ยุบพรรคการเมือง - คดีประวัติศาสตร์
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
17 พฤษภาคม 2550
เรื่องคดียุบพรรคการเมือง ทั้ง 2 พรรคคือไทยรักไทย และประชาธิปัตย์ ดูจะเป็นเรื่องที่ผู้คนเริ่ม เอาจิตใจจดจ่อรอฟังผลกันอยู่เป็นจำนวนมาก และสำหรับคนที่เป็นสมาชิกของแต่ละพรรคนั้นยิ่งใกล้จะถึงวันที่ 30 พฤษภาคม อันเป็นวันที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ นัดฟังคำสั่งด้วยแล้ว กล่าวได้ว่าหัวใจเต้นระทึกกันเลยทีเดียว เพราะอาจหมายถึงผลกระทบอันยิ่งใหญ่
ความจริงเรื่องพรรคการเมืองถูกยุบนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก็เคยมีมาก่อนแล้วหลายครั้ง เพราะแต่ก่อนโน้นในเวลาที่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศของเรายังลุ่ม ๆ ดอน ๆ อยู่มากและมีการยึดอำนาจโดยคณะทหารกันบ่อย ทุกครั้งที่มีการยึดอำนาจเขาก็จะมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองกันทุกครั้ง ซึ่งก็เพิ่งจะมี 2 ครั้งหลังที่ผ่านมานี่เอง คือ เมื่อครั้งที่คณะรสช. ยึดอำนาจเมื่อปี 2533 ครั้งหนึ่ง และเมื่อคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจเมื่อปี 2549 นี่อีกครั้งหนึ่งที่ไม่มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองเพียงแต่ห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองเท่านั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตามการที่พรรคการเมืองถูกยุบโดยคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะอะไรก็แล้วแต่ที่ยึดอำนาจถือได้ว่าเป็นการถูกยุบโดยที่มิใช่เป็นความผิดของพรรคการเมืองหากแต่เพราะเกรงว่าพรรคการเมืองจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการของ คณะที่ยึดอำนาจ จึงมีคำสั่งให้ยุบเสีย เมื่อเหตุการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติแล้วเมื่อใด ก็มาเริ่มจดทะเบียนจัดตั้งพรรคกันใหม่ แม้ว่าพรรคการเมืองจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่โดยเหตุที่พรรคการเมืองยังไม่ค่อยจะมีความเป็นปึกแผ่นมากนัก สมาชิกพรรคก็ยังมีไม่ค่อยมาก ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในหมู่ประชาชนก็ยังไม่ค่อยจะมีผลกระทบจึงมีไม่มาก และจึงผ่านเหตุการณ์ดังกล่าวมาได้โดยตลอด ซึ่งต่างกับการยุบพรรคการเมืองที่จะเกิดมีขึ้นในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้เป็นอย่างมาก
ที่ผมกล่าวว่า แตกต่างกันเป็นอย่างมากก็เพราะว่า
ประการแรก ถ้าพรรคการเมืองจะถูกยุบในครั้งนี้ก็จะต้องเป็นเพราะพรรคการเมืองได้กระทำการอันผิดกฎหมายร้ายแรงตามที่ได้มีกำหนดไว้ในกฎหมายพรรคการเมือง การพิสูจน์ความผิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ และแม้ว่าภายหลังยุคพรรคการเมืองถูกยุบโดยคำสั่งของผู้ยึดอำนาจจะเคยมีกรณีถูกยุบโดย คำสั่งรัฐธรรมนูญบ้างแล้วก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่ไม่ค่อยมีข้อโต้แย้งและอยู่ในความสนใจเหมือนครั้งนี้
ประการที่ 2 ก็คือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาซึ่งรวมไปถึงปฏิกริยา ของการยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อผลที่เกิดขึ้น ก็คงมีแน่แต่จะมากน้อยเพียงใด ย่อมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยประกอบกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เรื่องของการพิสูจน์ความผิด
