ยืนยันทุกข้อเสนอเพื่อความสงบสุขของสังคมและความก้าวหน้าของบ้านเมือง
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๐
www.abhisit.org
ทุกวันที่ผ่านไปในขณะนี้ ดูเหมือนความวิตกกังวลเกี่ยวกับความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ สัปดาห์ที่ผ่านมาการอายัดทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณฯ ก็กลายเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่ง ที่ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายต่างๆเข้มข้นขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายเลย แม้แต่ผมเอง ก็เคยเขียนเตือนไว้ในหนังสือ “การเมืองไทยหลังรัฐประหาร”
ขณะเดียวกัน ปัญหาต่างๆที่ประชาชนเผชิญอยู่ ก็รอคอยการแก้ปัญหาจากรัฐบาลหลังการเลือกตั้งต่อไป
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสพบผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เนื่องจากได้รับเชิญไปบรรยาย
คำถามคืนนั้น มุ่งไปที่ปัญหาภาคใต้มากกว่าปัญหาการชุมนุมที่สนามหลวง คืนนั้นยังไม่มีเหตุการณ์ที่ทหารถึง ๗ นายเสียชีวิตด้วยซ้ำ
ขณะเดียวกัน จากการพบปะนักลงทุนจากต่างประเทศ ความเชื่อมั่นในพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังมีอยู่ แต่รอให้การเมืองมีเสถียรภาพ มีการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย
โดยสรุป สิ่งที่ทุกฝ่ายรอคอย หวังจะเห็น คือ
ประชาธิปไตย
ความสันติสุขในภาคใต้ และ
เศรษฐกิจที่ขยายตัวบนความเชื่อมั่น
ประชาชนทุกกลุ่ม ก็รอคอยการแก้ปัญหาของตน ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ ผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร
จึงเท่ากับว่าขณะนี้ คนเกือบทั้งประเทศ ต้องมาพะวงอยู่กับเรื่องปัญหาความรุนแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากคนกลุ่มเล็กๆในกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดที่มีความหลากหลาย กลุ่มที่ว่านี้คือ กลุ่มที่ต้องการสร้างความรุนแรง เพื่อเป็นเงื่อนไขไปสู่ความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
กลุ่มนี้จะพยายามวางรูปแบบการเคลื่อนไหว เพื่อหวังผลให้เกิดการปะทะกันและประกาศเป็นระยะๆว่าจะมีการ “แตกหัก”
เพียงแต่คนกลุ่มนี้ เอาเรื่อง “ประชาธิปไตย” มาบังหน้า
ขณะที่คนที่เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการจริงๆก็มีอยู่
การจะแสดงออกถึงจุดยืนตรงนี้ เป็นสิทธิเสรีภาพ อย่างแน่นอน
และการกดดันให้เรามีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ไม่ปรารถนาจะเห็นการรัฐประหารอีก ก็เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับประโยชน์ของส่วนรวม
แต่หากเกิดความรุนแรงขึ้น เกิดการปะทะกัน ไม่ว่าในรูปการณ์ใดๆ หรือ ฝ่ายไหนจะเรียกว่าเป็น “ชัยชนะ”
คงไม่ทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ดีไปกว่า การมีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยปลายปีนี้
ดีไม่ดี อาจทำให้ประเทศต้องถอยหลังไปอีก หรืออยู่ในสภาพที่เปราะบาง เพราะจะทำให้เกิดวงจรของการต่อสู้ทุกรูปแบบเพื่อเอาชนะคะคานทางการเมือง
ไม่นับว่าผลที่เกิดจากการซ้ำเติมปัญหาความเชื่อมั่นจะรุนแรงขนาดไหน
สำหรับผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณฯ นั้น
ก็ย่อมมีสิทธิในการแสดงออกเช่นเดียวกัน
แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย และต้องยอมรับกระบวนการยุติธรรม
