วันนี้(17 มี.ค.50) เวลา 11.00 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของนักธุรกิจใน 13 ประเทศ โดยบริษัทที่ปรึกษาความเสี่ยงดด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ได้เผยแพร่ผลการสำรวจ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 ว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับรองแชมป์ในด้านทุจริต คอรัปชั่น มากที่สุด รองจากประเทศฟิลิปปินส์
ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของการลงทุน และการประกอบธุรกิจในประเทศไทยโดยตรง เพราะว่าเป็นปัญหาในเรื่องการแข่งขันไม่เป็นธรรม ของการประกอบธุรกิจ รวมถึงการมีต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มขึ้น จากการต้องจ่ายใต้โต๊ะ หรือสินบน ให้กับข้าราชการการเมือง
เพราะฉะนั้นตนจึงมีข้อเสนอ 4 มาตรการ ต่อรัฐบาลเพื่อให้เร่งรีบ ที่จะแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อแก้ไข ภาพลักษณ์ประเทศไทยในเรื่องดังกล่าวนี้ โดยรัฐบาลจะต้องประกาศเป็นวาระแห่งชาติและต้องมีแผยปฏิบัติการแห่งชาติ ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ควบคู่ไปกับการประกาศนโยบาย วาระแห่งชาติ เพื่อลดการคอรัปชั่นในประเทศ กล่าวคือ
1.มาตรการทางสังคม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคม กล่าวคือรัฐบาลต้องรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ทางสื่อทุกแขนง โดยเน้น 1.1 ภัยร้ายของการทุจริต 1.2 ชักชวนใประชาชน แจ้งเบาะแส การคอร์รัปชั่นทุกระดับ 1.3 เชิดชูคนดี คนซื่อสัตย์ และ 1.4 ส่งเสริมหลักธรรมมาภิบาล บรรษัทภิบาล และจริยธรรมของผู้บริหารและข้าราชการ และต้องบรรจุหลักสูตรป้องกันและปราบทุจริตฉ้อราชบังหลวง ในตำราของกระทรวงศึกษาธิการ
2.มาตราการทางกฎหมาย กล่าวคือ 2.1 รัฐบาลโดย สนช. จะต้อง แก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขการฟอกเงิน โดยเพิ่มมูลฐานความผิดว่าด้วยการทุจริตคอรัปชั่นให้เป็นหนึ่งในมูลฐานความผิด ซึ่งจะทำให้ปปง.สามารถที่จะติดตามเส้นทางของเงิน ธุรกรรมการเงิน และบัญชีที่ซุกเอาไว้สำหรับเงินสกปรกที่ได้มาจากการกินสินบน ทั้งในและต่างประดทศ 2.2 รัฐบาลต้องเร่งรัดในการเสนอแก้ไขร่างกฎหมายปปช.และ ประมวลกฎหมายอาญา โดยอายุความของผู้กระทำความผิด การทุจริตนั้นต้อิงไม่มีอายุความ หรือมีอายุความไม่ต่ำกว่า 30 ปี ต้องมากกว่าอายุความคดีอาญาทั่วไป
3. มาตรการทางการบริหาร กล่าวคือ 3.1 รัฐบาลจะต้องติดอาวุธให้กับองค์กรอิสระ ที่รับผิดชอบโดยตรงใน เรื่องของการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งได้แก่ ปปช. และ สตง. ด้วยการเพิ่มงบประมาณ และกำลังคนอย่างเพียงพอ
3.2 รัฐบาลต้องปฏิรูปการจัดซื้อจัดสร้างการให้สัมปทานภาครัฐใหม่ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส ซึ่งจะช่วยลดการฮั้วการประมูล การติดสินบน
4. มาตรการทางการเมือง กล่าวคือ 4.1 รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการดำเนินการเสนอบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ให้มีการลดต้นทุนทางการเมือง เพื่อเป็นการลดอิทธิพลทางการเมือง 4.2 รัฐบาลควรเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมาย โดยเฉพาะพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยเสนอหลักการให้ประชาชนสามารถอสดงความจำนงในการที่จะจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลให้กับพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองนั้นเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นของกลุ่มทุน หรือนายทุนที่เป็นอีแอบ ซ้อนตัวอยู่เบื้องหลังและมีอิทธิพลเหนือ พรคการเมือง นักการเมือง และ ส.ส. ซึ่งแนวทางดังกล่าวนั้น จะทำให้การดำเนินการของสภาผู้แทนฯ ส.ส. และพรรคการเมืองเป็นไปโดยอิสระมากขึ้น แทนที่จะตกอยู่ภายใต้อิทธพล ของทุนการเมือง และท้ายที่สุดก็เข้ามาถอนทุนทางการเมืองด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่นบ้านเมือง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 มี.ค. 2550--จบ--
