1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ออสเตรเลียยังไม่ได้ประกาศห้ามนำเข้ากุ้งจากไทย
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงแถลงว่าตามที่มีข่าวว่ารัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้ากุ้งจากไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก โดยอ้างว่าเพื่อเป็นมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพที่จะป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคกุ้งที่ผ่านมาจากกุ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2549 นั้น ข้อเท็จจริงตามที่ได้มีการตรวจสอบผ่านสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย กระทรวงพาณิชย์และสถานฑูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย พบว่าไม่ได้เป็นไปตามที่มีการ เผยแพร่ โดยข่าวดังกล่าวเป็นเพียงการพูดกันในหมู่ของผู้เลี้ยงกุ้งในรัฐควีนส์แลนด์เท่านั้น
ทั้งนี้การที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศห้ามนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้าต้องเป็นไปตามระเบียบการค้าโลกของ WTO ซึ่งคาดว่าการที่มีกระแส ดังกล่าวอาจสืบเนื่องมาจากรัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศร่าง Import Risk Analysis (IRA) การนำเข้ากุ้งและสินค้ากุ้ง ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 แจ้งเวียนให้ประเทศคู่ค้าได้พิจารณา เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อโตแย้ง และต้องดำเนินการต่อเรื่องดังกล่าว ภายใน 90 วัน คือ ภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 โดยในร่าง IRA ฉบับใหม่นี้ มีการประเมินความเสี่ยงเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคไวรัสในกุ้ง 9 ชนิด และมีข้อกำหนดแนบต่อท้าย คือ 1) กุ้งที่ส่งเข้าออสเตรเลีย ต้องมาจากพื้นที่การเลี้ยงที่ปลอดโรค 2) ต้องเป็นกุ้งที่เอาหัว/เปลือกออกและต้องได้รับการตรวจโรค WSSV YHV และ IHHNV ด้วยวิธี PCR 3) สินค้าประเภท Value added ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปที่อุณหภูมิสูงและ 4) กุ้งต้มใน โรงงานต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ในขณะที่กุ้งต้มที่ปากบ่อต้องมีใบรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ ต่อเรื่อง ดังกล่าว ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดทั้งภาครัฐและเอกชน และได้ดำเนินการเตรียมข้อมูลด้านวิชาการเพื่อชี้แจงรายละเอียดต่อข้อโต้แย้งในร่าง IRA ฉบับใหม่ และจะสามารถดำเนินการยื่นต่อ Biosecurity Australia ได้ภายในเวลาที่กำหนด
อนึ่ง ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ไทยได้ส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ไปยังออสเตรเลียประมาณ 2,000 — 2,500 ล้านบาท ซึ่งหากรัฐบาลออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้าจริงย่อมจะทำให้ไทยสูญเสียรายได้เข้าประเทศจำนวนดังกล่าว และจากกรณี IRA ฉบับใหม่ของออสเตรเลีย อาจทำให้ประเทศผู้นำเข้ารายอื่นๆ นำไปเป็นรูปแบบดำเนินการ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาด้านการส่งออกที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้น หากมีปัจจัยอื่นที่จะกระทบต่อการส่งออกเกิดขึ้นในขณะนี้เราจึงควรบริหารจัดการป้องกันความเสียหายแต่เนิ่นๆ เช่น การกีดกันทางการค้า และค่าเงินบาทที่แข็งตัวอย่างต่อเนื่อง
รองอธิบดีกรมประมงกล่าวถึงภาวะค่าเงินบาทที่แข็งตัวอยู่ในขณะนี้ว่า ได้ส่งผลให้สถานการณ์กุ้งในประเทศตกต่ำอย่างต่อเนื่อง หากค่าเงินบาทยังเป็นเช่นนี้ต่อไปย่อมส่งผลโดยตรงต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและจะกระทบอุตสาหกรรมกุ้งทั้งประเทศ ถ้าเกษตรกรต้องหยุดเลี้ยงกุ้งเนื่องจากไม่สามารถทนต่อภาวะดังกล่าวต่อไปได้อีกย่อมเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เพราะประเทศไทยส่งออกกุ้งมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท จึงขอให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.56 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.03 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 25 — 29 ธ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 51 ประจำวันที่ 25-31 ธันวาคม 2549 --
-สก-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีรายงานจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ออสเตรเลียยังไม่ได้ประกาศห้ามนำเข้ากุ้งจากไทย
