1. การผลิต
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 237,528.3 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงต่อเนื่อง คิด
เป็นร้อยละ 4.4 เนื่องจากมีเยื่อคงเหลือจากไตรมาสก่อนและ ไตรมาสนี้ ประกอบกับบางโรงงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร อีกทั้งรอดูสถานการณ์
เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องและสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตเยื่อ
กระดาษเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 2.3 เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อสูงเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ส่วนภาวะการผลิตกระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 888,490.3 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 0.3 และ 12.5 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้กระดาษในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน
เพื่อจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเพื่อเตรียมรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ในการจัดทำสมุดบันทึก
ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญและการ์ดต่างๆ อีกทั้งใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกล่องและบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มและขนส่งสินค้าเพื่อส่งออกซึ่งหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
ขยายตัว เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหาร
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ปริมาณการผลิต ไตรมาส การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
3/2548 2/2549 3/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 232,063.80 248,576.70 237,528.30 -4.4 2.3
กระดาษ 789,769.10 885,819.80 888,490.30 0.3 12.5
กระดาษพิมพ์เขียน 254,457.60 254,360.30 244,311.50 -3.9 -3.9
กระดาษแข็ง 53,178.60 47,786.30 53,906.80 12.8 1.4
กระดาษคราฟท์/ลูกฟูก 457,070.10 556,202.10 563,100.60 1.2 23.2
อื่นๆ1/ 25,062.80 27,471.10 27,171.40 -1.1 8.4
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ จำนวน 85 โรงงาน
1/ อื่นๆ ได้แก่ กระดาษอนามัย กระดาษเช็ดหน้า กระดาษต่อเนื่อง กระดาษไหว้เจ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 112.4 และ 276.8
ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 3.9 และ 37.8 ตามลำดับ เนื่องจากกระทรวงการ
คลังประกาศลดอัตราอากรและ ยกเว้นอากรศุลกากรให้กับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เมื่อต้นปี 2549 ทำ
ให้มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการภายในประเทศในการจัดพิมพ์หนังสือ เกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และ
เพื่อเตรียมวัตถุดิบรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ในการจัดทำสมุดบันทึก ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญและการ์ดต่างๆ โดยตลาดนำเข้าเยื่อกระดาษ
และเศษกระดาษ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น ส่วนตลาดนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน
สำหรับภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 32.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัว
ลดลง คิดเป็นร้อยละ 21.6 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวและในไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันไทยมี
ศักยภาพในการผลิตสิ่งพิมพ์ที่มีคุณภาพเองได้
ตารางที่ 2 การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
3/2548 2/2549 3/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 82.9 108.1 112.4 3.9 35.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 223.0 200.8 276.8 37.8 24.1
สิ่งพิมพ์ 31.0 41.7 32.7 -21.6 5.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 41.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 50.7 และ 85.2 ตามลำดับ เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อมาก ประกอบกับ
ราคาเยื่อในตลาดโลกสูง จึงส่งผลให้มีการส่งออกเยื่อมากขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 274.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 4.4 และ 24.3 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีความต้อง
การใช้กระดาษและ ผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 41.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100.5 และ 24.8 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมากลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และ
บรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์การเป็นศูนย์กลางการพิมพ์
(Printing Hub) ในภูมิภาคอาเซียนแทนสิงคโปร์ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะงานที่มีคุณภาพและต้องใช้ฝีมือ อีกทั้งคำสั่งซื้อที่ได้รับเป็น
แบบล่วงหน้า 6 เดือนซึ่งเป็นสัญญาระยะยาวทำให้ไม่มีผลกระทบเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ
ออสเตรเลีย
ตารางที่ 3 การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
3/2548 2/2549 3/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 22.3 27.4 41.3 50.7 85.2
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 221.0 263.0 274.7 4.4 24.3
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 33.1 20.6 41.3 100.5 24.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดย
เฉพาะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเท่าตัวเนื่องจากทางกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
ไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย จัดประชาสัมพันธ์การเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ (Printing Hub) ในภูมิภาคอาเซียนแทนสิงคโปร์ ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเข้า
มาเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลงานของไทยผ่านการประกวดในระดับนานาชาติทำให้ต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 4 ปี 2549
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อน เนื่องจากเข้า
สู่เทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ส่งผลต่อความต้องการใช้กระดาษทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อจัดพิมพ์สมุดบันทึก ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญ
และการ์ดต่างๆ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบห่อ ประกอบกับความต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะการผลิตเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีปริมาณการผลิต 237,528.3 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงต่อเนื่อง คิด
เป็นร้อยละ 4.4 เนื่องจากมีเยื่อคงเหลือจากไตรมาสก่อนและ ไตรมาสนี้ ประกอบกับบางโรงงานซ่อมบำรุงเครื่องจักร อีกทั้งรอดูสถานการณ์
เศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศที่ชะลอตัวต่อเนื่องและสถานการณ์การเมืองที่ไม่แน่นอน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตเยื่อ
กระดาษเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 2.3 เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อสูงเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ส่วนภาวะการผลิตกระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีปริมาณการผลิตรวม 888,490.3 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 0.3 และ 12.5 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้กระดาษในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน
เพื่อจัดพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเพื่อเตรียมรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ในการจัดทำสมุดบันทึก
ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญและการ์ดต่างๆ อีกทั้งใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตกล่องและบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มและขนส่งสินค้าเพื่อส่งออกซึ่งหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
ขยายตัว เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอาหาร
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ปริมาณการผลิต ไตรมาส การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
3/2548 2/2549 3/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 232,063.80 248,576.70 237,528.30 -4.4 2.3
กระดาษ 789,769.10 885,819.80 888,490.30 0.3 12.5
กระดาษพิมพ์เขียน 254,457.60 254,360.30 244,311.50 -3.9 -3.9
กระดาษแข็ง 53,178.60 47,786.30 53,906.80 12.8 1.4
กระดาษคราฟท์/ลูกฟูก 457,070.10 556,202.10 563,100.60 1.2 23.2
อื่นๆ1/ 25,062.80 27,471.10 27,171.40 -1.1 8.4
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ จำนวน 85 โรงงาน
1/ อื่นๆ ได้แก่ กระดาษอนามัย กระดาษเช็ดหน้า กระดาษต่อเนื่อง กระดาษไหว้เจ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 112.4 และ 276.8
ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 3.9 และ 37.8 ตามลำดับ เนื่องจากกระทรวงการ
คลังประกาศลดอัตราอากรและ ยกเว้นอากรศุลกากรให้กับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เมื่อต้นปี 2549 ทำ
ให้มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ประกอบกับความต้องการภายในประเทศในการจัดพิมพ์หนังสือ เกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และ
เพื่อเตรียมวัตถุดิบรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ในการจัดทำสมุดบันทึก ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญและการ์ดต่างๆ โดยตลาดนำเข้าเยื่อกระดาษ
และเศษกระดาษ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และญี่ปุ่น ส่วนตลาดนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน
สำหรับภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 32.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัว
ลดลง คิดเป็นร้อยละ 21.6 เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวและในไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันไทยมี
ศักยภาพในการผลิตสิ่งพิมพ์ที่มีคุณภาพเองได้
ตารางที่ 2 การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
3/2548 2/2549 3/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 82.9 108.1 112.4 3.9 35.6
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 223.0 200.8 276.8 37.8 24.1
สิ่งพิมพ์ 31.0 41.7 32.7 -21.6 5.5
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 41.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 50.7 และ 85.2 ตามลำดับ เนื่องจากจีนมีปริมาณความต้องการใช้เยื่อมาก ประกอบกับ
ราคาเยื่อในตลาดโลกสูง จึงส่งผลให้มีการส่งออกเยื่อมากขึ้น โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน ไต้หวัน และเกาหลีใต้
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 274.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและ
ไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 4.4 และ 24.3 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีความต้อง
การใช้กระดาษและ ผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อรองรับเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2549 มีมูลค่า 41.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส
เดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100.5 และ 24.8 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมากลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และ
บรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์การเป็นศูนย์กลางการพิมพ์
(Printing Hub) ในภูมิภาคอาเซียนแทนสิงคโปร์ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะงานที่มีคุณภาพและต้องใช้ฝีมือ อีกทั้งคำสั่งซื้อที่ได้รับเป็น
แบบล่วงหน้า 6 เดือนซึ่งเป็นสัญญาระยะยาวทำให้ไม่มีผลกระทบเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ
ออสเตรเลีย
ตารางที่ 3 การส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
3/2548 2/2549 3/2549 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
เยื่อกระดาษ 22.3 27.4 41.3 50.7 85.2
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 221.0 263.0 274.7 4.4 24.3
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 33.1 20.6 41.3 100.5 24.8
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
3. สรุป
ภาวะการผลิต การนำเข้า และการส่งออกของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ในไตรมาสนี้ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดย
เฉพาะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเท่าตัวเนื่องจากทางกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
ไทย และสมาคมการพิมพ์ไทย จัดประชาสัมพันธ์การเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ (Printing Hub) ในภูมิภาคอาเซียนแทนสิงคโปร์ ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเข้า
มาเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลงานของไทยผ่านการประกวดในระดับนานาชาติทำให้ต่างชาติเล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 4 ปี 2549
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อน เนื่องจากเข้า
สู่เทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ส่งผลต่อความต้องการใช้กระดาษทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นเพื่อจัดพิมพ์สมุดบันทึก ปฏิทิน กระดาษห่อของขวัญ
และการ์ดต่างๆ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์หีบห่อ ประกอบกับความต้องการหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-