ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ไม่ได้ใช้เงินเพื่อแทรกแซงค่าเงินบาทอย่างเดียว แต่ต้องดูแลสภาพคล่องในระบบด้วย นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่า
การ สายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ยอมรับว่าวงเงินจำนวน 1 ล้านล้านบาท ในการแทรกแซงค่าเงินบาทที่มีผู้เอ่ยถึงนั้นใกล้เคียงกับ
ตัวเลขจริง แต่เงินทั้งหมดที่ใช้ไปไม่ใช่เพื่อแทรกแซงค่าเงินบาทอย่างเดียว แต่เกิดจากการเข้าไปดูแลสภาพคล่องในช่วงที่หน่วยงานต่าง ๆ ของ
รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณออกมาสู่ระบบการเงินมากเกินไปด้วย เพราะ ธปท. จำเป็นต้องดูแลไม่ให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดมีการบิดเบือน
จากเป้าหมายของ ธปท. โดยในเดือน ก.พ.50 มีการเบิกจ่ายงบประมาณ 916,000 ล้านบาท นอกจากนี้ สภาพคล่องในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นใน
ช่วงที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเกิดจากภาคต่างประเทศด้วยคือ ผู้ส่งออกมีการนำรายได้ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เข้ามาแลกเป็นเงินบาทออกสู่ระบบมาก
และนักลงทุนต่างชาติมีการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นด้วย โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา
ลงทุนเฉพาะในส่วนของตลาดหุ้นเป็นจำนวนเงินสุทธิ 27,000 ล้านบาท ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้สภาพคล่องในระบบเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ด้านนาง
ผ่องเพ็ญ เรืองวีระยุทธ ผอ.อาวุโส ฝ่ายตลาดเงินและการบริหารทุนสำรอง ธปท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ธปท. อยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสม
ว่าจะยืดเวลาอนุญาตการถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกให้นานขึ้นกว่า 15 วันหรือไม่ เพื่อลดแรงกดดันของค่าเงินบาท เนื่องจากใน
ช่วงที่ผ่านมาผู้ส่งออกได้เทขายเงินดอลลาร์ สรอ. ออกมาจำนวนมาก เพราะเกรงว่าหากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ค่าเงิน
บาทในประเทศจะแข็งไปเท่ากับตลาดต่างประเทศที่ขณะนี้เงินบาทอยู่ที่ประมาณ 32 — 33 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.(ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
2. ก.คลังเร่งให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อแต่ให้เน้นเรื่องความสามารถชำระคืน นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.
คลัง กล่าวว่า ได้เร่งรัดผู้บริหารสถาบันการเงินของรัฐ 9 แห่ง ให้ปล่อยสินเชื่อเร็วกว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับ
ล่าง แต่ต้องไม่อัดฉีดสินเชื่อจนเกินความสามารถทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมาเหมือนโครงการประชานิยม โดยให้ช่วยเหลือผู้ที่ต้องการสินเชื่อ
จริง ๆ เท่านั้น นอกจากนี้ ก.คลังกำลังพิจารณามาตรการลดภาษีเพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ เพราะช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเศรษฐกิจไม่ขับ
เคลื่อน การบริโภคลดลง โดยเฉพาะยอดซื้อบ้านและรถยนต์ ซึ่งได้กำหนดให้รายงานความคืบหน้าอีกครั้งในเดือน เม.ย.นี้ (โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
3. หนี้สาธารณะ ณ 31 ม.ค.50 ลดลงเหลือ 3.1 ล้านล้านบาท นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ ก.คลัง
เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ม.ค.50 มีจำนวน 3,158,167 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.43 ของจีดีพี ลดลงจาก
3,162,063.57 ล้านบาท หรือร้อยละ 40.47 ของจีดีพีในเดือน ธ.ค.49 เนื่องจากการปรับฐานจีดีพีในปี 50 สูงขึ้นจากปี 49 ตามประมาณ
การของสภาพัฒน์เมื่อ 6 มี.ค.50 โดยแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,968,749 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14,666 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่
