- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2550
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2550 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 210 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 357 รายหรือน้อยกว่าร้อยละ -41.18 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 5,956.73 ล้านบาท ลดลงจากพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการลงทุน 8,621.30 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -30.91 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 4,463 คน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,806 คน หรือลดลงร้อยละ -54.49
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือน มิถุนายน 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 446 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -52.91 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนลดลงจากเดือนมิถุนายน 2549 ซึ่งมีการลงทุน 12,599.45 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -52.72 และมีการจ้างงานลดลงจากเดือนมิถุนายน 2549 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,306 คน ร้อยละ -70.84
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 19 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 13 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งมิได้ผลิตจากกากซัลไฟต์ในการทำเยื่อกระดาษมีเงินทุน 2,890 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้ามีเงินทุน 471 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 819 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ หนังเทียม ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกาย รองเท้า คนงาน 525 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2550 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 122 ราย น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 163 ราย คิดเป็นร้อยละ -25.15 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 932.77 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีการเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 10,135.82 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,448 คน น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 7,145 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 230 รายคิดเป็นร้อยละ -46.96 ในส่วนการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 6,129 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,250.62 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 17 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 13 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2550 คืออุตสาหกรรมทอหรือเตรียมเส้นด้ายยืนสำหรับการทอ เงินทุน 162 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิต ตบแต่ง ซ่อมเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เหล็กกล้า รวมถึงส่วนประกอบเงินทุน 141 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและมีจำนวนคนงานสูงสุดเท่ากันในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเล่น และอุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะ อื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 212 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมถักผ้าผ้าลูกไม้ เครื่องนุ่งห่มด้วยด้ายหรือเส้นใย คนงาน 151 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2550 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการ ลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 137 โครงการ มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีจำนวน 96 โครงการ ร้อยละ 42.71 และมีเงินลงทุน 137,200 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีเงินลงทุน 17,300 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 693.06
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ที่มีจำนวน 90 โครงการ ร้อยละ 52.23 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ที่มีเงินลงทุน 39,400 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 248.23
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2550
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 235 149,800
2.โครงการต่างชาติ 100% 223 83,700
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 201 119,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.2550 คือ หมวดบริการ และสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 112,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 86,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2550
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2550 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 210 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 357 รายหรือน้อยกว่าร้อยละ -41.18 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 5,956.73 ล้านบาท ลดลงจากพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการลงทุน 8,621.30 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -30.91 และการจ้างงานรวมมีจำนวน 4,463 คน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,806 คน หรือลดลงร้อยละ -54.49
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือน มิถุนายน 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 446 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ -52.91 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนลดลงจากเดือนมิถุนายน 2549 ซึ่งมีการลงทุน 12,599.45 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -52.72 และมีการจ้างงานลดลงจากเดือนมิถุนายน 2549 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,306 คน ร้อยละ -70.84
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 19 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 13 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งมิได้ผลิตจากกากซัลไฟต์ในการทำเยื่อกระดาษมีเงินทุน 2,890 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ส่ง หรือจำหน่ายพลังงานไฟฟ้ามีเงินทุน 471 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์ คนงาน 819 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ หนังเทียม ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกาย รองเท้า คนงาน 525 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2550 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 122 ราย น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 163 ราย คิดเป็นร้อยละ -25.15 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 932.77 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีการเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 10,135.82 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,448 คน น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 7,145 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 230 รายคิดเป็นร้อยละ -46.96 ในส่วนการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 6,129 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,250.62 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 17 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป จำนวน 13 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2550 คืออุตสาหกรรมทอหรือเตรียมเส้นด้ายยืนสำหรับการทอ เงินทุน 162 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิต ตบแต่ง ซ่อมเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็ก เหล็กกล้า รวมถึงส่วนประกอบเงินทุน 141 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและมีจำนวนคนงานสูงสุดเท่ากันในเดือนมิถุนายน 2550 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเล่น และอุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะ อื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 212 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมถักผ้าผ้าลูกไม้ เครื่องนุ่งห่มด้วยด้ายหรือเส้นใย คนงาน 151 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2550 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการ ลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 137 โครงการ มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีจำนวน 96 โครงการ ร้อยละ 42.71 และมีเงินลงทุน 137,200 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีเงินลงทุน 17,300 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 693.06
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.มากกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ที่มีจำนวน 90 โครงการ ร้อยละ 52.23 และมีเงินลงทุนมากกว่าเดือนมิถุนายน 2549 ที่มีเงินลงทุน 39,400 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 248.23
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2550
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 235 149,800
2.โครงการต่างชาติ 100% 223 83,700
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 201 119,100
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.2550 คือ หมวดบริการ และสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 112,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 86,500 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-