อย่าทำให้ประชาชนต้องถอดใจ
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
ในที่สุด การปรับปรุงคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ผ่านพ้นไปอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการปรับเล็ก ๆ ตามที่เป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้แล้ว คือ มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในระหว่างรัฐมนตรีที่เป็นอยู่เดิมบ้าง และก็มีรัฐมนตรีใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกบ้าง ซึ่งก็มีเพียงสามท่านเท่านั้นเอง ก็เป็นอันว่าไม่มีการปรับใหญ่ตามที่ใครต่อใคร ซึ่งก็รวมทั้งผมด้วยอยากเห็น
เมื่อการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในคราวนี้เป็นอย่างนี้ ผมจึงไม่ค่อยแน่ใจว่า จะเพียงพอแก่การที่จะทำให้ประชาชนมีความหวังและเกิดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมสักเท่าใด เพราะที่ดูจะเป็นของใหม่น่าสนใจให้ติดตามได้บ้าง ก็คงจะมีเฉพาะรายคุณฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ จากทีดีอาร์ไอ เท่านั้นเองเพราะเป็นคนมีชื่อเสียงดี เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นผู้รู้ทางด้านเศรษฐกิจและที่สำคัญที่พอจะทำให้มีความรู้สึกมีความหวังก็คือว่า คงมีทีมงานใหญ่ของทีดีอาร์ไอ คอยหนุนช่วยงานอยู่เบื้องหลังบ้างตามสมควร
ที่ผมกล่าวถึงเรื่องประชาชนจะพอมีความหวังและเกิดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมด้วยหรือไม่ ก็เพราะเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า จากการทำโพลล์ของบางสำนักหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมาแม้กระทั่งก่อนหน้าที่จะมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ในคราวนี้ ก็ปรากฎผลออกมาว่า คะแนนนิยมของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ลดลงกว่าเดิมทุกครั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็ทราบดีและก็มักจะออกตัวว่าเป็นเพราะอ่อนประชาสัมพันธ์ จึงนำไปสู่การเร่งรัดให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเร่งประชาสัมพันธ์ผลงานของตนเองและครั้งหลังสุดถึงกับมีการแต่งตั้งคณะทำงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกของรัฐบาลขึ้นมาอีกด้วย แต่ก็ยังไม่เห็นจะทำให้คะแนนนิยมของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ กระเตื้องขึ้นมาแต่อย่างใด
เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดกรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนเก่าคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ลาออกจึงมีกระแสความคิดควรปรับใหญ่ครม. และควรปรับวิธีการทำงานเสียใหม่เพื่อที่จะให้รัฐบาลสามารถเรียกคืนความหวัง ความเชื่อมั่น หรือคะแนนนิยมให้เพิ่มขึ้นมาใหม่ด้วยความพร้อมที่มากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ ก็ตัดสินใจปรับเล็กอย่างที่เคยทำกันอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาที่จะต้องตามดูกันต่อไปก็คือว่า แล้วคะแนนความเชื่อมั่นหรือคะแนนนิยมจะลดลงอย่างที่เคยลดลงต่อไปอีกหรือไม่
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะปรากฎว่าคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จะลดลงเรื่อยมาแต่สำหรับคำถามจากการทำโพลล์ที่ว่า บุคคลใดมีความเหมาะสมต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ยังได้รับคะแนนความเหมาะสมสูงกว่าบุคคลอื่น ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจว่าประชาชนยังให้ความไว้วางใจในคุณสมบัติของความเป็นทหารอาชีพที่มีความซื่อตรงในหน้าที่ มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีมาก่อนนั่นเอง ซึ่งอาจจะเป็นด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ก็เป็นได้ ที่ทำให้นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ยังไม่มีอาการถอดใจแม้จะถูกรุมเร้าด้วยปัญหานานับประการ
