ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ห่วงสถานการณ์ทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและการไหลเข้าออกของเงินทุน นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดเพิ่มขึ้น เพราะหากเกิดความวุ่นวายทางการเมืองย่อมมีผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศและกระทบต่อภาวะการไหลเข้าออกของเงินทุน อย่างไรก็ตาม ธปท. ได้เตรียมการ
เพื่อรองรับสถานการณ์ในกรณีเกิดสถานการณ์รุนแรงไว้แล้วและเชื่อว่าเงินทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมากคงจะไม่ไหลออก
อย่างรวดเร็วเหมือนช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ขณะที่หนี้สินในต่างประเทศของไทยในขณะนี้ได้ลดลงจากปี 2540 กว่าครึ่ง มีเพียงหนี้
ต่างประเทศระยะสั้นประมาณร้อยละ 34.1 ของหนี้รวม ส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง 7 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เพียงพอ
ที่จะรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่เชื่อว่าต่างประเทศจะไม่เรียกหนี้ในไทยคืนทั้งหมดพร้อมกันเหมือนในอดีต เพราะสถานการณ์ทาง
เศรษฐกิจต่างกัน สำหรับสิ่งที่เป็นห่วงหากการเมืองเกิดความรุนแรงคงเป็นเรื่องความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประชาชนและนักลงทุนในประเทศ
มากกว่าที่จะห่วงภาวะของนักลงทุนต่างชาติ เพราะขณะนี้ความเชื่อมั่นนักธุรกิจลดลงไปมากแล้ว ซึ่งภาวะนี้กระทบเศรษฐกิจไทยมากกว่าผลกระทบ
ที่จะเกิดจากการไหลเข้าออกของเงินทุน (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. คาดจีดีพีช่วงครึ่งปีหลังขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.5 นายวิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์ลูกค้าธุรกิจ
ธ.ไทยพาณิชย์ คาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เศรษฐกิจไทยจะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.5 โดยได้แรงหนุนจากภาคการส่งออก
ที่แม้ว่าจะถูกจำกัดโดยความผันผวนของค่าเงินบาทก็ตาม รวมทั้งยังได้แรงหนุนจากการเบิกจ่ายงบลงทุนที่จะเร่งตัวขึ้นของภาครัฐในช่วงครึ่งหลัง
ของปีด้วย ขณะที่การเบิกจ่าย งปม.ของภาครัฐที่สะดุดและการบริโภคภาคเอกชนที่ติดลบคงยังไม่สามารถฟื้นคืนมาได้เร็ว แต่คาดว่าในไตรมาส 2
เป็นต้นไปสถานการณ์ต่าง ๆ จะเริ่มดีขึ้นหากการเลือกตั้งสามารถเกิดขึ้นได้ตามกำหนด ส่วนค่าเงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องอัน
เป็นผลจากแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ค่าเงินเอเชียที่แข็งค่าขึ้น และเศรษฐกิจของ สรอ. ที่มีความผันผวน รวมทั้งอาจมีเงินทุนไหล
เข้าในตลาดหลักทรัพย์ฯ จากการที่ตลาดหุ้นไทยราคายังถูกเมื่อเทียบกับตลาดอื่นช่วยหนุนให้ทิศทางเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ประเด็น
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ย.50 อาจจะส่งผลเรื่องการลดภาษีนำเข้าและการให้
โควตาพิเศษของญี่ปุ่นจะช่วยขยายตลาดส่งออกของไทยและเพิ่มการลงทุนจากญี่ปุ่น สำหรับเรื่องปัญหาทางการค้ากับ สรอ. ที่ไทยได้ถูกปรับ
ลดระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจากเดิมที่อยู่ในบัญชีจับตา เป็นบัญชีจับตาพิเศษ หลังไทยประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิในผลิตภัณฑ์ยา
3 รายการ อาจทำให้ไทยมีความน่าสนใจน้อยลงในสายตานักลงทุนต่างชาติ (ผู้จัดการรายวัน)
3. ครม. อนุมัติเงินกู้ 3.3 พันล้านบาท ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนัก นรม.
กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบการจัดสรรเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจในส่วนที่เหลือ 3,384 ล้านบาท จากวงเงินกู้ที่ ก.คลัง
และ ธปท. กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศปี 40 วงเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อนำมาดำเนินการ
จัดสรรใหม่ โดยใช้ในการปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป เนื่องจากขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ
สังคม และการเมืองอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพและศักยภาพของหน่วยงานโดยเร็ว แต่ งปม.แผ่นดินมีจำกัด
จึงจำเป็นต้องนำเงินกู้ดังกล่าวที่คงเหลือมาดำเนินการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สำหรับหลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการเงินกู้นี้ต้องเป็น
แผนงานหรือโครงการที่เร่งรัดปรับโครงสร้างและการแก้ปัญหาของส่วนราชการที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการให้เสร็จภายในปี งปม.51
มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและส่งเสริมด้านการศึกษาวิเคราะห์วิจัยที่สนับสนุนกลยุทธ์ใหม่ เพื่อสนองตอบ
ภาวะเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ (ข่าวสด)
4. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยลดลงมากที่สุดในโลก ผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคจาก 47 ประเทศ ล่าสุดของบริษัท
เอซีนีลเซ็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลกพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยตกลงมากถึง 15 จุด จากระดับ 107
มาอยู่ที่ 92 ซึ่งถือเป็นระดับที่ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในโลก เมื่อเทียบจากผลสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมาพบผู้บริโภคชาวไทย
มีความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง โดยเกือบครึ่งรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับสถานะทางการเงินในปีหน้า ส่งผลให้ชาวไทยติดลำดับแรก
ของโลกอีกครั้งในเรื่องความตั้งใจที่จะออมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวไทยมีความกังวลเพิ่ม
มากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 จากการสำรวจในเดือน ต.ค.49 เป็นร้อยละ 66 จากการสำรวจครั้ง
ล่าสุดในเดือน เม.ย.50 และยังพบว่าผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 45 มีความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30
จากการสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมา สำหรับสาเหตุที่ผู้บริโภคมีความต้องการออมเงินมากในภาวะนี้อาจจะอธิบายได้จากความกังวลที่เพิ่ม
มากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน และความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า รวมทั้งความคิดที่ว่าเวลานี้อาจจะไม่ใช่เวลา
ที่เหมาะสมกับการบริโภค (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดการขายปลีกของ สรอ. ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 12 มิ.ย.50
SpendingPulse เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของ สรอ. ที่ไม่นับรวมสินค้าหมวดรถยนต์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ชะลอลง
จากเดือน เม.ย.50 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนยอดการขายปลีก
ที่ไม่นับรวมสินค้าหมวดรถยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 นอกจากนี้ ยอดขายปลีกพื้นฐาน (ซึ่งไม่นับรวมสินค้า
หมวดรถยนต์ น้ำมันเชื้อเพลิง และวัตถุดิบก่อสร้าง) ใน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย.50
(รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อปี รายงานจากบรัสเซลล์
เมื่อ 12 มิ.ย.50 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป 13 ประเทศในเดือน
เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 สวนทางกับผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 4.4 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ ทำให้เกิดคำถามว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรป
ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหรือไม่ แม้ว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังมีความหวังว่าจะขยายตัว อนึ่ง สำหรับตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศฝรั่งเศส
เยอรมนี และอิตาลี มีรายงานเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าชะลอตัวอย่างน่าประหลาดใจ ทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปอาจกลับสู่
ภาวะเลวร้ายอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจเมื่อปีที่ผ่านมาและไตรมาสแรกของปีนี้ฟื้นตัวอย่างดี อย่างไรก็ตาม ตัวเลข
ผลผลิตอุตสาหกรรมดังกล่าวที่เป็นรายเดือน ยังมีความผันผวนอยู่ต้องทบทวนอีกหลายครั้ง ดังนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงเฝ้าติดตามทิศทางและ
แนวโน้มของตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเฉลี่ยราย 3 เดือนอย่างใกล้ชิด อนึ่ง สำนักงานสถิติทบทวนตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.50
เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบต่อปี หลังจากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 3.7
เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. เดือน เม.ย.50 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.3 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 มิ.ย.50 ก.คลัง
เปิดเผยว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.50 มีจำนวน 1.9865 ล้านล้านเยน (16.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.3
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขยายตัวร้อยละ 35.3 เป็นจำนวน
1.7888 ล้านล้านเยน สาเหตุหลักจากการขยายตัวของการส่งออกและรายได้จากการลงทุน โดยการส่งออกในเดือน เม.ย.ขยายตัวร้อยละ 7.3
ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.2 ส่งผลให้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 ส่วนดุลรายได้ (Income surplus) ขยายตัวร้อยละ 41.5
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วมากเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ย
จากรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้บรรดานักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมในการประชุมครั้งต่อไป
หลังจากที่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ร้อยละ 0.50 จากร้อยละ 0.25 เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา สำหรับ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสแรกปี 50 ขยายตัวร้อยละ 0.8 เทียบต่อไตรมาส และขยายตัวร้อยละ 3.3 เทียบต่อปี
(รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 27 เดือน รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 50
สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากร้อยละ 3.0 ในเดือน เม.ย.
