ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ได้ข้อสรุปร่วมกับ ธ.กรุงไทยเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาลูกหนี้ 12 รายที่มีปัญหา
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบสินเชื่อ
ของ ธ.กรุงไทย ที่ ธปท.เห็นว่ามีความไม่ชอบมาพากลและอาจจะส่อไปในทางไม่สุจริตว่า ขณะนี้ฝ่ายกฎหมายของ
ธปท.ได้พิจารณาข้อมูลเสร็จแล้ว และได้หารือร่วมกับ ธ.กรุงไทยเพื่อแก้ไขปัญหาของลูกหนี้ใน 12 รายที่มีปัญหา
แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดของลูกหนี้แต่ละรายได้ ทั้งนี้ หากลูกหนี้ทั้ง 12 รายของ ธ.กรุงไทย
ชำระหนี้คืนตามปรกติก็สามารถกลับมาเป็นลูกหนี้ปรกติได้ ส่วนกรณีการตรวจสอบความผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคง
ดำเนินต่อไป (โลกวันนี้, ข่าวสด)
2. ธปท.ผ่อนเกณฑ์เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ นางธาริษา วัฒนเกส
รอง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน)
30,000 ล.บาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการที่ประสบภัยคลื่นสึนามิใน 6 จังหวัดภาคใต้ของ ธพ. ไม่จำเป็นต้องแยกบัญชี
ลูกหนี้ก็ได้ เพราะการดำเนินการสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ปรับโครงสร้างหนี้ การลดดอกเบี้ย และเมื่อลูกหนี้
สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาใหม่ ก็สามารถกลับมาเป็นลูกหนี้ปกติได้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องแยกบัญชี นอก
จากนี้ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การขอกู้โครงการช่วยเหลือสึนามิ ยังไม่มี ธพ.ใดยื่นเรื่องเข้ามา และขณะนี้
ธปท.กำลังรอหลักเกณฑ์ที่ทาง ธพ.จะเสนอเข้ามาใหม่ แต่ในเบื้องต้นคาดว่าไม่มีปัญหา เนื่องจากหลักเกณฑ์ของ
ธปท.เปิดไว้หมดแล้ว (ข่าวสด)
3. ก.ล.ต.ชี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องแยกอำนาจกำกับดูแลสถาบันการเงินและบริษัทประกันออกเป็น
องค์กรอิสระ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า การที่สำนัก
งานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เสนอผลการศึกษาทางวิชาการในการแยกอำนาจกำกับดูแลสถาบันการเงินและ
บริษัทประกันออกไปขึ้นกับองค์กรอิสระ เป็นข้อศึกษาที่ดีที่จะปรับปรุงระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มี
ประสิทธิภาพ แต่สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาควบคุมสถาบันการเงินทั้ง
หมด เนื่องจากตลาดทุนไทยยังไม่มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและกว้างขวางจนเกิดปัญหาการทับซ้อนระหว่าง
การให้บริการของ ธพ. บริษัทประกัน และบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) และปัจจุบันสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อราย
ย่อยของ ธพ.ยังต่ำอยู่ที่ 15% เมื่อเทียบกับประเทศที่มีการพัฒนาด้านตลาดทุนเช่น ยุโรป ที่มีสัดส่วนสูงถึง 50-70%
(ไทยโพสต์)
4. ปี 47 ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งมีกำไรสุทธิรวมเพิ่มขึ้น 79% จากปีก่อน กลุ่มธนาคารพาณิชย์
ประกาศผลการดำเนินงานงวดปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค.47 ปรากฎว่า ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งจากทั้งหมด 12
แห่ง มีกำไรสุทธิรวม 76,903.37 ล.บาท เทียบกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 42,950.06 ล.บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
กว่า 79% โดยธนาคารขนาดใหญ่ที่มีความสามารถทำกำไรสุทธิสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ
และ ธ.กสิกรไทย มีกำไรสุทธิ 18,488 ล.บาท 17,620 ล.บาท และ 15,340 ล.บาท ตามลำดับ ขณะที่ ธ.
