กระทรวงการคลัง โดยนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอเรียนว่า R&I ได้ประกาศแถลงข่าวผลการวิเคราะห์เครดิตของประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2550 เวลา 13.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการจัดระดับเครดิต (Rating Committee) ได้ยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Issuer Rating) อยู่ที่ระดับ BBB+ โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) และยืนยันระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะสั้นสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign Currency Short Term Credit Rating) อยู่ที่ระดับ a-2 พร้อมทั้งได้จัดระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาท (Domestic Currency Issuer Rating) เป็นครั้งแรกที่ระดับ A- โดยมีแนวโน้มของเครดิตในระดับที่มีเสถียรภาพ (Stable Outlook) ซึ่ง R&I ได้ให้เหตุผลของการยืนยันระดับเครดิตดังกล่าวข้างต้นโดยสรุป ดังนี้
1. แม้ว่าประเทศไทยจะประสบเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ นับตั้งแต่การปฏิวัติรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม R&I ประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยและระดับเครดิตของประเทศซึ่งเห็นได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยสูงกว่า 3 เท่าของหนี้ระยะสั้น ระดับหนี้สาธารณะ ณ เดือนกันยายน 2549 ลดลงเหลือใกล้เคียงร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และมีการบริหารการคลังอย่างมีวินัย
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 คาดว่าจะอยู่ระดับร้อยละ 5 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 4.5 ในปี 2548 จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังคงชะลอตัว เนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงคาดว่าจะมีส่วนช่วยการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ แต่เหตุการณ์ลอบวางระเบิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา โดยส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่เริ่มฟื้นตัวในปลายปี 2549คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Interest Rate) ลงเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2550 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะกลับมาเกินดุลได้ในปี 2549 และ 2550 หลังจากที่ขาดดุลมาแล้วในปี 2548
3. แม้ว่าเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 จะไม่ส่งผลเสียหายต่อสังคมไทยมากนัก รัฐบาลชั่วคราวที่มีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนได้มากนัก หลายเรื่องที่ประชาชนคาดหวังยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อาทิ ไม่สามารถทำให้สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับเข้าสู่สภาวะปกติอีกทั้งเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพมหานครที่เกิดขึ้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้อึดอัดและความวิตกกังวลของประชาชนต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจะยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2550
4. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศบังคับใช้มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน (Capital Control) เพื่อแก้ไขปัญหาการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวลง ทั้งนี้ R&I จะยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะส่งผลต่อเชื่อมั่นของตลาดและประสิทธิผลของการดำเนินนโยบายการเงินหรือไม่
5. นอกจากนี้ R&I ยังได้ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยถือว่าเป็นศูนย์กลางทางด้านการผลิตประเทศหนึ่งในภูมิภาค สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อีกทั้งการมีอุตสาหกรรมสนับสนุนและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านทำให้ประเทศไทยดึงดูดความสนใจในการลงทุนอย่างมาก ประเทศไทยยังถูกจัดให้เป็นตลาดที่มีศักยภาพ ดังนั้น หากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง ก็มีความเป็นไปได้ที่กิจกรรมการลงทุนซึ่งชะลอตัวจะกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการแก้ไข พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ในเดือนมกราคม 2550 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมความเป็นเจ้าของธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบริการ ประกอบกับมาตรการควบคุมเงินทุนระยะสั้น (Capital Control) ของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลทางลบต่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างสูงทั่วโลก โดย R&I จะติดตามอย่างใกล้ชิดของการพัฒนาการไหลเข้า-ออกของเงินทุนของประเทศไทยในระยะปานกลางต่อไป
6. ความแตกต่างทางรายได้ระหว่างสังคมเมืองกับชนบทอย่างมากเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยหนึ่งของการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการฟื้นฟูความน่าเชื่อถือของประเทศไทย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 5/2550 18 มกราคม 50--
1. แม้ว่าประเทศไทยจะประสบเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ นับตั้งแต่การปฏิวัติรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม R&I ประเมินว่า เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยและระดับเครดิตของประเทศซึ่งเห็นได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยสูงกว่า 3 เท่าของหนี้ระยะสั้น ระดับหนี้สาธารณะ ณ เดือนกันยายน 2549 ลดลงเหลือใกล้เคียงร้อยละ 40 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และมีการบริหารการคลังอย่างมีวินัย
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2549 คาดว่าจะอยู่ระดับร้อยละ 5 ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 4.5 ในปี 2548 จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังคงชะลอตัว เนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงคาดว่าจะมีส่วนช่วยการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ แต่เหตุการณ์ลอบวางระเบิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา โดยส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่เริ่มฟื้นตัวในปลายปี 2549คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Interest Rate) ลงเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2550 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะกลับมาเกินดุลได้ในปี 2549 และ 2550 หลังจากที่ขาดดุลมาแล้วในปี 2548
3. แม้ว่าเหตุการณ์ปฏิวัติรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 จะไม่ส่งผลเสียหายต่อสังคมไทยมากนัก รัฐบาลชั่วคราวที่มีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนได้มากนัก หลายเรื่องที่ประชาชนคาดหวังยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อาทิ ไม่สามารถทำให้สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กลับเข้าสู่สภาวะปกติอีกทั้งเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพมหานครที่เกิดขึ้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้อึดอัดและความวิตกกังวลของประชาชนต่อเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจะยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2550
4. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศบังคับใช้มาตรการดำรงเงินสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น ซึ่งเป็นมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน (Capital Control) เพื่อแก้ไขปัญหาการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวลง ทั้งนี้ R&I จะยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะส่งผลต่อเชื่อมั่นของตลาดและประสิทธิผลของการดำเนินนโยบายการเงินหรือไม่
5. นอกจากนี้ R&I ยังได้ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยถือว่าเป็นศูนย์กลางทางด้านการผลิตประเทศหนึ่งในภูมิภาค สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อีกทั้งการมีอุตสาหกรรมสนับสนุนและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านทำให้ประเทศไทยดึงดูดความสนใจในการลงทุนอย่างมาก ประเทศไทยยังถูกจัดให้เป็นตลาดที่มีศักยภาพ ดังนั้น หากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายลง ก็มีความเป็นไปได้ที่กิจกรรมการลงทุนซึ่งชะลอตัวจะกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการแก้ไข พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ในเดือนมกราคม 2550 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมความเป็นเจ้าของธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบริการ ประกอบกับมาตรการควบคุมเงินทุนระยะสั้น (Capital Control) ของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าวข้างต้น จะส่งผลทางลบต่อการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างสูงทั่วโลก โดย R&I จะติดตามอย่างใกล้ชิดของการพัฒนาการไหลเข้า-ออกของเงินทุนของประเทศไทยในระยะปานกลางต่อไป
6. ความแตกต่างทางรายได้ระหว่างสังคมเมืองกับชนบทอย่างมากเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยหนึ่งของการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งการแก้ไขปัญหาทางโครงสร้างดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการฟื้นฟูความน่าเชื่อถือของประเทศไทย
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 5/2550 18 มกราคม 50--