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมงแถลงว่าตามที่มีข่าวว่ารัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้ากุ้งจากไทยและประเทศอื่นๆทั่วโลก โดยอ้างว่าเพื่อเป็นมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพที่จะป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคกุ้งที่ผ่านมาจากกุ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2549 นั้น ข้อเท็จจริงตามที่ได้มีการตรวจสอบผ่านสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย กระทรวงพาณิชย์และสถานฑูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย พบว่าไม่ได้เป็นไปตามที่มีการ เผยแพร่ โดยข่าวดังกล่าวเป็นเพียงการพูดกันในหมู่ของผู้เลี้ยงกุ้งในรัฐควีนส์แลนด์เท่านั้น
ทั้งนี้การที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศห้ามนำเข้าสินค้าจากประเทศคู่ค้าต้องเป็นไปตามระเบียบการค้าโลกของ WTO ซึ่งคาดว่าการที่มีกระแส ดังกล่าวอาจสืบเนื่องมาจากรัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศร่าง Import Risk Analysis (IRA) การนำเข้ากุ้งและสินค้ากุ้ง ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2549 แจ้งเวียนให้ประเทศคู่ค้าได้พิจารณา เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อโตแย้ง และต้องดำเนินการต่อเรื่องดังกล่าว ภายใน 90 วัน คือ ภายในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 โดยในร่าง IRA ฉบับใหม่นี้ มีการประเมินความเสี่ยงเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคไวรัสในกุ้ง 9 ชนิด และมีข้อกำหนดแนบต่อท้าย คือ 1) กุ้งที่ส่งเข้าออสเตรเลีย ต้องมาจากพื้นที่การเลี้ยงที่ปลอดโรค 2) ต้องเป็นกุ้งที่เอาหัว/เปลือกออกและต้องได้รับการตรวจโรค WSSV YHV และ IHHNV ด้วยวิธี PCR 3) สินค้าประเภท Value added ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปที่อุณหภูมิสูงและ 4) กุ้งต้มใน โรงงานต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ในขณะที่กุ้งต้มที่ปากบ่อต้องมีใบรับรองจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ ต่อเรื่อง ดังกล่าว ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดทั้งภาครัฐและเอกชน และได้ดำเนินการเตรียมข้อมูลด้านวิชาการเพื่อชี้แจงรายละเอียดต่อข้อโต้แย้งในร่าง IRA ฉบับใหม่ และจะสามารถดำเนินการยื่นต่อ Biosecurity Australia ได้ภายในเวลาที่กำหนด
อนึ่ง ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ไทยได้ส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ไปยังออสเตรเลียประมาณ 2,000 — 2,500 ล้านบาท ซึ่งหากรัฐบาลออสเตรเลียประกาศห้ามนำเข้าจริงย่อมจะทำให้ไทยสูญเสียรายได้เข้าประเทศจำนวนดังกล่าว และจากกรณี IRA ฉบับใหม่ของออสเตรเลีย อาจทำให้ประเทศผู้นำเข้ารายอื่นๆ นำไปเป็นรูปแบบดำเนินการ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาด้านการส่งออกที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้น หากมีปัจจัยอื่นที่จะกระทบต่อการส่งออกเกิดขึ้นในขณะนี้เราจึงควรบริหารจัดการป้องกันความเสียหายแต่เนิ่นๆ เช่น การกีดกันทางการค้า และค่าเงินบาทที่แข็งตัวอย่างต่อเนื่อง
รองอธิบดีกรมประมงกล่าวถึงภาวะค่าเงินบาทที่แข็งตัวอยู่ในขณะนี้ว่า ได้ส่งผลให้สถานการณ์กุ้งในประเทศตกต่ำอย่างต่อเนื่อง หากค่าเงินบาทยังเป็นเช่นนี้ต่อไปย่อมส่งผลโดยตรงต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและจะกระทบอุตสาหกรรมกุ้งทั้งประเทศ ถ้าเกษตรกรต้องหยุดเลี้ยงกุ้งเนื่องจากไม่สามารถทนต่อภาวะดังกล่าวต่อไปได้อีกย่อมเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก เพราะประเทศไทยส่งออกกุ้งมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท จึงขอให้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.44 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 54.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.34 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.60 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.56 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.03 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 25 — 29 ธ.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.10 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 51 ประจำวันที่ 25-31 ธันวาคม 2549 --
-สก-