การพิสูจน์ความผิด ก็คือกระบวนการในการพิจารณาค้นหาเหตุผล เพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหา ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ และการกระทำนั้น ได้มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นความผิด รวมทั้งได้มีการกำหนดโทษไว้หรือไม่
การพิสูจน์ความผิดในกรณีที่มีการยื่นข้อกล่าวหาให้มีการยุบพรรคในครั้งนี้ จึงขึ้นอยู่กับว่า พรรคใดได้กระทำการ หรือถือว่าได้กระทำการตามที่ได้มีการกล่าวหานั้นหรือไม่ และการกระทำนั้นได้มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นความผิด รวมทั้งได้มีบทกำหนดโทษถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาคดีโดยตุลาการรัฐธรรมนูญในขั้นตอนของการไต่สวนพยานของอัยการผู้ร้อง และของพรรคการเมืองผู้ถูกร้องก็ได้เดินตามหลักที่ว่านี้มาโดยตลอด การที่พรรคใดจะถูกยุบหรือไม่ จึงย่อมขึ้นอยู่กับการกระทำของพรรคนั้นเป็นสำคัญ
มิใช่ เมื่อต้องยุบพรรคหนึ่งพรรคใดแล้ว จะต้องยุบอีกพรรคหนึ่งด้วย จึงจะถือว่าเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ตามที่มีคนจำนวนหนึ่งมีความเข้าใจในทำนองนี้กันอยู่ซึ่งอาจจะด้วยเหตุผลว่าจะทำให้พรรคการเมืองที่ถูกยุบยอมรับ เพราะถือว่าเสมอภาคกัน
หรืออาจจะด้วยความสะใจ ที่ได้มีการล้างบางนักการเมืองกันเสียบ้าง ถ้าอย่างนั้นยิ่งอันตรายกันไปใหญ่ เพราะเหล่านี้เรียกได้ว่า เป็นความยุติธรรมตามความเข้าใจ หรือตามความสะใจ อันเป็นความยุติธรรมทางอารมณ์ ตามความพอใจซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดปัญหา เพราะไม่อาจจะหาข้อยุติได้ในที่สุด และจะเป็นปัญหาในระยะยาวยิ่งกว่า
มีแต่ความยุติธรรมตามกฎหมายที่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุด้วยผล โดยมีหลักกฎหมายเป็นข้ออ้างอิงตามกระบวนการในการพิสูจน์ความผิด ที่มีคำตอบพร้อมทั้งต่อผู้ที่ถูกลงโทษว่ากระทำความผิด และต่อสาธารณชนโดยทั่วไปได้อย่างชัดเจนเท่านั้นที่จะยุติปัญหาได้จริง
กรณียุบพรรคการเมืองในครั้งนี้ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยโดยแท้จริง เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนเป็นจำนวนหลายล้านคน ทั้งที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองและทั้งที่มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งขณะนี้ต่างก็เฝ้าจดจ่อรอฟังผลการพิจารณาด้วยความกระหายใคร่รู้อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น
เมื่อได้ชื่อว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์ คำสั่งของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคดีนี้ก็ย่อมจะต้องได้ชื่อว่าเป็นคำสั่งประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกัน
สำนวนคดี ซึ่งประกอบด้วย คำร้อง (กล่าวหา) ของอัยการผู้ร้อง และคำร้องแก้ไขข้อกล่าวหาของพรรคการเมืองผู้ถูกร้อง ตลอดทั้งสำนวนการไต่สวนพยาน กระบวนพิจารณา และคำสั่งของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็จะเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน เพื่อประกอบการศึกษาค้นคว้าของบรรดานักศึกษาทางกฎหมาย และที่แน่นอนที่สุดก็คือจะเป็นเอกสารที่จะมีให้ผู้สนใจได้ค้นคว้าหาอ่านได้ตามห้องสมุดต่าง ๆ ได้แน่นอน ถ้าจะมีแรงกดดัน ตุลาการรัฐธรรมนูญในการทำคำสั่งในครั้งนี้ ก็น่าจะอยู่ที่ข้อนี้มากกว่า คือจะทำคำสั่งคดีประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ให้มีความสมบูรณ์ในทุกด้านได้อย่างไร