การปาฐกถาพิเศษเนื่องในวันนักข่าว 5 มีนาคม ที่ยังกล่าวยืนยันถึงการมุ่งปฏิรูป 4 ด้านหลัก ๆ ตามที่เคยกล่าวเอาไว้เมื่อตอนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคือการปฏิรูปการเมืองอย่างสัมฤทธิ์ผล การฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ การขจัดช่องว่างของรายได้ และการนำหลักนิติธรรมกลับคืนมา ดูจะได้แสดงความเข้มแข็งมุ่งมั่น และไม่มีอาการถอดใจให้เห็นแต่อย่างใด
การมีนายกรัฐมนตรีที่มีความเข้มแข็งไม่ถอดใจง่าย ๆ เป็นเรื่องดีอยู่แล้ว แต่ถ้าความเข้มแข็งไม่ถอดใจนั้นไม่มีการปรับตัวไม่มีการพัฒนาให้ทันต่อสถานการณ์ และปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมุ่งแต่จะเดินตามกฎอย่างเคร่งครัด ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งสร้างเกมให้ต้องเดินตามอยู่เรื่อย ๆ ผมคิดว่าอันตรายและก็นับวันแต่จะอันตรายมากยิ่งขึ้น เพราะทั้งปัญหาและสถานการณ์จะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นอย่างแน่นอน แต่เมื่อได้ผ่านเหตุการณ์แห่งปัญหามาจนถึงขณะนี้แล้ว นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็น่าจะสรุปบทเรียนได้แล้วว่า ควรจะปรับตัว ปรับวิธีการทำงานของรัฐบาล และคมช. เพื่อเตรียมรับปัญหาและสถานการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร ซึ่งก็ควรจะได้ถือเอาการปรับครม.ใหม่ในคราวนี้ เป็นจุดเริ่มต้นใหม่กันเสียด้วยเลย
ผมเห็นว่า ประการแรก เพื่อป้องกันไม่ให้คะแนนนิยม ความเชื่อมั่น ต้องลดลงซ้ำซาก นายกรัฐมนตรี และคมช. ควรจะได้ร่วมกันพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างตรงไปตรงมา ไม่เข้าข้างตนเอง ไม่ใช่เอะอะ ก็เข้าใจว่าเป็นเพราะอ่อนประชาสัมพันธ์ ซึ่งสาเหตุที่ว่านี้ ก็ได้มีการวิเคราะห์วิจารณ์กันมาแล้วทั้งสิ้น หรือแม้แต่การทำโพลล์ของบางสำนักที่แสดงว่า คะแนนนิยมความเชื่อมั่นลดลงทุกครั้ง ก็มีคำตอบในเรื่องเหตุผลประกอบด้วย และเมื่อสรุปสาเหตุได้แล้ว ก็ใช้เป็นบทเรียนในการปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานเสียใหม่ คะแนนนิยมความเชื่อมั่นก็คงจะไม่ลดลงอย่างซ้ำซาก
ประการที่สอง นายกรัฐมนตรีควรจะได้สร้างความเข้าใจต่อรัฐมนตรีทั้งเก่าและใหม่ ให้ได้มีความเข้าใจตรงกันในภารกิจหลักเบื้องต้นของรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งก็คือ การมุ่งแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และความมั่นคงของชาติ และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือการทำลายล้างการทุจริต คอร์รัปชั่น ที่เกิดขึ้นแล้ว และการเสริมสร้างระบบการตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง รวมทั้งการเสริมสร้างระบบคุณธรรมที่ดีงามเพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤตซ้ำซากขึ้นมาอีก ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ได้มีปรากฎอยู่ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญชั่วคราว และในคำแถลงที่รัฐบาลนี้ได้แถลงไว้ต่อสภานิติบัญญัติแล้ว และโดยภารกิจหลักเบื้องต้นดังกล่าวนี้รัฐมนตรีจึงจะต้องมีหน้าที่ในการควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานในสังกัดในการให้ความร่วมมือกับคตส. และหน่วยงานตรวจสอบอื่นโดยไม่ชักช้า
ประการที่สาม โดยที่นายกรัฐมนตรียังคงยืนยันถึงการมุ่งปฏิรูป 4 ด้านหลัก คือการปฏิรูปการเมือง ฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ การขจัดช่องว่างของรายได้ ซึ่งก็คือการกระจายรายได้และการนำหลักนิติธรรมกลับคืนมา ซึ่งในเวลาที่ผ่านมากล่าวได้ว่า ยังไม่ค่อยเห็นผลชัดเจนมากนัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเป็นเรื่องใหญ่ด้วยกันทั้งสิ้น นายกรัฐมนตรีจึงควรจะได้ใช้โอกาสในการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ในคราวนี้มีคำสั่งแต่งตั้งรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบขึ้นในแต่ละเรื่องเหล่านี้ เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานให้เกิดผลอย่างจริงจังเสียที