จะเห็นว่ายกเว้นกลุ่มที่จงใจสร้างปัญหา การเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมก็อยู่ในกรอบ การเลือกตั้ง — รัฐธรรมนูญ — พื้นที่ทางการเมือง — ความเป็นธรรมทั้งสิ้น หัวข้อเหล่านี้ คือประเด็นที่ผมเคยเสนอให้มีการถกกันในเวทีที่ประกอบไปด้วยทุกฝ่าย (ดูบทความ ใน www.abhisit.org เรื่อง ทุกฝ่ายต้องสนองกระแสพระราชดำรัสโดยช่วยกันแก้ปัญหาความเดือดร้อนหลังคดียุบพรรค โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐)
ขณะนี้มีข้อเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกันกับข้อเสนอของผม จาก นพ.ประเวศ วะสี ซึ่งท่านเสนอให้สถาบันพระปกเกล้า และสมาคมสื่อสารมวลชนต่างๆจัดเวทีกลาง เพื่อให้มีเวทีที่ผู้คนทุกฝ่ายสามารถถกเถียงกัน เพื่อหาทางออกให้ประเทศ
สำหรับผมและพรรคประชาธิปัตย์นั้น ยืนยันที่จะร่วมมือและเข้าร่วมในเวทีลักษณะนี้แน่นอน
อยากย้ำอีกครั้งว่า ประเด็นที่ควรทำความเข้าใจให้ตรงกัน ใน ๔ เรื่องนั้น น่าจะเป็นประเด็นหลักของการหารือ ซึ่งจะขอทวนความและขยายความเพิ่มเติมดังนี้
๑. ร่วมผลักดันปฏิทินการเมือง ตั้งแต่การกำหนดตารางการทำงานของสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ วันที่จะจัดทำประชามติ วันที่จะได้รัฐธรรมนูญกรณีที่ร่างแรกไม่ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือกรณีที่ไม่ผ่านประชามติ วันที่จะจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จ และวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องพร้อมที่จะผลักดันให้มีการเดินตามปฏิทินนี้อย่างชัดเจน
๒. ยืนยันจะผลักดันรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะในส่วนของรัฐบาล และ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เนื่องจากร่างของสภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องมีการทำประชามติ ซึ่งหากเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ก็ต้องเคารพผล แต่หากผลของประชามติออกมาปรากฏว่าร่างของสภาร่างฯไม่ผ่าน คมช.และรัฐบาลต้องให้หลักประกันว่ารัฐธรรมนูญที่จะประกาศใช้ จะต้องเป็นประชาธิปไตยไม่น้อยกว่าฉบับของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๓. เปิดพื้นที่ทางการเมืองโดยเร็วที่สุด เพื่อให้กระบวนการทางการเมืองทั้งหมดมุ่งสู่ระบบรัฐสภา โดยเฉพาะประเด็นของการเร่งอนุญาตให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้ และการให้สิทธิเสรีภาพในการใช้สื่อต่างๆอย่างเสมอภาค ลดเงื่อนไขที่นำไปสู่การต่อสู้บนท้องถนน
๔. สร้างความกระจ่างเรื่องกระบวนการยุติธรรม ทั้งในส่วนของคณะกรรมการ
ตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และตุลาการ โดยเปิดโอกาสให้มีการซักถามและชี้แจงให้เกิดความมั่นใจในส่วนของความอิสระ และความเป็นธรรมในกระบวนการ
เวทีนี้จึงควรประกอบไปด้วย ผู้นำรัฐบาล คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) สภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตุลาการ พรรคการเมือง กลุ่มไทยรักไทย แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) โดยเป็นเวทีที่เปิดเผย ให้ผู้สนใจเข้าสังเกตการณ์ได้ หรือ แม้แต่จะถ่ายทอดสด ก็น่าจะเป็นผลดี
ผมยังเชื่อมั่นในพลังของคนไทย สังคมไทย เชื่อในความรักสงบ ความปรารถนาที่จะเห็น
ประเทศก้าวหน้า ความมีเหตุมีผล ความมีน้ำใจ สิ่งเหล่านี้ต้องถูกหลอมรวมให้เราเดินหน้า เพื่อความผาสุกของประชาชนต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 มิ.ย. 2550--จบ--