มีท่านผู้ใหญ่ที่เป็นผู้รู้ทางด้านกฎหมายอันเป็นที่ยอมรับในสังคมนักกฎหมายท่านหนึ่งคุยให้ผมฟังว่าอย่างน้อยคำสั่งตุลาการรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคการเมืองในครั้งนี้ ควรจะประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการคือ
1. มีมาตรฐานการตีความกฎหมายพรรคการเมืองในเรื่องยุบพรรคการเมืองอย่างเป็นที่ยอมรับ
2. มีมาตรฐานการใช้ดุลพินิจ ในการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมตามกฎหมายที่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุและผล โดยมีหลักกฎหมายอ้างอิงได้
3. คำสั่งตุลาการรัฐธรรมนูญทั้งที่เป็นคำวินิจฉัยกลาง และคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการรัฐธรรมนูญแต่ละท่าน ควรจะมีความยาวอย่างเพียงพอที่จะแสดงถึงเหตุและผลแห่งคำสั่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างชัดเจนทั้งต่อพรรคการเมืองที่ถูกลงโทษว่าได้กระทำความผิด หรือไม่ถูกลงโทษและที่สำคัญก็คือ ควรจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนต่อสาธารณชนผู้สนใจโดยทั่วไป
ผมฟังแล้ว เห็นด้วยทุกประการ จึงขอนำมาบอกต่อ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้พิจารณาคดียุบพรรคการเมืองในครั้งนี้อาจจะมีสาระสำคัญทั้ง 3 ประการดังกล่าวไว้แล้วอย่างครบถ้วน ในคำสั่งวันที่ 30 พฤษภาคมนี้โดยมิได้หวั่นไหวไปตามแรงกดดันอื่นใด.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 พ.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
17 พฤษภาคม 2550
เรื่องคดียุบพรรคการเมือง ทั้ง 2 พรรคคือไทยรักไทย และประชาธิปัตย์ ดูจะเป็นเรื่องที่ผู้คนเริ่ม เอาจิตใจจดจ่อรอฟังผลกันอยู่เป็นจำนวนมาก และสำหรับคนที่เป็นสมาชิกของแต่ละพรรคนั้นยิ่งใกล้จะถึงวันที่ 30 พฤษภาคม อันเป็นวันที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ นัดฟังคำสั่งด้วยแล้ว กล่าวได้ว่าหัวใจเต้นระทึกกันเลยทีเดียว เพราะอาจหมายถึงผลกระทบอันยิ่งใหญ่
ความจริงเรื่องพรรคการเมืองถูกยุบนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก็เคยมีมาก่อนแล้วหลายครั้ง เพราะแต่ก่อนโน้นในเวลาที่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศของเรายังลุ่ม ๆ ดอน ๆ อยู่มากและมีการยึดอำนาจโดยคณะทหารกันบ่อย ทุกครั้งที่มีการยึดอำนาจเขาก็จะมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองกันทุกครั้ง ซึ่งก็เพิ่งจะมี 2 ครั้งหลังที่ผ่านมานี่เอง คือ เมื่อครั้งที่คณะรสช. ยึดอำนาจเมื่อปี 2533 ครั้งหนึ่ง และเมื่อคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจเมื่อปี 2549 นี่อีกครั้งหนึ่งที่ไม่มีคำสั่งยุบพรรคการเมืองเพียงแต่ห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองเท่านั้นเอง