ใช่สถาบันการเงิน 904,944 ล้านบาท ลดลง 9,588 ล้านบาท หนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ 232,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 288 ล้านบาท และหนี้
องค์กรของรัฐอื่น 52,205 ล้านบาท ลดลง 9,262 ล้านบาท ทั้งนี้ หนี้สาธารณะจำแนกเป็นหนี้ต่างประเทศ 462,740 ล้านบาท หรือร้อยละ
14.65 และหนี้ในประเทศ 2,695,427 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.35 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,670,683 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.56
และหนี้ระยะสั้น 487,484 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.44 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด (แนวหน้า)
4. รัฐควรกำหนดนโยบายดูแลค่าเงินบาทให้ชัดเจนเพื่อให้เงินบาทมีเสถียรภาพ นายดุสิต นนทนาคร กรรมการเลขาธิการหอการ
ค้าไทย เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบกับผู้ส่งออกอย่างมาก โดยเริ่มชะลอการสั่งซื้อเครื่องจักร และหากรัฐไม่เร่ง
แก้ปัญหาอย่างจริงจังผู้ประกอบการจะเริ่มหยุดการผลิตใน 5 — 6 เดือน และอาจต้องปิดกิจการใน 8 — 9 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ
ขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับผลกระทบก่อนเพราะมีเงินทุนน้อย ขณะที่ผู้ส่งออกหลายรายยอมขายสินค้าขาดทุนโดยไม่ปรับราคาจากค่าเงินบาท
ที่แข็งขึ้นเพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ ส่วนที่มูลค่าการส่งออกเดือน ม.ค.50 สูงถึงร้อยละ 17.7 เพราะมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการทำสัญญา
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผู้ประกอบการพร้อมปรับตัวรองรับสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เช่น การลด
ต้นทุนค่าใช้จ่าย หรือย้ายฐานการลงทุนไปต่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลควรกำหนดนโยบายดูแลค่าเงินบาทที่ชัดเจนเพื่อให้เงินบาทมีเสถียรภาพ รวม
ทั้งลดดอกเบี้ยในระดับที่มีผลต่อตลาดทันที จะลดครั้งเดียวร้อยละ 0.75 — 1.0 หรือครั้งละร้อยละ 0.50 เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัว
และรัฐบาลควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นการลงทุนและการบริโภค (เดลินิวส์, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือน ม.ค. ลดลง รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 50 สำนักงานสถิติ
สหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรลดลงร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 12 ในเดือน ธ.ค. ลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 1.0 จากเดือนธ.ค. และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วคาดว่าจะลด
ลงร้อยละ 10.1 ทั้งนี้หากไม่นับรวมคำสั่งซื้อสินค้าประเภทเรือ รถไฟ และเครื่องบิน คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. ไม่เปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 49 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 สำหรับดุลการค้ากับต่างประเทศในเดือน ม.ค. ยูโรโซน
ขาดดุลการค้า 7.8 พัน ล. ยูโร (10.43 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล จากที่เกินดุลการค้า 3.2 พัน ล. ยูโรในเดือน
ธ.ค. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุลการค้า 1.2 พัน ล. ยูโรในเดือน ม.ค. ขณะที่ตัวเลขดุลการค้าหลังปรับฤดูกาลแล้วกลับเกิน
ดุล 1.3 พัน ล. ยูโรลดลงจาก 2.0 พัน ล. ยูโรในเดือน ธ.ค. เนื่องจากการส่งออกในเดือนม.ค. ชะลอลงจากเดือน ธ.ค. ร้อยละ 0.4
ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์)
2. ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 มี.ค.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 22 มี.ค.50 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 มี.ค.50 ลด
ลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 เป็นจำนวน 316,000 คนต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ จากจำนวน 320,000 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นไปตามการคาด
การณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีความเห็นว่ายอดการขอรับสวัสดิการที่ลดลงสามารถบ่งชี้ความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน สรอ. และสะท้อน
ว่ายอดรายได้ในเดือน มี.ค. อาจแข็งแกร่งขึ้นจากเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ ส่วนยอดการขอรับ
สวัสดิการว่างงานเฉลี่ยสี่สัปดาห์ ซึ่งสะท้อนแนวโน้มตลาดแรงงานได้ดีกว่า ก็ลดลงเช่นกัน โดยลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 เหลือจำนวน
326,000 คนจากจำนวน 329,750 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานซึ่งเคยขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกไป
แล้ว ก็ลดลง 69,000 คนเป็นจำนวน 2.50 ล้านคนในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มี.ค.50 (รอยเตอร์)
3. ราคาที่ดินในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 22 มี.ค.50 ผลสำรวจราคาที่ดินประมาณ
30,000 แห่งทั่วประเทศของ ก.ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งของญี่ปุ่นในช่วง 1 ปีสิ้นสุดวันที่ 1 ม.ค.50 ปรากฎว่าราคาที่ดินเพื่ออยู่
อาศัยโดยเฉลี่ยทั่วประเทศเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.1 ในขณะที่ที่ดินเพื่อการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี นับ
ตั้งแต่ปี 33 ซึ่งเป็นปีที่ราคาที่ดินเริ่มลดลงจากภาวะฟองสบู่ในช่วงปี 23 ถึงปี 29 ในขณะที่ที่ดินที่มีราคาสูงขึ้นในครั้งนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองใหญ่
ซึ่งเป็นที่ต้องการมากโดยบางแห่งมีราคาสูงขึ้นถึงร้อยละ 30 ถึง 40 และมีส่วนทำให้ราคาที่ดินโดยเฉลี่ยทั่วประเทศสูงขึ้น แต่ที่ดินที่มีราคาสูงขึ้น
มากเหล่านี้ก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.2 ของที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและร้อยละ 3 ของที่ดินในเขตเมืองใหญ่ทั้ง 3 แห่งคือ โตเกียว โอซากาและนา
โกยา ในขณะที่ที่ดินที่อยู่นอกเมืองยังคงลดลงแต่ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยราคาที่ดินเพื่ออยู่อาศัยโดยเฉลี่ยยังคงอยู่ในระดับครึ่งหนึ่งเมื่อ
เทียบกับปี 33 นักวิเคราะห์จึงไม่คาดว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่ขึ้นอีก ทั้งนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นกำลังติดตามความเคลื่อนไหวของราคาที่ดินอย่างใกล้ชิด
เนื่องจากเกรงว่าการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจและการลงทุนขยายตัวเร็วเกินไปจนอาจทำให้เกิด
ภาวะฟองสบู่ขึ้นอีก โดยเมื่อวันที่ 20 มี.ค.50 ที่ผ่านมา ธ.กลางญี่ปุ่นตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของอังกฤษฟื้นตัวทำให้คาดว่าธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 22
มี.ค. 50 ทางการอังกฤษเปิดเผยว่ายอดค้าปลีกในเดือน ก.พ. ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดใน
รอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 47 การฟื้นตัวของยอดค้าปลีกดังกล่าวบ่งชี้ว่าการใช้จ่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดือน ม.ค. ที่
ยอดค้าปลีกเมื่อเทียบต่อเดือนลดลงมากที่สุดในรอบ 4 ปีถึงร้อยละ 1.8 (ตัวเลขเบื้องต้น) และตัวเลขเมื่อปรับฤดูกาลแล้วลดลงร้อยละ 1.5 ทำ
ให้มีความชัดเจนว่าในการประชุมนโยบายการเงินของธ.กลางอังกฤษ จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเนื่องจากความวิตกเรื่อง
ภาวะเงินเฟ้อ(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 มี.ค. 50 22 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.685 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4957/34.8186 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 674.84/9.05 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 59.19 58.04 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ไม่ได้ใช้เงินเพื่อแทรกแซงค่าเงินบาทอย่างเดียว แต่ต้องดูแลสภาพคล่องในระบบด้วย นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่า
