กรุงเทพ--16 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ (โดยกรมองค์การระหว่างประเทศและสำนักงาน ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหา
โรคเอดส์ในภูมิภาคแอฟริกา ครั้งที่ 2 เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ความก้าวหน้าของไทยในด้านดังกล่าว และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาในเรื่องนี้
โดยประเทศไทยได้มีบทบาทนำในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 เมื่อเดือนกรกฏาคม 2547 และเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานการเป็นประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network-HSN) ของไทยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2548 ถึงเดือนพฤษภาคม 2549 รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (South-South Cooperation)
การที่ไทยให้ความสำคัญกับการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวในภูมิภาคแอฟริกาเนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า ภูมิภาคนี้ประสบปัญหาความรุนแรงเรื่องโรคเอดส์อย่างมาก โดยปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ทั่วโลกประมาณ 39.4 ล้านคนอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาประมาณ 25.4 ล้านคน หรือประมาณ 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ติดเชื้อในโลก และคาดว่าภายในปี 2553 หรืออีก 5 ปีนับจากนี้ จะมีชาวแอฟริกาที่ต้องเสียชีวิตลงด้วยโรคเอดส์เป็นจำนวนถึง 71 ล้านคน
การประชุมเชิงปฏิบัติฯ ครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22-24 มิถุนายน 2548 ที่กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ภายใต้หัวข้อ “การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แบบบูรณาการ” (Comprehensive Response to HIV/AIDS Prevention and care) โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศในแอฟริกาตอนเหนือและตะวันตก 10 ประเทศ ได้แก่ บูร์กินาฟาโซ จิบูติ กาบอง กานา เคนยา มาลี ไนจีเรีย โซมาเลีย ซูดาน และยูกันดา ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและแนวทางความร่วมมือระหว่างไทยกับแอฟริกาในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2548 ณ กรุงกาโบโรน สาธารณรัฐบอตสวานา โดยจะมีผู้เข้าร่วมจากประเทศในแอฟริกาตอนใต้ 9 ประเทศ ได้แก่ เลโซโท มาดากัสการ์ โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และบอตสวานา โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล) ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางไปเยือนประเทศในแอฟริกาจะเป็นผู้กล่าวเปิดการประชุมที่โรงแรม Garborone Sun หลังจากนั้นจะมีการประชุมเต็มคณะเกี่ยวกับสถานการณ์โรคเอดส์ในแอฟริกาและนโยบายดำเนินงานของไทยและต่อด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ในระดับชาติและระดับชุมชน โดยทั้งสองส่วนจะมีวิทยากรไทยเข้าร่วมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทน NGOs ตลอดจนตัวแทนของผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้รับรู้การดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้โดยตรง
การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในภูมิภาคแอฟริกาครั้งนี้ นับเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศเชิงรุกของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2548 ซึ่งกำหนดให้เป็นปี แอฟริกา อันจะช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยทั้งในด้านประสบการณ์ความรู้และความชำนาญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และในด้านมนุษยธรรมของไทยต่อประเทศอื่นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศ (โดยกรมองค์การระหว่างประเทศและสำนักงาน ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหา
โรคเอดส์ในภูมิภาคแอฟริกา ครั้งที่ 2 เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ความก้าวหน้าของไทยในด้านดังกล่าว และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาในเรื่องนี้
โดยประเทศไทยได้มีบทบาทนำในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ ครั้งที่ 15 เมื่อเดือนกรกฏาคม 2547 และเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานการเป็นประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network-HSN) ของไทยในช่วงเดือนพฤษภาคม 2548 ถึงเดือนพฤษภาคม 2549 รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (South-South Cooperation)
การที่ไทยให้ความสำคัญกับการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวในภูมิภาคแอฟริกาเนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า ภูมิภาคนี้ประสบปัญหาความรุนแรงเรื่องโรคเอดส์อย่างมาก โดยปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ทั่วโลกประมาณ 39.4 ล้านคนอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาประมาณ 25.4 ล้านคน หรือประมาณ 2 ใน 3 ของจำนวนผู้ติดเชื้อในโลก และคาดว่าภายในปี 2553 หรืออีก 5 ปีนับจากนี้ จะมีชาวแอฟริกาที่ต้องเสียชีวิตลงด้วยโรคเอดส์เป็นจำนวนถึง 71 ล้านคน
การประชุมเชิงปฏิบัติฯ ครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22-24 มิถุนายน 2548 ที่กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ภายใต้หัวข้อ “การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แบบบูรณาการ” (Comprehensive Response to HIV/AIDS Prevention and care) โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศในแอฟริกาตอนเหนือและตะวันตก 10 ประเทศ ได้แก่ บูร์กินาฟาโซ จิบูติ กาบอง กานา เคนยา มาลี ไนจีเรีย โซมาเลีย ซูดาน และยูกันดา ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาและแนวทางความร่วมมือระหว่างไทยกับแอฟริกาในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งที่ 2 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2548 ณ กรุงกาโบโรน สาธารณรัฐบอตสวานา โดยจะมีผู้เข้าร่วมจากประเทศในแอฟริกาตอนใต้ 9 ประเทศ ได้แก่ เลโซโท มาดากัสการ์ โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ สวาซิแลนด์ แซมเบีย ซิมบับเว และบอตสวานา โดยผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล) ซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทางไปเยือนประเทศในแอฟริกาจะเป็นผู้กล่าวเปิดการประชุมที่โรงแรม Garborone Sun หลังจากนั้นจะมีการประชุมเต็มคณะเกี่ยวกับสถานการณ์โรคเอดส์ในแอฟริกาและนโยบายดำเนินงานของไทยและต่อด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ในระดับชาติและระดับชุมชน โดยทั้งสองส่วนจะมีวิทยากรไทยเข้าร่วมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทน NGOs ตลอดจนตัวแทนของผู้ติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้รับรู้การดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้โดยตรง
การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ในภูมิภาคแอฟริกาครั้งนี้ นับเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศเชิงรุกของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2548 ซึ่งกำหนดให้เป็นปี แอฟริกา อันจะช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยทั้งในด้านประสบการณ์ความรู้และความชำนาญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และในด้านมนุษยธรรมของไทยต่อประเทศอื่นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-