อุตสาหกรรมยานยนต์
- เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 มีการจัดงานเปิดตัวโครงการกำหนดเกณฑ์และจัดทำฉลากรถยนต์ประหยัดพลังงาน โดยเป็นความร่วมมือ
ระหว่างสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการส่ง
เสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ผลิตและนำเข้ารถยนต์ภายในประเทศ
ตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนาการผลิต และเพื่อให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจในการเลือกซื้อรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
- เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้เห็นชอบให้การส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน
มาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดการสร้างฐานการผลิตรถยนต์ประเภทใหม่ขึ้นในประเทศ โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1.จะต้องเสนอแผนงาน ประกอบด้วย โครงการประกอบรถยนต์ โครงการผลิตเครื่องยนต์ และโครงการผลิตหรือจัดหาชิ้น
ส่วนยานพาหนะ
2.จะต้องเสนอแผนการลงทุนและแผนการผลิตระยะยาว 5 ปี ทั้งนี้ จะต้องมีปริมาณการผลิต (Actual Production) ไม่
น้อยกว่า 100,000คัน/ปี ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป
3.จะต้องเป็นรถยนต์ที่มีคุณสมบัติทางด้านการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง รักษาสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐานความปลอดภัย ตามที่
กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด ซึ่งรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากลให้หมายรวมถึงรถยนต์แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid
Electrical Vehical) และรถยนต์ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงทดแทน ดังนี้
3.1 ด้านการประหยัดพลังงาน สำหรับรถยนต์ที่มีการใช้หรือสามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีอัตราใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
ไม่เกิน 5.0 ลิตร/ 100 กิโลเมตร
3.2 ด้านสิ่งแวดล้อม ต้องเป็นไปตามมาตรฐานมลพิษระดับ ยูโร 4 หรือระดับที่สูงกว่า และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ที่ปล่อยออกจากท่อไอเสียไม่เกิน 120 กรัม/ 1กิโลเมตร
3.3 ด้านความปลอดภัย มีคุณสมบัติในการป้องกันผู้โดยสารกรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุการชนด้านหน้าและด้านข้างของตัวรถ
ตามมาตรฐาน UNECE หรือที่สูงกว่า
ทั้งนี้ให้บีโอไอแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาข้อเสนอเบื้องต้นในแผนการลงทุนและแผนการผลิตของผู้สนใจลงทุน รวมทั้งข้อเสนอมาตรการ
สนับสนุนที่ผู้ลงทุนต้องการจากภาครัฐ ก่อนนำข้อเสนอเหล่านั้นเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนต่อไป
- งานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 23 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน -11 ธันวาคม 2549 ณ อิมแพคเมืองทองธานี ซึ่งภายในงานมี
การจัดกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายรถยนต์จากหลากหลายยี่ห้อ มียอดการจองรถยนต์ทั้งสิ้น 17,106 คัน ลดลงจากปี 2548 ที่มียอดขาย 17,128 คัน
เพียงร้อยละ 0.12
- สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 มีโครงการลงทุนที่ได้
รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 29 โครงการ มีเงินลงทุนรวมกว่า 9,300 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่ม
ขึ้นไม่น้อยกว่า 3,200 คน แบ่งเป็นโครงการลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 25 โครงการ โครงการด้านการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ 3 โครงการ
และโครงการผลิตรถจักรยานยนต์ประเภท 4 จังหวะ 1 โครงการ ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท
จำนวน 2 โครงการ คือ 1.โครงการขยายกิจการผลิตยางรถยนต์ และยางรถจักรยานยนต์ เงินลงทุน 2,554.55 ล้านบาท ของบริษัท ยางสยาม
พระประแดง จำกัด มีกำลังการผลิตยางรถยนต? และยางรถจักรยานยนต? ประมาณ 2,130,570 เส?น/ป? 2.โครงการขยายกิจการการผลิตอุปกรณ์
กำเนิดก๊าซสำหรับถุงลมนิรภัย (AIR BAG INFLATOR) เงินลงทุน 1,104 ล้านบาท ของบริษัท ไดเซล เซฟตี้ ซีสเต็มส? (ประเทศไทย) จำกัด มี
กำลังการผลิต อุปกรณ?กำเนิดก?ซสำหรับถุงลมนิรภัย (AIR BAG INFLATOR) ประมาณ 4,800,000 ชิ้น/ปี
(http://www.boi.go.th/thai/project_approval.asp)
อุตสาหกรรมรถยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2549 มีจำนวน 1,188,044 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ
5.57 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.66 และ 5.34 ตามลำดับ แต่ผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ
9.79 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในปี 2549 จะมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้น แต่ก็เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าการขยายตัวของปริมาณการผลิตในปี 2548
เปรียบเทียบกับปี 2547 (เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 21.25) ทั้งนี้ เนื่องจากมีปัจจัยลบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและกำลังซื้อของผู้
บริโภค ได้แก่ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสามไตรมาสแรกของปี ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความไม่แน่นอน
จนนำมาสู่การมีรัฐบาลชุดใหม่ ได้ส่งผลกระทบทางด้านจิตวิทยาของผู้บริโภคทำให้มีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยด้านอัตรา
ดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับสูง รวมทั้งปัญหาอุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ จากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม 1,188,044
คัน เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 541,206 คัน หรือประมาณร้อยละ 48 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อย
ละ 22 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ประเภท PPV) ประมาณร้อยละ 78 ของปริมาณการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกทั้งหมด
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีการผลิตรถยนต์จำนวน 288,273 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ
7.55 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 0.32, 9.53 และ 19.65 ตามลำดับ หาก
เปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 4.64 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ
รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 3.16, 4.89 และ 14.53 ตามลำดับ
การจำหน่าย ตลาดรถยนต์ภายในประเทศในปี 2549 ชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 โดยมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์
682,161 คัน ลดลงจากปี 2548 ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 703,410 คัน ร้อยละ 3.02 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์
PPV (รวม SUV) 30,096 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 423,395 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 36,907 คัน ลดลงร้อยละ 37.85 ,0.76
และ 8.05 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 191,763 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.89 ซึ่งภาวะการชะลอของตลาดรถยนต์ในประเทศนี้ สอดคล้องกับ
เครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนตัวต่อเนื่องจากปีก่อน แม้เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่
การลงทุนภาคเอกชนและการนำเข้าชะลอตัว ทั้งนี้ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคตลอดจนตลาดรถยนต์ในประเทศ
ได้แก่ ผลกระทบจากราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับสูง นอกจากนี้ ยังมีภัยธรรมชาติซึ่งปีนี้เกิดฝนตกหนักอย่างรุนแรงใน
หลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้เกิดความเสียหายทั้งกับผู้ผลิตและผู้บริโภค
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 193,771 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณ
การจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 2.50 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV (รวม SUV) ลดลงร้อยละ
6.27,10.60 และ 36.85 ตามลำดับแต่การจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงสามารถจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92 ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจาก
ค่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ได้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายก่อนปิดยอดขายสิ้นปี เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาด
รถยนต์ปิกอัพ 1 ตันของตนเองไว้ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.05 โดยมี
การจำหน่ายรถยนต์ PPV (รวม SUV) และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.51 และ 30.85 ตามลำดับ สำหรับรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อ
การพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.95 และ 0.08 ตามลำดับ ทั้งนี้ ได้รับผลด้านบวกจากการจัดงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 23 ซึ่งบริษัทรถยนต์
ต่างๆ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์ในงานนี้ทั้งสิ้น 17,106 คัน
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2549 ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 โดยมี
ปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 538,966 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.29 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 240,764.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 18.59 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีปริมาณการส่งออกจำนวน 140,757 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 63,051.02 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มร้อยละ 9.13 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.64 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาส
ที่สามของปี 2549 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.02 จากข้อมูลการส่งออกของผู้ผลิตและผู้ประกอบรถยนต์ดัง
กล่าวข้างต้น จะได้เห็นว่าการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถยนต์ปิกอัพ 1 ตันและรถยนต์นั่ง
ขนาดเล็ก ที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ในปี 2549 พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์ของ
ประเทศไทยไปยังตลาดหลักยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 แยกตามประเภทของรถยนต์ พบว่า มูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่ง
ของไทยขยายตัวร้อยละ 28.22 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และซาอุดีอาระเบีย โดยออสเตรเลียและซาอุดีอา
ระเบียมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 77.27 และ 16.93 ตามลำดับ แต่อินโดนีเซียมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 30.72 ทั้งนี้
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียที่ค่อนข้างชะลอตัว สำหรับมูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยขยายตัวร้อยละ 27.51 ประเทศ