ซึ่งผลสำรวจดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของการลงทุน และการประกอบธุรกิจในประเทศไทยโดยตรง เพราะว่าเป็นปัญหาในเรื่องการแข่งขันไม่เป็นธรรม ของการประกอบธุรกิจ รวมถึงการมีต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มขึ้น จากการต้องจ่ายใต้โต๊ะ หรือสินบน ให้กับข้าราชการการเมือง
เพราะฉะนั้นตนจึงมีข้อเสนอ 4 มาตรการ ต่อรัฐบาลเพื่อให้เร่งรีบ ที่จะแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อแก้ไข ภาพลักษณ์ประเทศไทยในเรื่องดังกล่าวนี้ โดยรัฐบาลจะต้องประกาศเป็นวาระแห่งชาติและต้องมีแผยปฏิบัติการแห่งชาติ ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ควบคู่ไปกับการประกาศนโยบาย วาระแห่งชาติ เพื่อลดการคอรัปชั่นในประเทศ กล่าวคือ
1.มาตรการทางสังคม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคม กล่าวคือรัฐบาลต้องรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ทางสื่อทุกแขนง โดยเน้น 1.1 ภัยร้ายของการทุจริต 1.2 ชักชวนใประชาชน แจ้งเบาะแส การคอร์รัปชั่นทุกระดับ 1.3 เชิดชูคนดี คนซื่อสัตย์ และ 1.4 ส่งเสริมหลักธรรมมาภิบาล บรรษัทภิบาล และจริยธรรมของผู้บริหารและข้าราชการ และต้องบรรจุหลักสูตรป้องกันและปราบทุจริตฉ้อราชบังหลวง ในตำราของกระทรวงศึกษาธิการ
2.มาตราการทางกฎหมาย กล่าวคือ 2.1 รัฐบาลโดย สนช. จะต้อง แก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขการฟอกเงิน โดยเพิ่มมูลฐานความผิดว่าด้วยการทุจริตคอรัปชั่นให้เป็นหนึ่งในมูลฐานความผิด ซึ่งจะทำให้ปปง.สามารถที่จะติดตามเส้นทางของเงิน ธุรกรรมการเงิน และบัญชีที่ซุกเอาไว้สำหรับเงินสกปรกที่ได้มาจากการกินสินบน ทั้งในและต่างประดทศ 2.2 รัฐบาลต้องเร่งรัดในการเสนอแก้ไขร่างกฎหมายปปช.และ ประมวลกฎหมายอาญา โดยอายุความของผู้กระทำความผิด การทุจริตนั้นต้อิงไม่มีอายุความ หรือมีอายุความไม่ต่ำกว่า 30 ปี ต้องมากกว่าอายุความคดีอาญาทั่วไป
3. มาตรการทางการบริหาร กล่าวคือ 3.1 รัฐบาลจะต้องติดอาวุธให้กับองค์กรอิสระ ที่รับผิดชอบโดยตรงใน เรื่องของการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งได้แก่ ปปช. และ สตง. ด้วยการเพิ่มงบประมาณ และกำลังคนอย่างเพียงพอ
3.2 รัฐบาลต้องปฏิรูปการจัดซื้อจัดสร้างการให้สัมปทานภาครัฐใหม่ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส ซึ่งจะช่วยลดการฮั้วการประมูล การติดสินบน
4. มาตรการทางการเมือง กล่าวคือ 4.1 รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการดำเนินการเสนอบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ให้มีการลดต้นทุนทางการเมือง เพื่อเป็นการลดอิทธิพลทางการเมือง 4.2 รัฐบาลควรเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมาย โดยเฉพาะพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยเสนอหลักการให้ประชาชนสามารถอสดงความจำนงในการที่จะจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลให้กับพรรคการเมือง เพื่อให้พรรคการเมืองนั้นเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นของกลุ่มทุน หรือนายทุนที่เป็นอีแอบ ซ้อนตัวอยู่เบื้องหลังและมีอิทธิพลเหนือ พรคการเมือง นักการเมือง และ ส.ส. ซึ่งแนวทางดังกล่าวนั้น จะทำให้การดำเนินการของสภาผู้แทนฯ ส.ส. และพรรคการเมืองเป็นไปโดยอิสระมากขึ้น แทนที่จะตกอยู่ภายใต้อิทธพล ของทุนการเมือง และท้ายที่สุดก็เข้ามาถอนทุนทางการเมืองด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่นบ้านเมือง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 มี.ค. 2550--จบ--