แต่อย่างไรก็ตามการที่พรรคการเมืองถูกยุบโดยคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะอะไรก็แล้วแต่ที่ยึดอำนาจถือได้ว่าเป็นการถูกยุบโดยที่มิใช่เป็นความผิดของพรรคการเมืองหากแต่เพราะเกรงว่าพรรคการเมืองจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการของ คณะที่ยึดอำนาจ จึงมีคำสั่งให้ยุบเสีย เมื่อเหตุการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติแล้วเมื่อใด ก็มาเริ่มจดทะเบียนจัดตั้งพรรคกันใหม่ แม้ว่าพรรคการเมืองจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่โดยเหตุที่พรรคการเมืองยังไม่ค่อยจะมีความเป็นปึกแผ่นมากนัก สมาชิกพรรคก็ยังมีไม่ค่อยมาก ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในหมู่ประชาชนก็ยังไม่ค่อยจะมีผลกระทบจึงมีไม่มาก และจึงผ่านเหตุการณ์ดังกล่าวมาได้โดยตลอด ซึ่งต่างกับการยุบพรรคการเมืองที่จะเกิดมีขึ้นในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้เป็นอย่างมาก
ที่ผมกล่าวว่า แตกต่างกันเป็นอย่างมากก็เพราะว่า
ประการแรก ถ้าพรรคการเมืองจะถูกยุบในครั้งนี้ก็จะต้องเป็นเพราะพรรคการเมืองได้กระทำการอันผิดกฎหมายร้ายแรงตามที่ได้มีกำหนดไว้ในกฎหมายพรรคการเมือง การพิสูจน์ความผิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ และแม้ว่าภายหลังยุคพรรคการเมืองถูกยุบโดยคำสั่งของผู้ยึดอำนาจจะเคยมีกรณีถูกยุบโดย คำสั่งรัฐธรรมนูญบ้างแล้วก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่ไม่ค่อยมีข้อโต้แย้งและอยู่ในความสนใจเหมือนครั้งนี้
ประการที่ 2 ก็คือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาซึ่งรวมไปถึงปฏิกริยา ของการยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อผลที่เกิดขึ้น ก็คงมีแน่แต่จะมากน้อยเพียงใด ย่อมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยประกอบกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ เรื่องของการพิสูจน์ความผิด
การพิสูจน์ความผิด ก็คือกระบวนการในการพิจารณาค้นหาเหตุผล เพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหา ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ และการกระทำนั้น ได้มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นความผิด รวมทั้งได้มีการกำหนดโทษไว้หรือไม่
การพิสูจน์ความผิดในกรณีที่มีการยื่นข้อกล่าวหาให้มีการยุบพรรคในครั้งนี้ จึงขึ้นอยู่กับว่า พรรคใดได้กระทำการ หรือถือว่าได้กระทำการตามที่ได้มีการกล่าวหานั้นหรือไม่ และการกระทำนั้นได้มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นความผิด รวมทั้งได้มีบทกำหนดโทษถึงขั้นยุบพรรคหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาคดีโดยตุลาการรัฐธรรมนูญในขั้นตอนของการไต่สวนพยานของอัยการผู้ร้อง และของพรรคการเมืองผู้ถูกร้องก็ได้เดินตามหลักที่ว่านี้มาโดยตลอด การที่พรรคใดจะถูกยุบหรือไม่ จึงย่อมขึ้นอยู่กับการกระทำของพรรคนั้นเป็นสำคัญ
มิใช่ เมื่อต้องยุบพรรคหนึ่งพรรคใดแล้ว จะต้องยุบอีกพรรคหนึ่งด้วย จึงจะถือว่าเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ตามที่มีคนจำนวนหนึ่งมีความเข้าใจในทำนองนี้กันอยู่ซึ่งอาจจะด้วยเหตุผลว่าจะทำให้พรรคการเมืองที่ถูกยุบยอมรับ เพราะถือว่าเสมอภาคกัน
หรืออาจจะด้วยความสะใจ ที่ได้มีการล้างบางนักการเมืองกันเสียบ้าง ถ้าอย่างนั้นยิ่งอันตรายกันไปใหญ่ เพราะเหล่านี้เรียกได้ว่า เป็นความยุติธรรมตามความเข้าใจ หรือตามความสะใจ อันเป็นความยุติธรรมทางอารมณ์ ตามความพอใจซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดปัญหา เพราะไม่อาจจะหาข้อยุติได้ในที่สุด และจะเป็นปัญหาในระยะยาวยิ่งกว่า