ที่เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร และซาอุดีอาระเบีย มีมูลค่าการส่งออกจากไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 21.46,
44.39 และ 31.93 ตามลำดับ ตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวสูงมาก คือ เยอรมนี มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 171.16 ในขณะที่มูลค่าการส่ง
ออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยลดลงร้อยละ 27.64 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย, ซาอุดีอาระเบีย และลิเบีย โดย
ออสเตรเลียมีการนำเข้ารถยนต์ประเภทนี้จากไทยลดลง ทั้งนี้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการตลาดรถยนต์ในออสเตรเลียที่อยู่ในภาวะถดถอย ในขณะที่
ซาอุดีอาระเบียและลิเบีย มีมูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.58 และ 13.66 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยปี 2549 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 มีโดยมีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสาร
และรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 9,312.70 และ 10,041 ล้านบาท ตามลำดับ ลดลงร้อยละ 30.85 และ 8.65 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่
ของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 54.18 แต่มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก
เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.85 (มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารมากกว่ารถบรรทุกประมาณ 5 เท่า) เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี
2549 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 3.54 แต่มูลค่าการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.57 จากข้อมูลการนำเข้าดัง
กล่าว อาจกล่าวได้ว่า ผู้บริโภคเลือกซื้อรถยนต์นั่งที่ผลิตในประเทศ (ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก) มากขึ้น แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญ
ในปี 2549 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่นและเยอรมนี โดยมีการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 ร้อยละ 19.97 แต่มีการนำเข้า
รถยนต์นั่งจากฟิลิปปินส์และเยอรมนี ลดลงร้อยละ 32.64 และ 18.59 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกของไทยที่สำคัญในปี
2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา โดยมีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 ร้อยละ
58.63 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 ร้อยละ 4.60
สำหรับข้อมูลกรมศุลกากร ซึ่งได้รายงานผลการนำเข้ารถยนต์นั่ง ที่ผ่านพิธีการศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง, สำนักงาน
ศุลกากรกรุงเทพ, สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร สำนักงานศุลกากรท่าอากายานกรุงเทพ และสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากายานสุวรรณภูมิ
ปี 2549 (ม.ค.-พ.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่งรวมทั้งสิ้น 14,634 คัน (ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ
37.04) โดยแบ่งเป็น รถยนต์ที่ผลิตจากยุโรป 2,237 คัน รถยนต์ที่ผลิตจากญี่ปุ่น 9,777 คัน รถยนต์ที่ผลิตจากเกาหลี 1,519 คัน รถยนต์ที่ผลิต
จากอเมริกา 78 คัน รถยนต์ที่ผลิตจากจีน 138 คัน รถยนต์ที่ผลิตจากมาเลเซีย 173 คัน รถยนต์ที่ผลิตจากอินโดนีเซีย 517 คัน และรถยนต์ที่ผลิตจาก
ฟิลลิปปินส์ 195 คัน ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตได้ว่าในปี 2549 เริ่มมีการนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตจากจีน
สภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2550 คาดการณ์ว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 โดยพิจารณา
จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่ยังคงเปราะบางจากปัจจัยความไม่แน่นอนหลายประการที่เกิดขึ้นในช่วง
ปลายเดือนธันวาคม 2549 ต่อเนื่องมาถึงต้นเดือนมกราคม 2550 ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญที่ยังอยู่ในแนวโน้มชะลอ
ตัวจากปี 2549 และสอดคล้องกับแผนการผลิตในช่วง 3 เดือนแรกของปีที่ผู้ประกอบรถยนต์ในประเทศได้ประมาณไว้ สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมรถ
ยนต์ปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวได้ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ยังคงขยายตัว ประกอบกับในช่วงต้นไตรมาสที่ 1 ของปีจะมีการเปิดดำเนินการผลิต
รถยนต์นั่งและปิกอัพ 1 ตันของโตโยต้าที่โรงงานบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 100,000 คัน/ปี และการส่งออกที่มีแนว
โน้มเพิ่มขึ้น จากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1.28 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ
ประมาณร้อยละ 53 และผลิตเพื่อส่งออกประมาณร้อยละ 47
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2549 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 โดยมีปริมาณการผลิตรถ
จักรยานยนต์ 2,084,001 คัน ลดลงจากปี 2548 ร้อยละ 11.64 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลด
ลงร้อยละ 11.47 และ 15.75 ตามลำดับ สาเหตุหลักเป็นเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลด
ลง อันเนื่องมาจากฤดูฝนที่มีฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรที่เป็นตลาดผู้ซื้อ
หลัก ประกอบกับตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยได้มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) ลดลง ในขณะที่ไทยสามารถส่ง
ออกรถจักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) ได้เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน
456,355 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 26.58 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบ
สปอร์ต ลดลงร้อยละ 26.50 และ 28.48 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลง
ร้อยละ 9.44 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 9.51 และ 7.82 ตามลำดับ
การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2549 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 โดยมีปริมาณการจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์ 2,061,610 คัน ลดลงจากปี 2548 ร้อยละ 2.20 แยกประเภทเป็นจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 2,040,927 คัน ลดลงร้อย
ละ 2.27 และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 20,683 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.89 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายรถ
จักรยานยนต์ 467,934 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 17.37 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและแบบ
สปอร์ต ลดลงร้อยละ 17.40 และ13.51 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลด
ลงร้อยละ 4.40 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและแบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 4.38 และ 6.29 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยปี 2549 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 โดยมี
ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 1,575,393 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.78 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 24,535.24 ล้าน
บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 7.76 แต่หากพิจารณาแยกกันระหว่างการส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) และรถ
จักรยานยนต์ในลักษณะชิ้นส่วนครบชุด (CKD) พบว่า ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ CBU ลดลงร้อยละ 27.31 แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ CKD
เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.41 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีปริมาณการส่งออก (CBU&CKD) 451,232 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 6,633.27
ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.21 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.72 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตร
มาสที่สามของปี 2549 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.09 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.81
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกรถจักรยานยนต์ของ
ประเทศไทยที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา และโคลัมเบีย มีมูลค่าการส่งออกขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 32.00 และ 62.03 ตาม
ลำดับ แต่มีมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดแถบยุโรปลดลง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ผลิตบางรายได้หยุดการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นเก่า และอยู่ในช่วง
ของการพัฒนารถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ของยุโรป นอกจากนี้ลักษณะการใช้งานรถจักรยานยนต์ของประเทศใน
แถบอเมริกาและยุโรปส่วนใหญ่เป็นการใช้ขับขี่เพื่อพักผ่อน (ไม่ใช่พาหนะในการเดินทางที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน) ต่างจากประเทศส่วนใหญ่ใน
แถบเอเชียซึ่งมีระดับการพัฒนาน้อยกว่า ที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางสำหรับชีวิตประจำวัน
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยปี 2549 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์
คิดเป็นมูลค่า 2,132.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.07 แต่หากพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีมูลค่า
การนำเข้าลดลงร้อยละ 10.17 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.47 แหล่งนำเข้ารถ
จักรยานยนต์ของประเทศไทยที่สำคัญในปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น โดยมีการขยายตัวจากปี 2548 ร้อยละ 15.71 และปรากฎว่า มีแนวโน้มการนำเข้ารถ
จักรยานยนต์จากจีนเพิ่มมากขึ้น โดยมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.33
คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่หนึ่ง ปี 2550 จะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ทั้งนี้ ส่วนหนึ่ง
เป็นเพราะตลาดรถจักรยานยนต์ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้าที่ลดลงอันเนื่องจากผลกระทบด้านเศรษฐกิจและอุทกภัยใน
ช่วงครึ่งปีหลัง 2549 สำหรับภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ปี 2550 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจาก
ปัจจุบันการครอบครองรถจักรยานยนต์ในประเทศมีอัตราสูง ซึ่งจากการประมาณโดยใช้ข้อมูลการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ของกรมการขนส่งทางบกมา
ประกอบการพิจารณา ปรากฎว่า ประเทศไทยมีอัตราการครอบครองรถจักรยานยนต์ประมาณ 1 คันต่อ 4 คน อยู่ในระดับเดียวกับประเทศที่มีอัตราการ
ครอบครองสูงสุด คือ ไต้หวัน (รถจักรยานยนต์ 1 คันต่อ 2 คน) ดังนั้น การขยายตัวของตลาดในประเทศจะไม่มาก และในปี 2550 นี้ ผู้ผลิตจะเร่ง
พัฒนารถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ๆ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ที่นิยมรถจักรยานยนต์ที่เน้นความสะดวกสบายในรูปแบบของรถเกียร์
อัตโนมัติ รวมทั้งมีความประหยัดน้ำมันมากขึ้น ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีประมาณร้อยละ 15 ของตลาด
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM), เครื่องยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ในส่วนของบริษัทผู้
ผลิตและประกอบรถยนต์ในปี 2549 มีมูลค่า 87,170.92 , 8,357.93 และ 5,453.40 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี
2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.52, 5.75 และ 32.99 ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าว มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM), เครื่องยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า
22,075.48 ,1,821.77 และ 1,434.97 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.08, 9.94 และ
35.99 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 มูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.13 แต่มูลค่าการ
ส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และ เครื่องยนต์ ลดลงร้อยละ 5.12 และ 20.75 ตามลำดับ ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่
ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐอเมริกาและแอฟริกาใต้ ซึ่งในตลาดหลักนี้ ญี่ปุ่น, แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2548ร้อยละ
19.03, 15.26 และ 0.15 ตามลำดับ แต่มาเลเซียมีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.39
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ปี 2549 มี
มูลค่า 13,076.26 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.42 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 699.26 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 4.15 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถ
จักรยานยนต์มีมูลค่า 3,765.51 และ 223.92 ล้านบาท ตามลำดับ เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.14 และ 28.00 ตาม
ลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วน
อะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.32 และ 0.45 ตามลำดับ ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ประเทศในแถบอาเซียน เช่น
อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และกัมพูชา ทั้งนี้ตลาดหลักที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงได้แก่ กัมพูชา และฟิลิปปินส์
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในปี 2549 มีมูลค่า 117,353 ล้านบาท เปรียบ
เทียบกับปี 2548 ลดลงร้อยละ 9.25 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 28,719.60 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 10.81 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2549 มูลค่าการนำเข้าส่วน
ประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 2.69 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยที่สำคัญในปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และ
เยอรมนี (สัดส่วนมูลค่าการนำเข้าต่อมูลค่าการนำเข้ารวมจากทุกประเทศประมาณร้อยละ 67, 7 และ 4 ตามลำดับ) มีการนำเข้าลดลงร้อยละ
9.98, 12.33 และ 38.55 ตามลำดับ ในขณะที่การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากจีนแม้มีมูลค่าไม่สูง (สัดส่วนประมาณร้อยละ 2) แต่ก็มีแนวโน้มขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่อง
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยปี 2549 มีมูลค่า 8,656.2
ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.40 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถ
จักรยานยนต์ฯ 2,532 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.88 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของ
ปี 2549 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯของ
ไทยที่สำคัญในปี 2549 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเซีย (สัดส่วนมูลค่าการนำเข้าต่อมูลค่าการนำเข้ารวมจากทุกประเทศประมาณร้อยละ 25, 22
และ 13 ตามลำดับ)
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของประเทศไทยมีการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่มี
แนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์นั้นมีการส่งออกลดลงตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถ
จักรยานยนต์ไทยจะต้องพยายามพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของของตนให้เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานสากล ซึ่งในขณะนี้ ภาครัฐและเอกชนได้เร่งดำเนิน
การปรับปรุงมาตรฐานของไทย โดยใช้แนวทางของ ECE เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของไทย และคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน
ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วนที่นำเข้าด้วย ส่วนการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากผู้ประกอบรถยนต์มีความพยายามใช้ชิ้นส่วนใน
ประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะการผลิตรถยนต์ในปี 2549 มีปริมาณการผลิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก (การผลิตรถยนต์ในประเทศต้องอาศัยการนำ
เข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศร่วมกับชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศ)
ตารางการผลิตยานยนต์
หน่วย : คัน
(ยังมีต่อ)