และทำสถิติสูงสุดในรอบ 27 เดือน เนื่องจากราคาอาหารสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.3 ประกอบกับการขาดแคลนเนื้อหมูส่งผลให้
ราคาเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 26.5 อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อโดยรวมก็ยังสอดคล้องกับผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์
ขณะที่ดัชนีราคาหุ้นลดลงร้อยละ 2.1 ตามการคาดการณ์ว่าจะมีการดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ทำให้เงินฝากของภาคครัวเรือนที่ ธพ. ในเดือน พ.ค. ลดลงราว 278.4 พัน ล. หยวน (36.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.)
ลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากชาวจีนจำนวนมากเปลี่ยนจากการฝากเงินไปลงทุนที่ตลาดหุ้นเพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงิน
ทำให้เงินฝากสุทธิที่ ธพ. ลดลงอยู่ที่ 36 ล้าน ล้าน หยวน หรือลดลงราวร้อยละ 0.78 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs คาดว่า
ทางการจีนจะดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดขึ้นในเดือนหน้าเพื่อขจัดความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ และผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยที่เป็นลบ
อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมราคาอาหารยังคงอยู่ในระดับต่ำโดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียงร้อยละ 1.0 (รอยเตอร์)
5. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อปีต่ำสุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ
12 มิ.ย.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน และร้อยละ 2.5 ต่อปี
ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดในรอบ 7 เดือนเมื่อเทียบต่อปีนับตั้งแต่เดือน ต.ค.49 เป็นต้นมา โดยเป็นผลจากการลดราคาค่าสาธารณูปโภค
เช่น ค่าไฟฟ้าและก๊าซหุงต้มหลังจากราคาสูงขึ้นมากในช่วงปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นผลจากราคาผักและเนื้อสัตว์ที่ลดลง แต่อย่างไรก็ดี
ผลสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าต้นทุนของผู้ผลิตในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์และผู้ผลิตมีแผนที่จะขึ้นราคาสินค้าในอัตราสูงสุด
ในรอบ 12 ปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องหลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อปีในเดือน มี.ค.50 ซึ่งสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์จน ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษต้องทำจดหมายชี้แจงไปยังรัฐบาล ก่อนที่จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือน เม.ย.50
แต่จากการที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าไว้ว่าไม่ควรสูงกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก
นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกภายในปีนี้ซึ่งจะเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 และทำให้อัตราดอกเบี้ย
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.75 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 มิ.ย. 50 12 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.607 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4113/34.7457 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66844 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 743.42/14.80 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.60 64.53 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ห่วงสถานการณ์ทางการเมืองจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและการไหลเข้าออกของเงินทุน นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงสถานการณ์ทางการเมืองที่ตึงเครียดเพิ่มขึ้น เพราะหากเกิดความวุ่นวายทางการเมืองย่อมมีผลกระทบต่อ