เอเชียเป็น ธพ.เพียงแห่งเดียวที่มีกำไรสุทธิลดลง จากปี 46 กำไรสุทธิ 1,818 ล.บาทเหลือ 760 ล.บาทใน
ปี47 หรือกำไรสุทธิลดลง 58% (ผู้จัดการรายวัน)
5. กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าประมาณการในช่วงไตรมาสแรกปี งปม.48 อธิบดีกรม
สรรพสามิต เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในช่วงไตรมาสแรกของปี งปม.48 (ต.ค.-ธ.ค.47)
ว่า กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้รวม 71,747 ล.บาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี งปม.ก่อน 3,147 ล.บาท
แต่ต่ำกว่าประมาณการ 3,200 ล.บาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือน ก.ค.47
ซึ่งเน้นให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ขนาดเล็กและประหยัดพลังงานให้มากขึ้น จึงส่งผลให้ยอดการจัดเก็บภาษีรถยนต์ลดลง (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.2
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 ม.ค.48 The New York-based Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้
นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อยู่ที่ระดับ 115.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขหลังจากทบทวนแล้ว (โดยตัวเลขที่รายงานครั้งแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2) ทั้งนี้ ดัชนีดัง
กล่าวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ลดลงติดต่อกันถึง 5 เดือน ซึ่งก่อนหน้านี้ผลสำรวจนักวิเคราะห์
Wall Street โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.47 อนึ่ง ดัชนีที่
เป็นองค์ประกอบของดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ 4 ใน 10 ตัว คือ ความคาดหวังของผู้บริโภค ราคาหุ้น ปริมาณเงิน
หมุนเวียน และการเรียกร้องสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ในเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีอีก 5 ตัวลดลง คือ คำ
สั่งซื้อสินค้าของผู้บริโภค การส่งมอบสินค้าล่าช้า คำสั่งซื้อสินค้าทุน การอนุญาตก่อสร้างอาคาร และผลตอบแทน
ตั๋วเงินคลัง ส่วนจำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน สำหรับดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ
(The coincident index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของ สรอ. ในเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้นติดต่อ
กันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 0.3 รวมทั้งดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (The lagging index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัด
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอดีตคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค.47 ในเขตยูโรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนการเกินดุลการค้าลดลง
รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศ เบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 20 ม.ค.48 Eurostat สนง.สถิติของสหภาพยุโรป
เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรเดือน ธ.ค.47 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 จากร้อยละ 2.3
ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นแม้ว่าต้นทุนค่าพลังงานจะลดลง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของเขต
ยูโรเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะที่ตัวเลขเกิน
ดุลการค้าในเดือน พ.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 2.9 พันล้านยูโร จากระดับ 5.7 พันล้านยูโร ในเดือน ต.ค.47
และเป็นการเกินดุลในระดับต่ำกว่า 4.0 พันล้านยูโร จากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ เนื่องจากการนำเข้ามีอัตรา
การเติบโตมากกว่าการส่งออก ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกที่ได้มีการปรับตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จาก
เดือน ต.ค.47 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 โดยการส่งออกของเขตยูโรในช่วงเดือน ม.ค. — พ.ย.47 มี
มูลค่ารวม 1,049.7 พันล้านยูโร เทียบกับ 968.8 พันล้านยูโร ในช่วงเดียวกันของปี 46 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า
รวม 979.7 พันล้านยูโร จาก 905.5 พันล้านยูโร อนึ่ง การลดลงของภาคการส่งออกส่งผลให้นักธุรกิจเกิดความ
กังวลว่าการส่งออกอาจจะชะลอตัวลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า และอาจทำให้เกิดการชะลอการลงทุนและการจ้าง
งานในอนาคต เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวดีเท่าที่ควร (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เหลือร้อยละ 1.6 ต่อปี รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 20 ม.ค.48 นสพ. Financial Times Deutschland ของเยอรมนีอ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลว่า
รัฐบาลเยอรมนีจะปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 48 ในรายงานของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดจะเผย
แพร่ในวันที่ 26 ม.ค.48 นี้เหลือร้อยละ 1.6 ต่อปีจากประมาณการครั้งก่อนร้อยละ 1.7 ต่อปี โดยรัฐบาลคาดว่า
การใช้จ่ายในประเทศในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.2 จากปี 47 ในขณะที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปีลดลงจากที่ประมาณการไว้ที่ร้อยละ
1.5 ต่อปีเมื่อเดือน ต.ค.47 ที่ผ่านมา หลังจากที่ สนง.สถิติของเยอรมนีออกมารายงานว่า GDP ของเยอรมนีใน
ปี 47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอาจขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ต่อปี (รอยเตอร์)
4. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือนธ.ค.จะเพิ่มขึ้น รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่
20 ม.ค. 48 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 6 คนของรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer
Price Index — CPI) ของสิงคโปร์ในเดือนธ.ค.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน
พ.ย. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เนื่องจากราคาอาหารซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในการคำนวณ CPI เพิ่มขึ้น เช่น
เดียวกับสาธารณูปโภคและต้นทุนการขนส่ง สำหรับเดือนพ.ย.นั้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ CPI ลดลงเนื่อง
จากราคาน้ำมันลดลงจากระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ประกอบกับรัฐบาลสิงคโปร์ยกเลิกการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์เป็ดไก่
จากมาเลเซียภายหลังการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าทั้งปี 47 CPI จะอยู่ที่ร้อยละ
1.7 ลดลงจากที่เพิ่มสูงสุดถึงร้อยละ 2.0 ในเดือนก.ย. และแม้ว่าราคาสินค้าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุน
อาหารที่ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนกในเอเซียที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แต่นักวิเคราะห์ยังคงคาดว่า CPI ใน
ปี 48 จะไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากราคาน้ำมันและอาหารเริ่มลดลง ก่อนหน้านั้นธ.กลางสิงคโปร์คาดว่า CPI ใน
ปี 47 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.0 อนึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติของสิงคโปร์มีกำหนดที่จะประกาศตัวเลข CPI
อย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่ 24 นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ม.ค. 48 20 ม.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.546 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.3424/38.6326 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875-2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 706.90/19.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,750/7,850 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.9 38.55 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.29*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ได้ข้อสรุปร่วมกับ ธ.กรุงไทยเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาลูกหนี้ 12 รายที่มีปัญหา
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบสินเชื่อ
ของ ธ.กรุงไทย ที่ ธปท.เห็นว่ามีความไม่ชอบมาพากลและอาจจะส่อไปในทางไม่สุจริตว่า ขณะนี้ฝ่ายกฎหมายของ
ธปท.ได้พิจารณาข้อมูลเสร็จแล้ว และได้หารือร่วมกับ ธ.กรุงไทยเพื่อแก้ไขปัญหาของลูกหนี้ใน 12 รายที่มีปัญหา
แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดของลูกหนี้แต่ละรายได้ ทั้งนี้ หากลูกหนี้ทั้ง 12 รายของ ธ.กรุงไทย
ชำระหนี้คืนตามปรกติก็สามารถกลับมาเป็นลูกหนี้ปรกติได้ ส่วนกรณีการตรวจสอบความผิดของผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคง
ดำเนินต่อไป (โลกวันนี้, ข่าวสด)
2. ธปท.ผ่อนเกณฑ์เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ นางธาริษา วัฒนเกส
รอง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน)
30,000 ล.บาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการที่ประสบภัยคลื่นสึนามิใน 6 จังหวัดภาคใต้ของ ธพ. ไม่จำเป็นต้องแยกบัญชี
ลูกหนี้ก็ได้ เพราะการดำเนินการสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ปรับโครงสร้างหนี้ การลดดอกเบี้ย และเมื่อลูกหนี้
สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาใหม่ ก็สามารถกลับมาเป็นลูกหนี้ปกติได้ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องแยกบัญชี นอก
จากนี้ ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การขอกู้โครงการช่วยเหลือสึนามิ ยังไม่มี ธพ.ใดยื่นเรื่องเข้ามา และขณะนี้
ธปท.กำลังรอหลักเกณฑ์ที่ทาง ธพ.จะเสนอเข้ามาใหม่ แต่ในเบื้องต้นคาดว่าไม่มีปัญหา เนื่องจากหลักเกณฑ์ของ
ธปท.เปิดไว้หมดแล้ว (ข่าวสด)
3. ก.ล.ต.ชี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องแยกอำนาจกำกับดูแลสถาบันการเงินและบริษัทประกันออกเป็น
องค์กรอิสระ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า การที่สำนัก
งานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เสนอผลการศึกษาทางวิชาการในการแยกอำนาจกำกับดูแลสถาบันการเงินและ
บริษัทประกันออกไปขึ้นกับองค์กรอิสระ เป็นข้อศึกษาที่ดีที่จะปรับปรุงระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินให้มี
ประสิทธิภาพ แต่สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาควบคุมสถาบันการเงินทั้ง
หมด เนื่องจากตลาดทุนไทยยังไม่มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายและกว้างขวางจนเกิดปัญหาการทับซ้อนระหว่าง
การให้บริการของ ธพ. บริษัทประกัน และบริษัทจัดการกองทุน (บลจ.) และปัจจุบันสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อราย
ย่อยของ ธพ.ยังต่ำอยู่ที่ 15% เมื่อเทียบกับประเทศที่มีการพัฒนาด้านตลาดทุนเช่น ยุโรป ที่มีสัดส่วนสูงถึง 50-70%
(ไทยโพสต์)
4. ปี 47 ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งมีกำไรสุทธิรวมเพิ่มขึ้น 79% จากปีก่อน กลุ่มธนาคารพาณิชย์
ประกาศผลการดำเนินงานงวดปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค.47 ปรากฎว่า ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งจากทั้งหมด 12
แห่ง มีกำไรสุทธิรวม 76,903.37 ล.บาท เทียบกับปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 42,950.06 ล.บาท หรือกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น
กว่า 79% โดยธนาคารขนาดใหญ่ที่มีความสามารถทำกำไรสุทธิสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กรุงเทพ
และ ธ.กสิกรไทย มีกำไรสุทธิ 18,488 ล.บาท 17,620 ล.บาท และ 15,340 ล.บาท ตามลำดับ ขณะที่ ธ.
เอเชียเป็น ธพ.เพียงแห่งเดียวที่มีกำไรสุทธิลดลง จากปี 46 กำไรสุทธิ 1,818 ล.บาทเหลือ 760 ล.บาทใน
ปี47 หรือกำไรสุทธิลดลง 58% (ผู้จัดการรายวัน)
5. กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าประมาณการในช่วงไตรมาสแรกปี งปม.48 อธิบดีกรม
สรรพสามิต เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในช่วงไตรมาสแรกของปี งปม.48 (ต.ค.-ธ.ค.47)
ว่า กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้รวม 71,747 ล.บาท สูงขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี งปม.ก่อน 3,147 ล.บาท
แต่ต่ำกว่าประมาณการ 3,200 ล.บาท เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่ที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือน ก.ค.47
ซึ่งเน้นให้ประชาชนหันมาใช้รถยนต์ขนาดเล็กและประหยัดพลังงานให้มากขึ้น จึงส่งผลให้ยอดการจัดเก็บภาษีรถยนต์ลดลง (โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.2
รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 20 ม.ค.48 The New York-based Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้
นำภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ในเดือน ธ.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 อยู่ที่ระดับ 115.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขหลังจากทบทวนแล้ว (โดยตัวเลขที่รายงานครั้งแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2) ทั้งนี้ ดัชนีดัง
กล่าวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ลดลงติดต่อกันถึง 5 เดือน ซึ่งก่อนหน้านี้ผลสำรวจนักวิเคราะห์
Wall Street โดยรอยเตอร์คาดว่าดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.47 อนึ่ง ดัชนีที่
เป็นองค์ประกอบของดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ 4 ใน 10 ตัว คือ ความคาดหวังของผู้บริโภค ราคาหุ้น ปริมาณเงิน
หมุนเวียน และการเรียกร้องสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ในเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีอีก 5 ตัวลดลง คือ คำ
สั่งซื้อสินค้าของผู้บริโภค การส่งมอบสินค้าล่าช้า คำสั่งซื้อสินค้าทุน การอนุญาตก่อสร้างอาคาร และผลตอบแทน
ตั๋วเงินคลัง ส่วนจำนวนชั่วโมงทำงานเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน สำหรับดัชนีพ้องภาวะเศรษฐกิจ
(The coincident index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของ สรอ. ในเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้นติดต่อ
กันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 0.3 รวมทั้งดัชนีตามภาวะเศรษฐกิจ (The lagging index) ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัด
กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอดีตคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง (รอยเตอร์)
2. อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค.47 ในเขตยูโรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนการเกินดุลการค้าลดลง
รายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศ เบลเยี่ยม เมื่อวันที่ 20 ม.ค.48 Eurostat สนง.สถิติของสหภาพยุโรป
เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรเดือน ธ.ค.47 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 จากร้อยละ 2.3