มีแต่ความยุติธรรมตามกฎหมายที่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุด้วยผล โดยมีหลักกฎหมายเป็นข้ออ้างอิงตามกระบวนการในการพิสูจน์ความผิด ที่มีคำตอบพร้อมทั้งต่อผู้ที่ถูกลงโทษว่ากระทำความผิด และต่อสาธารณชนโดยทั่วไปได้อย่างชัดเจนเท่านั้นที่จะยุติปัญหาได้จริง
กรณียุบพรรคการเมืองในครั้งนี้ต้องถือเป็นเรื่องใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยโดยแท้จริง เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนเป็นจำนวนหลายล้านคน ทั้งที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองและทั้งที่มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งขณะนี้ต่างก็เฝ้าจดจ่อรอฟังผลการพิจารณาด้วยความกระหายใคร่รู้อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น
เมื่อได้ชื่อว่าเป็นคดีประวัติศาสตร์ คำสั่งของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคดีนี้ก็ย่อมจะต้องได้ชื่อว่าเป็นคำสั่งประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกัน
สำนวนคดี ซึ่งประกอบด้วย คำร้อง (กล่าวหา) ของอัยการผู้ร้อง และคำร้องแก้ไขข้อกล่าวหาของพรรคการเมืองผู้ถูกร้อง ตลอดทั้งสำนวนการไต่สวนพยาน กระบวนพิจารณา และคำสั่งของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก็จะเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน เพื่อประกอบการศึกษาค้นคว้าของบรรดานักศึกษาทางกฎหมาย และที่แน่นอนที่สุดก็คือจะเป็นเอกสารที่จะมีให้ผู้สนใจได้ค้นคว้าหาอ่านได้ตามห้องสมุดต่าง ๆ ได้แน่นอน ถ้าจะมีแรงกดดัน ตุลาการรัฐธรรมนูญในการทำคำสั่งในครั้งนี้ ก็น่าจะอยู่ที่ข้อนี้มากกว่า คือจะทำคำสั่งคดีประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ให้มีความสมบูรณ์ในทุกด้านได้อย่างไร
มีท่านผู้ใหญ่ที่เป็นผู้รู้ทางด้านกฎหมายอันเป็นที่ยอมรับในสังคมนักกฎหมายท่านหนึ่งคุยให้ผมฟังว่าอย่างน้อยคำสั่งตุลาการรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคการเมืองในครั้งนี้ ควรจะประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการคือ
1. มีมาตรฐานการตีความกฎหมายพรรคการเมืองในเรื่องยุบพรรคการเมืองอย่างเป็นที่ยอมรับ
2. มีมาตรฐานการใช้ดุลพินิจ ในการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมตามกฎหมายที่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุและผล โดยมีหลักกฎหมายอ้างอิงได้
3. คำสั่งตุลาการรัฐธรรมนูญทั้งที่เป็นคำวินิจฉัยกลาง และคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการรัฐธรรมนูญแต่ละท่าน ควรจะมีความยาวอย่างเพียงพอที่จะแสดงถึงเหตุและผลแห่งคำสั่งให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างชัดเจนทั้งต่อพรรคการเมืองที่ถูกลงโทษว่าได้กระทำความผิด หรือไม่ถูกลงโทษและที่สำคัญก็คือ ควรจะเป็นคำตอบที่ชัดเจนต่อสาธารณชนผู้สนใจโดยทั่วไป
ผมฟังแล้ว เห็นด้วยทุกประการ จึงขอนำมาบอกต่อ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่า คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้พิจารณาคดียุบพรรคการเมืองในครั้งนี้อาจจะมีสาระสำคัญทั้ง 3 ประการดังกล่าวไว้แล้วอย่างครบถ้วน ในคำสั่งวันที่ 30 พฤษภาคมนี้โดยมิได้หวั่นไหวไปตามแรงกดดันอื่นใด.
*****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 พ.ค. 2550--จบ--