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๐
www.abhisit.org
ทุกวันที่ผ่านไปในขณะนี้ ดูเหมือนความวิตกกังวลเกี่ยวกับความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ยังไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ สัปดาห์ที่ผ่านมาการอายัดทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณฯ ก็กลายเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่ง ที่ทำให้การเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายต่างๆเข้มข้นขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายเลย แม้แต่ผมเอง ก็เคยเขียนเตือนไว้ในหนังสือ “การเมืองไทยหลังรัฐประหาร”
ขณะเดียวกัน ปัญหาต่างๆที่ประชาชนเผชิญอยู่ ก็รอคอยการแก้ปัญหาจากรัฐบาลหลังการเลือกตั้งต่อไป
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสพบผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เนื่องจากได้รับเชิญไปบรรยาย
คำถามคืนนั้น มุ่งไปที่ปัญหาภาคใต้มากกว่าปัญหาการชุมนุมที่สนามหลวง คืนนั้นยังไม่มีเหตุการณ์ที่ทหารถึง ๗ นายเสียชีวิตด้วยซ้ำ
ขณะเดียวกัน จากการพบปะนักลงทุนจากต่างประเทศ ความเชื่อมั่นในพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยยังมีอยู่ แต่รอให้การเมืองมีเสถียรภาพ มีการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย
โดยสรุป สิ่งที่ทุกฝ่ายรอคอย หวังจะเห็น คือ
ประชาธิปไตย
ความสันติสุขในภาคใต้ และ
เศรษฐกิจที่ขยายตัวบนความเชื่อมั่น
ประชาชนทุกกลุ่ม ก็รอคอยการแก้ปัญหาของตน ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ ผู้ใช้แรงงาน หรือ เกษตรกร
จึงเท่ากับว่าขณะนี้ คนเกือบทั้งประเทศ ต้องมาพะวงอยู่กับเรื่องปัญหาความรุนแรง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากคนกลุ่มเล็กๆในกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดที่มีความหลากหลาย กลุ่มที่ว่านี้คือ กลุ่มที่ต้องการสร้างความรุนแรง เพื่อเป็นเงื่อนไขไปสู่ความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง
กลุ่มนี้จะพยายามวางรูปแบบการเคลื่อนไหว เพื่อหวังผลให้เกิดการปะทะกันและประกาศเป็นระยะๆว่าจะมีการ “แตกหัก”
เพียงแต่คนกลุ่มนี้ เอาเรื่อง “ประชาธิปไตย” มาบังหน้า
ขณะที่คนที่เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการจริงๆก็มีอยู่
การจะแสดงออกถึงจุดยืนตรงนี้ เป็นสิทธิเสรีภาพ อย่างแน่นอน
และการกดดันให้เรามีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งโดยเร็ว ไม่ปรารถนาจะเห็นการรัฐประหารอีก ก็เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับประโยชน์ของส่วนรวม
แต่หากเกิดความรุนแรงขึ้น เกิดการปะทะกัน ไม่ว่าในรูปการณ์ใดๆ หรือ ฝ่ายไหนจะเรียกว่าเป็น “ชัยชนะ”
คงไม่ทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ดีไปกว่า การมีการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยปลายปีนี้
ดีไม่ดี อาจทำให้ประเทศต้องถอยหลังไปอีก หรืออยู่ในสภาพที่เปราะบาง เพราะจะทำให้เกิดวงจรของการต่อสู้ทุกรูปแบบเพื่อเอาชนะคะคานทางการเมือง
ไม่นับว่าผลที่เกิดจากการซ้ำเติมปัญหาความเชื่อมั่นจะรุนแรงขนาดไหน
สำหรับผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณฯ นั้น
ก็ย่อมมีสิทธิในการแสดงออกเช่นเดียวกัน
แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย และต้องยอมรับกระบวนการยุติธรรม