การ สายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ยอมรับว่าวงเงินจำนวน 1 ล้านล้านบาท ในการแทรกแซงค่าเงินบาทที่มีผู้เอ่ยถึงนั้นใกล้เคียงกับ
ตัวเลขจริง แต่เงินทั้งหมดที่ใช้ไปไม่ใช่เพื่อแทรกแซงค่าเงินบาทอย่างเดียว แต่เกิดจากการเข้าไปดูแลสภาพคล่องในช่วงที่หน่วยงานต่าง ๆ ของ
รัฐบาลมีการเบิกจ่ายงบประมาณออกมาสู่ระบบการเงินมากเกินไปด้วย เพราะ ธปท. จำเป็นต้องดูแลไม่ให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดมีการบิดเบือน
จากเป้าหมายของ ธปท. โดยในเดือน ก.พ.50 มีการเบิกจ่ายงบประมาณ 916,000 ล้านบาท นอกจากนี้ สภาพคล่องในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นใน
ช่วงที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเกิดจากภาคต่างประเทศด้วยคือ ผู้ส่งออกมีการนำรายได้ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. เข้ามาแลกเป็นเงินบาทออกสู่ระบบมาก
และนักลงทุนต่างชาติมีการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้นด้วย โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามา
ลงทุนเฉพาะในส่วนของตลาดหุ้นเป็นจำนวนเงินสุทธิ 27,000 ล้านบาท ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้สภาพคล่องในระบบเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ด้านนาง
ผ่องเพ็ญ เรืองวีระยุทธ ผอ.อาวุโส ฝ่ายตลาดเงินและการบริหารทุนสำรอง ธปท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ธปท. อยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสม
ว่าจะยืดเวลาอนุญาตการถือครองเงินดอลลาร์ สรอ. ของผู้ส่งออกให้นานขึ้นกว่า 15 วันหรือไม่ เพื่อลดแรงกดดันของค่าเงินบาท เนื่องจากใน
ช่วงที่ผ่านมาผู้ส่งออกได้เทขายเงินดอลลาร์ สรอ. ออกมาจำนวนมาก เพราะเกรงว่าหากมีการยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ค่าเงิน
บาทในประเทศจะแข็งไปเท่ากับตลาดต่างประเทศที่ขณะนี้เงินบาทอยู่ที่ประมาณ 32 — 33 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.(ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์)
2. ก.คลังเร่งให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อแต่ให้เน้นเรื่องความสามารถชำระคืน นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.
คลัง กล่าวว่า ได้เร่งรัดผู้บริหารสถาบันการเงินของรัฐ 9 แห่ง ให้ปล่อยสินเชื่อเร็วกว่าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับ
ล่าง แต่ต้องไม่อัดฉีดสินเชื่อจนเกินความสามารถทำให้เกิดปัญหาหนี้สินตามมาเหมือนโครงการประชานิยม โดยให้ช่วยเหลือผู้ที่ต้องการสินเชื่อ
จริง ๆ เท่านั้น นอกจากนี้ ก.คลังกำลังพิจารณามาตรการลดภาษีเพื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ เพราะช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเศรษฐกิจไม่ขับ
เคลื่อน การบริโภคลดลง โดยเฉพาะยอดซื้อบ้านและรถยนต์ ซึ่งได้กำหนดให้รายงานความคืบหน้าอีกครั้งในเดือน เม.ย.นี้ (โพสต์ทูเดย์,
กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
3. หนี้สาธารณะ ณ 31 ม.ค.50 ลดลงเหลือ 3.1 ล้านล้านบาท นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ ก.คลัง
เปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ม.ค.50 มีจำนวน 3,158,167 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.43 ของจีดีพี ลดลงจาก
3,162,063.57 ล้านบาท หรือร้อยละ 40.47 ของจีดีพีในเดือน ธ.ค.49 เนื่องจากการปรับฐานจีดีพีในปี 50 สูงขึ้นจากปี 49 ตามประมาณ
การของสภาพัฒน์เมื่อ 6 มี.ค.50 โดยแบ่งเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 1,968,749 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14,666 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่
ใช่สถาบันการเงิน 904,944 ล้านบาท ลดลง 9,588 ล้านบาท หนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ 232,269 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 288 ล้านบาท และหนี้