ประการที่สี่ งานการประชาสัมพันธ์ที่นายกรัฐมนตรี กล่าวอ้างบ่อย ๆ ก็ต้องถือว่าสำคัญอยู่เหมือนกันและสำหรับคณะทำงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่นั้น กล่าวได้ว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะกรณีวิกฤตไอทีวี ที่เกิดขึ้นเมื่อวันสองวันนี้ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความบิดพริ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลของบริษัทเอกชนโดยแท้ แต่รัฐบาลกลับต้องถูกโจมตีอยู่ฝ่ายเดียว เพราะขาดการเตรียมการและขาดแผนงานในการสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้มาก่อนซึ่งหากมีการเตรียมการสร้างความเข้าใจไว้ก่อนล่วงหน้าเหตุการณ์จะไม่เป็นเช่นนี้ กรณีนี้จึงเป็นบทเรียนราคาแพงของรัฐบาลและคณะทำงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกของรัฐบาลที่จะต้องมีการปรับปรุงการทำงานเสียใหม่
ประการที่ห้า เนื่องด้วยปัญหาและสถานการณ์ที่นับวันแต่จะมีความเข้มข้นมากขึ้น ทั้งที่ป็นไปโดยสภาพและโดยการสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลและคมช. ข่าวลือ ข่าวปล่อย ที่จะก่อให้เกิดความสับสน ความขัดแย้ง แตกแยก ต่อรัฐบาลและคมช. ก็จะมีมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน การพบปะกันบ่อยขึ้นระหว่างนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และ คมช. หรือแม้แต่ในระหว่าง คมช. ด้วยกันเอง เพื่อประเมินปัญหาและสถานการณ์ร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะในทางการเมืองนั้นเรื่องเล็ก อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้เสมอ
การมีนายกรัฐมนตรี และคมช.ที่เข้มแข็ง ไม่ถอดใจ เป็นเรื่องดีอยู่แล้ วแต่ถ้าบริหารผิดพลาด ก่อให้เกิดวิกฤตบ่อยครั้งจนทำให้ประชาชนผิดหวัง ต้องถอดใจเสียเองก็จะเป็นอันตรายของแผ่นดินที่ยากแก่การจะแก้ไข.
*************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มี.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
ในที่สุด การปรับปรุงคณะรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ผ่านพ้นไปอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการปรับเล็ก ๆ ตามที่เป็นข่าวออกมาก่อนหน้านี้แล้ว คือ มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในระหว่างรัฐมนตรีที่เป็นอยู่เดิมบ้าง และก็มีรัฐมนตรีใหม่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกบ้าง ซึ่งก็มีเพียงสามท่านเท่านั้นเอง ก็เป็นอันว่าไม่มีการปรับใหญ่ตามที่ใครต่อใคร ซึ่งก็รวมทั้งผมด้วยอยากเห็น
เมื่อการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในคราวนี้เป็นอย่างนี้ ผมจึงไม่ค่อยแน่ใจว่า จะเพียงพอแก่การที่จะทำให้ประชาชนมีความหวังและเกิดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมสักเท่าใด เพราะที่ดูจะเป็นของใหม่น่าสนใจให้ติดตามได้บ้าง ก็คงจะมีเฉพาะรายคุณฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ จากทีดีอาร์ไอ เท่านั้นเองเพราะเป็นคนมีชื่อเสียงดี เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นผู้รู้ทางด้านเศรษฐกิจและที่สำคัญที่พอจะทำให้มีความรู้สึกมีความหวังก็คือว่า คงมีทีมงานใหญ่ของทีดีอาร์ไอ คอยหนุนช่วยงานอยู่เบื้องหลังบ้างตามสมควร
ที่ผมกล่าวถึงเรื่องประชาชนจะพอมีความหวังและเกิดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมด้วยหรือไม่ ก็เพราะเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า จากการทำโพลล์ของบางสำนักหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมาแม้กระทั่งก่อนหน้าที่จะมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ในคราวนี้ ก็ปรากฎผลออกมาว่า คะแนนนิยมของรัฐบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ลดลงกว่าเดิมทุกครั้ง ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็ทราบดีและก็มักจะออกตัวว่าเป็นเพราะอ่อนประชาสัมพันธ์ จึงนำไปสู่การเร่งรัดให้รัฐมนตรีแต่ละกระทรวงเร่งประชาสัมพันธ์ผลงานของตนเองและครั้งหลังสุดถึงกับมีการแต่งตั้งคณะทำงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกของรัฐบาลขึ้นมาอีกด้วย แต่ก็ยังไม่เห็นจะทำให้คะแนนนิยมของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ กระเตื้องขึ้นมาแต่อย่างใด
เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดกรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนเก่าคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ลาออกจึงมีกระแสความคิดควรปรับใหญ่ครม. และควรปรับวิธีการทำงานเสียใหม่เพื่อที่จะให้รัฐบาลสามารถเรียกคืนความหวัง ความเชื่อมั่น หรือคะแนนนิยมให้เพิ่มขึ้นมาใหม่ด้วยความพร้อมที่มากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง แต่ในที่สุดนายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ ก็ตัดสินใจปรับเล็กอย่างที่เคยทำกันอีกครั้งหนึ่ง ปัญหาที่จะต้องตามดูกันต่อไปก็คือว่า แล้วคะแนนความเชื่อมั่นหรือคะแนนนิยมจะลดลงอย่างที่เคยลดลงต่อไปอีกหรือไม่
อย่างไรก็ตามแม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะปรากฎว่าคะแนนนิยมของนายกรัฐมนตรี พลเอก สุรยุทธ์ จะลดลงเรื่อยมาแต่สำหรับคำถามจากการทำโพลล์ที่ว่า บุคคลใดมีความเหมาะสมต่อตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนี้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ยังได้รับคะแนนความเหมาะสมสูงกว่าบุคคลอื่น ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจว่าประชาชนยังให้ความไว้วางใจในคุณสมบัติของความเป็นทหารอาชีพที่มีความซื่อตรงในหน้าที่ มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม และเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีมาก่อนนั่นเอง ซึ่งอาจจะเป็นด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ก็เป็นได้ ที่ทำให้นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ยังไม่มีอาการถอดใจแม้จะถูกรุมเร้าด้วยปัญหานานับประการ
การปาฐกถาพิเศษเนื่องในวันนักข่าว 5 มีนาคม ที่ยังกล่าวยืนยันถึงการมุ่งปฏิรูป 4 ด้านหลัก ๆ ตามที่เคยกล่าวเอาไว้เมื่อตอนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคือการปฏิรูปการเมืองอย่างสัมฤทธิ์ผล การฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ การขจัดช่องว่างของรายได้ และการนำหลักนิติธรรมกลับคืนมา ดูจะได้แสดงความเข้มแข็งมุ่งมั่น และไม่มีอาการถอดใจให้เห็นแต่อย่างใด
การมีนายกรัฐมนตรีที่มีความเข้มแข็งไม่ถอดใจง่าย ๆ เป็นเรื่องดีอยู่แล้ว แต่ถ้าความเข้มแข็งไม่ถอดใจนั้นไม่มีการปรับตัวไม่มีการพัฒนาให้ทันต่อสถานการณ์ และปัญหาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมุ่งแต่จะเดินตามกฎอย่างเคร่งครัด ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งสร้างเกมให้ต้องเดินตามอยู่เรื่อย ๆ ผมคิดว่าอันตรายและก็นับวันแต่จะอันตรายมากยิ่งขึ้น เพราะทั้งปัญหาและสถานการณ์จะเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้นอย่างแน่นอน แต่เมื่อได้ผ่านเหตุการณ์แห่งปัญหามาจนถึงขณะนี้แล้ว นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็น่าจะสรุปบทเรียนได้แล้วว่า ควรจะปรับตัว ปรับวิธีการทำงานของรัฐบาล และคมช. เพื่อเตรียมรับปัญหาและสถานการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร ซึ่งก็ควรจะได้ถือเอาการปรับครม.ใหม่ในคราวนี้ เป็นจุดเริ่มต้นใหม่กันเสียด้วยเลย
ผมเห็นว่า ประการแรก เพื่อป้องกันไม่ให้คะแนนนิยม ความเชื่อมั่น ต้องลดลงซ้ำซาก นายกรัฐมนตรี และคมช. ควรจะได้ร่วมกันพิจารณาถึงสาเหตุแห่งความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างตรงไปตรงมา ไม่เข้าข้างตนเอง ไม่ใช่เอะอะ ก็เข้าใจว่าเป็นเพราะอ่อนประชาสัมพันธ์ ซึ่งสาเหตุที่ว่านี้ ก็ได้มีการวิเคราะห์วิจารณ์กันมาแล้วทั้งสิ้น หรือแม้แต่การทำโพลล์ของบางสำนักที่แสดงว่า คะแนนนิยมความเชื่อมั่นลดลงทุกครั้ง ก็มีคำตอบในเรื่องเหตุผลประกอบด้วย และเมื่อสรุปสาเหตุได้แล้ว ก็ใช้เป็นบทเรียนในการปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานเสียใหม่ คะแนนนิยมความเชื่อมั่นก็คงจะไม่ลดลงอย่างซ้ำซาก
