พ.50 อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน
นับตั้งแต่เดือน ก.ค.49 และสูงกว่าที่คาดไว้ที่ + 3.3 จากผลสำรวจโดยรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เป็นผลจากความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจยังคง
ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 49 ซึ่งขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 6 ปี สอดคล้องกับผลสำรวจโดยบริษัทจัดหางาน Manpower ที่แสดงให้เห็นว่าธุรกิจ
ในเยอรมนีมีแผนที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 2 ปี 50 สูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี และสอดคล้องกับประมาณการขององค์การเพื่อความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือ OECD ที่คาดว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปจะขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาสแรกปี 50
เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 49 (รอยเตอร์)
3. อังกฤษขาดดุลการค้าลดลงในเดือน ม.ค.50 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 13 มี.ค.50
The Office for National Statistics เปิดเผยว่า เดือน ม.ค.50 อังกฤษขาดดุลการค้าเป็นจำนวน 6.226 พัน ล.ปอนด์ ลดลงจาก
จำนวน 6.945 พัน ล.ปอนด์ในเดือนก่อนหน้า เป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขาดดุล
การค้าจำนวน 6.9 พัน ล.ปอนด์ เป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าลดลง ประกอบกับมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศนอกกุล่มสหภาพยุโรป (อียู)
เพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการนำเข้าจากกลุ่มอียูลดลงร้อยละ 3.5 และนอกกลุ่มอียูลดลงร้อยละ 2 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังประเทศนอกกลุ่ม
อียูเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 6 ส่งผลให้ยอดขาดดุลการค้ากับประเทศนอกกลุ่มอียูลดลงเป็นจำนวน 3.678 พัน ล.ปอนด์จาก 4.321 พัน ล.ปอนด์ใน
เดือนก่อนหน้า ต่างจากความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าอังกฤษจะขาดดุลการค้ากับประเทศนอกกลุ่มอียูจำนวน 4.3 พัน ล.ปอนด์
(รอยเตอร์)
4. คาดว่ายอดค้าปลีกของสิงคโปร์ในเดือน ม.ค. จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการท่องเที่ยว รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 13 มี.ค.
50 ผลการสำรวจนักวิเคราะห์จำนวน 13 คนโดยรอยเตอร์คาดว่า ในเดือน ม.ค. ยอดค้าปลีกของสิงคโปร์จะขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.9 ในเดือน ธ.ค. ทั้งนี้นาย Chua Hak Bin นักเศรษฐศาสตร์จาก Citigroup กล่าวว่าการที่ยอดค้า
ปลีกขยายตัวอย่างแข็งแกร่งเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยในเดือน ม.ค. จำนวนนักท่องเที่ยวทำสถิติสูงสุดถึง 825,000 คน หรือ
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากอินเดีย และอังกฤษ ทั้งนี้ทางการสิงคโปร์ต้องการส่งเสริมธุรกิจ
ท่องเที่ยวโดยมีการลงทุนในธุรกิจการบิน และเรือสำราญรวมทั้งธุรกิจกาสิโนที่มีมูลค่าหลายพัน ล. ดอลลาร์ สรอ.ถึง 2 แห่งที่จะเปิดดำเนินการ
ในปี 2553 ขณะที่มีบาร์ และคลับต่างๆเพิ่มขึ้น เพิ่อดึงดูดนักท่องเที่ยวดังกล่าว (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 มี.ค. 50 13 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.148 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.9529/35.2776 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 675.20/11.40 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.44 56.11 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--