องค์กรของรัฐอื่น 52,205 ล้านบาท ลดลง 9,262 ล้านบาท ทั้งนี้ หนี้สาธารณะจำแนกเป็นหนี้ต่างประเทศ 462,740 ล้านบาท หรือร้อยละ
14.65 และหนี้ในประเทศ 2,695,427 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.35 และเป็นหนี้ระยะยาว 2,670,683 ล้านบาท หรือร้อยละ 84.56
และหนี้ระยะสั้น 487,484 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.44 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด (แนวหน้า)
4. รัฐควรกำหนดนโยบายดูแลค่าเงินบาทให้ชัดเจนเพื่อให้เงินบาทมีเสถียรภาพ นายดุสิต นนทนาคร กรรมการเลขาธิการหอการ
ค้าไทย เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบกับผู้ส่งออกอย่างมาก โดยเริ่มชะลอการสั่งซื้อเครื่องจักร และหากรัฐไม่เร่ง
แก้ปัญหาอย่างจริงจังผู้ประกอบการจะเริ่มหยุดการผลิตใน 5 — 6 เดือน และอาจต้องปิดกิจการใน 8 — 9 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ
ขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับผลกระทบก่อนเพราะมีเงินทุนน้อย ขณะที่ผู้ส่งออกหลายรายยอมขายสินค้าขาดทุนโดยไม่ปรับราคาจากค่าเงินบาท
ที่แข็งขึ้นเพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้ ส่วนที่มูลค่าการส่งออกเดือน ม.ค.50 สูงถึงร้อยละ 17.7 เพราะมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการทำสัญญา
ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผู้ประกอบการพร้อมปรับตัวรองรับสถานการณ์เงินบาทแข็งค่า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เช่น การลด
ต้นทุนค่าใช้จ่าย หรือย้ายฐานการลงทุนไปต่างประเทศ ทั้งนี้ รัฐบาลควรกำหนดนโยบายดูแลค่าเงินบาทที่ชัดเจนเพื่อให้เงินบาทมีเสถียรภาพ รวม
ทั้งลดดอกเบี้ยในระดับที่มีผลต่อตลาดทันที จะลดครั้งเดียวร้อยละ 0.75 — 1.0 หรือครั้งละร้อยละ 0.50 เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัว
และรัฐบาลควรเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นการลงทุนและการบริโภค (เดลินิวส์, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของยูโรโซนในเดือน ม.ค. ลดลง รายงานจากบรัสเซล เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 50 สำนักงานสถิติ
สหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมของ 13 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรลดลงร้อยละ 0.2 จากที่เพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 12 ในเดือน ธ.ค. ลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 1.0 จากเดือนธ.ค. และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วคาดว่าจะลด
ลงร้อยละ 10.1 ทั้งนี้หากไม่นับรวมคำสั่งซื้อสินค้าประเภทเรือ รถไฟ และเครื่องบิน คำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. ไม่เปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 49 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 สำหรับดุลการค้ากับต่างประเทศในเดือน ม.ค. ยูโรโซน
ขาดดุลการค้า 7.8 พัน ล. ยูโร (10.43 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล จากที่เกินดุลการค้า 3.2 พัน ล. ยูโรในเดือน
ธ.ค. ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะเกินดุลการค้า 1.2 พัน ล. ยูโรในเดือน ม.ค. ขณะที่ตัวเลขดุลการค้าหลังปรับฤดูกาลแล้วกลับเกิน
ดุล 1.3 พัน ล. ยูโรลดลงจาก 2.0 พัน ล. ยูโรในเดือน ธ.ค. เนื่องจากการส่งออกในเดือนม.ค. ชะลอลงจากเดือน ธ.ค. ร้อยละ 0.4
ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (รอยเตอร์)
2. ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 มี.ค.50 ลดลงต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ รายงานจาก
วอชิงตันเมื่อ 22 มี.ค.50 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 มี.ค.50 ลด
ลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 เป็นจำนวน 316,000 คนต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ จากจำนวน 320,000 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า เป็นไปตามการคาด
การณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีความเห็นว่ายอดการขอรับสวัสดิการที่ลดลงสามารถบ่งชี้ความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน สรอ. และสะท้อน
ว่ายอดรายได้ในเดือน มี.ค. อาจแข็งแกร่งขึ้นจากเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ ส่วนยอดการขอรับ
สวัสดิการว่างงานเฉลี่ยสี่สัปดาห์ ซึ่งสะท้อนแนวโน้มตลาดแรงงานได้ดีกว่า ก็ลดลงเช่นกัน โดยลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 เหลือจำนวน
326,000 คนจากจำนวน 329,750 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานซึ่งเคยขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกไป
แล้ว ก็ลดลง 69,000 คนเป็นจำนวน 2.50 ล้านคนในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 มี.ค.50 (รอยเตอร์)
3. ราคาที่ดินในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี รายงานจากโตเกียว เมื่อ 22 มี.ค.50 ผลสำรวจราคาที่ดินประมาณ
30,000 แห่งทั่วประเทศของ ก.ที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งของญี่ปุ่นในช่วง 1 ปีสิ้นสุดวันที่ 1 ม.ค.50 ปรากฎว่าราคาที่ดินเพื่ออยู่
อาศัยโดยเฉลี่ยทั่วประเทศเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.1 ในขณะที่ที่ดินเพื่อการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี นับ
ตั้งแต่ปี 33 ซึ่งเป็นปีที่ราคาที่ดินเริ่มลดลงจากภาวะฟองสบู่ในช่วงปี 23 ถึงปี 29 ในขณะที่ที่ดินที่มีราคาสูงขึ้นในครั้งนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองใหญ่
ซึ่งเป็นที่ต้องการมากโดยบางแห่งมีราคาสูงขึ้นถึงร้อยละ 30 ถึง 40 และมีส่วนทำให้ราคาที่ดินโดยเฉลี่ยทั่วประเทศสูงขึ้น แต่ที่ดินที่มีราคาสูงขึ้น
มากเหล่านี้ก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.2 ของที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและร้อยละ 3 ของที่ดินในเขตเมืองใหญ่ทั้ง 3 แห่งคือ โตเกียว โอซากาและนา
โกยา ในขณะที่ที่ดินที่อยู่นอกเมืองยังคงลดลงแต่ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยราคาที่ดินเพื่ออยู่อาศัยโดยเฉลี่ยยังคงอยู่ในระดับครึ่งหนึ่งเมื่อ
เทียบกับปี 33 นักวิเคราะห์จึงไม่คาดว่าจะเกิดภาวะฟองสบู่ขึ้นอีก ทั้งนี้ ธ.กลางญี่ปุ่นกำลังติดตามความเคลื่อนไหวของราคาที่ดินอย่างใกล้ชิด
เนื่องจากเกรงว่าการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานจะกระตุ้นให้เศรษฐกิจและการลงทุนขยายตัวเร็วเกินไปจนอาจทำให้เกิด
ภาวะฟองสบู่ขึ้นอีก โดยเมื่อวันที่ 20 มี.ค.50 ที่ผ่านมา ธ.กลางญี่ปุ่นตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี (รอยเตอร์)
4. ยอดค้าปลีกของอังกฤษฟื้นตัวทำให้คาดว่าธ.กลางจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้ง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 22
มี.ค. 50 ทางการอังกฤษเปิดเผยว่ายอดค้าปลีกในเดือน ก.พ. ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดใน
รอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 47 การฟื้นตัวของยอดค้าปลีกดังกล่าวบ่งชี้ว่าการใช้จ่ายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดือน ม.ค. ที่
ยอดค้าปลีกเมื่อเทียบต่อเดือนลดลงมากที่สุดในรอบ 4 ปีถึงร้อยละ 1.8 (ตัวเลขเบื้องต้น) และตัวเลขเมื่อปรับฤดูกาลแล้วลดลงร้อยละ 1.5 ทำ
ให้มีความชัดเจนว่าในการประชุมนโยบายการเงินของธ.กลางอังกฤษ จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งเนื่องจากความวิตกเรื่อง
ภาวะเงินเฟ้อ(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 23 มี.ค. 50 22 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.685 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.4957/34.8186 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 674.84/9.05 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 59.19 58.04 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 มี.ค. 50 27.59*/23.74* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนคารแห่งประเทศไทย--