ประการที่สอง นายกรัฐมนตรีควรจะได้สร้างความเข้าใจต่อรัฐมนตรีทั้งเก่าและใหม่ ให้ได้มีความเข้าใจตรงกันในภารกิจหลักเบื้องต้นของรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งก็คือ การมุ่งแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การต่างประเทศ และความมั่นคงของชาติ และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือการทำลายล้างการทุจริต คอร์รัปชั่น ที่เกิดขึ้นแล้ว และการเสริมสร้างระบบการตรวจสอบการทุจริตที่เข้มแข็ง รวมทั้งการเสริมสร้างระบบคุณธรรมที่ดีงามเพื่อป้องกันมิให้เกิดวิกฤตซ้ำซากขึ้นมาอีก ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ได้มีปรากฎอยู่ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญชั่วคราว และในคำแถลงที่รัฐบาลนี้ได้แถลงไว้ต่อสภานิติบัญญัติแล้ว และโดยภารกิจหลักเบื้องต้นดังกล่าวนี้รัฐมนตรีจึงจะต้องมีหน้าที่ในการควบคุมบังคับบัญชาข้าราชการและพนักงานในสังกัดในการให้ความร่วมมือกับคตส. และหน่วยงานตรวจสอบอื่นโดยไม่ชักช้า
ประการที่สาม โดยที่นายกรัฐมนตรียังคงยืนยันถึงการมุ่งปฏิรูป 4 ด้านหลัก คือการปฏิรูปการเมือง ฟื้นฟูความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติ การขจัดช่องว่างของรายได้ ซึ่งก็คือการกระจายรายได้และการนำหลักนิติธรรมกลับคืนมา ซึ่งในเวลาที่ผ่านมากล่าวได้ว่า ยังไม่ค่อยเห็นผลชัดเจนมากนัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเป็นเรื่องใหญ่ด้วยกันทั้งสิ้น นายกรัฐมนตรีจึงควรจะได้ใช้โอกาสในการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ในคราวนี้มีคำสั่งแต่งตั้งรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบขึ้นในแต่ละเรื่องเหล่านี้ เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานให้เกิดผลอย่างจริงจังเสียที
ประการที่สี่ งานการประชาสัมพันธ์ที่นายกรัฐมนตรี กล่าวอ้างบ่อย ๆ ก็ต้องถือว่าสำคัญอยู่เหมือนกันและสำหรับคณะทำงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่นั้น กล่าวได้ว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะกรณีวิกฤตไอทีวี ที่เกิดขึ้นเมื่อวันสองวันนี้ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะความบิดพริ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลของบริษัทเอกชนโดยแท้ แต่รัฐบาลกลับต้องถูกโจมตีอยู่ฝ่ายเดียว เพราะขาดการเตรียมการและขาดแผนงานในการสร้างความเข้าใจในเรื่องนี้มาก่อนซึ่งหากมีการเตรียมการสร้างความเข้าใจไว้ก่อนล่วงหน้าเหตุการณ์จะไม่เป็นเช่นนี้ กรณีนี้จึงเป็นบทเรียนราคาแพงของรัฐบาลและคณะทำงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกของรัฐบาลที่จะต้องมีการปรับปรุงการทำงานเสียใหม่
ประการที่ห้า เนื่องด้วยปัญหาและสถานการณ์ที่นับวันแต่จะมีความเข้มข้นมากขึ้น ทั้งที่ป็นไปโดยสภาพและโดยการสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลและคมช. ข่าวลือ ข่าวปล่อย ที่จะก่อให้เกิดความสับสน ความขัดแย้ง แตกแยก ต่อรัฐบาลและคมช. ก็จะมีมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน การพบปะกันบ่อยขึ้นระหว่างนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และ คมช. หรือแม้แต่ในระหว่าง คมช. ด้วยกันเอง เพื่อประเมินปัญหาและสถานการณ์ร่วมกันจึงเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะในทางการเมืองนั้นเรื่องเล็ก อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้เสมอ
การมีนายกรัฐมนตรี และคมช.ที่เข้มแข็ง ไม่ถอดใจ เป็นเรื่องดีอยู่แล้ วแต่ถ้าบริหารผิดพลาด ก่อให้เกิดวิกฤตบ่อยครั้งจนทำให้ประชาชนผิดหวัง ต้องถอดใจเสียเองก็จะเป็นอันตรายของแผ่นดินที่ยากแก่การจะแก้ไข.
*************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 มี.ค. 2550--จบ--