จะเห็นว่ายกเว้นกลุ่มที่จงใจสร้างปัญหา การเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมก็อยู่ในกรอบ การเลือกตั้ง — รัฐธรรมนูญ — พื้นที่ทางการเมือง — ความเป็นธรรมทั้งสิ้น หัวข้อเหล่านี้ คือประเด็นที่ผมเคยเสนอให้มีการถกกันในเวทีที่ประกอบไปด้วยทุกฝ่าย (ดูบทความ ใน www.abhisit.org เรื่อง ทุกฝ่ายต้องสนองกระแสพระราชดำรัสโดยช่วยกันแก้ปัญหาความเดือดร้อนหลังคดียุบพรรค โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๐)
ขณะนี้มีข้อเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกันกับข้อเสนอของผม จาก นพ.ประเวศ วะสี ซึ่งท่านเสนอให้สถาบันพระปกเกล้า และสมาคมสื่อสารมวลชนต่างๆจัดเวทีกลาง เพื่อให้มีเวทีที่ผู้คนทุกฝ่ายสามารถถกเถียงกัน เพื่อหาทางออกให้ประเทศ
สำหรับผมและพรรคประชาธิปัตย์นั้น ยืนยันที่จะร่วมมือและเข้าร่วมในเวทีลักษณะนี้แน่นอน
อยากย้ำอีกครั้งว่า ประเด็นที่ควรทำความเข้าใจให้ตรงกัน ใน ๔ เรื่องนั้น น่าจะเป็นประเด็นหลักของการหารือ ซึ่งจะขอทวนความและขยายความเพิ่มเติมดังนี้
๑. ร่วมผลักดันปฏิทินการเมือง ตั้งแต่การกำหนดตารางการทำงานของสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ วันที่จะจัดทำประชามติ วันที่จะได้รัฐธรรมนูญกรณีที่ร่างแรกไม่ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือกรณีที่ไม่ผ่านประชามติ วันที่จะจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จ และวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ทุกฝ่ายต้องพร้อมที่จะผลักดันให้มีการเดินตามปฏิทินนี้อย่างชัดเจน
๒. ยืนยันจะผลักดันรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะในส่วนของรัฐบาล และ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เนื่องจากร่างของสภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องมีการทำประชามติ ซึ่งหากเป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ก็ต้องเคารพผล แต่หากผลของประชามติออกมาปรากฏว่าร่างของสภาร่างฯไม่ผ่าน คมช.และรัฐบาลต้องให้หลักประกันว่ารัฐธรรมนูญที่จะประกาศใช้ จะต้องเป็นประชาธิปไตยไม่น้อยกว่าฉบับของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
๓. เปิดพื้นที่ทางการเมืองโดยเร็วที่สุด เพื่อให้กระบวนการทางการเมืองทั้งหมดมุ่งสู่ระบบรัฐสภา โดยเฉพาะประเด็นของการเร่งอนุญาตให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้ และการให้สิทธิเสรีภาพในการใช้สื่อต่างๆอย่างเสมอภาค ลดเงื่อนไขที่นำไปสู่การต่อสู้บนท้องถนน
๔. สร้างความกระจ่างเรื่องกระบวนการยุติธรรม ทั้งในส่วนของคณะกรรมการ
ตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และตุลาการ โดยเปิดโอกาสให้มีการซักถามและชี้แจงให้เกิดความมั่นใจในส่วนของความอิสระ และความเป็นธรรมในกระบวนการ
เวทีนี้จึงควรประกอบไปด้วย ผู้นำรัฐบาล คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) สภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตุลาการ พรรคการเมือง กลุ่มไทยรักไทย แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) โดยเป็นเวทีที่เปิดเผย ให้ผู้สนใจเข้าสังเกตการณ์ได้ หรือ แม้แต่จะถ่ายทอดสด ก็น่าจะเป็นผลดี
ผมยังเชื่อมั่นในพลังของคนไทย สังคมไทย เชื่อในความรักสงบ ความปรารถนาที่จะเห็น
ประเทศก้าวหน้า ความมีเหตุมีผล ความมีน้ำใจ สิ่งเหล่านี้ต้องถูกหลอมรวมให้เราเดินหน้า เพื่อความผาสุกของประชาชนต่อไป
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 17 มิ.ย. 2550--จบ--