ในเดือนก่อน เนื่องจากราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นแม้ว่าต้นทุนค่าพลังงานจะลดลง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของเขต
ยูโรเดือน พ.ย.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ขณะที่ตัวเลขเกิน
ดุลการค้าในเดือน พ.ย.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 2.9 พันล้านยูโร จากระดับ 5.7 พันล้านยูโร ในเดือน ต.ค.47
และเป็นการเกินดุลในระดับต่ำกว่า 4.0 พันล้านยูโร จากที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ เนื่องจากการนำเข้ามีอัตรา
การเติบโตมากกว่าการส่งออก ทั้งนี้ ตัวเลขการส่งออกที่ได้มีการปรับตามฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จาก
เดือน ต.ค.47 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 โดยการส่งออกของเขตยูโรในช่วงเดือน ม.ค. — พ.ย.47 มี
มูลค่ารวม 1,049.7 พันล้านยูโร เทียบกับ 968.8 พันล้านยูโร ในช่วงเดียวกันของปี 46 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า
รวม 979.7 พันล้านยูโร จาก 905.5 พันล้านยูโร อนึ่ง การลดลงของภาคการส่งออกส่งผลให้นักธุรกิจเกิดความ
กังวลว่าการส่งออกอาจจะชะลอตัวลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า และอาจทำให้เกิดการชะลอการลงทุนและการจ้าง
งานในอนาคต เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการบริโภคภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวดีเท่าที่ควร (รอยเตอร์)
3. เยอรมนีปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้เหลือร้อยละ 1.6 ต่อปี รายงานจาก
เบอร์ลิน เมื่อ 20 ม.ค.48 นสพ. Financial Times Deutschland ของเยอรมนีอ้างแหล่งข่าวในรัฐบาลว่า
รัฐบาลเยอรมนีจะปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 48 ในรายงานของรัฐบาลซึ่งมีกำหนดจะเผย
แพร่ในวันที่ 26 ม.ค.48 นี้เหลือร้อยละ 1.6 ต่อปีจากประมาณการครั้งก่อนร้อยละ 1.7 ต่อปี โดยรัฐบาลคาดว่า
การใช้จ่ายในประเทศในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.2 จากปี 47 ในขณะที่ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์
โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปีลดลงจากที่ประมาณการไว้ที่ร้อยละ
1.5 ต่อปีเมื่อเดือน ต.ค.47 ที่ผ่านมา หลังจากที่ สนง.สถิติของเยอรมนีออกมารายงานว่า GDP ของเยอรมนีใน
ปี 47 หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วอาจขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ต่อปี (รอยเตอร์)
4. คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือนธ.ค.จะเพิ่มขึ้น รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่
20 ม.ค. 48 ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 6 คนของรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer
Price Index — CPI) ของสิงคโปร์ในเดือนธ.ค.จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน
พ.ย. (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) เนื่องจากราคาอาหารซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในการคำนวณ CPI เพิ่มขึ้น เช่น
เดียวกับสาธารณูปโภคและต้นทุนการขนส่ง สำหรับเดือนพ.ย.นั้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ CPI ลดลงเนื่อง
จากราคาน้ำมันลดลงจากระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ประกอบกับรัฐบาลสิงคโปร์ยกเลิกการห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์เป็ดไก่
จากมาเลเซียภายหลังการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าทั้งปี 47 CPI จะอยู่ที่ร้อยละ
1.7 ลดลงจากที่เพิ่มสูงสุดถึงร้อยละ 2.0 ในเดือนก.ย. และแม้ว่าราคาสินค้าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุน
อาหารที่ได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนกในเอเซียที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก แต่นักวิเคราะห์ยังคงคาดว่า CPI ใน
ปี 48 จะไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากราคาน้ำมันและอาหารเริ่มลดลง ก่อนหน้านั้นธ.กลางสิงคโปร์คาดว่า CPI ใน
ปี 47 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5 - 2.0 อนึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติของสิงคโปร์มีกำหนดที่จะประกาศตัวเลข CPI
อย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่ 24 นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 21 ม.ค. 48 20 ม.ค. 48 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.546 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.3424/38.6326 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 2.1875-2.2000 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 706.90/19.79 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,750/7,850 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 38.9 38.55 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.29*/14.59 19.29*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับลด ลิตรละ 30 สตางค์ เมื่อ 17 ธ.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--