เศรษฐกิจ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศและกระทบต่อภาวะการไหลเข้าออกของเงินทุน อย่างไรก็ตาม ธปท. ได้เตรียมการ
เพื่อรองรับสถานการณ์ในกรณีเกิดสถานการณ์รุนแรงไว้แล้วและเชื่อว่าเงินทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามาลงทุนในไทยจำนวนมากคงจะไม่ไหลออก
อย่างรวดเร็วเหมือนช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ขณะที่หนี้สินในต่างประเทศของไทยในขณะนี้ได้ลดลงจากปี 2540 กว่าครึ่ง มีเพียงหนี้
ต่างประเทศระยะสั้นประมาณร้อยละ 34.1 ของหนี้รวม ส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง 7 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เพียงพอ
ที่จะรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่เชื่อว่าต่างประเทศจะไม่เรียกหนี้ในไทยคืนทั้งหมดพร้อมกันเหมือนในอดีต เพราะสถานการณ์ทาง
เศรษฐกิจต่างกัน สำหรับสิ่งที่เป็นห่วงหากการเมืองเกิดความรุนแรงคงเป็นเรื่องความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของประชาชนและนักลงทุนในประเทศ
มากกว่าที่จะห่วงภาวะของนักลงทุนต่างชาติ เพราะขณะนี้ความเชื่อมั่นนักธุรกิจลดลงไปมากแล้ว ซึ่งภาวะนี้กระทบเศรษฐกิจไทยมากกว่าผลกระทบ
ที่จะเกิดจากการไหลเข้าออกของเงินทุน (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. คาดจีดีพีช่วงครึ่งปีหลังขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.5 นายวิรไท สันติประภพ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์ลูกค้าธุรกิจ
ธ.ไทยพาณิชย์ คาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เศรษฐกิจไทยจะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.8 — 4.5 โดยได้แรงหนุนจากภาคการส่งออก
ที่แม้ว่าจะถูกจำกัดโดยความผันผวนของค่าเงินบาทก็ตาม รวมทั้งยังได้แรงหนุนจากการเบิกจ่ายงบลงทุนที่จะเร่งตัวขึ้นของภาครัฐในช่วงครึ่งหลัง
ของปีด้วย ขณะที่การเบิกจ่าย งปม.ของภาครัฐที่สะดุดและการบริโภคภาคเอกชนที่ติดลบคงยังไม่สามารถฟื้นคืนมาได้เร็ว แต่คาดว่าในไตรมาส 2
เป็นต้นไปสถานการณ์ต่าง ๆ จะเริ่มดีขึ้นหากการเลือกตั้งสามารถเกิดขึ้นได้ตามกำหนด ส่วนค่าเงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องอัน
เป็นผลจากแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ค่าเงินเอเชียที่แข็งค่าขึ้น และเศรษฐกิจของ สรอ. ที่มีความผันผวน รวมทั้งอาจมีเงินทุนไหล
เข้าในตลาดหลักทรัพย์ฯ จากการที่ตลาดหุ้นไทยราคายังถูกเมื่อเทียบกับตลาดอื่นช่วยหนุนให้ทิศทางเงินบาทแข็งค่าขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ประเด็น
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือน ก.ย.50 อาจจะส่งผลเรื่องการลดภาษีนำเข้าและการให้
โควตาพิเศษของญี่ปุ่นจะช่วยขยายตลาดส่งออกของไทยและเพิ่มการลงทุนจากญี่ปุ่น สำหรับเรื่องปัญหาทางการค้ากับ สรอ. ที่ไทยได้ถูกปรับ
ลดระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจากเดิมที่อยู่ในบัญชีจับตา เป็นบัญชีจับตาพิเศษ หลังไทยประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิในผลิตภัณฑ์ยา
3 รายการ อาจทำให้ไทยมีความน่าสนใจน้อยลงในสายตานักลงทุนต่างชาติ (ผู้จัดการรายวัน)
3. ครม. อนุมัติเงินกู้ 3.3 พันล้านบาท ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนัก นรม.
กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบการจัดสรรเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจในส่วนที่เหลือ 3,384 ล้านบาท จากวงเงินกู้ที่ ก.คลัง
และ ธปท. กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศปี 40 วงเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อนำมาดำเนินการ
จัดสรรใหม่ โดยใช้ในการปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป เนื่องจากขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ
สังคม และการเมืองอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพและศักยภาพของหน่วยงานโดยเร็ว แต่ งปม.แผ่นดินมีจำกัด
จึงจำเป็นต้องนำเงินกู้ดังกล่าวที่คงเหลือมาดำเนินการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สำหรับหลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการเงินกู้นี้ต้องเป็น
แผนงานหรือโครงการที่เร่งรัดปรับโครงสร้างและการแก้ปัญหาของส่วนราชการที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการให้เสร็จภายในปี งปม.51
มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและส่งเสริมด้านการศึกษาวิเคราะห์วิจัยที่สนับสนุนกลยุทธ์ใหม่ เพื่อสนองตอบ
ภาวะเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ (ข่าวสด)
4. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยลดลงมากที่สุดในโลก ผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคจาก 47 ประเทศ ล่าสุดของบริษัท
เอซีนีลเซ็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลกพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยตกลงมากถึง 15 จุด จากระดับ 107
มาอยู่ที่ 92 ซึ่งถือเป็นระดับที่ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในโลก เมื่อเทียบจากผลสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมาพบผู้บริโภคชาวไทย
มีความกังวลในเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง โดยเกือบครึ่งรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับสถานะทางการเงินในปีหน้า ส่งผลให้ชาวไทยติดลำดับแรก
ของโลกอีกครั้งในเรื่องความตั้งใจที่จะออมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทั้งนี้ ผู้บริโภคชาวไทยมีความกังวลเพิ่ม
มากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 44 จากการสำรวจในเดือน ต.ค.49 เป็นร้อยละ 66 จากการสำรวจครั้ง
ล่าสุดในเดือน เม.ย.50 และยังพบว่าผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 45 มีความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 30
จากการสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมา สำหรับสาเหตุที่ผู้บริโภคมีความต้องการออมเงินมากในภาวะนี้อาจจะอธิบายได้จากความกังวลที่เพิ่ม
มากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน และความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า รวมทั้งความคิดที่ว่าเวลานี้อาจจะไม่ใช่เวลา
ที่เหมาะสมกับการบริโภค (ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดการขายปลีกของ สรอ. ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 12 มิ.ย.50
SpendingPulse เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของ สรอ. ที่ไม่นับรวมสินค้าหมวดรถยนต์ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ชะลอลง
จากเดือน เม.ย.50 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) เนื่องจากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนยอดการขายปลีก
ที่ไม่นับรวมสินค้าหมวดรถยนต์และน้ำมันเชื้อเพลิงในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 นอกจากนี้ ยอดขายปลีกพื้นฐาน (ซึ่งไม่นับรวมสินค้า
หมวดรถยนต์ น้ำมันเชื้อเพลิง และวัตถุดิบก่อสร้าง) ใน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน เม.ย.50
(รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อปี รายงานจากบรัสเซลล์
เมื่อ 12 มิ.ย.50 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป 13 ประเทศในเดือน
เม.ย.50 ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบต่อเดือน ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 สวนทางกับผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ที่คาดการณ์
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 4.4 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ ทำให้เกิดคำถามว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรป
ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหรือไม่ แม้ว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังมีความหวังว่าจะขยายตัว อนึ่ง สำหรับตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมของประเทศฝรั่งเศส
เยอรมนี และอิตาลี มีรายงานเมื่อสัปดาห์ก่อนว่าชะลอตัวอย่างน่าประหลาดใจ ทำให้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปอาจกลับสู่
ภาวะเลวร้ายอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจเมื่อปีที่ผ่านมาและไตรมาสแรกของปีนี้ฟื้นตัวอย่างดี อย่างไรก็ตาม ตัวเลข
ผลผลิตอุตสาหกรรมดังกล่าวที่เป็นรายเดือน ยังมีความผันผวนอยู่ต้องทบทวนอีกหลายครั้ง ดังนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงเฝ้าติดตามทิศทางและ
แนวโน้มของตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมเฉลี่ยราย 3 เดือนอย่างใกล้ชิด อนึ่ง สำนักงานสถิติทบทวนตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.50
เป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบต่อปี หลังจากที่รายงานก่อนหน้านี้ว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 3.7
เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. เดือน เม.ย.50 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.3 เทียบต่อปี รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 มิ.ย.50 ก.คลัง
เปิดเผยว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือน เม.ย.50 มีจำนวน 1.9865 ล้านล้านเยน (16.3 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.3
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะขยายตัวร้อยละ 35.3 เป็นจำนวน
1.7888 ล้านล้านเยน สาเหตุหลักจากการขยายตัวของการส่งออกและรายได้จากการลงทุน โดยการส่งออกในเดือน เม.ย.ขยายตัวร้อยละ 7.3
ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.2 ส่งผลให้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 ส่วนดุลรายได้ (Income surplus) ขยายตัวร้อยละ 41.5
เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการขยายตัวอย่างรวดเร็วมากเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ย
จากรายได้เพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้บรรดานักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมในการประชุมครั้งต่อไป
หลังจากที่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ร้อยละ 0.50 จากร้อยละ 0.25 เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา สำหรับ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสแรกปี 50 ขยายตัวร้อยละ 0.8 เทียบต่อไตรมาส และขยายตัวร้อยละ 3.3 เทียบต่อปี
(รอยเตอร์)
4. อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 27 เดือน รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 50
สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือน พ.ค. อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากร้อยละ 3.0 ในเดือน เม.ย.
และทำสถิติสูงสุดในรอบ 27 เดือน เนื่องจากราคาอาหารสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.3 ประกอบกับการขาดแคลนเนื้อหมูส่งผลให้
ราคาเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 26.5 อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อโดยรวมก็ยังสอดคล้องกับผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์
ขณะที่ดัชนีราคาหุ้นลดลงร้อยละ 2.1 ตามการคาดการณ์ว่าจะมีการดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ทำให้เงินฝากของภาคครัวเรือนที่ ธพ. ในเดือน พ.ค. ลดลงราว 278.4 พัน ล. หยวน (36.4 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.)
ลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากชาวจีนจำนวนมากเปลี่ยนจากการฝากเงินไปลงทุนที่ตลาดหุ้นเพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงิน
ทำให้เงินฝากสุทธิที่ ธพ. ลดลงอยู่ที่ 36 ล้าน ล้าน หยวน หรือลดลงราวร้อยละ 0.78 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs คาดว่า
ทางการจีนจะดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดขึ้นในเดือนหน้าเพื่อขจัดความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ และผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยที่เป็นลบ
อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมราคาอาหารยังคงอยู่ในระดับต่ำโดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพียงร้อยละ 1.0 (รอยเตอร์)
5. อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ต่อปีต่ำสุดในรอบ 7 เดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ
12 มิ.ย.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่อเดือน และร้อยละ 2.5 ต่อปี
ซึ่งถือเป็นอัตราเงินเฟ้อต่ำสุดในรอบ 7 เดือนเมื่อเทียบต่อปีนับตั้งแต่เดือน ต.ค.49 เป็นต้นมา โดยเป็นผลจากการลดราคาค่าสาธารณูปโภค
เช่น ค่าไฟฟ้าและก๊าซหุงต้มหลังจากราคาสูงขึ้นมากในช่วงปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังเป็นผลจากราคาผักและเนื้อสัตว์ที่ลดลง แต่อย่างไรก็ดี
ผลสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าต้นทุนของผู้ผลิตในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์และผู้ผลิตมีแผนที่จะขึ้นราคาสินค้าในอัตราสูงสุด
ในรอบ 12 ปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องหลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ต่อปีในเดือน มี.ค.50 ซึ่งสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์จน ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษต้องทำจดหมายชี้แจงไปยังรัฐบาล ก่อนที่จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปีในเดือน เม.ย.50
แต่จากการที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงกว่าที่ ธ.กลางอังกฤษตั้งเป้าไว้ว่าไม่ควรสูงกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปีและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก
นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกภายในปีนี้ซึ่งจะเป็นครั้งที่ 5 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 และทำให้อัตราดอกเบี้ย
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.75 ต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 มิ.ย. 50 12 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.607 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4113/34.7457 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.66844 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 743.42/14.80 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.60 64.53 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--